ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทพวน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Komsun875 (คุย | ส่วนร่วม)
Komsun875 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 116: บรรทัด 116:
มีวิธีการทำเริ่มจากตำ พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม ต้มน้ำปลาร้าให้หอม หั่นหัวปลีใส่ หน่อไม้ส้มใส่ เคล้าเครื่องปรุงทั้งหมดกับปลาซิวสด ลักษณะของปลาเต้นตอนกินปลาซิวยังไม่ตายดิ้นได้เขาจึงเรียกว่า ปลาเต้น เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงมาก ในสมัยก่อนนิยมกินอาหารดิบมาก ลาบปลาก็ดิบ ลาบเลือด แต่พอการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทจึงมีการให้เลิก กินอาหารดิบ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบ้ไม้ดับ มีคนเสียชีวิตกับโรคนี้จำนวนมาก
มีวิธีการทำเริ่มจากตำ พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม ต้มน้ำปลาร้าให้หอม หั่นหัวปลีใส่ หน่อไม้ส้มใส่ เคล้าเครื่องปรุงทั้งหมดกับปลาซิวสด ลักษณะของปลาเต้นตอนกินปลาซิวยังไม่ตายดิ้นได้เขาจึงเรียกว่า ปลาเต้น เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงมาก ในสมัยก่อนนิยมกินอาหารดิบมาก ลาบปลาก็ดิบ ลาบเลือด แต่พอการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทจึงมีการให้เลิก กินอาหารดิบ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบ้ไม้ดับ มีคนเสียชีวิตกับโรคนี้จำนวนมาก


แจ่วมะเด่น มีเครื่องปรุงดังนี้
แจ่วมะเด่น มีเครื่องปรุง มะเขือเทศ พริกสด ปลาร้า กระเทียม
มะเขือเทศ
พริกสด
ปลาร้า
กระเทียม


มีวิธีการทำเริ่มจากนำกระเทียมใส่เกลือแลัวตำ พริกสดปิ้งไฟหลังจากนั้นนำไปตำ มะเขือเทศก็นำไปปิ้งไฟ นำมาปลาร้ามาสับห่อด้วยใบตองแล้วนำไปหมกไฟ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกัน กินกับมะเขือ แตง ถั่ว
มีวิธีการทำเริ่มจากนำกระเทียมใส่เกลือแลัวตำ พริกสดปิ้งไฟหลังจากนั้นนำไปตำ มะเขือเทศก็นำไปปิ้งไฟ นำมาปลาร้ามาสับห่อด้วยใบตองแล้วนำไปหมกไฟ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกัน กินกับมะเขือ แตง ถั่ว
บรรทัด 184: บรรทัด 180:


ขั้นตอนการทำผ้าดิบ
ขั้นตอนการทำผ้าดิบ
นำปุยฝ้ายจากต้นฝ้ายมาตากแดดให้แห้ง
1. นำปุยฝ้ายจากต้นฝ้ายมาตากแดดให้แห้ง
เมื่อปุยฝ้ายแห้งดีแล้ว นำมารีดแยกเอาเมล็ดออก ให้เหลือเฉพาะปุยฝ้าย โดยการใช้ “ อีด”
2. เมื่อปุยฝ้ายแห้งดีแล้ว นำมารีดแยกเอาเมล็ดออก ให้เหลือเฉพาะปุยฝ้าย โดยการใช้ “ อีด”
นำปุยฝ้ายมาตีให้เกิดการฟูเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปปั่นให้เป็นเส้นโดยใช้ก๋งยิงฝ้าย
3. นำปุยฝ้ายมาตีให้เกิดการฟูเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปปั่นให้เป็นเส้นโดยใช้ก๋งยิงฝ้าย
นำฝ้ายไปปั่นโดยหลาปั่นฝ้าย ก็จะได้เส้นฝ้าย
4. นำฝ้ายไปปั่นโดยหลาปั่นฝ้าย ก็จะได้เส้นฝ้าย
นำฝ้ายทอเป็นผ้า โดยใช้หุก (กี่) ซึ่งจะได้เป็นผ้าดิบ
5. นำฝ้ายทอเป็นผ้า โดยใช้หุก (กี่) ซึ่งจะได้เป็นผ้าดิบ
นำผ้าที่ได้มาตัดเย็บเป็นเสื้อตามที่ต้องการ
6. นำผ้าที่ได้มาตัดเย็บเป็นเสื้อตามที่ต้องการ


ขั้นตอนการลงแป้ง
ขั้นตอนการลงแป้ง
นำฝ้ายที่ย้อมแล้ว แช่น้ำธรรมดา 1 – 2 ชั่วโมง ให้ทั่วตัวผ้าแล้วเปลี่ยนน้ำ (แช่ 2 ครั้ง) แล้วผึ่งให้น้ำเสด็จ
1. นำฝ้ายที่ย้อมแล้ว แช่น้ำธรรมดา 1 – 2 ชั่วโมง ให้ทั่วตัวผ้าแล้วเปลี่ยนน้ำ (แช่ 2 ครั้ง) แล้วผึ่งให้น้ำเสด็จ
การเตรียมแป้ง นำแป้งมันสัมปะหลังมาผสมกันกับน้ำเย็นในอัตราส่วน 480 กรัม : 1 ลิตร นำแป้งที่ผสมแล้วเทลงในน้ำเดือดครึ่งปิ๊บ แล้วใช้ไม้คนเพื่อไม่แป้งติดกัน
2. การเตรียมแป้ง นำแป้งมันสัมปะหลังมาผสมกันกับน้ำเย็นในอัตราส่วน 480 กรัม : 1 ลิตร นำแป้งที่ผสมแล้วเทลงในน้ำเดือดครึ่งปิ๊บ แล้วใช้ไม้คนเพื่อไม่แป้งติดกัน
เอาแป้งที่ต้มแล้วใส่กะละมังผสมกับน้ำเย็น (ถ้าอยากให้ผ้าแข็งใช้น้ำแข็งข้น , ถ้าอยากให้ผ้าอ่อนใช้น้ำแข็งเจือจาง)
3. เอาแป้งที่ต้มแล้วใส่กะละมังผสมกับน้ำเย็น (ถ้าอยากให้ผ้าแข็งใช้น้ำแข็งข้น , ถ้าอยากให้ผ้าอ่อนใช้น้ำแข็งเจือจาง)
นำผ้าที่ผึ่งแล้วลงแช่น้ำแป้งที่เตรียมไว้ โดยต้องมีการขย้ำผ้าประมาณ 5 นาที เมื่อนำผ้าลงแป้งเสร็จแล้วก็นำผ้ามาบิด แล้วตากจากนั้นจึงนำผ้ามารีดกับเตารีดถ่าน
4. นำผ้าที่ผึ่งแล้วลงแช่น้ำแป้งที่เตรียมไว้ โดยต้องมีการขย้ำผ้าประมาณ 5 นาที เมื่อนำผ้าลงแป้งเสร็จแล้วก็นำผ้ามาบิด แล้วตากจากนั้นจึงนำผ้ามารีดกับเตารีดถ่าน


ขั้นตอนการทำผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิม
ขั้นตอนการทำผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิม
บรรทัด 218: บรรทัด 214:


ประเพณีที่สำคัญของชาวพวนได้แก่
ประเพณีที่สำคัญของชาวพวนได้แก่

ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีกำฟ้า
คำว่า "กำ" เป็นคำพวน หมายถึงการสักการะ
คำว่า "กำ" เป็นคำพวน หมายถึงการสักการะ
บรรทัด 234: บรรทัด 229:
ประเพณีลงช่วงมีจุดมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่การได้พบปะพูดคุยกันของคนหนุ่มสาวเพราะประเพณีสมัยโบราณหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันมาก งานที่นำมาทำขณะลงบ่วงนั้นส่วนใหญ่เป็นประเภทเบ็ดเตล็ด เช่น การทอผ้า ปั่นด้าย กระเทาะเปลือกถั่วลิสง(เตรียมไว้ปลูก) การซ้อมข้าว ฯลฯ และส่วนมากเป็นงานพื้นบ้าน
ประเพณีลงช่วงมีจุดมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่การได้พบปะพูดคุยกันของคนหนุ่มสาวเพราะประเพณีสมัยโบราณหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันมาก งานที่นำมาทำขณะลงบ่วงนั้นส่วนใหญ่เป็นประเภทเบ็ดเตล็ด เช่น การทอผ้า ปั่นด้าย กระเทาะเปลือกถั่วลิสง(เตรียมไว้ปลูก) การซ้อมข้าว ฯลฯ และส่วนมากเป็นงานพื้นบ้าน
ก่อนการลงบ่วงจะมีการเก็บหลัว (เศษไม้ไผ่) เพื่อนำมาก่อเพื่อให้เกิดแสงสว่างในตอนเย็นสาวจะเดินเก็บหลัว (เพื่อบอกให้หนุ่มทราบว่าวันนี้จะมีการลงบ่วง) มากองรวมกันไว้บริเวณที่จะมีการลงบ่วง แล้วขึ้นบ้านประกอบอาหารก่อนแล้วจึงลงบ่วงหลังจากรับประทานอาหารและอาบน้ำแต่งตัวเสร็จประมาณ 2 ทุ่ม ก็จะช่วยกันก่อกองไฟ ทำงานที่จะทำลงมาจากบ้านและทำกันไปคุยกันไปเป็นที่สนุกสนาน จากนั้นหนุ่ม ๆ ในละแวกบ้านก็จะมาเดินเที่ยวกันเป็นกลุ่ม ๆ การมาของหนุ่ม ๆ อาจจะเป่าแคน เป่าปาก ร้องเพลง เป็นการให้เสียงล่วงหน้าเพื่อสาว ๆ จะได้เตรียมตัวต้อนรับ โดยการนำน้ำดื่มมาวางไว้บริเวณงานหรืออาจจะมีขนมหวานไว้ด้วย หนุ่มที่สนใจสาวอาจจะแยกเป็นคู่ ๆ จะมีบางกลุ่มร้องเพลงและคุยตลกขบขันเป็นที่น่าสนุกสนานตามประสาหนุ่มสาวจนประมาณ 5-6 ทุ่ม หนุ่มจะไปส่งสาวกลับบ้านแต่ในบางท้องที่การลงข่วงจะกระทำขึ้นที่บ้านของสาวนั่นเอง
ก่อนการลงบ่วงจะมีการเก็บหลัว (เศษไม้ไผ่) เพื่อนำมาก่อเพื่อให้เกิดแสงสว่างในตอนเย็นสาวจะเดินเก็บหลัว (เพื่อบอกให้หนุ่มทราบว่าวันนี้จะมีการลงบ่วง) มากองรวมกันไว้บริเวณที่จะมีการลงบ่วง แล้วขึ้นบ้านประกอบอาหารก่อนแล้วจึงลงบ่วงหลังจากรับประทานอาหารและอาบน้ำแต่งตัวเสร็จประมาณ 2 ทุ่ม ก็จะช่วยกันก่อกองไฟ ทำงานที่จะทำลงมาจากบ้านและทำกันไปคุยกันไปเป็นที่สนุกสนาน จากนั้นหนุ่ม ๆ ในละแวกบ้านก็จะมาเดินเที่ยวกันเป็นกลุ่ม ๆ การมาของหนุ่ม ๆ อาจจะเป่าแคน เป่าปาก ร้องเพลง เป็นการให้เสียงล่วงหน้าเพื่อสาว ๆ จะได้เตรียมตัวต้อนรับ โดยการนำน้ำดื่มมาวางไว้บริเวณงานหรืออาจจะมีขนมหวานไว้ด้วย หนุ่มที่สนใจสาวอาจจะแยกเป็นคู่ ๆ จะมีบางกลุ่มร้องเพลงและคุยตลกขบขันเป็นที่น่าสนุกสนานตามประสาหนุ่มสาวจนประมาณ 5-6 ทุ่ม หนุ่มจะไปส่งสาวกลับบ้านแต่ในบางท้องที่การลงข่วงจะกระทำขึ้นที่บ้านของสาวนั่นเอง

