ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำตัด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลืม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:


{{ศิลปะการแสดงไทย}}
{{ศิลปะการแสดงไทย}}
{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/ศิลปะการแสดง}}

[[หมวดหมู่:ศิลปะการแสดงไทย]]
[[หมวดหมู่:ศิลปะการแสดงไทย]]
{{โครงวัฒนธรรม}}
{{โครงวัฒนธรรม}}
ลืม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:16, 14 เมษายน 2558

ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลุกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย

เพลงลำตัดเป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า “ ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า “ ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลง และทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับ โดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้น ลำตัดเป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียบง่าย มีความหมายรู้ ได้ดีมาก กล่าวคือ ตามความหมายเดิม “ลำ” แปลว่า เพลง เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ตัด” หมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิดมา ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่น ตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัยและเพลงอีแซว เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่าลำตัด