ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 145: บรรทัด 145:
* [[ไฟล์:Dushdi Mala - Civilian (Thailand).png|80px|border]] [[เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา]]<ref name="libcmu"/>
* [[ไฟล์:Dushdi Mala - Civilian (Thailand).png|80px|border]] [[เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา]]<ref name="libcmu"/>
* [[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญจักรพรรดิมาลา]]<ref name="libcmu"/>
* [[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญจักรพรรดิมาลา]]<ref name="libcmu"/>
* [[ไฟล์:Border Service Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญราชการชายแดน]]<ref name="libcmu"/>
* [[ไฟล์:Border Service Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญราชการชายแดน]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/050/1872_1.PDF แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref><ref name="libcmu"/>
* [[ไฟล์:The Boy Scout Citation Medal 1st class (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญลูกเสือสดุดี]] ชั้นที่ 1
* [[ไฟล์:The Boy Scout Citation Medal 1st class (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญลูกเสือสดุดี]] ชั้นที่ 1
* [[ไฟล์:King Rama VI Coronation Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[รัชกาลที่ 6|เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6]]<ref name="libcmu"/>
* [[ไฟล์:King Rama VI Coronation Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[รัชกาลที่ 6|เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6]]<ref name="libcmu"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:21, 10 มีนาคม 2558

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ไฟล์:หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2512
ก่อนหน้าพลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปนายสุกิจ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
ก่อนหน้าพลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2487
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปนายสนั่น สุมิตร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2514
ก่อนหน้าศาสตราจารย์ ธนิต อยู่โพธิ์(ตำแหน่งผู้อำนวยการ)
ถัดไปศาสตราจารย์ พันเอก หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์
อธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2499
ก่อนหน้าศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ตุลาคม พ.ศ. 2446
บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิต5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (91 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา

ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538) บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษาและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

ประวัติ

หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่

ประวัติการศึกษา

ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)

รับราชการ

ในปีพ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. 2474 ในปีพ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. 2477 อีกด้วย หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1

ต่อมาในปีพ.ศ. 2480 ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่านแรก 5 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2492 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงขึ้นที่ถนนประสานมิตร ต่อมาใน พ.ศ. 2496 เลื่อนฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร และเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" ในปัจจุบัน โดยได้ดำรงตำแหน่งอธิการคนแรกระหว่าง พ.ศ. 2497-2499

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ

สถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ปี พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีในขณะนั้น มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่ หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2511 คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2513 (เป็นคณบดีท่านแรกของคณะ) และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2515 ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2529 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พ.ศ. 2535 สาเหตุที่เลือกพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้

  • ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
  • ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว
  • ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร

การก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า "เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ"

นอกจากนี้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ยังมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ในการดำเนินการศึกษา ให้แก่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้วยเล็งเห็นว่า โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่มุ่งเตรียมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา จึงจัดสหศึกษาของวัยรุ่นด้วยความรอบคอบระมัดระวัง โดยการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ควบคู่คุณธรรมดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า


" อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มีฯ "


" อันตึกงามสนามกว้างสร้างขึ้นได้
มีเงินหยิบโยนให้ก็เสร็จสรรพ์
แต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน
การอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัยฯ "

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้วางระเบียบและข้อปฏิบัติงานไว้อย่างเหมาะสม นับเป็นประโยชน์แก่การศึกษา เป็นอย่างดียิ่ง เช่น

  • มีแผนทะเบียนเป็นศูนย์กลางขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการประสานงานฝ่ายวิชาการและการปกครอง
  • จัดทำทะเบียนประวัติย่อของนักเรียนที่เข้าเรียนแต่ปีแรก
  • มีสถิติการเรียนและการสอบต่างๆ บันทึกไว้เพื่อให้ทราบพฤติกรรมของนักเรียน
  • วางระเบียบให้มีรางวัลคะแนนรวมให้แก่นักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยม
  • มีการจารึกนามนักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยมไว้ที่แผ่นเกียรติยศการศึกษาเป็นตัวอักษรสีทอง ไว้ในห้องประชุมของโรงเรียน (ปัจจุบันคือห้อง 111 ตึก 2)
  • นอกจากนี้ท่านยังได้คิดการแข่งขันกีฬา ให้เฉพาะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเรียกว่า การแข่งขันวิ่งสามสระ เป็นกีฬาที่หญิงชายเล่นร่วมกันได้

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ดังนี้

ตามที่ได้มาเรียนปติบัติข้อราชการนะโรงเรียนลูกกำพร้าสงครามเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ศกนี้ และพนะท่านได้แสดความเห็นใจว่า ในตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญสึกสา ย่อมมีงานที่จะต้องปติบัติอยู่มากแล้ว ให้หาคนแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสานั้น นับว่าเป็นความกรุณาของพนะท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเชื่อและปติบัติตามคำแนะนำของพนะท่านด้วยความเคารพอย่างสูงสุด

ในโอกาสนี้ขอประทานกราบเรียนว่า นับตั้งแต่ พนะท่านได้เรียกไปกะซวงกลาโหม เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2480 เพื่อชี้แจงนโยบาย และมอบหมายให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นต้นมา ก็ได้ตั้งใจ ปติบัติงานอย่างเต็มสติกำลัง และพยายามรักสานโยบายของพนะท่านไว้เป็นนิจ จำนวนนักเรียนทวีขึ้นจาก 350 คน ในปีแรก จนถึง 3,500 คนในปัจจุบัน การงานมิได้มีติดขัดประการได จนกระทั่งประเทสเข้าสู่ภาวะสงคราม ซึ่งย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา แต่ก็แก้ไขให้ลุล่วงไปได้ ภายใต้การบังคับบัญชาสูงสุดของพนะท่าน และพนะท่านรองอธิการบดี

การเปลี่ยนแปลงตัวผู้อำนวยการนั้น ขอประทานกราบเรียนว่ารู้สึกเป็นห่วงหยู่ไม่น้อย แต่หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร ก็เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสั่งสอนอบรมนักเรียนเป็นอย่างดี และเป็นอาจารย์ที่ได้หยู่ช่วยเหลือผู้อำนวยการมาเป็นอันมาก ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโรงเรียน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะตั้งเป็นผู้อำนวยการต่อไป ดีกว่าเลือกบุคคลซึ่งยังไม่เคยร่วมงานนี้มาแต่ก่อน

ส่วนไนทางไจนั้น รู้สึกมีความอาลัยเป็นอย่างมากในการที่จะไปจากโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสา เมื่อมาคำนึงว่า ตลอดเวลา 6 ปีครึ่ง ที่ทำมานี้ มีตำแหน่งประจำอยู่ทางแผนกฝึกหัดครูคณะอักสรศาสตร์และวิทยาสาสตร์ในชั้นต้น และทางกรมสามัญสึกสาในเวลาต่อมา งานไนโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นงาน พิเสส ซึ่งมิได้มีตำแหน่งเงินเดือนหรือเงินเพิ่มพิเสสแต่อย่างใด แต่ก็ได้ทำมาด้วยความรักและการเสียสละไนทุกทาง เพราะเป็นงานชิ้นแรกที่พนะท่านมอบหมายให้ทำด้วยความไว้วางไจ และได้มีโอกาสสร้างครูอาจารย์ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นจำนวนร้อย และอบรมกล่อมเกลานักเรียนจำนวนพัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกำลังแก่ประเทศชาติไนภายหน้าได้ ก็บังเกิดความพากพูมไจและความสุขไจ ซึ่งเป็นรางวัลที่พนะท่านได้ให้มาในทางอ้อม… จึงค่อยปลดเปลื้องความอาลัยให้บรรเทาลงได้บ้าง

ชีวิตสมรส

ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม:ไกรฤกษ์) ธิดาเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) และท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม:บางยี่ขัน) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน

บั้นปลายชีวิต

ไฟล์:หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล2.jpg
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ท่านได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติจากองค์การยูเนสโกยกย่องท่านเป็น "นักการศึกษาดีเด่นของโลก ในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร" ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเตรียมอุดมทุกคน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อันเชิญรูปปั้น ฯพณฯ ศ.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จากหอวชิราวุธานุสรณ์ มาประดิษฐาน ห้อง 57 ตึก 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545

ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของ ฯพณฯ ศ. ม.ล. ปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจึงดำริที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของท่าน นับแต่นี้ต่อไปก็จะมีเพียงการสานต่อแนวความคิดของ ฯพณฯ ให้ปรากฏเป็นผลสมเจตจำนง อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของเยาวชน และสังคมไทยตลอดไป

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถัดไป
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2512)
นายสุกิจ นิมมานเหมินท์
พลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล
(ประยูร ศาสตระรุจิ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2501)
นางอุไรวรรณ เทียนทอง
ไม่มี ไฟล์:พระเกี้ยวเตรียมอุดมศึกษา.png
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
(พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2487)
สนั่น สุมิตร