ประเพณีกำเกียง
ประเพณีกำเกียง
ประเพณีกำเกียงเป็นประเพณีที่กระทำกันในวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุลให้กับผีที่อดอยาก เพื่อจะได้ไม่มารบกวนคนในหมู่บ้านลักษณะเชิงปฎิบัติของประเพณีกำเกียงจะนิยมทำกัน 2 อย่าง คือ อิงศาสนา และ ไม่อิงศาสนา แบบไม่อิงศาสนา เรียกว่า “ กำเกียง” แบบอิงศาสนา เรียกว่า “ ห่อข้าวยามดิน” ทั้งสองกิจกรรมนี้ เป็นประเพณีที่ทำกันทั้งหมู่บ้าน
ประเพณีกำเกียงเป็นประเพณีที่กระทำกันในวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุลให้กับผีที่อดอยาก เพื่อจะได้ไม่มารบกวนคนในหมู่บ้านลักษณะเชิงปฎิบัติของประเพณีกำเกียงจะนิยมทำกัน 2 อย่าง คือ อิงศาสนา และ ไม่อิงศาสนา แบบไม่อิงศาสนา เรียกว่า “ กำเกียง” แบบอิงศาสนา เรียกว่า “ ห่อข้าวยามดิน” ทั้งสองกิจกรรมนี้ เป็นประเพณีที่ทำกันทั้งหมู่บ้าน
บรรทัด 239: บรรทัด 235:
“ ผีกินได้ใส้ฮี่ ผีกินดีทองควะ ผีตายอึดตายอยาก ไปเฮ้อหมอ เฮ้อเสี้ยงเน้อ”
“ ผีกินได้ใส้ฮี่ ผีกินดีทองควะ ผีตายอึดตายอยาก ไปเฮ้อหมอ เฮ้อเสี้ยงเน้อ”
ห่อข้าวยามดิน เป็นการทำทานให้กับผีเปรต ผีตายอดตายอยาก ประเพณีห่อข้าวยามดิน ขาวบ้านจะปฏิบัติกันโดยเอาของกิน เช่น ฟักแฟง แตง ข้าวโพด มาแลกกันตามบ้านเพื่อประกอบอาหาร แล้วนำมานึ่งรวมกันกลางลานบ้าน ของที่นึ่งได้ด้วยกันจะมีพืชผลดังกล่าวรวมทั้งข้าว และเนื้อ เมื่อนึ่งเข้ากันดีแล้ว ก็จะนำของที่นึ่งมาปั้นเป็นก้อน แล้วนำมาห่อด้วยใบตอกล้วย และนำไปทิ้งไว้ที่ตีนโบสถ์ที่วัด เพื่อว่าผีจะได้มากินอาหารที่วางทิ้งไว้นั้น บางครั้งนิยมการทำบุญตักบาตรด้วย
ห่อข้าวยามดิน เป็นการทำทานให้กับผีเปรต ผีตายอดตายอยาก ประเพณีห่อข้าวยามดิน ขาวบ้านจะปฏิบัติกันโดยเอาของกิน เช่น ฟักแฟง แตง ข้าวโพด มาแลกกันตามบ้านเพื่อประกอบอาหาร แล้วนำมานึ่งรวมกันกลางลานบ้าน ของที่นึ่งได้ด้วยกันจะมีพืชผลดังกล่าวรวมทั้งข้าว และเนื้อ เมื่อนึ่งเข้ากันดีแล้ว ก็จะนำของที่นึ่งมาปั้นเป็นก้อน แล้วนำมาห่อด้วยใบตอกล้วย และนำไปทิ้งไว้ที่ตีนโบสถ์ที่วัด เพื่อว่าผีจะได้มากินอาหารที่วางทิ้งไว้นั้น บางครั้งนิยมการทำบุญตักบาตรด้วย

