ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย อาสนจินดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kasio (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 333: บรรทัด 333:
* [[ชลาลัย]] (2534) ช่อง 5
* [[ชลาลัย]] (2534) ช่อง 5
* แก้วขนเหล็ก (2534) ช่อง 3
* แก้วขนเหล็ก (2534) ช่อง 3
* แม่ผัวมหาภัยกับสะใภ้สารพัดพิษ (2534) ช่อง 5
* [[วนิดา]] (2534) ช่อง 3
* [[วนิดา]] (2534) ช่อง 3
* ลิขิตพิศวาส (2534) ช่อง 9
* ลิขิตพิศวาส (2534) ช่อง 9

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:17, 3 มิถุนายน 2558

ส. อาสนจินดา
ไฟล์:ส.อาสนจินดา.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
สมชาย อาสนจินดา
เสียชีวิต19 กันยายน พ.ศ. 2536 (71 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสสมใจ เศวตศิลา
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง
(ละครเวที ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
พระสุรัสวดีลำดับภาพยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2500 - มงกุฎเดี่ยว
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต
นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2505 - เรือนแพ
พ.ศ. 2529 - บ้าน
พ.ศ. 2536 - ณ สุดขอบฟ้า
สุพรรณหงส์นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2523 - เลือดสุพรรณ

สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา (16 พฤศจิกายน 2464 - 19 กันยายน 2536) ศิลปินอาวุโส นักแสดง นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนบท ผู้กำกับการแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เป็นผู้บุกเบิกวงการละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ไทย เป็นเวลากว่า 50 ปี ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2533

ประวัติ

ส. อาสนจินดา เกิดที่กรุงเทพมหานคร เติบโตที่เชียงใหม่ โดยติดตามพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ปลัดมณฑลประจำจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2471-2481 (ปัจจุบันคือตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง

จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และมัธยม 8 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ส. อาสนจินดาสมรสกับ สมใจ เศวตศิลา (ตุ๊) บุตรีของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) ซึ่งเป็นน้องสาวต่างมารดาของพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2493 [1]

ไฟล์:ละครทหารเอกพระบัณฑูร สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง ๔ บางขุนพรหม.jpg
ละครทหารเอกพระบัณฑูร สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง ๔ บางขุนพรหม จากซ้ายไปขวา สมชาย อาสนจินดา , กำธร สุวรรณปิยะศิริ , สมจินต์ ธรรมทัต
ภาพยนตร์ นักเลงเดี่ยว (2501) เป็นฉากท้ายเรื่องโดยมี สมชาย อาสนจินดา , วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อดุลย์ ดุลยรัตน์

นักหนังสือพิมพ์

เริ่มงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ แล้วไปรับราชการที่จังหวัดเชียงรายเป็นเสมียนสหกรณ์ เวลาว่างตอนกลางคืน เขียนเรื่องสั้นส่งหนังสือ "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" ซึ่งจัดทำโดย วิตต์ สุทธเสถียร กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลัย ชูพินิจ และโชติ แพร่พันธุ์ เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "ชีวิตในภาพวาดอันเลอะเลือนของข้าพเจ้า " ได้ตีพิมพ์เป็นเรื่องเอกประจำฉบับ และได้รับการชักชวนให้มาทำงานหนังสือพิมพ์ จึงลาออกจากราชการ และเริ่มงานหนังสือพิมพ์ "บางกอกรายวัน" ร่วมงานกับ อิศรา อมันตกุล เสนีย์ เสาวพงศ์ อุษณา เพลิงธรรม ประหยัด ศ. นาคะนาท แต่ไม่นานก็เลิกกิจการ จึงย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์นวนิยายรายวัน "วันจันทร์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ตีพิมพ์ได้สามเดือนก็ขาดทุนจนเลิกกิจการ

