ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสมุทร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''มหาสมุทร''' ({{lang-en|ocean}}) เป็นผืนน้ำ[[ทะเล]]ขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิว[[โลก]] แบ่งออกเป็น 5 มหาสมุทรโดยใช้[[ทวีป]]และ[[กลุ่มเกาะ]]ขนาดใหญ่เป็นแนวแบ่ง ดังนี้
'''มหาสมุทร''' ({{lang-en|ocean}}) เป็นผืนน้ำ[[ทะเล]]ขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิว[[โลก]] มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ [[มหาสมุทรแปซิฟิก]] [[มหาสมุทรแอตแลนติก]] [[มหาสมุทรอินเดีย]] [[มหาสมุทรใต้]] และ[[มหาสมุทรอาร์กติก]] คำว่า ''sea'' หรือ''[[ทะเล]]'' บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ใน[[ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน]]ได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน

* [[มหาสมุทรอาร์กติก]]
* [[มหาสมุทรแอตแลนติก]]
* [[มหาสมุทรอินเดีย]]
* [[มหาสมุทรแปซิฟิก]]
* [[มหาสมุทรใต้]] — ในบาง[[ภูมิภาค]]และบาง[[วัฒนธรรม]] รวมทั้ง[[อเมริกาเหนือ]]และ[[ทวีปยุโรป]]ส่วนใหญ่ มหาสมุทรใต้ไม่ถือเป็นมหาสมุทร แต่เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ 3 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก


มหาสมุทรทั่วโลกมีพื้นที่รวม 361 ล้าน[[ตารางกิโลเมตร]] ปริมาตร 1,370 ล้าน[[ลูกบาศก์กิโลเมตร]] มีความลึกเฉลี่ย 3,790 [[เมตร]] ไม่นับรวมทะเลที่ไม่เชื่อมต่อกับมหาสมุทร อาทิ [[ทะเลแคสเปียน]]
มหาสมุทรทั่วโลกมีพื้นที่รวม 361 ล้าน[[ตารางกิโลเมตร]] ปริมาตร 1,370 ล้าน[[ลูกบาศก์กิโลเมตร]] มีความลึกเฉลี่ย 3,790 [[เมตร]] ไม่นับรวมทะเลที่ไม่เชื่อมต่อกับมหาสมุทร อาทิ [[ทะเลแคสเปียน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:01, 22 กันยายน 2558

มหาสมุทร (อังกฤษ: ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน

มหาสมุทรทั่วโลกมีพื้นที่รวม 361 ล้านตารางกิโลเมตร ปริมาตร 1,370 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,790 เมตร ไม่นับรวมทะเลที่ไม่เชื่อมต่อกับมหาสมุทร อาทิ ทะเลแคสเปียน

มวลรวมของส่วนอุทกภาคมีค่าประมาณ 1.4×1021 กิโลกรัม คิดเป็น 0.023 % ของมวลโลก

องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) เป็นผู้กำหนดเส้นแบ่งเขตระหว่างแต่ละมหาสมุทร ยกตัวอย่างเช่น มหาสมุทรใต้เริ่มจากชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกาไปถึงละติจูด 60 องศาใต้ พื้นที่ที่มีขนาดเล็กกว่ามหาสมุทร เรียกว่า ทะเล อ่าว ช่องแคบ ฯลฯ

ไหล่ทวีป

ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่ตื้นที่สุดและอยู่ติดกับส่วนที่เป็นทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป พื้นของไหล่ทวีปบางตอนจะเรียบ บางตอนมีร่องยาว บางตอนมีสันเนิน บางตอนมีแอ่งกลม บางตอนมีเนินเขา บางส่วนเป็นหิน บางส่วนปกคลุมด้วยโคลน ทราย หรือกรวด

ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบกรรมวิธีปรับระดับ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวแปรรูปของเปลือกโลก ไหล่ทวีปจะมีระดับสูงขึ้นและมีขนาดกว้างออกไป เพราะมีวัตถุต่าง ๆ จากพื้นดินมาทับถมอยู่ ตัวกระทำที่นำเอาวัตถุเหล่านั้นมาคือ แม่น้ำ ลมและสิ่งที่หลุดร่วงจากฝั่งจากการกระทำของทะเลมหาสมุทรเอง ถ้าชายฝั่งจมตัวลงน้ำทะเลจะไหลท่วมขึ้นไปถึงส่วนที่ป็นที่ราบชายฝั่ง ไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าชายฝั่งยกตัวสูงขึ้นไหล่ทวีปอาจกลายเป็นที่ราบชายฝั่งไป นอกจากนี้ไหล่ทวีบยังเป็นที่อยู่ของสัตว์มากมายอีกด้วย

ลาดทวีป

ลาดทวีปอยู่ถัดจากไหล่ทวีป มีความลาดชันมาก 65 กิโลเมตรต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตร ลาดทวีปในที่ต่าง ๆ มีความกว้างแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นตอนที่มีการเปลี่ยนระดับ ลาดทวีปนี้เป็นส่วนขอบของเปลือกโลกที่เรียกว่าไซอัล

ที่ลาดทวีปและที่ขอบ ๆ ของไหล่ทวีปบางตอนมีหุบเขาลึกอยู่ระหว่าง หุบผาชันใต้ทะเล หุบผาชันใต้ทะเลบางแห่งมีสาขาอยู่ด้วย ก้นหุบผาชันใต้ทะเลส่วนใหญ่มีความลึก 1,800-2,000 เมตร ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สาเหตุของการเกิดหุบผาชันใต้ทะเลนี้ยังไม่ทราบแน่นอน มีการสันนิษฐานกันหลายอย่าง บ้างว่าเนื่องจากการเปลี่ยนระดับของหิน บ้างว่าเพราะคลื่นขนาดใหญ่ทำให้เกิดกระแสน้ำซึ่งไหลแรง ทำให้ส่วนนั้นสึกกร่อนไป บ้างว่าน้ำใต้ดินบริเวณนั้นลดน้อยลงทำให้เกิดการยุบตัว

ส่วนต่าง ๆ ของทะเลมหาสมุทร

พื้นท้องมหาสมุทร

พื้นท้องมหาสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทร ช่วงนี้ไม่ได้ราบเรียบแต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วย ได้แก่สันเขา ซึ่งแคบบ้าง กว้างบ้าง ที่ราบสูง แอ่งรูปกลม แอ่งรูปยาว ภูเขา เช่น สันเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติค บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะซอร์ส และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเลคือหมู่เกาะฮาวาย สันเขาแห่งนี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง เป็นตัวอย่างของแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทร

ภูเขาใต้ทะเล

ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร ภูเขาใต้ทะเลบางลูกมียอดตัด เรียกว่า กีย์โอต์พบมากที่ตอนกลางและที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวายยอดของภูเขากีโอต์อยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200 - 1,800 เมตรเดิมอาจเป็นยอดภูเขาไฟแล้วคลื่นทำให้สึกกร่อนไปหรืออาจมีปะการังมาเกาะเหนือยอดเขาทำให้ยอดตัด ต่อมาพื้นท้องมหาสมุทรลดระดับต่ำลงหรือน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นเลยจมหายไปใต้น้ำ

ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล

ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล ร่องลึกบาดาลเป็นแอ่งลึกรูปยาวและขอบสูงชันอยู่ที่พื้นท้องมหาสมุทร ร่องลึกบาดาลอยู่ค่อนมาทางลาดทวีปหรือใกล้เกาะ เช่น ร่องลึกบาดาลอาลิวเซียนร่องลึกบาดาลมินดาเนา ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ร่องลึกบาดาลชวา ส่วนเหวทะเลหมายถึงแอ่งลุ่มที่มีความลึกเกินกว่า 600 เมตร กำเนิดของร่องลึกบาดาลนี้ไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน คาดกันว่าเกิดจากการคดโค้งของพื้นท้องมหาสมุทร และร่องลึกบาดาลเป็นส่วนที่ต่ำ แต่มีร่องลึกบาดาลบางแห่งมีลักษณะคล้ายหุบเขาทรุด แนวที่มีร่องลึกบาดาลนั้นเป็นแนวที่เปลือกโลกยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ เพราะแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายครั้งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใต้ร่องลึกบาดาลเหล่านั้นลงไป

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของน้ำทะเล อุณหภูมิของน้ำทะเลนั้นขึ้นอยู่กับการแผ่รังสีดวงอาทิตย์มากกว่าความร้อนจากแก่นโลกหรือกัมมันตภาพรังสีจากพื้นท้องมหาสมุทร อุณหภูมิของน้ำทะเลจะต่างกันทั้งทางแนวราบ คือจากเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลก และทางแนวดิ่ง คือจากระดับน้ำทะเลลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรทางแนวราบนั้นที่เส้นศูนย์สูตรอุณหภูมิเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 26 องศาเซลเซียส (80 องศาฟาเรนไฮน์) ที่ขั้วโลกประมาณ -2 องศาเซลเซียส (28องศาฟาเรนไฮน์) ทางแนวดิ่งที่แถบอากาศร้อนอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดร็วจากระดับน้ำทะเลถึงระดับลึกประมาณ 1,080 เมตร อุณหภูมิที่ระดับนี้ประมาณ 4 องศาเซลเซียส จากระดับลึก 1,080 – 1,800 เมตร อุณหภูมิลดลง พ้นระดับนี้ลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรอุณหภูมิเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ประมาณ 2 องศาเซลเซียส ที่ขั้วโลกอุณหภูมิที่พื้นท้องมหาสมุทรประมาณ 2 องศาเซลเซียส

อ้างอิง

  • Pope, F. 2009. From eternal darkness springs cast of angels and jellied jewels. in The Times. November 23. 2009 p. 16 - 17.
  • มหาสมุทร