ประเพณีห่อข้าวยามดิน ในปัจจุบันไม่นิยมทำกัน เหตุผลก็คือบริเวณที่จะประกอบพิธี ไม่มีอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งเห็นว่าเป็นการทำให้วัดรุงรัง
ประเพณีห่อข้าวยามดิน ในปัจจุบันไม่นิยมทำกัน เหตุผลก็คือบริเวณที่จะประกอบพิธี ไม่มีอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งเห็นว่าเป็นการทำให้วัดรุงรัง

ประเพณีทานข้าวสะ
ประเพณีทานข้าวสะ
ประเพณีเดือน 10 เรียกว่า “ การทานข้าวสะ” ปัจจุบันนี้เป็นประเพณีที่ไม่นิยมปฏิบัติกันแล้ว การทานข้าวสะนั้นเดิมใช้ปฏิบัติกัน เนื่องมาจากความเชื่อว่า เป็นการอ้อนวอนขอความอุดมสมบูรณ์ในการเกษตรกรรม
ประเพณีเดือน 10 เรียกว่า “ การทานข้าวสะ” ปัจจุบันนี้เป็นประเพณีที่ไม่นิยมปฏิบัติกันแล้ว การทานข้าวสะนั้นเดิมใช้ปฏิบัติกัน เนื่องมาจากความเชื่อว่า เป็นการอ้อนวอนขอความอุดมสมบูรณ์ในการเกษตรกรรม
เมื่อถึงเดือนสิบ ชาวบ้านจะเอาใบตองมาให้พระสงฆ์เขียนคำจารึกเป็นภาษาบาลี ขอความสวัสดี แล้วเอาไปใส่ไว้ในนา พร้อมทั้งขอข้าวพระมาปั้นเป็นเต่า แล้วตากแดดให้แห้งเสร็จแล้วก็นำไปไว้ในโอ่งข้าวสาร นอกจากนี้ยังได้นำทรายไปให้พระปลุกเสก เพื่อนำไปวางไว้ในนา และวางไว้รอบบ้าน การปฏิบัติดังนี้ก็เนื่องจากวามเชื่อว่า จะได้มีข้าวปลากินอุดมสมบูรณ์ การทำไร่ทำนาจะได้ผลดี ข้าวออกรวงอย่างเต็มที่ปราศจากตัวแมลงเพลี้ยมารบกวนนอกจากนี้ยังเป็นความเชื่อว่า จะทำให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายอัตรธานไปจากทุ่งนาและบ้านเรือนของตนอีกด้วย
เมื่อถึงเดือนสิบ ชาวบ้านจะเอาใบตองมาให้พระสงฆ์เขียนคำจารึกเป็นภาษาบาลี ขอความสวัสดี แล้วเอาไปใส่ไว้ในนา พร้อมทั้งขอข้าวพระมาปั้นเป็นเต่า แล้วตากแดดให้แห้งเสร็จแล้วก็นำไปไว้ในโอ่งข้าวสาร นอกจากนี้ยังได้นำทรายไปให้พระปลุกเสก เพื่อนำไปวางไว้ในนา และวางไว้รอบบ้าน การปฏิบัติดังนี้ก็เนื่องจากวามเชื่อว่า จะได้มีข้าวปลากินอุดมสมบูรณ์ การทำไร่ทำนาจะได้ผลดี ข้าวออกรวงอย่างเต็มที่ปราศจากตัวแมลงเพลี้ยมารบกวนนอกจากนี้ยังเป็นความเชื่อว่า จะทำให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายอัตรธานไปจากทุ่งนาและบ้านเรือนของตนอีกด้วย

การปลูกเฮือนพวน ( ปลูกบ้าน)
การปลูกเฮือนพวน ( ปลูกบ้าน)
ตามคติความเชื่อของไทพวนจะปลูก ( ปลูกสร้าง) บ้านปลูกเฮือน จะต้องเลือกที่ให้ได้ลักษณะที่ดีที่เป็นมงคล การเลือกที่ต้องมีผู้รู้ ผู้เฒ่าผู้แก่ไปดูที่ดูทางให้การเลือกที่จะเสี่ยงทายหาที่ด้วยการ
ตามคติความเชื่อของไทพวนจะปลูก ( ปลูกสร้าง) บ้านปลูกเฮือน จะต้องเลือกที่ให้ได้ลักษณะที่ดีที่เป็นมงคล การเลือกที่ต้องมีผู้รู้ ผู้เฒ่าผู้แก่ไปดูที่ดูทางให้การเลือกที่จะเสี่ยงทายหาที่ด้วยการ
บรรทัด 249: บรรทัด 248:
3. ปลูกเฮือน ต้องไม่ปลูกใกล้หอบ้าน เป็นขะลำ
3. ปลูกเฮือน ต้องไม่ปลูกใกล้หอบ้าน เป็นขะลำ
4. ปลูกเฮือนที่รื้อลงจะสร้างใหม่ต้องทิ้งไว้ 1 ปี ก่อนจึงปลูกใหม่ได้
4. ปลูกเฮือนที่รื้อลงจะสร้างใหม่ต้องทิ้งไว้ 1 ปี ก่อนจึงปลูกใหม่ได้

