ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหมวดหมู่:นักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ; เพิ่ม[[:หมวดหมู่:นักโทษในคดีความผิดต่อองค์พ...
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:นักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ]]
[[หมวดหมู่:นักโทษในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:40, 14 พฤษภาคม 2558

จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ
ไฟล์:ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2508 (59 ปี)
อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย

จ่าสิบตำรวจ ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า จ่าประสิทธิ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จังหวัดสมุทรสาคร

ประวัติ

จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2508 ที่อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[2] มีภรรยาเป็นชาวจังหวัดสุรินทร์[1]

การทำงาน

จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ เข้ารับราชการตำรวจโดยมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมู่ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร และมีบทบาทเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นบ้านเกิด โดยแข่งขันกับอดีต ส.ส.พื้นที่เดิม คือ นางฟาริดา สุไลมาน จากพรรคภูมิใจไทย และนายธีรทัศน์ เตียวเจริญโสภา จากพรรคชาติไทยพัฒนา แต่เขาก็สามารถเอาชนะและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกได้สำเร็จ

ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ได้ทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการตำรวจ และมีบทบาทในการตอบโต้กับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในการอภิปรายในสภาบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกับกรณีของนางสาวรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสาคร[3] รวมถึงกรณีกล่าวถึงมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจโดยเฉพาะจากสมาคมศิษย์เก่ารามคำแหง[4]

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2556 ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีวาระการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จ่าประสิทธิ์ได้ยกรองเท้าของตนเองมาไว้บนใบหน้าเพื่อยั่วยุเพื่อแสดงการตอบโต้กับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[5]

วันที่ 29 ต.ค. 2556 ที่พรรคเพื่อไทย จ่าประสิทธิ์ได้ขึ้นปราศรัยบนรถกระบะติดเครื่องขยายเสียงมาชุมนุมบริเวณด้านหน้าพรรคของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เพื่อปราศรัยสนับสนุนให้ ส.ส. พรรคเพื่อไทยสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ระหว่างนั้นได้มีคำพูดว่า “ผมอยากยิงแม่งในสภาให้ตายห่าไปเลยด้วยซ้ำ แต่เอาทักษิณกลับมาสะใจกว่า ทำให้เหมือนตายทั้งเป็น ยิ่งกว่าติดคุก"[6] ซึ่งคำกล่าวของเขาที่เป็นไปในลักษณะการชี้แจงขั้นตอนของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในทางที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในพรรคเพื่อไทย กระทั่งในการประชุมพรรคเพื่อไทย เขาได้กล่าวขอโทษต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงกรณีดังกล่าว[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 29 12 57 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 29 December 2014. สืบค้นเมื่อ 30 December 2014.
  2. [https://www.facebook.com/You.Unacceptable/photos/a.609812802370245.1073741828.593891430629049/738986039452920/?type=1&permPage=1
  3. ประท้วงยับ "จ่าประสิทธิ์" พูดกลางสภา ฝันว่าได้นอนกับ ส.ส.รังสิมา
  4. “ศิษย์เก่ารามฯ” สุดทน “จ่าประสิทธิ์” ดูถูกโง่กลางสภา จี้ขอขมาองค์พ่อขุนฯ
  5. เสื่อม!"จ่าประสิทธิ์"ยกรองเท้ากลางสภา
  6. “จ่าประสิทธิ์” กร่างขู่ยิง “มาร์ค-เทือก” กลางสภา
  7. "จ่าประสิทธิ์"น้ำตาซึมขอโทษ"ปู-เจ๊แดง"
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