ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชื่อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luksika44 (คุย | ส่วนร่วม)
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


== ดูเพิ่ม ==
ชื่อเกิด ลักษิกา สนธิยากุล
* [[ชื่อบุคคล]]
เกิดเมื่อ เดือน 13ธันวาคม2543
* [[นามสกุล]]
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรียนที่ เทพมิตรศึกษา
อาชีพ นักแสดง นางแบบ
ค่าย สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง7
สัญชาติ ไทย
ส่วนเกี่ยวข้อง มิสไทยแลนด์โอชั่นเวิล์ด


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:39, 23 สิงหาคม 2558

ชื่อ คือสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเป็นคำต่าง ๆ เพื่อใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมที่สามารถสัมผัสหรือรู้สึกได้ เพื่อนำมาเรียกหรืออ้างถึง การใช้ชื่อเรียกแทนบุคคลเป็นสิ่งที่ควรที่ตั้งแต่เกิดหากไม่ได้เป็นคนเร่ร่อน ตามกฎหมายแล้วบังคับให้ประชาชนทุกคนต้องมีชื่อตั้งแต่เกิด ซึ่งชื่ออาจจะซ้ำกันได้

ความเชื่อเกี่ยวกับชื่อ

นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ เซอร์ เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ เคยกล่าวไว้ว่า อารยชนมักจะตั้งชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ ด้วยความประสงค์ที่ว่า ต้องการให้มันแทนสิ่งนั้นจริง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าชื่อนั้นเป็นตัวตนที่แท้จริงของวัตถุที่บอกเล่าเอกลักษณ์ต่าง ๆ ไว้เช่น ผม ขน เล็บ ฯลฯ ดังนั้นในหลายวัฒนธรรม ชื่อจริงจึงเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากหากล่วงรู้ก็หมายถึงชีวิตต้องตกอยู่ในมือผู้อื่น อาจโดนทำไสยศาสตร์เช่นใดก็ได้ ทำให้ในกาลต่อมาความหวาดระแวงนี้พัฒนาเป็นมารยาทที่ต้องเอ่ยนามตัวเองก่อนถามนามผู้อื่นนั่นเอง กล่าวโดยย่อก็คือในวัฒนธรรมโบราณ ชื่อจริงนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะอาจถูกเอาไปทำไสยศาสตร์ คนโบราณเลยมักไม่บอกกัน หากชื่อคือตัวตน ชื่อของคนย่อมส่งผลกับตัวตนเช่นกัน ผู้คนโดยมากจึงนิยมตั้งชื่อมนุษย์ให้สื่อถึงความเข้มแข็งทางวิญญาณ อีกนัยหนึ่งชื่อก็เป็นวิชาไสยเวทประเภทหนึ่ง ในตระกูลทรัมปูแห่งเกาะเซราเบส ประเทศอินโดนีเซีย ถึงกับมีการเอาชื่อของคนในเกาะมาเก็บไว้ เพราะเชื่อว่าการได้ครอบครองชื่อ ก็เหมือนประหนึ่งได้ครอบครองวิญญาณของผู้นั้น

สำหรับความเชื่อของคนไทยแล้ว ชื่อไม่เป็นเพียงแค่สิ่งสมมุติที่ใช้เรียกขานแทนตัวเท่านั้น แต่ยังจะมีบทบาทและแสดงถึงสภาพของเจ้าของชื่อด้วย โดยจะส่งผลถึงความเป็นสิริมงคลและกาลกิณีให้เกิดแก่เจ้าของชื่อได้ จึงมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า การเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกลวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้หายเจ็บป่วยหรือเคราะห์ร้ายต่าง ๆ เพราะเชื่อว่า เด็กเกิดจากผีปั้น เมื่อคลอดออกมาแล้วผีก็ยังจะคอยมาเอาชีวิตกลับคืนไป ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อจึงเป็นการหลอกให้ผีเข้าใจว่าเป็นคนละคนกัน

เสฐียรโกเศศ กล่าวว่า ชื่อเก่าที่มีผู้ชื่อ เช่น หมู หมา กบ เขียด ด้วง เป็นต้น คงเป็นชื่อตั้งขึ้นเพื่อหลอกลวงผีว่าไม่ใช่คนแต่เป็นหมูหมา ผีจะได้ตายใจไม่เอาตัวไป เป็นลักษณะที่ใช้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า cacophonism ซึ่งมีอยู่ในประเพณีดั้งเดิมของทุกชาติทุกภาษา

ความเชื่อเรื่องชื่อในสังคไทยสะท้อนออกมาให้เห็นในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ วรรณคดีพื้นบ้านเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ที่ นาง พิมพิลาไล เปลี่ยนชื่อเป็น วันทอง ตามคำทักของขรัวตาจูหลังจากที่เจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ มาตลอด[1]

อ้างอิง

  1. สมชาย สำเนียงงาม ผศ.ดร., "ชื่อใหม่" ในสมัยรัฐบาลคิดใหม่ทำใหม่ รู้ทันภาษา รู้ทันทักษิณ หน้า 302-303 (ตุลาคม, พ.ศ. 2547) ISBN 974-92552-6-7

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น