เมื่อเลือกที่ปลูกได้แล้ว ก็จะต้องเชิญแม่ธรณีออกจากพื้นที่ที่จะปลูกเฮือนไปไว้ที่อื่นก่อน เพราะจะขุดหลุมฝังเสา จอบเสียมจะไปถูกแม่ธรณีให้เดือนร้อน และเชิญเทวดาลงมาเสี่ยงหาพื้นที่มงคลอีกครั้งเมื่อเชิญแม่ธรณีออกไปแล้วก็เชิญเทวดาลงมา เจ้าของที่จะกวาดพื้นตรงที่ปลูกเฮือนให้สะอาดเตียน เอาตะปูตอกลงไปที่พื้นให้เป็นรู เอาเมล็ดข้าวสาร 7 เมล็ดใส่ลงในรูตะปู เอาดอกไม้ ธูปเทียนวางบนรูตะปูแล้วใช้ขันครอบรูตะปูเอาไว้ 1 คืน รุ่งเช้าเปิดที่ครอบดูถ้าเมล็ดข้าวทั้ง 7 เมล็ดยังอยู่เหมือนเดิมไม่กระจัดกระจายเสียหายถือว่าที่ตรงนั้นดีเป็นมงคลปลูกเฮือนแล้วจะอยู่ดีกินดี แต่ถ้าเมล็ดข้าวกระจัดกระจายแสดงว่าที่ตรงนั้นเป็นอัปมงคลจะอยู่ไม่เป็นสุข
เมื่อเลือกที่ปลูกได้แล้ว ก็จะต้องเชิญแม่ธรณีออกจากพื้นที่ที่จะปลูกเฮือนไปไว้ที่อื่นก่อน เพราะจะขุดหลุมฝังเสา จอบเสียมจะไปถูกแม่ธรณีให้เดือนร้อน และเชิญเทวดาลงมาเสี่ยงหาพื้นที่มงคลอีกครั้งเมื่อเชิญแม่ธรณีออกไปแล้วก็เชิญเทวดาลงมา เจ้าของที่จะกวาดพื้นตรงที่ปลูกเฮือนให้สะอาดเตียน เอาตะปูตอกลงไปที่พื้นให้เป็นรู เอาเมล็ดข้าวสาร 7 เมล็ดใส่ลงในรูตะปู เอาดอกไม้ ธูปเทียนวางบนรูตะปูแล้วใช้ขันครอบรูตะปูเอาไว้ 1 คืน รุ่งเช้าเปิดที่ครอบดูถ้าเมล็ดข้าวทั้ง 7 เมล็ดยังอยู่เหมือนเดิมไม่กระจัดกระจายเสียหายถือว่าที่ตรงนั้นดีเป็นมงคลปลูกเฮือนแล้วจะอยู่ดีกินดี แต่ถ้าเมล็ดข้าวกระจัดกระจายแสดงว่าที่ตรงนั้นเป็นอัปมงคลจะอยู่ไม่เป็นสุข

การปลูกเฮือนต้องปลูกให้เสร็จในวันเดียว คือ ขึงศุกร์ ปลูกเสาร์ เมื่อขุดหลุมเสร็จจะใช้ของมาปิดปากหลุมกันไม่ให้สัตว์ลงไป หลุมเสาแต่ละหลุมจะมีชื่อเรียกคล้องจองกันเช่น คำสี คำดี คำมี ฯลฯ
การปลูกเฮือนต้องปลูกให้เสร็จในวันเดียว คือ ขึงศุกร์ ปลูกเสาร์ เมื่อขุดหลุมเสร็จจะใช้ของมาปิดปากหลุมกันไม่ให้สัตว์ลงไป หลุมเสาแต่ละหลุมจะมีชื่อเรียกคล้องจองกันเช่น คำสี คำดี คำมี ฯลฯ

การตัดไม้ทำเสาเฮือน จะต้องหาวันไปตัดให้ได้มงคล และไม้ที่เอามาทำเสาจะต้อง
การตัดไม้ทำเสาเฮือน จะต้องหาวันไปตัดให้ได้มงคล และไม้ที่เอามาทำเสาจะต้อง
1. ลำต้นตรง ไม่คดงอ
1. ลำต้นตรง ไม่คดงอ
บรรทัด 257: บรรทัด 259:
4. ไม่มีกิ่งตาย มีใบดก มีมดอยู่มากๆ ถือว่าจะทำให้อยู่ดีกินดี มีความสามัคคีกลมเกลียว
4. ไม่มีกิ่งตาย มีใบดก มีมดอยู่มากๆ ถือว่าจะทำให้อยู่ดีกินดี มีความสามัคคีกลมเกลียว
5. ขณะตัดไม้ทำเสา ถ้ามีเสียงนกเค้าแม้วร้อง ตุ๊กแกร้อง แลนร้อง ( ตะกวด) ฟานร้อง ( เนื้อทราย) แม้ไม้จะล้มแล้วก็เอามาทำเสาไม่ได้ ถือเป็นอัปมงคล
5. ขณะตัดไม้ทำเสา ถ้ามีเสียงนกเค้าแม้วร้อง ตุ๊กแกร้อง แลนร้อง ( ตะกวด) ฟานร้อง ( เนื้อทราย) แม้ไม้จะล้มแล้วก็เอามาทำเสาไม่ได้ ถือเป็นอัปมงคล

