ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เต่าดำ (เทพปกรณัม)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{commons|Category:Black Tortoise|เต่าดำ}}
{{commons|Category:Black Tortoise|เต่าดำ}}
[[category:ลัทธิเต๋า]][[หมวดหมู่: เทพปกรณัมจีน]][[category:คติชนญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:ลัทธิเต๋า]][[หมวดหมู่: เทพปกรณัมจีน]][[หมวดหมู่:คติชนญี่ปุ่น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:11, 31 กรกฎาคม 2558

ประติมากรรมเต่าดำ สมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง (ศตวรรษที่ 15)

เต่าดำ (อังกฤษ: Black tortoise, Black turtle; ฮันกึล: 현무; ฮันจา: 玄武; คันจิ: 玄武 ; ฮิระกะนะ: げんぶ; โรมะจิ: Genbu; เวียดนาม: Huyền Vũ[1]; จีน: 玄武; พินอิน: Xuan Wu; เสวียนอู่) เป็นสัตว์สัญลักษณ์ในความเชื่อของจีนโบราณ ที่ครอบคลุมรวมไปถึงชนชาติอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น เวียดนาม[1], ญี่ปุ่น และเกาหลี

เต่าดำ เป็นหนึ่งในสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำทิศทั้งสี่ (四霛/四灵) เป็นสัญลักษณ์ของทิศเหนือ[2]ธาตุน้ำ และฤดูหนาว มีรูปลักษณ์เป็นเต่า แต่มีเกล็ดคล้ายงู มีลักษณะร่วมกันของเต่าและงู บ้างใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเต่าที่มีงูพันรัดกลางลำตัว แต่เดิมมาจากการใช้กระดองเต่าในการทำนายทายทัก ซึ่งหมายถึงการให้เต่านำคำถามลงไปสู่โลกแห่งวิญญาณเพื่อนำคำตอบกลับมายังโลกมนุษย์ อีกทั้งกระดองเต่ามีสีดำ จึงปรากฏในรูปเต่าดำ ภายหลังได้มีการขยายความออกไป โดยเห็นว่าเต่าอาศัยอยู่กับน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่จนถึงท้องทะเลกว้าง จึงได้รับการขนานนามให้เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ อีกทั้งเต่ามีอายุยืนนาน จึงเป็นสัญลักษณ์แทนการมีอายุวัฒนะ

ต่อมาได้รับการยกสถานะจากลัทธิเต๋าให้เป็นปรมาจารย์เจินอู่ โดยกล่าวกันว่าเจินอู่เป็นภาคหนึ่งของเง็กเซียนฮ่องเต้มาจุติยังโลกมนุษย์ แต่ด้วยความเบื่อหน่ายในโลกีย์ จึงเก็บตัวบำเพ็ญภาวนาบนเขาบู๊ตึ๊ง จนสำเร็จมรรคผลเป็นเซียนขึ้นสถิตบนฟ้า ครองตำแหน่งทิศเหนือ[3]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Huyền Vũ Ngô Gia Tự Hà Nội Việt Nam thiet ke cua hang thiet bi ve sinh
  2. "The Chinese Sky". International Dunhuang Project. สืบค้นเมื่อ 2011-06-25.
  3. "สัตว์เทพประจำทิศทั้งสี่ในคติจีน". ผู้จัดการออนไลน์. 3 August 2005. สืบค้นเมื่อ 30 July 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น