ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 69: บรรทัด 69:
}}
}}
</ref>) จนถึง [[พ.ศ. 2464]] จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย รับราชการทหารจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระบริภัณฑ์ยุทธกิจเมื่อ [[พ.ศ. 2472]] และดำรงตำแหน่งพลาธิการทหารบกเมื่อ [[พ.ศ. 2477]]
</ref>) จนถึง [[พ.ศ. 2464]] จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย รับราชการทหารจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระบริภัณฑ์ยุทธกิจเมื่อ [[พ.ศ. 2472]] และดำรงตำแหน่งพลาธิการทหารบกเมื่อ [[พ.ศ. 2477]]

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิก[[บรรดาศักดิ์ไทย]] พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วย[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 9|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 9]] จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ เมื่อ พ.ศ. 2484<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/4525_1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์]</ref>


== เข้าสู่วงการเมือง ==
== เข้าสู่วงการเมือง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:21, 30 มิถุนายน 2558

เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
ไฟล์:PM1011.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
ถัดไปควง อภัยวงศ์ (สิงหาคม พ.ศ. 2487 - มกราคม พ.ศ. 2488)

เล้ง ศรีสมวงศ์ (มกราคม - สิงหาคม พ.ศ. 2488)
ดิเรก ชัยนาม (กันยายน พ.ศ. 2488 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489)
พระยาศรีวิสารวาจา (กุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2489)
ปรีดี พนมยงค์ (มีนาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2489)
วิจิตร ลุลิตานนท์ (สิงหาคม พ.ศ. 2489 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย (พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - เมษายน พ.ศ. 2491)
(พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 - ตุลาคม พ.ศ. 2492)

พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) (เมษายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2491)
จอมพล ป. พิบูลสงคราม (ตุลาคม พ.ศ. 2492 - กรกฎาคม พ.ศ. 2493)
พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) (ตุลาคม พ.ศ. 2492 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)
หลวงวิจิตรวาทการ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 - ธันวาคม พ.ศ. 2494)

นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) (มีนาคม - กันยายน พ.ศ. 2500)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)
ถัดไปพลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)
ถัดไปพลเรือตรี หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต3 เมษายน พ.ศ. 2513 (76 ปี)
ศาสนาศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงมากะริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ[1] (มากะริต ดว๊อต)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2494
ยศ พลเอก

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 3 เมษายน พ.ศ. 2513) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ประวัติ

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ[2] เดิมชื่อเภา เพียรเลิศ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ที่บ้านหน้าวัดอมรินทราราม ในคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรีในครั้งนั้น เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายเพ็ชร์และนางส้มจีน เพียรเลิศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 11 คน จบการศึกษาชั้นประถมบริบูรณ์จากโรงเรียนวัดอมรินทราราม ชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสวนกุหลาบ แล้วเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2449 และเมื่อ พ.ศ. 2452 ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเยอรมัน แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงต้องย้ายไปศึกษาและปฏิบัติงานในราชการกองทัพบก ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ตามลำดับ โดยขณะนั้นมียศร้อยตรี (ร.ต.) ได้เป็นหนึ่งใน 19 นายทหารระดับสูงที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกองทัพไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เรียกว่า "กองทูตศึกสัมพันธมิตร" ที่นำโดย พลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ (ต่อมาคือ พลโท พระยาเทพหัสดิน [3]) จนถึง พ.ศ. 2464 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย รับราชการทหารจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระบริภัณฑ์ยุทธกิจเมื่อ พ.ศ. 2472 และดำรงตำแหน่งพลาธิการทหารบกเมื่อ พ.ศ. 2477

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ เมื่อ พ.ศ. 2484[4]

เข้าสู่วงการเมือง

ใน พ.ศ. 2478 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการอีกตำแหน่งหนึ่ง หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งและคืนสู่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ รวมถึงตำแหน่งต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบการเงินหรือการค้าของชาติเป็นระยะๆ ตามความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และได้รับพระราชทานยศทางทหารสูงขึ้นเป็นลำดับจนถึงชั้นพลเอก ใน พ.ศ. 2494 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เกิดการรัฐประหาร ยุบคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐประหารประกาศแต่งตั้งคณะบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการในคณะบริหารดังกล่าว พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ จึงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยตำแหน่งในช่วงเวลานั้น ได้ขอจดทะเบียนนามสกุลใหม่ตามบรรดาศักดิ์ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ ในปี พ.ศ. 2484

ชีวิตส่วนตัวและวาระสุดท้าย

พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ สมรสกับคุณหญิงมาเกอริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ (นางสาวมาเกอริต ดว๊อต) มีบุตรและบุตรบุญธรรม คือ เรืออากาศเอก กระจัง บริภัณฑ์ยุทธกิจ (ถึงแก่กรรม) นายอังกูร บริภัณฑ์ยุทธกิจ และนางวลัยวรรณ ติตติรานนท์ (บุตรบุญธรรม) พลเอก เภาเพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2513 สิริอายุ 76 ปี 4 เดือน 24 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
  2. http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p061.html ประวัติจากฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 740 หน้า. หน้า 20.
  4. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์