การลงเสาเอกหรือเสาแฮกเสาขวัญ ต้องหาวันลงเสาจะต้องไม่ให้ถูกวันเก้ากอง ถือเป็นอัปมงคลก่อนยกเสาลงหลุมต้องว่าคาถานกคุ่มตีใส่หน้าเสา หัวเสาติดแผ่นทอง มัดด้วยไซ ยอดกล้วย ต้นอ้อย ภายในไซจะใส่ เงิน ทอง ข้าวสาร ดอกไม้ มีการแห่รอบบริเวณเฮือน 3 รอบ พราหมณ์ หรือผู้รู้จะกระทำพิธีเดินด้วยการถือไหเกลือไหปลาร้า ชาวบ้านจะถือกบ ฆ้อเฒ่า ( หลาว มีด สิ่ว ลูกแห งา)
การลงเสาเอกหรือเสาแฮกเสาขวัญ ต้องหาวันลงเสาจะต้องไม่ให้ถูกวันเก้ากอง ถือเป็นอัปมงคลก่อนยกเสาลงหลุมต้องว่าคาถานกคุ่มตีใส่หน้าเสา หัวเสาติดแผ่นทอง มัดด้วยไซ ยอดกล้วย ต้นอ้อย ภายในไซจะใส่ เงิน ทอง ข้าวสาร ดอกไม้ มีการแห่รอบบริเวณเฮือน 3 รอบ พราหมณ์ หรือผู้รู้จะกระทำพิธีเดินด้วยการถือไหเกลือไหปลาร้า ชาวบ้านจะถือกบ ฆ้อเฒ่า ( หลาว มีด สิ่ว ลูกแห งา)

พิธีงานบวช
พิธีงานบวช
พ่อแม่จะเอาลูกหลานไปฝากไว้ที่วัด ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้หัดท่องสวดคำบวชให้ได้ ก่อนจะถึงวัดบวช 2 วัน จะต้องเตียมงาน
พ่อแม่จะเอาลูกหลานไปฝากไว้ที่วัด ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้หัดท่องสวดคำบวชให้ได้ ก่อนจะถึงวัดบวช 2 วัน จะต้องเตียมงาน
วันดา คือ วันก่อนวันบวช 1 วัน
วันดา คือ วันก่อนวันบวช 1 วัน
จะมีการแห่นาคไปตามถนนเวียนไปตามบ้านปอย บ้านผู้เฒ่าผู้แก่ ผีเสื้อบ้าน สมัยก่อนจะจัดงานที่บ้าน เรียกว่า ปอยลูกแก้ว พอตอนเย็นก็จะทำขวัญนาค มีอาจารย์เป็นคนทำขวัญ พิธีทำขวัญอาจารย์จะพูดลำดับตั้งแต่นาคเกิดจนโตให้รู้จักบุญคุณพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา
จะมีการแห่นาคไปตามถนนเวียนไปตามบ้านปอย บ้านผู้เฒ่าผู้แก่ ผีเสื้อบ้าน สมัยก่อนจะจัดงานที่บ้าน เรียกว่า ปอยลูกแก้ว พอตอนเย็นก็จะทำขวัญนาค มีอาจารย์เป็นคนทำขวัญ พิธีทำขวัญอาจารย์จะพูดลำดับตั้งแต่นาคเกิดจนโตให้รู้จักบุญคุณพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา

วันบวช
วันบวช
จะมีการตักบาตรทำบุญที่วัดในตอนเช้า ตอนบ่าย ๆ ก็จะเริ่มพิธิบวช พิธีบวชก็จะกระทำโดยพระสงฆ์ พอบวชเสร็จก็จะอยู่กรรมอีก 7 วัน ต้องฉันอาหารมื้อเดียว ทำสมาธิ บริกรรม
จะมีการตักบาตรทำบุญที่วัดในตอนเช้า ตอนบ่าย ๆ ก็จะเริ่มพิธิบวช พิธีบวชก็จะกระทำโดยพระสงฆ์ พอบวชเสร็จก็จะอยู่กรรมอีก 7 วัน ต้องฉันอาหารมื้อเดียว ทำสมาธิ บริกรรม

