ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยงยุทธ ติยะไพรัช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดเรียบเรียงใหม่หมด
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
'''ยงยุทธ ติยะไพรัช''' ([[3 เมษายน]] [[พ.ศ. 2504]] — ) อดีต[[รายนามประธานรัฐสภาไทย|ประธาน]][[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]] และอดีตประธาน[[สภาผู้แทนราษฎร]] รองหัวหน้า[[พรรคพลังประชาชน]] อดีตโฆษกประจำ[[สำนักนายกรัฐมนตรี]] อดีตเลขาธิการ[[นายกรัฐมนตรี]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]] สมัยรัฐบาล [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย
'''ดร.ยงยุทธ ติยะไพรัช''' อดีต[[รายนามประธานรัฐสภาไทย|ประธาน]][[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]] และอดีตประธาน[[สภาผู้แทนราษฎร]] รองหัวหน้า[[พรรคพลังประชาชน]] อดีตโฆษกประจำ[[สำนักนายกรัฐมนตรี]] อดีตเลขาธิการ[[นายกรัฐมนตรี]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]] สมัยรัฐบาล [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:26, 20 สิงหาคม 2558

ยงยุทธ ติยะไพรัช
ไฟล์:Yongyut Tiyapairat.jpg
ประธานรัฐสภา
โดยตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
23 มกราคม พ.ศ. 2551 – 30 เมษายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้ามีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสนช.)
ถัดไปชัย ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้านายสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปนายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอรรคพล สรสุชาติ
ถัดไปน.ต. ศิธา ทิวารี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 เมษายน พ.ศ. 2504 (63 ปี)
จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชาชน

ดร.ยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย

ประวัติ

ยงยุทธ ติยะไพรัช เป็นบุตรของแต้ซ้ง (บิดา) กับ จม (มารดา) แซ่เตีย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ระดับปริญญาตรีคณะเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2526 (รุ่นเดียวกับอภิรักษ์ โกษะโยธิน), ระดับปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2536 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา Urban Environmental Management ในปี พ.ศ. 2555 จาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย[1]

การเมือง

ยงยุทธ ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในสังกัดพรรคเอกภาพ โดยการสนับสนุนของฉัฐวัสส์ มุตตามระ อดีต ส.ส.เชียงราย, สุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ และบัวสอน ประชามอญ ที่มาอยู่พรรคไทยรักไทยด้วยกัน กระทั่งการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 ยงยุทธเข้าสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้รับตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะย้ายมาลงในนามพรรคไทยรักไทย เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้ง และได้รับตำแหน่งทางการเมือง เริ่มต้นจาก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[2]

กรณีปิดล้อมบ้านผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ไฟล์:ข่าวศตะกูรมะ.jpg
ภาพข่าวนายนิสสัย ศตะกูรมะ กับตู้เย็นที่ถูกยิงจนพรุน

เมื่อเวลา 03.00 น. ของวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ตำรวจคอมมานโด นำโดย พลตำรวจตรี โกสินทร์ หินเธาว์ ผู้บังคับการกองปราบปราม (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) นำกำลังเข้าปิดล้อมบ้านพักของนิสสัย ศตะกูรมะ อายุ 70 ปี และอุดม ศตะกูรมะ อายุ 67 ปี ที่ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางไทร พระนครศรีอยุธยา และเปิดฉากยิงถล่ม โดยได้ข้อมูลจากยงยุทธ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่าบ้านหลังนี้เป็นแหล่งผลิตและค้ายาบ้า โดยนายยงยุทธ ได้ข้อมูลจากตู้ ปณ.ร้องทุกข์นายกรัฐมนตรี[3]

ภายหลังเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้น และไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใดๆ แต่สภาพบ้านเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะตู้เย็นซึ่งตั้งอยู่ภายในบ้าน มีรูกระสุนกว่า 50 นัด นิสสัยและอุดม ศตะกูรมะ ซึ่งอยู่บนบ้านเพียงสองคนในวันนั้นถูกคุมตัว[4] ทางตำรวจแถลงในภายหลังว่า ได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด และยินดีที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งหมด โดยนำตู้เย็นใบนั้นกลับไปด้วย อ้างว่าจะซื้อให้ใหม่ ต่อมาทางครอบครัวศตะกูรมะติดต่อขอคืน เพื่อนำมาเก็บไว้เป็นที่ระลึก

ภายหลังเหตุการณ์นี้ อุดมในฐานะผู้เสียหาย ยื่นฟ้องยงยุทธและพวก ต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ถอนคำร้องในเวลาต่อมา จากกรณีดังกล่าว เป็นเหตุให้สื่อมวลชนฝ่ายตรงข้าม ตั้งฉายาให้ยงยุทธว่า "ยุทธ ตู้เย็น"

ข้อกล่าวหาจัดตั้งมวลชน ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม

ไฟล์:21711 003.jpg
เข้ารายงานตัวหลังรัฐประหาร

มีกรณีกล่าวหายงยุทธว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การจัดตั้งลูกจ้างของกรมป่าไม้ ให้มาปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[5] เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ต่อมาเมื่อเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐประหารออกคำสั่งเรียก ให้ยงยุทธและเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว[6]

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติเห็นชอบให้ยงยุทธเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร, สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นรองประธานฯ คนที่ 1 และ พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย เป็นรองประธานฯ คนที่ 2 โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[7]

แต่ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนกลาง 5 คน ลงมติให้ใบแดงแก่ยงยุทธ ด้วยคะแนนเสียง 3:1 (อีกหนึ่งเสียงที่หายไปคือสดศรี สัตยธรรม ซึ่งงดออกเสียง) เนื่องจากเรื่องร้องเรียน การทุจริตเลือกตั้ง ที่จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น ยงยุทธก็แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ไฟล์:Persident yongyuth.jpg
ขณะทำหน้าที่ประธานสภาฯ

อ้างอิง

  1. อดีตรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยงยุทธ ติยะไพรัช เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันเอไอที
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. "ศตะกูรมะ"ไขข้อข้องใจร่ำรวยจากการขายที่-เก็บหอมรอมริบ
  4. ยิงถล่มบ้านผิด-พิมพ์ตก ชะตาชีวิต "บ้านศตะกูรมะ"
  5. อ้างอิงเวบ m.thai
  6. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 9/2549 เรื่อง ให้ นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายยงยุทธ ติยะไพรัช นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖) เล่ม 120 ตอนที่ 19ข วันที่ 1 ธันวาคม 2546
  9. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ยงยุทธ ติยะไพรัช ถัดไป
มีชัย ฤชุพันธุ์
ในตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ไฟล์:Seal of the National Assembly of Thailand.png
ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฏร

(23 มกราคม พ.ศ. 255130 เมษายน พ.ศ. 2551)
ชัย ชิดชอบ
สุวิทย์ คุณกิตติ ไฟล์:ตรากระทรวงทรัพยากร.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(11 มีนาคม พ.ศ. 254819 กันยายน พ.ศ. 2549)
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
นายอรรคพล สรสุชาติ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี