ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


3 มีนาคม 2558 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน<ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000113856 หารือตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ท่ามกลางเสียงคัดค้าน]</ref>
3 มีนาคม 2558 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน<ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000113856 หารือตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ท่ามกลางเสียงคัดค้าน]</ref>


วันที่ 25 มิถุนายน 2558 [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ได้ลงมติในวาระ 3 เห็นชอบให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ... ประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยคะแนน 173-1 เสียง


== คณะ ==
== คณะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:42, 25 มิถุนายน 2558

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
ไฟล์:มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.png
คติพจน์ภาคภูมิถิ่นอีสาน แหล่งวิชาการชุมชน สร้างคนดีมีคุณธรรม
ประเภทรัฐ
สถาปนา20 เมษายน พ.ศ. 2540
อธิการบดีผศ.นพพร โฆสิระโยธิน
นายกสภามหาวิทยาลัยศ เกียรติคุณ.ดร.สุมนต์ สกลไชย
ที่ตั้ง
เลขที่ 13 หมู่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
เว็บไซต์www.ksu.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ (อังกฤษ: Kalasin Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2542 เป็นครั้งแรก

ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร[1]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 ซึ่งมีมติให้จัดตั้งสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สถาบันราชภัฏชัยภูมิ สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ สถาบันราชภัฏนครพนม และสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์

ในระยะแรกได้ดำเนินการในรูปของ "โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์" ซึ่งสามารถเปิดรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาได้เป็นครั้งแรก ในปีการศึกษา 2542 และปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2544

ต่อมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์" พร้อมกับสถาบันราชภัฏอีก 4 แห่งข้างต้น และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์เปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์" ดังเช่นปัจจุบัน

การควบรวมมหาวิทยาลัย

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ... ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน[2][3] เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิม ถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย

3 มีนาคม 2558 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน[4]


วันที่ 25 มิถุนายน 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงมติในวาระ 3 เห็นชอบให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ... ประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยคะแนน 173-1 เสียง

คณะ

คณะ/หลักสูตร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น