วันขึ้นบ้านใหม่
วันขึ้นบ้านใหม่
นิยมขึ้นบ้านใหม่ในเดือนคู่ คือเดือน 4 เดือน 6 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12 เจ้าของบ้านจะต้องหาเอาวันดีเป็นวันขึ้นบ้านใหม่
นิยมขึ้นบ้านใหม่ในเดือนคู่ คือเดือน 4 เดือน 6 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12 เจ้าของบ้านจะต้องหาเอาวันดีเป็นวันขึ้นบ้านใหม่
บรรทัด 270: บรรทัด 276:
เวลาที่ใช้ขึ้นบ้านใหม่ คือ เวลาเปิดหน้าพระเจ้า ประมาณตอนตีห้า เหตุที่ใช้เวลาตอนตีห้าถือว่าเป็นเวลาเปิดหน้าพระเจ้าเพราะสมัยก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ตอนตีห้า จึงถือเวลานี้เป็นเวลามงคล
เวลาที่ใช้ขึ้นบ้านใหม่ คือ เวลาเปิดหน้าพระเจ้า ประมาณตอนตีห้า เหตุที่ใช้เวลาตอนตีห้าถือว่าเป็นเวลาเปิดหน้าพระเจ้าเพราะสมัยก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ตอนตีห้า จึงถือเวลานี้เป็นเวลามงคล
ก่อนจะขึ้นบ้านใหม่ต้องเตรียมงานหลายเดือน สมมุติถ้าจะขึ้นบ้านใหม่ในเดือน 6 ต้องเตรียมงานตั้งแต่เดือน 4 ต้องเตรียมนิมนต์พระ เตรียมของ คืนก่อนวันงานขึ้นบ้านใหม่จะต้องมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสวดเบิก เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้าน
ก่อนจะขึ้นบ้านใหม่ต้องเตรียมงานหลายเดือน สมมุติถ้าจะขึ้นบ้านใหม่ในเดือน 6 ต้องเตรียมงานตั้งแต่เดือน 4 ต้องเตรียมนิมนต์พระ เตรียมของ คืนก่อนวันงานขึ้นบ้านใหม่จะต้องมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสวดเบิก เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้าน

วันขึ้นบ้านใหม่
วันขึ้นบ้านใหม่
จะนิมนต์พระมา 9 รูป มาตักบาตรทำบุญกันที่บ้าน แล้วก็จะมีพิธีสืบชะตา การทำพิธีสืบชะตา 1. ต้องใช้ไม้ง่าม เอามากระโจมกัน 109 อัน โดยมีไม้ยาว ๆ 3 อัน มัดกระโจมกันไว้ แล้วที่เหลือเป็นไม้สั้น ๆ แบ่งเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนก็จะไปกระโจมไว้ที่ไม้ยาว ๆ 3 อันนั้น เขาเรียกกันว่า ไม้ค้ำศรี ค้ำโพธิ 2. ต้องมีต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าวทลาย หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อหมาก ขันหมาก น้ำต้น เสื่อแดง หมอน มีการทำกระทงสี่เหลี่ยน ข้างวางไว้ใต้ไม้ค้ำศรี ค้ำโพธิ ภายในกระทงประกอบด้วย ขนม ข้าวเหนียว เอา 109 ก้อน อ้อย 109 อัน บุหรี่ 109 อัน ทุกอย่างต้อง 109 ทั้งหมด หมายถึง ความก้าวหน้า พระสงฆ์จะเป็นคนสวดทำพิธีสืบชะตา
จะนิมนต์พระมา 9 รูป มาตักบาตรทำบุญกันที่บ้าน แล้วก็จะมีพิธีสืบชะตา การทำพิธีสืบชะตา 1. ต้องใช้ไม้ง่าม เอามากระโจมกัน 109 อัน โดยมีไม้ยาว ๆ 3 อัน มัดกระโจมกันไว้ แล้วที่เหลือเป็นไม้สั้น ๆ แบ่งเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนก็จะไปกระโจมไว้ที่ไม้ยาว ๆ 3 อันนั้น เขาเรียกกันว่า ไม้ค้ำศรี ค้ำโพธิ 2. ต้องมีต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าวทลาย หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อหมาก ขันหมาก น้ำต้น เสื่อแดง หมอน มีการทำกระทงสี่เหลี่ยน ข้างวางไว้ใต้ไม้ค้ำศรี ค้ำโพธิ ภายในกระทงประกอบด้วย ขนม ข้าวเหนียว เอา 109 ก้อน อ้อย 109 อัน บุหรี่ 109 อัน ทุกอย่างต้อง 109 ทั้งหมด หมายถึง ความก้าวหน้า พระสงฆ์จะเป็นคนสวดทำพิธีสืบชะตา

การเลือกวันขึ้นบ้านใหม่ให้ดูจากตำรา
การเลือกวันขึ้นบ้านใหม่ให้ดูจากตำรา
วันอาทิตย์ กินข้าวแล้วขึ้น เอานายแก้วก็ดี นายดำก็ดีขึ้นก่อน
วันอาทิตย์ กินข้าวแล้วขึ้น เอานายแก้วก็ดี นายดำก็ดีขึ้นก่อน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:11, 2 มีนาคม 2558

ชาวไทพวน หรือ ชาวลาวพวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท ใช้ภาษาพวน ซึ่งเป็นตระกูลภาษาไท-กะได อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เดิมอาศัยอยู่ในประเทศลาว

ประวัติ

พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและลาวโซ่ง มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำ(ลาวโซ่ง)และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ

ตัวอย่างคำ[1][2][3]

