ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thailandstation (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
ลบภาพ "Macl.png", ซึ่งถูกลบที่คอมมอนส์โดย Polarlys เพราะ w:commons:Commons:Deletion_requests/Template:IRFCA
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย ของ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย สภาพภูมิประเทศ (ความลาดชัน, ทางโค้ง, สภาพราง) ความหนาแน่นของชุมชน และงบประมาณ โดยระบบที่ใช้มี 3 ประเภทดังนี้
ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย ของ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย สภาพภูมิประเทศ (ความลาดชัน, ทางโค้ง, สภาพราง) ความหนาแน่นของชุมชน และงบประมาณ โดยระบบที่ใช้มี 3 ประเภทดังนี้



[[ภาพ:Macl.png|200px|thumb|สัญญาณไฟสี (Color Light)]]
[[ภาพ:Rail_TalingchanJn_CLRSS.jpg|200px|thumb|สัญญาณไฟสีแบบสามดวง ที่[[สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน]]]]
[[ภาพ:Rail_TalingchanJn_CLRSS.jpg|200px|thumb|สัญญาณไฟสีแบบสามดวง ที่[[สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน]]]]
[[ภาพ:Rail_KaengKoiJn.jpg|200px|thumb|สัญญาณไฟสีแบบสองดวง ที่[[สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย]]]]
[[ภาพ:Rail_KaengKoiJn.jpg|200px|thumb|สัญญาณไฟสีแบบสองดวง ที่[[สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย]]]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:23, 21 มิถุนายน 2550

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ (Railway signalling system) เป็นระบบกลไก สัญญาณไฟ หรือระบบอื่นๆ ในการเดินขบวนรถไฟเพื่อแจ้งให้พนักงานขับรถไฟทราบสภาพเส้นทางข้างหน้า และตัดสินใจที่จะหยุดรถ ชลอความเร็ว หรือบังคับทิศทาง ให้การเดินรถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการเดินรถสวนกันบนเส้นทางเดียว หรือการสับหลีกเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันบริเวณสถานีรถไฟ

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟจะควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ และระยะเวลาในการเดินรถ ของขบวนรถที่อยู่บนทางร่วมเดียวกัน รวมทั้งการสับหลีกบริเวณสถานีรถไฟ โดยการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ จะออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟสามารถตัดสินใจเดินรถได้อย่างมั่นใจ และไม่ให้เกิดความสับสน

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟในประเทศไทย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย สภาพภูมิประเทศ (ความลาดชัน, ทางโค้ง, สภาพราง) ความหนาแน่นของชุมชน และงบประมาณ โดยระบบที่ใช้มี 3 ประเภทดังนี้


สัญญาณไฟสีแบบสามดวง ที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน
สัญญาณไฟสีแบบสองดวง ที่สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย
  • 1. สัญญาณไฟสี มี 2 ระบบ คือ
    • ระบบไฟสีสองท่า ใช้ไฟ 2 สี 3 ดวง คือ เขียว + แดง + เขียว ใช้ในเส้นทางที่รถวิ่งด้วยความเร็วต่ำ เสาสัญญาณจะมีเพียงเสาเข้าเขตใน และเสาออก
    • ระบบไฟสีสามท่า ใช้ในเส้นทางหลัก โดยจะมีเสาเตือน เสาเข้าเขตใน (มีไฟสีเหลือง) และมีไฟสีขาว 5 ดวงบอกการเข้าประแจของขบวนรถ
      • ระบบไฟสีสามท่า แบบมีเสาออกตัวนอกสุด
      • ระบบไฟสีสามท่า
      • ระบบไฟสีสามท่า แบบมีสัญญาณเข้าเขตนอก

แบ่งประเภทตามมาตรฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เป็น

    • ก.1ก ประแจกลไฟฟ้า ชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ และสัญญาณไฟสี
    • ก.1ข ประแจกลไฟฟ้า ชนิดบังคับด้วยคอมพิวเตอร์ และสัญญาณไฟสี
    • ก.2 ประแจกลหมู่ ชนิดบังคับด้วยเครื่องกลสายลวด และสัญญาณไฟสี
ไฟล์:Mauq.png
สัญญาณหางปลา (Semaphore)
สัญญาณหางปลา ที่สถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้
สัญญาณหางปลา จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ
  • 2. สัญญาณหางปลา ใช้กับสถานีที่อยู่ห่างสถานีรถไฟกรุงเทพ ออกไปประมาณ 500 กิโลเมตร
    • ก.3 ประแจกล ชนิดบังคับด้วยเครื่องกลสายลวด พร้อมสัญญาณหางปลา มีเสาแบบสมบูรณ์ ประกอบด้วยเสาเตือน เสาเข้าเขตใน เสาออก และเสาออกตัวนอกสุด
    • ก.4 ประแจกล ชนิดบังคับด้วยเครื่องกลสายลวด พร้อมสัญญาณหางปลา มีเสาไม่สมบูรณ์ ประกอบด้วยเสาเข้าเขตใน และเสาออก
    • ข. ประแจกลเดี่ยว พร้อมสัญญาณหางปลาเข้าเขตในตัวเดียว (เป็นประแจมือ พนักงานจะต้องเดินทางไปสับประแจด้วยมือ ถึงที่)
  • 3. หลักเขตสถานี
    • ง. หลักเขตสถานี บอกแทนเสาเข้าเขตใน ใช้สำหรับสถานีที่ไม่มีสัญญาณประจำที่ชนิดหางปลาหรือไฟสี ใช้ในทางรถไฟสายรอง เช่น สายกาญจนบุรี สายนครศรีธรรมราช สายคีรีรัฐนิคม สายแม่กลอง และเส้นทางรถไฟสายหลักบางสถานี
  • สัญญาณตัวแทน เป็นสัญญาณที่แสดงท่าของสัญญาณต้นถัดไป ใช้ในกรณีที่เป็นทางโค้งไม่สามารถมองเห็นสัญญาณต้นหน้าในระยะไกลกว่า 1 กิโลเมตร
    • สัญญาณไฟเรียงเป็นแนวนอน หมายความว่า สัญญาณตัวหน้าแสดงท่าห้าม
    • สัญญาณไฟเรียงเป็นแนวนอนกระพริบ หมายความว่า สัญญาณตัวหน้าแสดงท่าระวัง
    • สัญญาณไฟเรียงเป็นแนวเฉียง หมายความว่า สัญญาณตัวหน้าแสดงท่าอนุญาต

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น