ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทัณฑนิคม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''ทัณฑนิคม''' ({{lang-en|penal colony}}) หมายถึงถิ่นฐานซึ่งใช้สำหรับเนรเทศนักโทษและแยกพวกเขาจากประชากรส่วนใหญ่โดยการส่งตัวนักโทษเหล่านี้ไปยังสถานที่ที่อยฦห่างไกล ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเกาะหรือดินแดนอาณานิคมที่อยู่ไกลออกไป คำดังกล่าวมักหมายถึงประชาคมนักโทษซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของนักโทษหรือผู้ว่าการซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด ในทางประวัติศาสตร์ ทัณฑนิคมมักจะเป็นสถานที่ซึ่งมีการใช้แรงงานนักโทษในดินแดนของรัฐ (หรือส่วนใหญ่คืออาณานิคม) ซึ่งเศรษฐกิจอย่างไม่พัฒนา และมีขนาดใหญ่กว่า "ฟาร์มในคุก" อย่างมาก ในทางปฏิบัติแล้ว ทัณฑนิคมมีความเหนือกว่าประชาคมทาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น [[จักรวรรดิอังกฤษ]] [[จักรวรรดิฝรั่งเศส]] และจักรวรรดิอาณานิคมอื่น ๆ มักจะใช้[[ทวีปอเมริกาเหนือ]] และส่วนอื่น ๆ ของโลกเป็นทัณฑนิยมสำหรับโทษที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอยู่ในฐานะความจำยอม การผูกมัดหรือการจัดการที่คล้ายคลึงกัน
'''ทัณฑนิคม''' ({{lang-en|penal colony}}) หมายถึงถิ่นฐานซึ่งใช้สำหรับเนรเทศนักโทษและแยกพวกเขาจากประชากรส่วนใหญ่โดยการส่งตัวนักโทษเหล่านี้ไปยังสถานที่ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเกาะหรือดินแดนอาณานิคมที่อยู่ไกลออกไป คำดังกล่าวมักหมายถึงประชาคมนักโทษซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของนักโทษหรือผู้ว่าการซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด ในทางประวัติศาสตร์ ทัณฑนิคมมักจะเป็นสถานที่ซึ่งมีการใช้แรงงานนักโทษในดินแดนของรัฐ (หรือส่วนใหญ่คืออาณานิคม) ซึ่งเศรษฐกิจอย่างไม่พัฒนา และมีขนาดใหญ่กว่า "ฟาร์มในคุก" อย่างมาก ในทางปฏิบัติแล้ว ทัณฑนิคมมีความเหนือกว่าประชาคมทาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น [[จักรวรรดิอังกฤษ]] [[จักรวรรดิฝรั่งเศส]] และจักรวรรดิอาณานิคมอื่น ๆ มักจะใช้[[ทวีปอเมริกาเหนือ]] และส่วนอื่น ๆ ของโลกเป็นทัณฑนิยมสำหรับโทษที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอยู่ในฐานะความจำยอม การผูกมัดหรือการจัดการที่คล้ายคลึงกัน


== ลักษณะโดยทั่วไป ==
== ลักษณะโดยทั่วไป ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:05, 11 พฤศจิกายน 2558

ทัณฑนิคม (อังกฤษ: penal colony) หมายถึงถิ่นฐานซึ่งใช้สำหรับเนรเทศนักโทษและแยกพวกเขาจากประชากรส่วนใหญ่โดยการส่งตัวนักโทษเหล่านี้ไปยังสถานที่ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเกาะหรือดินแดนอาณานิคมที่อยู่ไกลออกไป คำดังกล่าวมักหมายถึงประชาคมนักโทษซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของนักโทษหรือผู้ว่าการซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด ในทางประวัติศาสตร์ ทัณฑนิคมมักจะเป็นสถานที่ซึ่งมีการใช้แรงงานนักโทษในดินแดนของรัฐ (หรือส่วนใหญ่คืออาณานิคม) ซึ่งเศรษฐกิจอย่างไม่พัฒนา และมีขนาดใหญ่กว่า "ฟาร์มในคุก" อย่างมาก ในทางปฏิบัติแล้ว ทัณฑนิคมมีความเหนือกว่าประชาคมทาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิอาณานิคมอื่น ๆ มักจะใช้ทวีปอเมริกาเหนือ และส่วนอื่น ๆ ของโลกเป็นทัณฑนิยมสำหรับโทษที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอยู่ในฐานะความจำยอม การผูกมัดหรือการจัดการที่คล้ายคลึงกัน

ลักษณะโดยทั่วไป

การปกครองภายในนิคมมักจะเต็มไปด้วยความโหดร้าย และบางครั้งรวมไปถึงการลงโทษทางกายอย่างรุนแรง ดังนั้น ถึงแม้ว่าบรรดานักโทษจะไม่ได้รับการตัดสินให้ถูกประหารชีวิต แต่ก็มีจำนวนมากที่เสียชีวิตจากความอดอยาก โรคระบาด ความละเลยทางการแพทย์ การใช้แรงงานหนัก หรือในระหว่างพยายามหลบหนี

ในระบบทัณฑนิคม นักโทษจะถูกส่งตัวออกไปไกล ๆ เพื่อป้องกันความพยายามในการหลบหนีและเพื่อตัดกำลังใจในการกลับมายังบ้านเกิดของตนหลังจากโทษหมดลง ทัณฑนิคมมักจะตั้งอยู่ในพื้นที่อันห่างไกลซึ่งไม่ได้การต้อนรับ ที่นั่น พวกเขาจะต้องใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อประเทศแม่ก่อนที่แรงงานจะอพยพเข้ามาในพื้นที่ หรือนักโทษอาจต้องใช้แรงงานต่อไปหลังจากนั้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาก อันที่จริงแล้ว บางคน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจน) มักจะถูกตัดสินให้ต้องกลายมาเป็นแรงงานราคาถูกจำนวนมาก

จักรวรรดิอังกฤษ

อังกฤษได้ใช้ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทัณฑนิคมผ่านทางระบบของคนงานขึ้นบัญชี ผู้ต้องโทษจะถูกส่งตัวโดนพ่อค้าและขายทอดตลาดไปยังเจ้าของที่ดินเมื่อไปถึงอาณานิคม มีการประมาณกันว่ามีผู้ต้องโทษชาวอังกฤษกว่า 50,000 คนถูกส่งตัวไปยังอาณานิคมอเมริกา ซึ่งอาจคิดเป็นหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้อพยพออกนอกอังกฤษระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18[1] เมื่ออังกฤษไม่สามารถส่งนักโทษไปยังทวีปอเมริกาเหนือได้อีกหลังจากการปฏิวัติอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1780 อังกฤษจึงได้หันไปเริ่มใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคมแทน ซึ่งรวมไปถึงเกาะนอร์ฟอล์ก แทสมาเนีย และนิวเซาท์เวลส์ หากปราศจากการจัดสรรของแรงงานผู้ต้องโทษไปยังเกษตรกร ผู้ครอบครองที่ดินเพาะปลูก และโครงการของรัฐบาล อย่างเช่น การสร้างถนน ไปเสียแล้ว การยึดครองออสเตรเลียเป็นอาณานิคมก็คงจะไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากการสิ้นเปลืองไปกับแรงงานซึ่งมิใช่ผู้ต้องโทษอันเกิดจากนักขุดทองจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1800

อ้างอิง

  1. "British Convicts Shipped to American Colonies". American Historical Review 2. Smithsonian Institution, National Museum of Natural History. October 1896. สืบค้นเมื่อ 2007-06-21.

บรรณานุกรม