ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จมูก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mmc ball (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
[[หมวดหมู่:ศีรษะและคอ]]
[[หมวดหมู่:ศีรษะและคอ]]
{{โครงกายวิภาค}}
{{โครงกายวิภาค}}
{{Link FA|tn}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:03, 6 มีนาคม 2558

จมูก
Human nose in profile
Illustration of nose diagram
รายละเอียด
หลอดเลือดแดงsphenopalatine artery, greater palatine artery
หลอดเลือดดำfacial vein
ประสาทexternal nasal nerve
ตัวระบุ
MeSHD009666
TA98A06.1.01.001
A01.1.00.009
TA2117
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

จมูก (อังกฤษ: Nose) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย

จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่นของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่นกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยีงเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของ อากาศก่อนที่จะเข้าสู่ปอด คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น ถ้าอากาศแห้งมาก จมูกจะให้อากาศ ซุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเฟัยงที่เราพูด ให้กังวานน่าฟังอีกด้วย

ส่วนประกอบ

จมูก มีโครงร่างเป็นกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน ภายนอกหุ้มด้วยผิวหนัง ภายโนบุด้วยแผ่นเยื่อเมือกโดยตลอด ส่วนประกอบของจมูกมีดังนี้

  1. สันจมูก เป็นกระดูกอ่อนที่เริ่มตั้งแต่ใต้หัวคิ้ว ส่วนบนเป็นกระดูกที่เรียกว่าดั้งจมูก ส่วนล่างเป็นกระดูกอ่อน มีเนื้อเยื่อและผิวหนังปกคลุมอยู่ภายนอก
  2. รูจมูก มีอยู่ 2 ข้าง ตรงส่วนล่างของจมูก ภายในมีขนจมูกทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองในขณะหายใจเข้า
  3. โพรงจมูก อยู่ถัดจากรูจมูกเข้าไปข้างใน ชึ่งเป็นที่พักของอากาศก่อนจะถูกสูดเข้าปอด โพรงจมูกทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิและความชึ้นของอากาศ โดย หลอดเลือดฝอยชึ่งมีอยู่มากมายตามแผ่นเยื่อเมือกจะถ่ายเทความร้อนออกมาทำให้อากาศชุ่มชื้น แผ่นเยื่อเมือกเองก็จะทำหน้าที่ปรับความชื้นให้กับอากาศพร้อม ทั้งดักจับฝุ่นละอองที่เล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าไปแล้วขับทิ้งออกมาเป็นน้ำมูกนั่นเอง บริเวณด้านบนของโพรงจมูกมีปลายประสาท ทำหน้าที่รับกลิ่นอยู่มากมาย ภายโนจมูกยังมีรูเปิดของ ท่อน้ำตาชึ่งเป็นที่ระบายน้ำตาลงมาในโพรงจมูก เพื่อ มิให้เอ่อล้นออกมานอกลูกตา เมื่อเราร้องไห้จะมีน้ำตาออกมามาก น้ำตาส่วนหนึ่งไหลลงมาตามท่อนี้เข้าสู่ซ่องจมูก ทำให้เห็นเป็นน้ำมูกใสๆ ไหลออกมา ทางจมูก เวลาร้องไห้จึงมักจะคัดจมูกและมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย
  4. โพรงอากาศรอบจมูก (ไชนัส) เป็นโพรงกระดูกที่อยู่โนบริเวณรอบๆ จมูก มีอยู่ 4 คู่ คือ บริเวณกึ่งกลางหน้าผากเหนือคิ้วทั้งสองข้าง 1 คู่ บริเวณใต้สมองทั้งสองข้าง 1 คู่ บริเวณค่อนไปข้าง หลังของกระดูกจมูก 1 คู่ และอยู่บริเวณสองข้างของ จมูกอีก 1 คู่โพรงอากาศเหล่านี้มีเยื่อบางๆ อยู่เช่นเดียวกับ ช่องจมูก และโพรงอากาศเหล่านี้ก็จะเปิดเข้าดูช่อง จมูกโดยตรงด้วย ดังนั้น ถ้ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นที่ช่องจมูกก็มีผลต่อโพรงอากาศนี้ด้วย

การได้รับกลิ่น

กระเปาะรับกลิ่นคือบริเวณที่เยื่อบุภายในโพรงจมูกมีประสาทสำหรับรับกลิ่นอยู่ทั่วไป ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่สมอง เมื่อกลิ่นผ่านเข้าไปในโพรงจมูก กลิ่นมากกระทบปลาย ประสาทสัมผัสรับกลิ่น ปลายประสาทรับกลิ่นส่งกระแสประสาทไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายของสิ่งที่ได้รับ

การดูแลรักษาจมูก

เพื่อให้จมูกทำหน้าที่ได้ตามปกติ และปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เราควรปฎิบัติดังนี้

  1. รักษาจมูกให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ที่ๆมีฝุ่นละอองมากๆ
  2. ไม่เข้าไปในบริเวณที่มีกลิ่นฉุน เหม็น หรือใส่น้ำหอมกลิ่นรุนแรง เพราะทำให้ประสาทรับกลิ่นเสื่อมลง
  3. ไม่ใช้นิ้วหรือของอื่นๆ เช่นปากกา ดินสอ กระดาษ แหย่จมูกเล่น เพราะอาจทำให้จมูกอักเสบ หรือเป็นอันตรายได้
  4. ไม่ถอนขนจมูกหรือตัดให้สั้น เพราะขนจมูกมีประโยชน์ในการกรองฝุ่นละออง เชื้อโรค และสิ่งอื่นๆ ที่อาจปนเข้ามากับลมหายใจ ไม่ให้เข้าสู่ช่องจมูกและปอดได้
  5. เวลาจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษนุ่มๆ ปิดปากไว้ อย่าใช้มือบีบหรืออุดจมูกไว้จนแน่น
  6. เวลาสั่งน้ำมูกให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษนุ่มๆ รอไว้ที่จมูก แล้วค่อยๆสั่งน้ำมูก โดยสั่งพร้อมกันทั้งสองข้าง ไม่ควรใช้มือบีบจมูกแล้วจึงสั่งน้ำมูก
  7. เมือต้องการดมกลิ่นของบางอย่าง เพื่อที่จะทราบว่าเป็นอะไร อย่าใช้จมูกจ่อจนใกล้แล้วสูดหายใจ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ เช่น การสูดดมสารเคมีบางชนิด ฉะนั้นจึงควรให้ จมูกอยู่ห่างของนั้นพอประมาณ แล้วใช้มือโบกให้กลิ่นโชยเข้าจมูก โดยสูดกลิ่นเพียงเล็กน้อย
  8. เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นที่จมูก เช่น คัดจมูก เลือดกำเดาไหล ปวดจมูกหรืออื่นๆ ควรไปให้แพทย์ตรวจรักษา