ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไสยศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
บรรทัด 23: บรรทัด 23:


[[หมวดหมู่:ไสยศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:ไสยศาสตร์]]
{{Link GA|lt}}
{{Link GA|sk}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:06, 7 มีนาคม 2558

ไสยศาสตร์ เป็นวิชาเกี่ยวกับเวทมนตร์ คาถา และ เลขยันต์ ประกอบกับการใช้อำนาจสมาธิจิต การสาธยายเวทมนตร์คาถา การภาวนา และการปลุกเสก

ศาสตร์มืด หรือการทำ "คุณไสย" ในพจนานุกรมไทยให้คำจำกัดความ คุณไสย ว่า "เป็นพิธีกรรมเพื่อทำร้ายอมิตร" เป็นศาสตร์ที่ทางวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะพิสูจน์ได้ แต่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคนเชื่อและผู้ปฏิบัติทั่วโลก

ในแต่ละชุมชนจะมีรูปแบบของไสยศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป แต่สรุปแล้วไสยศาสตร์ก็คือการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น โดยผิดแปลกจากกฎของธรรมชาติ เช่น ทำให้สามีภรรยาที่ดีกันทะเลาะและแยกทางกัน ทำให้สาวหลงรักหนุ่มที่เคยเกลียด ซึ่งปกติแล้วจะใช้ไสยศาสตร์มาใช้ในทางที่ชั่วร้าย โดยเฉพาะการทำ "คุณไสย" ที่เป็นพิธีกรรมเพื่อทำร้ายผู้ไม่เป็นมิตรด้วยการปลุกเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปในตัว หรือฝังรูปฝังรอย หรือการทำเสน่ห์ยาแฝด ลงนะ จากผู้ที่อ้างตัวว่ามีอาคม ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นพวกที่ทำมาหากินด้วยการหลอกลวงผู้คน หรือที่เรียกว่า พวกสิบแปดมงกุฎ ถึงกระนั้นก็ตาม“คุณไสย” หรือ “มนต์ดำ” ยังมีผู้หลงงมงายมากมาย

ไสยศาสตร์ถือเป็นศาสตร์ที่ลี้ลับมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ และมีทั่วโลกแม้กระทั่งในเวลาปัจจุบัน แม้รูปแบบจะแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การทำอันตรายต่อผู้คนด้วยวิธีที่ลี้ลับ

ลัทธิไสยศาสตร์ คือการรวมอำนาจจิต รวมพลังงานทางจิตซึ่งได้ทำการอบรมจิตใจให้มีความยึดมั่น เชื่อถือ อย่างจริงจัง ดำเนินไปตามหลักทางไสยศาสตร์ ตามวิธีการนั้น ๆ ก็จะสามารถแสดงฤทธิ์ปาฎิหารย์ได้ด้วยกระแสคลื่นแห่งพลังอำนาจจิตอันแรงกล้า ของ มโนภาพ สมาธิ จิตตานุภาพ ทั้งสามประการนี้ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจที่ประหลาดมหัศจรรย์ขึ้นได้

ลัทธิไสยศาสตร์ ได้เกิดขึ้นมาก่อนพุทธกาล ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ไตรเพท ในลัทธิของพราหมณ์ ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

  1. ฤคเวทย์ เป็นคำฉันท์ใช้สำหรับสวดมนต์และสรรเสริญพระเจ้า
  2. ยชุรเวทย์ เป็นคำร้อยแก้วให้สำหรับท่องบ่นเวลาบวงสรวงบูชาพระเจ้า
  3. สามเวทย์ เป็นคำฉันท์ใช้สำหรับสวดมนต์ทำพิธีถวายน้ำโสม
  4. อาถรรพเวทย์ เป็นคัมภีร์ประกอบด้วยเวทยมนต์คาถาเรียกผีสาง เทวดาให้ช่วยป้องกันอันตรายให้ และให้มีการแก้อาถรรพ์ ทำพิธีสาปแช่งให้เป็นอันตรายได้ด้วย

อาถรรพเวทย์

อาถไสยศาสตร์. อาถรรพเวทย์ในคัมภีร์ไสยศาสตร์ แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ

  1. นิกายขาว (White System) เป็นวิชาที่ใช้ในทางดี คือช่วยเหลือมนุษย์ให้มีสุขปลอดภัย
  2. นิกายดำ (Black System) เป็นวิชาที่ใช้ในทางชั่ว คือทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น