ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกาะลมบก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก ไปยัง หมวดหมู่:จังหวัดนูซาเติงการา...
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
บรรทัด 40: บรรทัด 40:




{{Link FA|id}}
{{โครงประเทศ}}
{{โครงประเทศ}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:19, 6 มีนาคม 2558

ลอมบอก
ภาพรังสีอินฟราเรดของเกาะลอมบอกกับภูเขารินจานี ถ่ายเมื่อพฤษภาคม 2535
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด8°33′54″S 116°21′04″E / 8.565°S 116.351°E / -8.565; 116.351
กลุ่มเกาะหมู่เกาะซุนดาน้อย
จุดสูงสุดรินจานี
การปกครอง
ประชากรศาสตร์
ประชากร2,536,000

เกาะลอมบอก (อินโดนีเซีย: Pulau Lombok) เป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะบาหลี คำว่า "ลอมบอก" ในภาษาชวาหมายถึงพริกขี้หนู ตั้งอยู่ในจังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย

ภูมิประเทศ

เป็นเทือกเขาและภูเขาไฟ

ประชากร

ส่วนใหญ่เป็นชาวซาซักมีภาษาเป็นของตนเองคือภาษาซาซักที่ใกล้เคียงกับภาษาชวาและภาษาบาหลี วัฒนธรรมหลายอย่างของชาวซาซักก็ใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของชวาและบาหลี ชาวซาซักแบ่งตามศาสนาได้ 2 กลุ่มคือ

  1. เวอตูลิมา นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี แบบเดียวกับชาวอินโดนีเซียโดยทั่วไป
  2. เวอตูเตอลู นับถือศาสนาอิสลามควบคู่กับวัฒนธรรมดั้งเดิม
  • นอกจากนี้ ยังมีชาวซาซักอีกกลุ่มหนึ่งที่นับถือพุทธ-ผี ควบคู่กัน มีอยู่ประมาณ 8,000 คน

ประวัติศาสตร์

เดิมเกาะลอมลอกเป็นอาณาจักรอิสระประกอบด้วยอาณาจักรเล็กๆหลายแห่ง โดยอาณาจักรที่สำคัญที่สุดคืออาณาจักรเซอลาปารัง ที่นับถือศาสนาฮินดู ต่อมาชวาตะวันออกได้ยกทัพมาตีและรวมลอมบอกเข้ากับอาณาจักรมัชปาหิต โดยลอมบอกรับอิทธิพลจากชวาทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม

ต่อมาชาวบาหลีในสมัยอาณาจักรคารังกาเซ็มเข้ามาปกครองลอมบอกจนถึง พ.ศ. 2437 ในปีนี้เอง ลอมบอกร่วมมือกับดัตช์ก่อกบฏต่อบาหลี ซึ่งทำให้บาหลีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตามเมื่อดัตช์ชนะได้เข้ามาปกครองลอมบอกในฐานะอาณานิคมทันที จนญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเมื่อพ.ศ. 2485 ดัตช์เคลื่อนพลกลับมาอีกครั้งเมื่อสงครามสงบในพ.ศ. 2488 แต่เกิดการต่อต้านจากชาวพื้นเมืองโดยทั่วไป เมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราช ลอมบอกจึงเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย