ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุขุมพงศ์ โง่นคำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 32: บรรทัด 32:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
*[[File:Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น[[มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก]]
*[[ไฟล์:Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น[[มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก]]
*[[ File:Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น[[มหาวชิรมงกุฏ]]
*[[ File:Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น[[มหาวชิรมงกุฏ]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:28, 15 พฤษภาคม 2558

นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
ไฟล์:สุขุมพงศ์ โง่นคำ.jpg
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้านายชูศักดิ์ ศิรินิล
นายจักรภพ เพ็ญแข
ถัดไปดร.วีระชัย วีระเมธีกุล
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มกราคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชาชน
คู่สมรสรุจิเลขา โง่นคำ

นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

ประวัติ

นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นบุตรชายของ นายประยูร โง่นคำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์[1]กับ ท่านผู้หญิงเกสร โง่นคำ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นเดียวกันกับนายอดิศร เพียงเกษ และนายโภคิน พลกุล[2] สุขุมพงศ์ โง่นคำ เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 [3]

การทำงาน

หลังจากสำเร็จการศึกษา นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จนก้าวสู่ตำแหน่งผู้จัดการ สาขาหนองคาย และสาขาเพชรบูรณ์ หลังจากนั้นจึงลาออกมาตั้งสำนักงานกฎหมาย และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย จนได้รับการเลือกตั้ง และได้รับหน้าที่รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 นายสุขุมพงศ์ ได้ลงสมัครได้ระบบบัญชีรายชื่อ และเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร กระทั่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[5]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง