ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| death_date =
| death_date =
| death_place =
| death_place =
| spouse =
| spouse = คุณหญิงมาลี กล้าณรงค์ราญ
| religion =
| religion =
| party =
| party =
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
}}
}}


'''ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ''' (เกิด [[22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2488]]) [[ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ประธานกรรมการ ป.ป.ช.)
'''ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ''' (เกิด [[22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2488]]) [[ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ประธานกรรมการ ป.ป.ช.)


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:02, 9 กันยายน 2558

ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ไฟล์:ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ.jpg
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าพล.ต.อ. วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงมาลี กล้าณรงค์ราญ

ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ประธานกรรมการ ป.ป.ช.)

ประวัติ

นายปานเทพ จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล,จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และได้รับการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 (วปรอ. 4010)

การทำงาน

ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ เริ่มทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวางแผนและวิชาการ แล้วย้ายมารับตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ต่อมาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กปร.[1] และเป็นกรรมการและรองเหรัญญิกมูลนิธิชัยพัฒนา

ช่วงปลายปี พ.ศ. 2548 นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ เป็นผู้ทำบันทึกทักท้วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิให้จ่ายเงินค่าเวนคืนโครงการพระราชดำริ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ให้กับนายทุนที่ดินเป็นจำนวนเงิน 670 ล้านบาท

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็น 1 ใน 18 ผู้ถูกเสนอชื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกให้เหลือ 9 คน ระหว่างขั้นตอนการคัดสรร และได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการ ป.ป.ช. จากประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (ระดับ 11 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักนายกรัฐมนตรี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ (เลขาธิการ))
  2. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ
  4. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ จำนวน ๒,๖๘๓ ราย เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ หน้า ๒

แม่แบบ:ป.ป.ช.