เมื่อตกงานได้ไปอาศัยวัดมหรรณพารามอยู่ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก็ได้รับการชักชวนให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร ชื่อ "8 พฤศจิ" จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้จับกุมนักหนังสือพิมพ์เกือบ 20 คนไปคุมขัง รวมทั้ง อิศรา อมันตกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "เอกราช" ที่นับถือเป็นการส่วนตัว จึงใช้บทบรรณาธิการเขียนโจมตี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง และประกาศลาออก โดยขึ้นหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมงานต้องเดือดร้อน [1] เหลือเพียงงานเขียนเรื่องสั้นหาเลี้ยงชีพ

นักแสดง

เริ่มเข้าสู่วงการแสดงในปี พ.ศ. 2492 หลังจากตกงานหนังสือพิมพ์ โดยรับบทเป็น "หม่อมเจ้านิรันดร์ฤทธิ์ธำรง" พระเอกละครเวทีเรื่อง "ดรรชนีนาง " ของศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) แทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ พระเอกเดิมที่ถอนตัวกะทันหัน [2][1] ละครเวทีประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงในฐานะนักแสดงในวงการบันเทิงนับแต่นั้น

นักสร้างภาพยนตร์

ส. อาสนจินดาเป็นทั้งผู้ประพันธ์ และ ผู้กำกับการแสดงยุคหนังไทย 16 มม.ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีโรงถ่ายทำ ส.อาสนจินดาภาพยนตร์ ที่เชิงสะพานท่าพระ ย่านฝั่งธนบุรี

เจ้าของความคิดแปลกใหม่ทันยุค ในช่วงทศวรรษ 2500-2520 กับฉายา "เชือกกล้วยกางเกงแดง " จากตัวละครยอดนิยมแนวบู๊นักเลงชุด หนึ่งต่อเจ็ด และ เจ็ดประจัญบาน ซึ่งมีภาคต่อตามมาอีกหลายครั้ง, หนังไทยแนววิทยาศาสตร์สืบสวนกับยานดำน้ำล้ำยุค กระเบนธง ที่ได้แรงบันดาลใจจากยานสติงเรย์ (Stingray) หนังหุ่นชักแนวผจญภัยทางทีวียุค '60 จนถึงจินตนิยายอภินิหารพื้นบ้านไทยที่ผู้แต่งชื่นชอบมากที่สุด ลูกสาวพระอาทิตย์ เป็นต้น ทุกเรื่องประสบความสำเร็จทำรายได้ มีผู้ชมคับคั่ง


ส. อาสนจินดา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2536 ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากสูบบุหรี่จัด

รางวัล

ตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี

พ.ศ. 2500 - มงกุฏเดี่ยว (ลำดับภาพ)

พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต (บทภาพยนตร์)

พ.ศ. 2505 - เรือนแพ (นักแสดงประกอบชาย)

พ.ศ. 2529 - บ้าน (นักแสดงประกอบชาย)

พ.ศ. 2536 - ณ สุดขอบฟ้า (นักแสดงประกอบชาย)

รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ

พ.ศ. 2523 - เลือดสุพรรณ (นักแสดงประกอบชาย)

รางวัลมหกรรมเอเซีย-แปซิฟิค

พ.ศ. 2523 - อุกาฟ้าเหลือง (นักแสดงประกอบชาย)

พ.ศ. 2530 - บ้าน (นักแสดงประกอบชาย)

รางวัลศิลปินแห่งชาติ

พ.ศ. 2533 - สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวที ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์)

ผลงาน

กำกับภาพยนตร์

แสดงภาพยนตร์

แสดงละครโทรทัศน์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 แถมสิน รัตนพันธุ์ตำนาน "ลึก(ไม่)ลับ"' ฉบับ ทระนง ฅนหนังสือพิมพ์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, พ.ศ. 2548. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9785-33-9
  2. ศักดิ์เกษม หุตาคม เข้ามาชักชวนให้อิศรา อมันตกุล เล่นแทนสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ แต่อิศราปฏิเสธ ศักดิ์เกษมจึงขอร้องให้สมชายรับแสดงแทน

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม