ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ศิลปะ: เก็บกวาด
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
=== ภาษาและอักษรมอญ ===
=== ภาษาและอักษรมอญ ===


[[ภาษามอญ]]มีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปี เป็นภาษาในสาขามอญ (Monic) มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน ส่วนอักษรมอญ มีความเก่าแก่ พบหลักฐานในประเทศไทยที่ จารึก[[วัดโพธิ์ร้าง]] [[พ.ศ. 1143]] เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัว[[อักษรปัลลวะ]] ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น [[อักษรมอญ]] พบว่ามีการประดิษฐ์อักษรมอญขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมือง[[ลพบุรี]] และยังพบจารึก จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว [[พ.ศ. 1314]] เป็น ตัวอักษรหลังปัลลวะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ[[พระพุทธศาสนา]]
[[ภาษามอญ]]มีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปี เป็นภาษาในสาขามอญ (Monic) มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน ส่วนอักษรมอญ มีความเก่าแก่ พบหลักฐานในประเทศไทยที่ จารึก[[วัดโพธิ์ร้าง]] [[พ.ศ. 1143]] เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัว[[อักษรปัลลวะ]] ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น [[อักษรมอญ]] พบว่ามีการประดิษฐ์อักษรมอญขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมือง[[ลพบุรี]] และยังพบจารึก จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว [[พ.ศ. 1314]] เป็น ตัวอักษรหลังปัลลวะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ[[พระพุทธศาสนา]]


หลักฐานจารึกในสมัยกลางประมาณ [[พ.ศ. 1600]] เป็นต้นมา บันทึกทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ซึ่งพม่าก็รับอักษรมอญมาใช้เขียน[[ภาษาพม่า]]เป็นครั้งแรก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม ก็คืออักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมา จนในพุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ที่มีลักษณะกลม สันนิษฐานว่าเกิดจากการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบน[[ใบลาน]] มอญปัจจุบันมีอายุ ประมาณ 400 ปีเศษ <ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=68&main_menu_id=3 อักษรมอญ]</ref>
หลักฐานจารึกในสมัยกลางประมาณ [[พ.ศ. 1600]] เป็นต้นมา บันทึกทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ซึ่งพม่าก็รับอักษรมอญมาใช้เขียน[[ภาษาพม่า]]เป็นครั้งแรก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม ก็คืออักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมา จนในพุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ที่มีลักษณะกลม สันนิษฐานว่าเกิดจากการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบน[[ใบลาน]] มอญปัจจุบันมีอายุ ประมาณ 400 ปีเศษ <ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=68&main_menu_id=3 อักษรมอญ]</ref>


ภาษามอญจัดอยู่ใน[[ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก]] (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบ[[อินโดจีน]]และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเมื่อพิจารณาลักษณะทาง[[ไวยากรณ์]] ภาษามอญจัดอยู่ในประเภท[[ภาษาคำติดต่อ]] (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group) นักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ [[วิลเฮม สชมิต]] (Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)
ภาษามอญจัดอยู่ใน[[ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก]] (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบ[[อินโดจีน]]และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเมื่อพิจารณาลักษณะทาง[[ไวยากรณ์]] ภาษามอญจัดอยู่ในประเภท[[ภาษาคำติดต่อ]] (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group) นักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ [[วิลเฮม สชมิต]] (Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
สรุปคือ ภาษามอญเป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผัน[[คำนาม]] [[คำกริยา]] ตามกฎบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย<ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=158&main_menu_id=3 ภาษามอญ]</ref>
สรุปคือ ภาษามอญเป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผัน[[คำนาม]] [[คำกริยา]] ตามกฎบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย<ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=158&main_menu_id=3 ภาษามอญ]</ref>


ใน[[ประเทศไทย]]เอง ก็มีการใช้[[ภาษามอญ]]ในการสื่อสารในชุมชนมอญแต่ละชุมชนในจังหวัดต่างๆ และในแต่ละชุมชนนั้นเองก็มีสำเนียงเฉพาะที่แตกต่างไปในชุมชนที่อาศัยซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากชุมชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวมอญซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน โดยในบางชุมชนยังคงมีการสอนลูกหลานให้พูดภาษามอญกัน แต่บางชุมชนภาษามอญก็มีการใช้สื่อสารน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามใน[[จังหวัดสมุทรสาคร]]ก็มีชาวมอญจาก[[ประเทศพม่า]]ที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในจังหวัด ซึ่งได้นำภาษาพูดและภาษาเขียนกลับเข้ามาในชุมชนมอญแถบมหาชัยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีการใช้ภาษามอญ รวมไปถึงป้ายข้อความภาษามอญให้พบเห็นโดยทั่วไป<ref>สุกัญญา เบาเนิด [http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=173 ว่าด้วยตัวตนคนมอญย้ายถิ่นในมหาชัย]. วารสารเมืองโบราณ</ref>
ใน[[ประเทศไทย]]เอง ก็มีการใช้[[ภาษามอญ]]ในการสื่อสารในชุมชนมอญแต่ละชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ และในแต่ละชุมชนนั้นเองก็มีสำเนียงเฉพาะที่แตกต่างไปในชุมชนที่อาศัยซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากชุมชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวมอญซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน โดยในบางชุมชนยังคงมีการสอนลูกหลานให้พูดภาษามอญกัน แต่บางชุมชนภาษามอญก็มีการใช้สื่อสารน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามใน[[จังหวัดสมุทรสาคร]]ก็มีชาวมอญจาก[[ประเทศพม่า]]ที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในจังหวัด ซึ่งได้นำภาษาพูดและภาษาเขียนกลับเข้ามาในชุมชนมอญแถบมหาชัยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีการใช้ภาษามอญ รวมไปถึงป้ายข้อความภาษามอญให้พบเห็นโดยทั่วไป<ref>สุกัญญา เบาเนิด [http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=173 ว่าด้วยตัวตนคนมอญย้ายถิ่นในมหาชัย]. วารสารเมืองโบราณ</ref>


[[ไฟล์:MonVirgins.jpg|thumbnail|เด็กในชุดดั้งเดิมของชาวมอญ]]
[[ไฟล์:MonVirgins.jpg|thumbnail|เด็กในชุดดั้งเดิมของชาวมอญ]]

=== ศิลปะ ===
=== ศิลปะ ===
ศิลปวัฒนธรรมมอญนั้น กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของพม่าไปหมดเพราะ ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่นั้น พม่าได้รับไปจากมอญ ศิลป[[สถาปัตยกรรม]]ประเภทเรือนยอด ([[กุฏาคาร]]) หรือหลังคาที่มียอดแหลมต่อขึ้นไป โดยเฉพาะเรือนยอดทรงมณฑปนี้ เป็นสถาปัตยกรรมมอญ ที่ไทยและพม่านำมาดัดแปลงใช้ต่อ
ศิลปวัฒนธรรมมอญนั้น กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของพม่าไปหมดเพราะ ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่นั้น พม่าได้รับไปจากมอญ ศิลป[[สถาปัตยกรรม]]ประเภทเรือนยอด ([[กุฏาคาร]]) หรือหลังคาที่มียอดแหลมต่อขึ้นไป โดยเฉพาะเรือนยอดทรงมณฑปนี้ เป็นสถาปัตยกรรมมอญ ที่ไทยและพม่านำมาดัดแปลงใช้ต่อ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:55, 6 เมษายน 2558

มอญ
ไฟล์:CosTribe Mon.gif
ประชากรทั้งหมด
8,145,500 คน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
รัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง
เขตหงสาวดี เขตตะนาวศรี
        รวมในพม่า8,000,000 คน
 ไทย114,500 คน
ออสเตรเลีย ออสเตรเลียแคนาดา แคนาดา
นอร์เวย์ นอร์เวย์เดนมาร์ก เดนมาร์ก
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ภาษา
ภาษามอญ, ภาษาพม่า, ภาษาไทย
ศาสนา
พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท

มอญ (พม่า: မွန်လူမျိုး; มอญ: မန် หรือ မည်; IPA: [mùn]; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร[1]

ที่มาของคำว่ามอญและรามัญ

นักภูมิศาสตร์อาหรับบางท่านเรียกมอญว่า รามัญประเทศ (Ramannadesa) ซึ่งหมายถึง "ประเทศมอญ" คำนี้เพี้ยนมาจากคำศัพท์โบราณของ มอญ คือ "รามัญ" (Rmen) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกตัวเองของมอญ แต่พม่าเรียกมอญว่า "ตะเลง" (Talaing) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Telangana อันเป็นแคว้นหนึ่งทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดในมหาวังสะของสิงหล ในสมัยพระเจ้าจานสิตาแห่งพุกาม พบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนออกเสียงว่า รมีง ซึ่งในจารึกนั้น ก็พบคำเรียกพม่าอ่านว่า มิรมา อีกด้วย ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนอ่านว่า รมัน คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ จะเรียกว่า มัน หรือ มูน ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ ในภาษาไทย

ประวัติ

มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิ"

ในพุทธศตวรรษที่ 2 ศูนย์กลางของอาณาจักรมอญคืออาณาจักรสุธรรมวดีหรือสะเทิม (Thaton) จากพงศาวดารมอญ กล่าวไว้ว่าอาณาจักรสะเทิมสร้างโดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าติสสะ แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ก่อนปี พ.ศ. 241 พระองค์นำพลพรรคลงเรือสำเภามาจอดที่อ่าวเมาะตะมะ และตั้งรากฐานซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของเมือง อาณาจักรสะเทิมรุ่งเรืองมาก มีการค้าขายติดต่ออย่างใกล้ชิดกับประเทศอินเดียและลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ และศาสนา โดยเฉพาะรับเอาพุทธศาสนานิกายหินยานมา มอญมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดียไปยังชนชาติอื่นอย่าง ชาวพม่า ไทย และลาว เจริญสูง มีความรู้ดีทางด้านการเกษตร และมีความชำนาญในการชลประทาน โดยเป็นผู้ริเริ่มระบบชลประทานขึ้นในลุ่มน้ำอิรวดีทางตอนกลางของประเทศพม่า

พวกน่านเจ้าเข้ามาทางตอนเหนือของพม่า และทำสงครามกับพวกปยู อาณาจักรมอญ ที่สะเทิมขยายอำนาจขึ้นไปทางภาคกลางของลุ่มแม่น้ำอิรวดีระยะหนึ่ง แต่เมื่อ ชนชาติพม่า มีอำนาจเหนืออาณาจักรปยู และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ เข้ารุกรานมอญ มอญจึงถอยลงมาดังเดิม และได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1368 ที่ หงสาวดี

พระเจ้าอโนรธา กษัตริย์พม่าแห่งพุกาม ยกทัพมาตีอาณาจักรสุธรรมวดี และกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก กลับไปพุกามจำนวนมาก ต่อมาระหว่างปี 1600-1830 กรุงหงสาวดี ตกอยู่ใต้อำนาจพุกาม แต่กระนั้นพม่าก็รับวัฒนธรรมมอญมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาษามอญได้แทนที่ภาษาบาลีและสันสกฤตในจารึกหลวง และศาสนาพุทธเถรวาท ได้เป็นศาสนาที่นับถือสูงสุดในพุกาม มอญยังมีความใกล้ชิดกับลังกา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และนิกายเถรวาทก็แพร่กระจายไปทั่วเอเชียอาคเนย์

พระเจ้ากยันสิทธะทรงดำเนินนโยบายผูกมิตรกับราชตระกูลของพระเจ้ามนูหะ กษัตริย์มอญแห่งสะเทิม โดยยกพระราชธิดาให้กับเจ้าชายมอญ พระนัดดาที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระนามว่า อลองคะสิทธู ในยุคที่พระองค์ปกครองอาณาจักรพุกามได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นที่สุด นอกจากนี้ในสมัยของพระเจ้ากยันสิทธะ ในศิลาจารึกยกย่องไว้ว่า "วัฒนธรรมมอญ"เหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 1830 มองโกลยกทัพมาตีพม่า ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของพ่อขุนรามคำแหงได้กอบกู้เอกราช และสถาปนาราชวงค์ชาน-ตะเลง สถาปนาอาณาจักรมอญอิสระ มีศูนย์กลางที่เมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองของมอญจนถึงปี พ.ศ. 1912 จากนั้นย้ายกลับไปหงสาวดีตามเดิม และในรัชสมัยพระเจ้าราชาธิราช หงสาวดีรุ่งเรืองจนเป็น ศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต ทางแถบอ่าวเบงกอล มีเมืองท่าหลายเมืองในละแวกใกล้ ๆ และอาณาจักรมอญมารุ่งเรือง เจริญสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2015-2035 สมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ ต่อมาหงสาวดีก็เสียแก่ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กษัตริย์พม่า ในปี พ.ศ. 2094 จนปี พ.ศ. 2283 สมิงทอพุทธิเกศ ก็กู้เอกราชคืน มาจากพม่าได้สำเร็จ และได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2290 พระยาทะละได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 พระเจ้าอลองพญาก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ มอญตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่าจนกระทั่งทุกวันนี้[2]

ในปัจจุบัน ชาวมอญรุ่นหลังหันมาใช้ภาษาพม่ากันมาก และมีจำนวนมากที่เลิกใช้ภาษามอญ จนคิดว่าตนเป็นพม่า อีกทั้งไม่ทราบว่าตนมีเชื้อสายมอญ จากการสำรวจประชากรมอญในปี ค.ศ. 1931 พบว่ามีจำนวนแค่ 3 แสน 5 หมื่นคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการก่อตั้งสมาคมชาวมอญ และมีการสำรวจประชากรมอญอีกครั้ง พบว่ามีราว 6 แสนกว่าคน พอต้นสมัยสังคมนิยมสำรวจได้ว่ามีชาวมอญราว 1 ล้านกว่า ชาวมอญที่ยังพูดภาษามอญในชีวิตประจำวันอยู่ มีในหมู่บ้านในเมืองไจก์ขมี และเมืองสะเทิม แต่ในเขตเมืองก็จะพบแต่ชาวมอญที่พูดภาษาพม่าเป็นส่วนมาก[3]

พระมหากษัตริย์และราชวงศ์

ราชวงศ์ของอาณาจักรชนชาติมอญนั้น อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค

ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม-อาณาจักรสุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง 57 พระองค์ เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหะ เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ ทั้งอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรสะเทิม ยุคแรกสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงนครปฐม

ยุคที่สองคือยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-พะโค (Hanthawaddy Kingdom) เริ่มจากสมัยที่พม่าซึ่งอ่อนแอจากการรุกรานของมองโกล พระเจ้าวะเรรุหรือพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ได้ทรงกอบกู้เอกราชมอญจากพม่าและสถาปนา "อาณาจักรมอญอิสระ" พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ของไทย มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ ต่อมาในสมัยพญาอู่ ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าราชาธิราช ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าในสมัยพระเจ้าสวาสอแก กับสมัยพระเจ้าเมงคอง (คนไทยเรียกว่า พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ในหนังสือเรื่อง ราชาธิราช) ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช ก็คือ สมิงพระราม ละกูนเอง (สมิงนครอินทร์) และแอมูน-ทยา (สมิงอายมนทะยา) ในสมัยของพระเจ้าราชาธิราชนั้นหงสาวดีกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต ทางแถบอ่าวเบงกอล มีเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่ง อาณาจักรมอญยุคนี้เจริญสูงสุดในสมัยพระนางเชงสอบูและสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าทาคายุพินหงสาวดีก็เสียแก่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

ยุคที่สามยุคฟื้นฟู (Restored Hanthawaddy Kingdom) พ.ศ. 2283 สมิงทอพุทธิเกศกู้เอกราชคืนมาจากพม่าได้สำเร็จ และได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2290 พระยาทะละ ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 พระเจ้าอลองพญา ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญคือ พระเจ้าพญามองธิราช มอญตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า จนกระทั่งทุกวันนี้

วัฒนธรรม

ภาษาและอักษรมอญ

ภาษามอญมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปี เป็นภาษาในสาขามอญ (Monic) มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน ส่วนอักษรมอญ มีความเก่าแก่ พบหลักฐานในประเทศไทยที่ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ พบว่ามีการประดิษฐ์อักษรมอญขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี และยังพบจารึก จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว พ.ศ. 1314 เป็น ตัวอักษรหลังปัลลวะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

หลักฐานจารึกในสมัยกลางประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา บันทึกทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ซึ่งพม่าก็รับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม ก็คืออักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมา จนในพุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ที่มีลักษณะกลม สันนิษฐานว่าเกิดจากการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน มอญปัจจุบันมีอายุ ประมาณ 400 ปีเศษ [4]

ภาษามอญจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบอินโดจีนและทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเมื่อพิจารณาลักษณะทางไวยากรณ์ ภาษามอญจัดอยู่ในประเภทภาษาคำติดต่อ (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group) นักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ วิลเฮม สชมิต (Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)

พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงภาษามอญไว้ว่า "ภาษามอญ นั้นมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ซึ่งมีรูปภาษาคำติดต่อปน ลักษณะคำมอญ จะมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำหลายพยางค์ เป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีและสันสกฤต และคำที่เกิดจากการเติมหน่วยคำผสาน กล่าวคือ การออกเสียงของคำซึ่งไม่เน้นการออกเสียงในพยางค์แรก จะสร้างคำโดยการใช้การผสานคำ (affixation) กับคำพยางค์แรก เพื่อให้มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้หน่วยผสานกลางศัพท์ และการใช้สระต่าง ๆ กับพยางค์แรก ในคำสองพยางค์ ก็จะเป็นการช่วยเน้นให้พยางค์แรกเด่นชัดขึ้นด้วย แต่พยางค์หลังเป็นส่วนที่มีความหมายเดิม"

สรุปคือ ภาษามอญเป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผันคำนาม คำกริยา ตามกฎบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย[5]

ในประเทศไทยเอง ก็มีการใช้ภาษามอญในการสื่อสารในชุมชนมอญแต่ละชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ และในแต่ละชุมชนนั้นเองก็มีสำเนียงเฉพาะที่แตกต่างไปในชุมชนที่อาศัยซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากชุมชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวมอญซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน โดยในบางชุมชนยังคงมีการสอนลูกหลานให้พูดภาษามอญกัน แต่บางชุมชนภาษามอญก็มีการใช้สื่อสารน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามในจังหวัดสมุทรสาครก็มีชาวมอญจากประเทศพม่าที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในจังหวัด ซึ่งได้นำภาษาพูดและภาษาเขียนกลับเข้ามาในชุมชนมอญแถบมหาชัยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีการใช้ภาษามอญ รวมไปถึงป้ายข้อความภาษามอญให้พบเห็นโดยทั่วไป[6]

เด็กในชุดดั้งเดิมของชาวมอญ

ศิลปะ

ศิลปวัฒนธรรมมอญนั้น กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของพม่าไปหมดเพราะ ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่นั้น พม่าได้รับไปจากมอญ ศิลปสถาปัตยกรรมประเภทเรือนยอด (กุฏาคาร) หรือหลังคาที่มียอดแหลมต่อขึ้นไป โดยเฉพาะเรือนยอดทรงมณฑปนี้ เป็นสถาปัตยกรรมมอญ ที่ไทยและพม่านำมาดัดแปลงใช้ต่อ

ศิลปดนตรี นั้น ไทยได้รับอิทธิพลจากมอญมามาก เช่น ไทยเรารับปี่พาทย์มอญ และรับได้ดีทั้งรักษาไว้จนปัจจุบัน และให้เกียรติเรียกว่า ปี่พาทย์มอญ นิยมบรรเลงในงานศพ ดนตรีไทยที่มีชื่อเพลงว่า มอญ นั้น นับได้ 17 เพลง เช่น มอญดูดาว มอญชมจันทร์ มอญรำดาบ มอญอ้อยอิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี มอญร้องไห้ มอญนกขมิ้น ฯลฯ และยังมีแขกมอญ คือ ทำนองทั้งแขกทั้งมอญ เช่น แขกมอญบางขุนพรหม แขกมอญบางช้าง เป็นต้น เพลงทำนองของมอญ มีความสง่าภาคภูมิ เป็นผู้ดีมีวัฒนธรรม และค่อนข้างจะเย็นเศร้า ซึ่งเป็นลักษณะของผู้มีวัฒนธรรมสูง ย่อมสงวนทีท่าบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่สนุกสนานก็มีบ้าง เช่น กราวรำมอญ มอญแปลง ฯ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ คือ กลอง ที่เรียกว่าเปิงมาง นั้น คาดว่าเป็นของมอญ ซึ่งไทยเรานำมาผสมวง ทำคอกล้อม เป็นวงกลมหลายวง เรียกว่า เปิงมางคอก ตีแล้วฟังสนุกสนาน

ประเพณีและศาสนา

ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวมอญนั้น มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับมายาวนาน บางอย่างมีอิทธิพลให้กับชนชาติใกล้เคียง เช่น ประเพณีสงกรานต์ ปล่อยนกปล่อยปลา ข้าวแช่ ฯลฯ บางอย่างก็ถือปฏิบัติกันแต่เฉพาะในหมู่ชนมอญเท่านั้น ชาวมอญเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันก็นับถือผีบรรพบุรุษกับผีอื่น ๆ ที่มีอิทธิฤทธิ์ รวมทั้งเทวดาองครักษ์[7]

ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ของภาคกลาง ที่เรียกว่า ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ กำเนิดขึ้นใน จ.สมุทรปราการ ชาวพระประแดง (มอญปาก-ลัด) ปกติมักจัดขึ้นในช่วงเวลา วันที่ 13 เมษายนของทุกปี หรือตรงกับวันสงกรานต์นั่นเอง ความเป็นมาหรือสาระสำคัญของประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการระลึกถึง และเป็นการบูชา รวมไปถึงการเฉลิมฉลองให้กับครั้งที่ พระพุทธเจ้าท่านเสด็จกลับลงจากจากชั้นภพ ดาวดึงส์ นั่นเอง เป็นการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ผู้คนต่างๆมักจะนำเสาหงส์ และ ธงตะขาบ มาใช้คู่กัน

มอญในประเทศไทย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11–13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม. พบที่นครปฐม และอู่ทองนั้น พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร”และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง ทำให้เชื่อได้ว่า ชนชาติมอญโบราณ ได้ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียกทวาราวดี) ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ

มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไป ถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ. 1100 พระนางจามเทวี ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ และมีการพบจารึกอักษรปัลลวะ บาลี สันสกฤต และ ภาษามอญ ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียง พบจารึก ภาษามอญ อักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป เสาหงส์ วิหาร และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์ร้าง จังหวัดนครปฐม อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์) และพบ จารึกมอญ ที่ลำพูนอายุราว พ.ศ. 1628 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)

ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคตใน พ.ศ. 1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลง รวมถึงให้พ่อขุนบางกลางหาว ที่สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นอิสระจากการปกครองของขอม พ่อขุนรามคำแหง พระราชโอรสของขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ครองราชย์และทรงดัดแปลงอักษรขอมและ อักษรมอญ มาประดิษฐเป็นลายสือไทย

ด้านจารึกภาษามอญบนใบลานนั้น พบมากมายตามหมู่บ้านมอญในประเทศไทย ส่วนที่ประเทศพม่าพบมากตามหมู่บ้านมอญในเมืองสะเทิมและเมืองไจก์ขมี ซึ่งมีการคัดลอกและรวบรวมนำมาเก็บไว้ ที่หอสมุดแห่งชาติเมืองย่างกุ้ง และที่ห้องสมุดมอญเมืองเมาะลำเลิง นอกจากนี้กองโบราณคดีและกองวัฒนธรรม ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม ชาดก ตำรามอญ และเคยมีการริเริ่มจัดพิมพ์พจนานุกรมมอญ-พม่าอีกด้วย

มอญอพยพ

ทุกวันนี้ ชนชาติมอญ ไม่มีอาณาเขตประเทศปกครองตนเอง เนื่องจากตกอยู่ในภาวะสงคราม และการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง และการรุกรานของพม่า ชาวมอญอยู่อย่างแสนสาหัส ถูกกดขี่รีดไถ การเกณฑ์แรงงานก่อสร้าง ทำไร่นาหาเสบียงเพื่อการสงคราม และเกณฑ์เข้ากองทัพ โดยเฉพาะสงครามในปี พ.ศ. 2300 เป็นสงครามครั้งสุดท้าย ที่คนมอญพ่ายแพ้แก่พม่าอย่างราบคาบ ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้ง เท่าที่มีการจดบันทึกเอาไว้รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เมื่อ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีหงสาวดีแตกใน พ.ศ. 2082 ชาวมอญจำนวนมากหนีเข้ามากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองกรุงศรีอยุธยาชั้นนอก พระยาเกียรติพระยารามและครัวเรือน ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองชั้นใน ใกล้พระอารามวัดขุนแสน และเมื่อถึง พ.ศ. 2084 ราชวงศ์ตองอูตีเมืองเมาะตะมะแตก มีการฆ่าฟันชาวมอญลงขนาดใหญ่ ก็เข้าใจว่ามีมอญหนีเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาอีก ถือเป็นระลอกแรกของมอญอพยพ

ครั้งที่ 2 เมื่อพระนเรศวรเสด็จไปพม่าเมื่อคราวพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ แล้วประกาศเอกราช ทรงชักชวนมอญที่เข้าสวามิภักดิ์ ให้อพยพเข้ามาพร้อมกัน ราว พ.ศ. 2127 ในการอพยพครั้งนี้ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ใด แต่คาดว่าคงเป็นย่านเดียวกับการอพยพคราวแรก

ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อหงสาวดีถูกยะไข่ทำลายใน พ.ศ. 2138 ครั้งนี้ก็มีการอพยพใหญ่ของมอญมาทางตะวันออกเข้าสู่ดินแดนของกรุงศรีอยุธยา

ครั้งที่ 4 หลังจากที่ราชวงศ์ตองอูย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ หลังจากหงสาวดีถูกทำลายแล้ว พวกมอญตั้งอำนาจขึ้นใหม่ในดินแดนของตน ต่อมา ถึงรัชกาลพระเจ้านอกเปกหลุน พม่าจึงยกทัพมาปราบพวกมอญอีกใน พ.ศ. 2156 ทำให้เกิดการอพยพของมอญเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา หลักฐานบางแห่งกล่าวว่า มอญกลุ่มนี้ได้รับอนุญาตให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามแนวชายแดนไทย

ครั้งที่ 5 ใน พ.ศ. 2204 หรือ 2205 พวกมอญในเมืองเมาะตะมะก่อการกบฏขึ้นอีก แต่ถูกพม่าปราบลงได้ จึงต้องอพยพหนีเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกระลอกหนึ่ง ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ เข้าใจว่ากลุ่มนี้สัมพันธ์กับกลุ่มมอญที่ตั้งอยู่ชายแดน

ครั้งที่ 6 หลังจากที่มอญสามารถตั้งอาณาจักรของตนขึ้นได้ใหม่ในปลายราชวงศ์ตองอู แล้วยกกำลังไปตีกรุงอังวะแตก อลองพญารวบรวมกำลังพม่าแล้วลุกขึ้นต่อสู้จนในที่สุดก็ตั้งราชวงศ์อลองพญาได้ และใน พ.ศ. 2300 ก็สามารถตีหงสาวดีได้อีก นโยบายของราชวงศ์นี้คือ กลืนมอญให้เป็นพม่าโดยวิธีรุนแรง จึงมีชาวมอญอพยพหนีมาสู่เมืองไทยอีกหลายระลอก รวมทั้งกลุ่มที่หนีขึ้นเหนือไปสู่ล้านนา และเรียกกันว่าพวกเม็งในปัจจุบันนี้

ครั้งที่ 7 ใน พ.ศ. 2316 ตรงกับแผ่นดินกรุงธนบุรี มอญก่อกบฏในย่างกุ้ง พม่าปราบปรามอย่างทารุณแล้วเผาย่างกุ้งจนราบเรียบ ทำให้มอญอพยพเข้าไทยอีก พระเจ้าตากสินโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มมอญเก่า (พระยารามัญวงศ์) และมอญใหม่ (พระยาเจ่ง) คนที่นับตัวเองเป็น มอญ ในปัจจุบันล้วนอพยพเข้ามาจากระลอกนี้ หรือหลังจากนี้ทั้งนั้น ส่วน มอญ ที่อพยพก่อนหน้านี้กลืนหายเป็นไทยไปหมด แม้แต่กลุ่มที่อยู่ตามชายแดนแถบเมืองกาญจนบุรี

ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2336 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยึดเมืองทวายได้ แต่รักษาไว้ไม่ได้ ต้องถอยกลับเข้าไทย ก็นำเอาพวกมอญโดยเฉพาะที่เป็นพวกหัวหน้าเข้ามา

ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2357 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อมอญไม่พอใจที่ถูกพม่าเกณฑ์แรงงานก่อสร้างพระเจดีย์ ก่อกบฏที่เมืองเมาะตะมะ ถูกพม่าปราบ ต้องหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่มาก ราว 40,000 คนเศษ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 4) เสด็จเป็นแม่กองพร้อมด้วยกรมหลวงพิทักษ์มนตรี ออกไปรับถึงชายแดน พวกนี้มาตั้งรกรากที่สามโคก (ปทุมธานี) ปากเกร็ด และพระประแดง มอญที่อพยพเข้ามาครั้งนี้เรียกกันว่ามอญใหม่[8]

ชุมชนมอญ

ชาวมอญได้อพยพมาพำนักอยู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาเกียรติและพระยารามขุนนางมอญที่มีความดีความชอบในราชการและกลุ่มญาติพี่น้องได้รับพระราชทานที่ดินตั้งบ้านเรือน ณ บ้านขมิ้น ซึ่งได้แก่บริเวณวัดขุนแสนในปัจจุบัน มอญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งกลุ่มชาวมอญเก่าที่อยู่มาแต่เดิมและกลุ่มมอญใหม่ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งชุมชนอยู่ชานกรุงศรีอยุธยาบริเวณวัดตองปุและคลองคูจาม

ในปัจจุบันแม้จะไม่มีชุมชนของผู้สืบเชื้อสายมอญภายในกรุงศรีอยุธยาอยู่ในบริเวณที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์แต่ก็ยังมีชุมชนมอญและกลุ่มวัฒนธรรมมอญกระจายอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากพระนครศรีอยุธยาลงมาจนถึงกรุงเทพฯหลายชุมชน ชาวมอญได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลาง ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ทางภาคอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา มีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยมากเป็นแหล่งที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินทำกินให้แต่แรกอพยพเข้ามา

ชุมชนมอญในประเทศไทย[9]

อ้างอิง

  1. มอญ : ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า
  2. มอญ : ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ
  3. วิรัช นิยมธรรม, มอญ : ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์ เรียบเรียงจากข้อเขียนของนายปันหละ พิมพ์ในสารานุกรมพม่า ฉบับที่ 10
  4. อักษรมอญ
  5. ภาษามอญ
  6. สุกัญญา เบาเนิด ว่าด้วยตัวตนคนมอญย้ายถิ่นในมหาชัย. วารสารเมืองโบราณ
  7. http://www.thaiws.com/pmch/monstudies.htm
  8. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ บทความ-สารคดี ฉบับที่ 2486 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2545
  9. ชุมชนมอญ monstudies.com

แหล่งข้อมูลอื่น