ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ของแข็ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supakit Kongpunya (คุย | ส่วนร่วม)
Supakit Kongpunya (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 91: บรรทัด 91:
แบบกลางปลาย มี (8x1/8+2x1/2) = 2 อนุภาค
แบบกลางปลาย มี (8x1/8+2x1/2) = 2 อนุภาค


==พลังงานแลตทิซและวัฏจักรบอร์น-ฮาร์เบอร์==
==พลังงานแลตทิซและวัฏจักรบอร์น-ฮาร์เบอร์==
พลังงานแลตทิซ (lattice energy) หมายถึง พลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้ของแข็งไอออน (ionic solid) แตกออกเปนไอออนที่เป็นแก๊ส เช่น พลังงานแลตทิซของ NaCl คือพลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้ NaCl เกิดปฏิกิริยา
พลังงานแลตทิซ (lattice energy) หมายถึง พลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้ของแข็งไอออน (ionic solid) แตกออกเปนไอออนที่เป็นแก๊ส เช่น พลังงานแลตทิซของ NaCl คือพลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้ NaCl เกิดปฏิกิริยา
พลังงานแลตทิซใช้บอกความแข็งแรงของพันธะในสารไอออนิกได้ การคำนวณพลังงานพันธะโดยใช้ทฤษฎีพันธะแบบไอออนจะได้ค่าใกล้เคียงกับการทดลองโดยใช้วัฏจักรของบอร์น-ฮาร์เบอร์ เปรียบเทียบค่าพลังงานแลตทิซได้จากการพิจารณาประจุไอออนของสาร
พลังงานแลตทิซใช้บอกความแข็งแรงของพันธะในสารไอออนิกได้ การคำนวณพลังงานพันธะโดยใช้ทฤษฎีพันธะแบบไอออนจะได้ค่าใกล้เคียงกับการทดลองโดยใช้วัฏจักรของบอร์น-ฮาร์เบอร์ เปรียบเทียบค่าพลังงานแลตทิซได้จากการพิจารณาประจุไอออนของสาร
พลังงานแลตทิซคำนวณได้จากสมการต่อไปนี้
พลังงานแลตทิซคำนวณได้จากสมการต่อไปนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:10, 25 เมษายน 2558

กลศาสตร์ภาวะต่อเนื่อง
สมการนาเวียร์-สโตกส์
ไฟล์:Solidpic.gif
การจัดเรียงตัวของอนุภาคองค์ประกอบของของแข็ง

ของแข็ง (อังกฤษ: solid) เป็น สถานะ ของ สสาร ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ที่สามารถทนและต้านทานต่อการเสียรูปทรง และการเปลี่ยนแปลงในปริมาตรของตัวมันเอง มีการจัดเรียงตัวของอนุภาคองค์ประกอบใกล้ชิดกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่ามาก อนุภาคของแข็งจึงเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่จะสั่นไปมาได้เล็กน้อย เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อยมาก ของแข็งจึงไหลไม่ได้เหมือนของเหลว และอัดไม่ได้เหมือนแก๊ส

เมื่อพิจารณาของแข็งตามรูปผลึก สามารถแบ่งประเภทของของแข็งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

  • ของแข็งที่ไม่มีรูปร่างผลึก (amorphous solids) เช่น แก้ว ยาง พลาสติก เป็นต้น ของแข็งประเภทนี้จะมีจุดหลอมเหลวที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคจะแตกต่างกันไปในแต่ละโมเลกุล
  • ของแข็งที่มีรูปร่างผลึก (crystalline solids) ของแข็งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นผลึก มีการจัดเรียง มีรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน หลายแบบ ผลึกมีการจัดเรียงตัวที่เป็นระเบียบ จึงทำให้มีจุดหลอมเหลวที่ชัดเจน ของแข็งกลุ่มนี้มีปรากฏการณ์สองอย่างได้แก่
    • ภาวะหลายรูปแบบ (polymorphism) เป็นปรากฏการณ์ที่สารชนิดเดียวกัน สามารถมีรูปผลึกได้หลายรูปแบบ เช่น คาร์บอน (C) สามารถมีรูปผลึกเป็นได้ทั้ง แกร์ไฟต์ และ เพชร
    • ภาวะรูปแบบเดียว (isomorphism) เป็นปรากฏการณ์ที่สารต่างชนิดกัน แต่มีรูปผลึกเป็นแบบเดียวกัน

ของแข็งมีคุณสมบัติในระดับจุลภาคดังนี้

  • อะตอม หรือ โมเลกุล ที่ประกอบกันเป็นของแข็งจะอัดกันแน่น
  • องค์ประกอบของธาตุเหล่านี้จะมี ตำแหน่ง อยู่กับที่ (space) และยึดเกาะซึ่งกันและกันทำให้ของแข็งมีความแข็ง
  • ถ้ามีแรงที่พอเพียงมากระทำคุณสมบัติเหล่านี้ของมันจะถูกทำลาย และเป็นเหตุให้มันเสียรูปทรงอย่างถาวร
  • เนื่องจากของแข็งบางชนิดมี พลังงานความร้อน (thermal energy) อะตอมของมันจึงมีการสั่นไหว แต่อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวนี้ก็เกิดขึ้นเล็กน้อยและเร็วมากจนกระทั่งไม่สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีธรรมดา

สาขาวิชา ฟิสิกส์ ที่เกี่ยวข้องกับของแข็งมีดังนี้

แอโรเจล

ของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลกคือ ซิลิกานาโนโฟม (silica nanofoam) มีความหนาแน่นประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ของแอโรเจล (aerogel) ที่ดูดอากาศออก

สมบัติของของแข็ง

อนุภาคของของแข็งมีพลังงานจลน์น้อยมาก แต่ก็ยังสั่นได้ เนื่องจากอนุภาคของของแข็งอยู่ชิดกันมากกว่าของเหลว และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของแข็งมีมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของเหลว ของแข็งจึงมีรูปร่างแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ ไม่สามารถไหลได้ในภาวะปกติ มีปริมาตรคงที่ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารสูงกว่า สารที่อยู่ในสถานะของเหลวและแก๊ส ของแข็งบางชนิดระเหิดได้ เช่น แนพทาลีน โดยเกิดที่ผิวหน้าของของแข็ง


ของแข็ง

ของแข็งมีลักษณะแตกต่างจากแก็สหรือของเหลว ที่เห็นได้เด่นชัดคือ มีรูปร่างแน่นอนมีความแข็งแกร่ง ในบทนี้จะอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของของแข็งในเทอมของอะตอมที่ประกอบเป็นโมเลกุล ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นระเบียบของการเรียงอะตอมในโมเลกุลและอยู่ด้วยกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับในสถานะที่เป็นแก็สหรือเป็นของเหลว

ลักษณะทั่วไปของของแข็ง

  • 1. ลักษณะทั่วไปของของแข็งซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกับชีวิตประจำวันและเห็นกันอยู่ทั่ว ๆ ไป ได้แก่ลักษณะที่แข็งแกร่ง มีรูปร่างที่แน่นอนไม่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ ปริมาตรเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกกดดัน และการแพร่ของของแข็งเกิดขึ้นได้ช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับแก็สหรือของเหลว ซึ่งสมบัติเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าอะตอมหรือโมเลกุลที่ประกอบขึ้นเป็นของแข็งอยู่ในตำแหน่งที่แน่นอนและใกล้ชิดกันมากสารต่างๆ เช่นโซเดียมคลอไรด์ น้ำตาล กำมะถัน นอกจากจะมีสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังมีรูปร่างลักษณะที่เด่นชัดในรูปของผลึก ผลึกของแต่ละสารจะมีพื้นผิวซึ่งทำมุมกันด้วยค่าที่แน่นอน ผลึกใหญ่เมื่อทำให้เล็กลง เช่น โดยการบด ผลึกเล็ก ๆ ที่ได้ก็ยังรักษาลักษณะของผลึกเดิมอยู่ สารบางอย่างอาจมีผลึกได้หลายรูปแบบ ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์อัญรูป (polymorphismหรือ allotropyถ้าเป็นธาตุ) เช่น แคลเซียมคาร์บอนเนตที่อุณหภูมิต่ำจะมีรูปผลึก เป็นรอมโบฮีดรอล (rombohedral) แต่ถ้าผลึกที่อุณหภูมิสูงจะมีรูปผลึกเป็นออร์โทรอมบิก (orthorhombic) ส่วนผลึกของ NaF, KCl, RbBr, Mgo และ Casต่างก็มีรูปผลึกเป็นเดียวกันกับรูปผลึกของของ NaClส่วน SrCl2, CdF2, PbF2, ZrO2และThO2 ต่างก็มีรูปผลกเป็นอย่างเดียวกันกับ CaF2ปรากฏการณ์ที่สารต่างกันแต่มีรูปผลึกแบบเดียวกันเรียกว่า ภาวะรูปร่างเหมือนกัน (isomorphism)
  • 2. ลักษณะสำคัญของผลึกคือการเรียงตัวอย่างมีระเบียบของอะตอม ไอออน หรือโมเลกุลในผลึกนั้น ๆ ของแข็งไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในลักษณะที่เป็นผลึกเสมอไป อาจเป็นของแข็งที่ไม่มีรูปผลึกเรียกว่า ของแข็งอสัณฐาน (amorphous solid) ตัวอย่างเช่น แก้ว ยาง พลาสติก ของแข็งดังกล่าวมีสมบัติที่เป็นของแข็งทั่วไป เช่น มีความแข็งแกร่ง มีรูปร่างที่ไม่ขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ การแพร่เกิดขึ้นได้ช้า แต่ขาดความมีรูปทรงคณิตที่แน่นอนในตัวของแข็งเอง และที่สำคัญก็คือของแข็งอสัณฐานมีสมบัติบางอย่าง เช่น ดรรชนีหักเห การนำไฟฟ้า และอื่น ๆ เหมือนกันหมดทุกทิศทาง ลักษณะที่ไม่ขึ้นกับทิศทางเช่นนี้เรียกว่า ไอโซโทรปี(isotropy) ซึ่งตามปกติจะพบในแก็สหรือในของเหลว ส่วนของแข็งที่เป็นผลึกนั้นสมบัติในทิศทางที่ต่างกันจะแตกต่างกันไปด้วย ลักษณะหลังนี้เรียกว่า แอนไอโซโทรปี (anisotropy) ลักษณะที่เป็นแอนไอโซโทรปีนี้จะชี้ให้เห็นว่าผลึกจะต้องมีการเรียงตัวในทิศทางต่าง ๆ ที่แน่นอนและเป็นระเบียบ สมบัติอีกอย่างหนึ่งของผลึกที่สำคัญคือ มีจุดหลอมเหลวที่เด่นชัดเมื่อของแข็งหลอมตัวเป็นของเหลว ส่วนของแข็งอสัณฐานเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวจะมีจุดหลอมเหลวที่ไม่เด่นชัด กล่าวคือจะค่อย ๆ ๆอ่อนตัวและในที่สุดจะเริมไหลได้

ประเภทของผลึก

อนุภาคที่อยู่ในแลตทิซผลึกอาจจะเป็นอะตอมหรือโมเลกุล หรือไอออนก็ได้ ดั้งนั้นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจึงแตกต่างกัน การแบ่งประเภทของผลึกตามชนิดของอนุภาคและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิด

  • 1. ผลึกไอออนิก (Ionic Crystal) อนุภาคที่อยู่ที่จุดแลตทิซของผลึกของแข็งประเภทนี้เป็นไอออนบวกและไอออนลบสลับกันไปทั้งสามมิติ สารประกอบที่จัดว่าเป็นผลึกไอออนิกได้แก่ ออกไซด์ของโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (โลหะหมู่ IIA) และเกลือเฮไลด์ของโลหะแอลคาไล เช่น เกลือแกง ที่จุดแลตทิซในแลตทิซผลึกจะมีโซเดียมไออนเรียงสลับกันไปทั้งสามแกนมีลักษณะเป็นรูปลูกบาศก์ ไอออนที่อยู่ในแลตทิซผลึกจะมีพลังงานศักย์น้อยกว่าไอออนที่แยกกันอยู่อย่างอิสระ แรงคูลอมบ์ (Coulomb force) จัดว่าเป็นแรงดึงดูดหรือแรงยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงมาก ดั้งนั้นผลึกประเภทนี้เมื่อเทียบกับผลึกประเภทอื่นที่อุณหภูมิห้องจะมีความดันไอต่ำมาก มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ขณะที่เป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้า แต่ถ้าหลอมเหลวหรือเป็นสารละลายจะนำไฟฟ้าได้ดี เพราะไอออนสามารถเคลื่อนที่ได้ ผลึกประเภทนี้แข็งแต่เปราะ
  • 2. ผลึกโมเลกุล (Molecular Crystal) อนุภาคที่อยู่ที่จุกแลตทิซของแลตทิซผลึกอาจเป็นอะตอมหรือโมเลกุล แรงดึงดูดระหว่างอนุภาคในแลตทิซผลึกแบบนี้ อาจเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ หรือแรงขั้วคู่-ขั้วคู่แล้วแต่ว่าอนุภาคเหล่านั้นเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่มีขั้ว โมเลกุลที่ไม่มีขั้วจะดึงดูดกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์แรงนี้จะมีค่ามากขึ้นเมื่ออะตอมหรือโมเลกุลนั้นมีจำนวนอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น เช่นแรงแวนเดอร์วาลส์ใน Xe (เลขอะตอม 54) ย่อมมีค่ามากกว่าใน Ar (เลขอะตอม 18) ถ้าอนุภาคในแลตทิซผลึกเป็นโมเลกุลมีขั้ว เช่น H2O จะมีแรงดึงดูดขั้วคู่-ขั้วคู่ระหว่างด้านของโมเลกุลที่มีประจุต่างกัน แรงชนิดนี้แข็งแรงกว่าแรงแวนเดอร์วาลส์ แต่อย่างไรก็ตามแรงทั้งสองแบบที่กล่าวนี้ก็ยังอ่อนกว่าแรงคูลอมบ์ ดั้งนั้น จึงมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ และระเหยง่าย มีความดันไอสูงที่อุณหภูมิห้องเช่น แนพทาลีน (ลูกเหม็น) พิมเสน เมนทอล ไอโอดีน เป็นต้น แต่ผลึกโมเลกุลทุกชนิดไม่จำเป็นต้องระเหยง่ายเสมอไป บางชนิดระเหยยากก็มี เช่น กำมะถัน

การที่แรงดึงดูดระหว่างอนุภาคในผลึกโมเลกุลอ่อนมาก จึงทำให้สารนั้นมีลักษณะค่อนข้างอ่อนหรือนิ่มเปราะง่าย ไม่นำไฟฟ้า สามารถถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลงได้เล็กน้อยเพราะยังมีทีว่างอยู่ในแลตทิซผลึก

  • 3. ผลึกโคเวเลนต์ (Covalent Crystal)อนุภาคที่อยู่ในแลตทิซเป็นอะตอม ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงที่เกิดจากการร่วมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนด้วยกันที่เรียกว่า พันธะโคเวเลนต์ เช่น เพชร ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน แต่ละอะตอมยึดเหนี่ยวกับอะตอมข้างเคียงสี่อะตอมด้วยพันธะโคเวเลนต์ ดังรูป อะตอมของคาร์บอนยึดกันแบบเตตระฮีดรัล ต่อเนื่องกันไปทั้งสามมิติเป็นแมโครโมเลกุล (macromolecule) แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคในผลึกโคเวเลนต์จะแข็งแรงกว่าแรงยึดเหนี่ยวในผลึกโมเลกุล ทำให้มีความแข็งมากกว่าผลึกโมเลกุล โดยทั่วๆไปจะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง มีความดันไอต่ำ ไม่ละลายในตัวทำละลายใดๆ ไม่นำไฟฟ้า ยกเว้นแกรไฟต์ซึ่งนำไฟฟ้าได้
  • 4. ผลึกโลหะ (Metallic Crystall) อนุภาคที่อยู่ที่จุดแลตทิซของแลซทิตผลึกเป็นไออนบวกของโลหะท่ามกลางอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปมาได้ โลหะผลึกประเภทนี้มีจุดเดือดและจุดหลอมเหวสูง ดึงเป็นแผ่นตีเป็นเส้นง่าย ตัวอย่างเช่น เหล็ก เงิน และทองคำ


การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์

   นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ แมกซ์ ฟอน เลาเอ ( Max von Laue ) ได้ชี้แนะในปี ค.ศ. 1912 ให้เห็นว่าระนาบที่บรรจุไอออนหรืออะตอมในผลึกมีลักษณะที่เป็นเกรติง และเนื่องจากระยะทางระหว่างระนาบของผลึกมีความใกล้เคียงกับความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ ทำให้ผลึกสามารถเกิดการเลี้ยวเบนอย่างเห็นได้ชัด เมื่อได้ทดลองกับผลึกโซเดียมคลอไรด์ ก็พบว่าการเลี้ยวเบนที่เห็นได้จากแผ่นฟิล์มเป็นจุดสว่างที่มีลักษณะสมมาตรรอบ ๆ จุดศูนย์กลาง และจากตำแหน่งต่างๆของจุดเหล่านั้น ฟอน เลาเอ สามารถคำนวณหาขนาดและรูปร่างของหน่วยเซลล์ในผลึกได้ด้วย

เนื่องจากการคำนวณตามรูปแบบของ ฟอน เลาเอ ค่อนข้างจะซับซ้อน ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม เฮนรี แบรกก์ ( William Henry Bragg ) และบุตรชายชื่อ วิลเลียม ลอเรนต์ แบรกก์ ( William Lawrence Bragg) ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเห็นว่าการคำนวณหาขนาดอาจทำได้ในเทมอของการสะท้อนของแสงจากระนาบของอะตอม หรือ ไอออนในผลึก นั่นคือเมื่อฉายรังสีเอกซ์ไปยังผลึก บางส่วนของรังสีเอกซ์ก็สะท้อนออกไป บางส่วนก็ผ่านไปยังระนาบต่อๆไปและจะสะท้อนออกจากระนาบเหล่านั้น ถ้าคลื่นที่สะท้อนออกมาจากระนาบต่างๆ เป็นแบบ outof phaseก็จะหักล้างกัน แต่ถ้าคลื่นที่สะท้อนออกมาจากระนาบต่างๆเป็นแบบ in phase ก็จะเกิดการเสริมกัน ซึ่งเป็นผลจากการเลี้ยวเบน พิจารณาระนาบของอะตอมหรือไอออนตามรูป ที่มีระยะระหว่างระนาบเป็นdเมื่อฉายรังสีเอกซ์ที่มีความยาวคลื่น λ ไปยังระนาบของผลึกด้วยมุม  เมื่อรังสีเอกซ์ตกกระทบกันอะตอมหรือไอออนที่อยู่ตามระนาบต่างๆ ก็จะสะท้อนออกจากมุม  เช่นกัน สะท้อนแสง คลื่น ABและDG ขนานกันและเป็นแบบ in phase เมื่อคลื่นมีการสะท้อน คลื่น BC และ HF จะต้องเป็นแบบ in phase จึงจะมีการเสริมกันหรือเลี้ยวเบนได้แต่คลื่นที่สะท้อนจากระนาบที่ 2 เคลื่นที่ไปได้ไกลกว่าที่จะสะท้อนจากระนาบที่1 ตามรูปจะเห็นว่า AB = DG และ BC = HFระยะทางของทั้งสองคลื่นมีความแตกต่างกันเป็นระยะทาง GE + EH ซึ่งระยะทางนี้จะต้องเป็นตัวเลขที่คูณด้วยความยาวคลื่นซึ่งจะทำให้มีการเสริมกันและทำให้รังสีเอกซ์มีความเข้มเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นภาวะจำเป็นที่จะทำให้เกิดการเลี้ยวเบน หรือ GE+ EH = nλ n = 1,2,3,….. แต่ตามรูป GE = EH = d sin  เพราะฉะนั้น nλ = 2d sin  สมการนี่เรียกได้ว่า สมการของแบรกก์ ( Bragg’s equation ) ซึ่งระบุถึงการเลี้ยวเบนจะเกิดขึ้นเมื่อ n,λ,d และ มีความสัมพันธ์ดังปรากฎตามสมการนี้เท่านั้น n เป็นอันดับของการเลี้ยวเบนเป็นเลขที่ลงตัวเนื่องจาก sin  มีค่าสูงสุดไม่เกินหนึ่ง เพราะฉะนั้น แต่ละครั้งของการทดลองมี λ และ d ที่แน่นอนก็อาจมีมุมตก  ได้หลายๆค่าเป็นไปตาม n = 1,2,3,…จากสมการเล่านี้จะเห็นว่าสำหรับ λ และ d มีค่าที่แน่นอนสำหรับผลึกหนึ่งๆ n จะมีค่าสูงขึ้นเมื่อ sin ค่ามากขึ้นหรือมุม  โตขึ้น ซึ่งได้พบเมื่อ n มีค่าสูงขึ้น รังสีที่สะท้อนจะมีความเข้มข้นต่ำลงอย่างรวดเร็ว

การเกิดการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์จากผงผลึก

  • (ก) การจัดตั้งการทดลอง
  • (ข) การเลี้ยวเบนจากผลึกของโซเดียมคลอไรด์ที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์ม

เมื่อผลึกเล็กๆ เหล่านี้รับรังสีเอกซ์ที่ตกกระทบ ก็จะมีระนาบจำนวนหนึ่งทำมุมได้พอเหมาะที่เป็นไปตามสมการของแบรกก์ ส่วนระนาบอื่นๆ ก็จะทำมุมให้พอเหมาะตามสมการแบรกก์อีกเหมือนกันผลที่ได้คือมีระนาบจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถเกิดการเลี้ยวเบนของรังสีออกมาได้ เนื่องจากระนาบชนิดเดียวกันมีเป็นจำนานมากและมีอยู่ทุกทิศทางทำให้เกิดอนุกรมทรงกรวยของรังสีตามที่แสดงไว้ในรูป(ก) เมื่อรังสีเอกซ์เลี้ยวเบนนี้ตกกระทบกับแผ่นฟิล์มในกล้องทรงกระบอก รูป (ข) เป็นรูปของฟิล์มที่เป็นผลจากการเลี้ยวเบนจากผลึกของ NaCl ในกล้องทรงกระบอก เส้นต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถจะวัดและคำนวณออกมาเป็นมุม  ที่ปรากฏในสมการแบรกก์ได้ ปรากฏในแผ่นฟิล์มเป็นผลจากการเลี้ยวเบนของรังสีจากระนาบต่างๆที่มีอยู่ในผลึกนั้นๆถ้าเราทราบชนิดของระนาบที่ทำให้เกิดแต่ละเล้นบนฟิล์ม มุม  วัดได้จากเส้นเหล่านี้ และเมื่อทราบความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์และระบบของผลึก เราก็สามารถคำนวณและความยาวตามขอบของหน่วยเซลล์ของผลึกนั้นๆได้

อัตราส่วนรัศมีของไอออนบวกและไอออนลบ

ในสารประกอบไอออนิก เลขโคออร์ดิเนชันมีความสัมพันธ์กับขนาดของไอออนบวกและไอออนลบที่ประกอบกันเป็นผลึกและขนาดของไอออนจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการจัดเรียงตัวของไอออนต่างๆ ในผลึก ซึ่งถือว่าขนาดของไอออนเป็นตัวกำหนดรูปร่างของผลึก แบบซีเซียมคลอไรด์ หรือ แบบซิงค์เบลนด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนรัศมีไอออนบวกต่อไอออนลบ (r+/r-) เราสามารถคำนวณหาขีดจำกัดของอัตราส่วนรัศมี r+/r-ได้จากรูปทรงเรขาคณิตของเซลล์หน่วยผลึกเกลือผลึกสามัญ เลขโคออร์ดิเนชันและโครงสร้างมีความสัมพันธ์กัน ถ้าทราบอัตราส่วนรัศมี r+/r- ซึ่งรัศมีของไอออนจะสามารถบอกจำนวนเลขโคออร์ดิเนชัน หรือชนิดของโครงสร้างผลึกได้

ไอโซเมอร์ฟิซึมและพอลิเมอร์

ไอโซเมอร์(isomorphism) แปลว่าภาวะรูปร่างเหมือนกัน ถ้าจะกล่าให้ชัดเจนไอโซเมอร์ฟิซึมเป็นปรากฏการณ์ที่ผลึกของสารต่างๆมีองศ์ประกอบแตกต่างกันแต่มีโครงสร้างผลึกทางเรขาคณิตเป็นรูปแบบเดียวกันสารที่มีโครงสร้างผลึกรูปแบบเดียวกันเรากล่าวได้ว่าสารเหล่านี้นั้นมีรูปร่างเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น NaCl KCL KBr ทั้งสามสารนี้มีรูปร่างเหมือนกัน เพราะต่างก็มีโครงสร้างผลึกอยู่ในระบบลูกบาศก์เหมือนกันหรือสารประกอบพวกสารส้ม ในปี ค.ศ. 1819 Mitscherlichได้สังเกตพบว่าสาต่างๆ มีองศ์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน จำนวนโมเลกุลของน้ำผลึกเท่ากัน และจากการทดลองพบว่าสารทั้งสองมีรูปร่างเหมือนกันเขาได้สังเกตเห็นว่าสารที่มีรูปร่างเหมือนกันจะมีจำนวนอะตอมของธาตุต่างๆทั้งหมดเท่ากัน และมีขนาดอะตอมใกล้เคียงกันในที่สุด จึงสรุปว่า สารที่มีโครงสร้างผลึกเหมือนกันย่อมมีสูตรโมเลกุลแบบเดียวกัน พอลิเมอร์ฟิซึม (Polymorphism) แปลว่า ภาวะโครงสร้างหลายแบบ เป็นปรากฏการณ์ที่สารประกอบบางชนิดมีโครงสร้างผลึกได้มากกว่าหนึ่งแบบ

            ธาตุบางชนิดเกิดปรากฏการณ์รูปร่างหลายแบบได้เช่นเดียวกับสารประกอบเราเรียกว่า อัญรูป  ของธาตุ เช่น กำมะถัน มีโครงสร้างผลึกเป็นรอมบิก และโมโนคลินิก
            อย่างไรก็ตามสารรูปร่างหลายแบบสามารถโครงสร้างผลึกจากแบบหนึ่งไปเป้นอีกอีกแบบหนึ่งไปเป้นอีกแบบหนึ่งได้ภายใต้อุณหภมิและความดันหนึ่งเราเรียก อุณหภูมินั้นว่า จุดแทรนซิชัน เช่น เมื่อ ทำให้กำมะถันร้อนรอมบิก ร้อนขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นกำมะถันโมโนคลินิก จะเปลี่ยนกลับไปเป็นกำมะถันรอมบิก ปรากฏการณ์ ที่โครงสร้างผลึกสามารถเปลี่ยนไปมา  จุดแทรนซิชันของสารรูปร่างหลายแบบบ สารรูปร่างหลายแบบบางชนิดเมื่อเปลี่ยนโครงสร้างผลึกจากแบบหนึ่งเป็นอีกแบบหนึ่งแล้วไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นแบบเดิมได้ก็มี เช่น เพชรเปลี่ยน เป็นแกรไฟต์ แต่แกร์ไฟต์ ไม่ปลี่ยนเป็นแกร์ไฟต์ แต่แกร์ไฟต์ไม่เปลี่ยนกลับไปเป็นเพชรปรากกการณ์ เรียกว่า monotropic

จาการศึกษาโครงสร้างแบบผลึกของโลหะโดยวิธีการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กส์ พบว่าโลหะต่างๆมีแลตทิซผลึกแบบ hexagonal closet packing หรือ face- centered cubic closest packing ซึ่งเป็นโครงสร้างผลึกแบบชิดที่สุดมีเลขโคออร์ดิเนชันเท่ากับ12โลหะส่วนน้อยมีแลตทิซผลึกเป็นแบบ body-centered cubic ซึ่งมีเลขคอร์ดิเนชันเท่ากับ 8 โลหะบางชนิดมีรูปร่างหลายแบบ เช่น แคลเซียมมีแลตทิซผลึกได้ทั้งแบบ body – centered และ face-centered cubic

(crystaline lattice)

ตัวอย่างเป็นระเบียบมีแบบแผนแน่นอนเป็นสามมิติ ของอนุภาคของแข็งที่เป็นผลึก เรียกว่า แลตทิซผลึก หน่วยที่เล็กที่สุดของแลตทิซผลึกเรียกว่า หน่วยเซลล์ (unit cell) แลตทิซผลึกเกิดจากหน่วยเซลล์ที่เหมือนๆกันเรียงต่อๆกันโดยมีแบบแผนที่แน่นอน หน่วยเซลล์ของผลึกแต่ละชนิดจึงมีรูปทรงแน่นอนและใช้บอกลักษณะการจัดตัวของอนุภาคสำหรับผลึกแต่ละชนิดได้ หน่วยเซลล์มีลักษณะพื้นฐานแตกต่างกัน 7 แบบ ทำให้มีระบบผลึก (crystal system) 7 ระบบ แต่ละระบบแตกต่างกันที่ความสัมพันธ์ของด้านแต่ละมุม การเขียนภาพแสดงหน่วยเซลล์ต่างๆ มักใช้จุดแทนอนุภาคของผลึกในหน่วยเซลล์ ระบบผลึกทั้ง 7 ระบบ ที่กล่าวมา บอกแต่เพียงความสัมพันธ์ของด้านและมุมของแต่ละระบบ แต่ไม่ได้บอกว่า แต่ละระบบมีอนุภาคของผลึกอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง ระบบผลึกบางระบบอาจมีตำแหน่งของอนุภาคต่างกันถึง 2,3 หรือ 4 แบบ โดยมีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้ ผลึกธรรมดา (sinple หรือ primitive) มีอนุภาคอยู่ที่มุมของรูปผลึก (หนน่วยเซลล์) เท่ากัน (ทุกๆระบบมีผลึกแบบนี้) ผลึกแบบกลางหน้า นอกจากจะมีอนุภาคตามมุมแล้วยังมีอนุภาคตรงกลางด้านทุกด้านอีกด้วย ผลึกกลางตัว นอกจากมีอนุภาคที่มุมแล้วยังมีตรงกลางด้านบนของแต่ล่ะด้านบนและด้านล่างของหน่วยเซลล์ด้วย ซึ่งเมื่อระบบแบบจัดการอนุภาคในเซลล์ทั้งหมดของระบบผลึก 7 ระบบ ทำให้เกิดลักษณะของหน่วยเซลล์ทั้งหมด 14 แบบ เรียกว่า แลตทิซบราแวส์

การนับจำนวนอนุภาคในหน่วยเซลล์

การนับจำนวนอนุภาคของหน่วยเซลล์แต่ละระบบ ต้องพิจารณาอนุภาคที่อยู่ตามมุม ตามขอบ ตามด้านหรือตรงกลางหน่วยเซลล์ว่า แต่ละอนุภาคเป็นเซลล์ๆหนึ่ง เป็นสัดส่วนเท่าใด แล้วจึงนำอนุภาคทั้งหมดมารวมกัน ทั้งนี้เพราะหน่วยเซลล์อยู่ชิดกัน จึงมีการใช้อนุภาค ตามมุม ขอบ หรือด้านรวมกัน ซึ่งจะพิจารณาได้ดังนี้ อนุภาคที่อยู่ภายใต้หน่วยเซลล์ เป็นของหน่วยเซลล์นั้น 1 อนุภาคต่อ 1 หน่วยเซลล์ เพราะไม่ได้ใช้อนุภาคนั้นรวมกันกับเซลล์ใด อนุภาคที่มุม เป็นของเซลล์ 1/8 อนุภาคต่อหนึ่งหน่วยเซลล์ เพราะมีการใช้อนุภาคนั้นร่วมกัน 8 หน่วย อนุภาคตามขอบ เป็นของเซลล์ 1/4 อนุภาคต่อ 1 หน่วยเซลล์ เพราะมีการใช้อนุภาคนั้นร่วมกัน 4 เซลล์ อนุภาคตามด้าน เป็นของเซลล์หน่วยนั้น 1/2 อนุภาค 1 หน่วยเซลล์ เพราะมีการใช้อนุภาคนั้นร่วมกัน 2 หน่วยเซลล์ จากหลักข้างต้น จึงสรุปจำนวนอนุภาคของหน่วยเซลล์แต่ละชนิดได้ดังนี้ (ต่อ 1 หน่วยเซลล์) แบบธรรมดา มี (8x1/8) = 1 อนุภาค แบบลูกบาศก์กลางตัว มี (1+8x1/8) = 2 อนุภาค แบบกลางหน้า มี (8x1/8+6x1/2) = 4 อนุภาค แบบกลางปลาย มี (8x1/8+2x1/2) = 2 อนุภาค

พลังงานแลตทิซและวัฏจักรบอร์น-ฮาร์เบอร์

พลังงานแลตทิซ (lattice energy) หมายถึง พลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้ของแข็งไอออน (ionic solid) แตกออกเปนไอออนที่เป็นแก๊ส เช่น พลังงานแลตทิซของ NaCl คือพลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้ NaCl เกิดปฏิกิริยา

พลังงานแลตทิซใช้บอกความแข็งแรงของพันธะในสารไอออนิกได้ การคำนวณพลังงานพันธะโดยใช้ทฤษฎีพันธะแบบไอออนจะได้ค่าใกล้เคียงกับการทดลองโดยใช้วัฏจักรของบอร์น-ฮาร์เบอร์ เปรียบเทียบค่าพลังงานแลตทิซได้จากการพิจารณาประจุไอออนของสาร พลังงานแลตทิซคำนวณได้จากสมการต่อไปนี้ U = (NAe^2 z^2)/(〖10〗^10 r_0 )(1-1/n) เมื่อ N = เลขอโวกาโดร U = พลังงานแลตทิซ เป็น mol-1 A = ค่าคงที่มาเดลุง เป็นค่าเฉพาะสำหรับผลึกแต่ละชนิด ( A ของ NaCl = 1.748 ) e = ประจุอิเล็กตรอน = 4.803 ×10-10 esu z = ประจุของไอออน (แคตไอออนหรือแอนไอออน)(NaCl : z =1) r0 = ระยะระหว่างไอออนในผลึก (NaCl : r0 = 2.811 × 10-8 cm) n = ค่าเกี่ยวกับแรงผลัก มักมีค่า 6-10 (NaCl : n = 8 ) พลังงานแลตทิซของผลึกขึ้นกับปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ ขนาดของไอออนและประจุ ถ้าไอออนมีขนาดใหญ่ค่าพลังงานแลตทิซจะน้อย ถ้าไอออนมีขนาดใกล้เคียง สารที่ประกอบด้วยไอออนที่มีประจุสูงกว่าจะมีค่าพลังงานแลตทิซมากกว่า

ความดันไอของของเหลวและการระเหิด

ของแข็งบางชนิดกลายเป็นแก๊สได้โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่า การระเหิด เกิดขึ้นได้เพราะอนุภาคในของแข็งมีการสั่นและชนกับอนุภาคข้างเคียงตลอดเวลาทำให้มีการถ่ายเทอนุภาค เมื่อการระเหิดเกิดในภาชนะปิด อนุภาคกลายเป็นแก๊สมากขึ้น ทำให้ความดันไอเพิ่ม เมื่อแก๊สบางส่วนเคลื่อนที่ช้าไปกระทบกับผิวหน้าของของแข็งก็จะกลับเป็นของแข็งได้อีก จนขณะหนึ่งที่อัตราการกลายเป็นแก๊สเท่ากับอัตราการเปลี่ยนจากแก๊สเป็นของแข็งตามเดิม เรียกว่า ความดันไอสมดุลของแข็งการระเหิดมีประโยชน์ในกระบวนการผลิตอาหารที่ต้องการเก็บไว้ให้ได้นาน โดยมีคุณภาพเดิม ผ่านกรรมวิธีการแช่แข็งการที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเรียกว่า การหลอมเหลว และเมื่อของเหลวเปลี่ยนเป็นของแข็งเรียกว่า การแข็งตัว อุณหภูมิที่ของแข็งและของเหลวอยู่ในสมดุลกัน เรียกว่า จุดหลอมเหลว หรือ จุดเยือกแข็งการที่ของเหลวกลายเป็นไอที่อุณหภูมิห้องเรียกว่า การระเหย และการที่ไอกลายเป็นของเหลวเรียกว่า การควบแน่น ส่วนอุณหภูมิที่ของเหลวและไออยู่ในสมดุลกันที่ความดัน1บรรยากาศเรียกว่า จุดเดือดปกติ

ซีมิคอนดักเตอร์

ซีมิคอนดักเตอร์ คือสารที่มีสมบัติการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือดีขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นที่อุณหภูมิต่ำ อิเล็กตรอนในซีมิคอนดักเตอร์อยู่ประจำที่ในลักษณะพันธะโควาเลนต์ แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ ทำให้อิเล็กตรอนบางส่วนที่ยึดเหนี่ยวไม่แน่นสามารถเคลื่อนที่หรือ ไม่อยู่ประจำที่เกิดสมบัติการนำไฟฟ้า ตัวอย่างซีมิคอนดักเตอร์ที่ดีคือซิลิคอน(Si)ที่อุณหภูมิห้อง Si มีความสามารถนำไฟฟ้าต่ำมาก เพราะวาเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 4 ของแต่ละ Si อะตอมต่างเกิดพันธะโควาเลนต์กับ Si อะตอมที่อยู่ข้างเคียงโดย 〖sp〗^3ไฮบริดออร์บิตอล จึงไม่มีอิเล็กตรอนเหลือที่จะเคลื่อนที่ได้ แต่ถ้าโดป Si ด้วยธาตุในหมู่อื่นเช่น ธาตุในหมู่ V ซึ่งได้แก่ P,As,Sbหรือ Bi บ้าง โครงสร้างของซิลิคอนยังคงเหมือนเดิม แต่จะมีอะตอมที่มี 5 วาเลนซ์อิเล็กตรอน(เช่น P )แทนที่ตำแหน่งของ Si เดิม พันธะโควาเลนต์ระหว่าง Si และ P ยังคงเป็น 4 พันธะเหมือนเดิม จึงมีอิเล็กตรอนเหลืออยู่ 1 อิเล็กตรอนที่สามารถเคลื่อนที่ได้หรือไม่อยู่ประจำที่ เกิดสมบัติการนำไฟฟ้าขึ้น ซิลิคอนที่โดปด้วยธาตุหมู่ V เรียกว่า ซีมิคอนดักเตอร์ชนิด n(n-type semiconductor)ซึ่ง n แทน negative หรือลบเพราะอิเล็กตรอนที่ทำหน้าที่นำไฟฟ้ามีประจุเป็นลบ ซิลิคอนที่โดปด้วยธาตุในหมู่ III เช่น B,Al,Gaหรือ In ซึ่งมีเพียง 3 วาเลนซ์อิเล็กตรอน ทำให้ตำแหน่งที่มีธาตุหมู่นี้ เช่น B อะตอมอยู่แทนที่ Si อะตอมมีเพียง3 พันธะโควาเลนต์เท่านั้น จึงเกิดช่องว่างเรียกว่ารูขึ้นในโครงสร้าง Si เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไป อิเล็กตรอนอาจตกเข้าไปในรูที่ว่างเปล่า รูนี้จะหมดสภาพไป แต่เกิดรูใหม่ขึ้นตรงตำแหน่งที่อิเล็กตรอนนั้นเคยอยู่ การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในลักษณะนี้ จึงดูเหมือนว่ารูที่ว่างเปล่าเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน รูที่เปล่านี้จึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุบวกเคลื่อนที่ผ่านโครงสร้างซิลิคอนภายใต้สนามไฟฟ้า เรียกซิลิคอนที่โดปด้วยธาตุหมู่ III ว่า ซีมิคอนดักเตอร์ชนิด p(p-type conductor) ซึ่ง p แทน positive หรือประจุบวก ซีมิคอนดักเตอร์มีประโยชน์มากในทางปฏิบัติ เช่น ใช้ทำไดโอด (diode) ทรานซีสเตอร์ (transistor),โฟโตไดโอด (photodiode) และโซลาร์เซลล์ (solar cell) เป็นต้น