ภาษาพวน ภาษาลาว ภาษาไทย
1 ฮัก ฮัก รัก
2 หัวเจอ หัวใจ หัวใจ
3 เผอ ใผ ใคร
4 ไปกะเลอ/ไปเก๋อ ไปใส ไปไหน
5 โบ่ง/ซ้อน บ่วง ช้อน
6 เห้อ ให้ ให้
7 เจ้าเป็นไทบ้านเลอ [4] เจ้าเป็นไทบ้านใด คุณเป็นคนบ้านไหน
8 เอ็ดผิเลอ/เอ็ดหังก้อ เฮ็ดหยัง ทำอะไร
9 ไปแท้บ่ ไปอีหลีบ่ ไปจริงๆหรอ
10 เจ๊าแม่นเผอ เจ้าแม่นใผ คุณเป็นใคร
11 ป่องเอี๊ยม ป่องเอี๊ยม หน้าต่าง
12 มันอยู่กะเลอบุ๊ มันอยู่ใสบ่ฮู้ มันอยู่ไหนไม่รู้
13 ไปนำกันบ๊อ ไปนำกันบ่ ไปด้วยกันไหม
14 มากันหลายหน่อล้า มากันหลายคือกันน้อ มากันเยอะเหมือนกันนะ
15 มากี๊ท้อ มานี้แด่ มานี่เถอะ
16 บ๊าแฮ้ง อีแฮ้ง อีแร้ง
17 บ๊าจ๊อน กะฮอก กระรอก
18 หม่าทัน หมากกะทัน พุทรา
19 หน้าแด่น หน้าผาก หน้าผาก
20 หม่ามี้ หมากมี่ ขนุน

วิถีชีวิต

ชาวพวนมีนิสัย รักความสงบ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักอิสระ มีความขยันขันแข็งในการการประกอบอาชีพ เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะทำงานหัตถกรรม คือ ผู้ชายจะสานกระบุง ตะกร้า เครื่องมือหาปลา ส่วนผู้หญิงจะทอผ้า ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบันคือ ผ้ามัดหมี่ลพบุรี

    อาหาร ของชาวไทยพวนที่มีประจำทุกครัวเรือนคือ ปลาร้า เมื่อมีงานบุญมักนิยมทำขนมจีน และข้าวหลาม ส่วนอาหารอื่น ๆ จะเป็นอาหารง่าย ๆ ที่ประกอบจากพืชผัก ปลา ที่มีในท้องถิ่น เช่น ปลาส้ม ปลาส้มฟัก เป็นต้น ในด้านความเชื่อนั้น ชาวพวนมีความเชื่อเรื่องผี จะมีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นในเทศกาลก็จะมีการเล่นผีนางด้ง ผีนางกวัก ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีกำฟ้า ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงการสักการะฟ้า เพื่อให้ผีฟ้า หรือเทวดาพอใจ เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติ
    วัฒนธรรมด้านภาษา ชาวพวนจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน     ภาษาของไทยพวน ใช้ภาษาไทยแท้เสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษาภาคกลางมากกว่า เสียงของชาวภาคอีสานส่วนมากเช่น แม่ก็ออกเสียงว่า แม่ ตรงกับภาษาภาคกลางไม่ใช่แหม่ น้ำก็ออกเสียงว่า น้ำ ไม่ใช่ น่าม เมื่อเทียบเคียงกับภาษาไทยสาขาอื่น เห็นว่าใกล้เคียงกับภาษาผู้ไทย หรือ ไทยภู และภาษาย้อ คือ ออกเสียงสระไอไม้ม้วนเป็นเสียงสระเออ เช่น ใต้ ออกเสียงเป็น เต้อ ให้ ออกเสียงเป็น เห้อ เป็นต้น ขนบธรรมเนียมประเพณีก็คล้ายคลึงกัน นับถือพระพุทธศาสนามั่นคงเช่นเดียวกัน  แต่ปัจจุบันภาษาเขียนจะไม่มีคนเขียนได้ ยังคงเหลือเพียงภาษาพูด ซึ่งมีสำเนียงคล้ายเสียงภาษาถิ่นเหนือ อักษร "ร " ในภาษาไทยกลาง จะเป็น "ฮ" ในภาษาพวน เช่น รัก - ฮัก หัวใจ - หัวเจอ ใคร - เผอ ไปไหน - ไปกะเลอ  
    ปัจจุบันชาวพวนในแต่ละจังหวัดยังคงสภาพความเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังมีความผูกพันกัน แน่นแฟ้นในหมู่ชาวพวน และมีความสัมพันธ์อันดีกับชาวไทยกลุ่มอื่น ทั้งยังคงพยายามรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเผ่าพันธ์อย่างดีแต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และสภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีชีวิตของชาวพวนเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง เช่น ภาษาพูด คนหนุ่มสาวจะนิยมพูดภาษาไทยกลาง แม้จะอยู่ในหมู่เดียวกัน หรือประเพณีพื้นบ้านบางอย่างก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เช่น แต่เดิมประเพณีใส่กระจาด ประเพณีเทศน์มหาชาติ จะจัดทำทุกปี และมีการทำอาหารเลี้ยงดู และใส่กระจาดกันทุกบ้าน 

สิ่งของเครื่องใช้ เมื่อก่อนส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนา โดยมีเครื่องมือทำนา คือ แอก เฝือ ไถ ล่อ ใช้วัวใช้ควาย ใช้ โซ๊ะ วิดน้ำตอนที่นาไม่มีน้ำ อาหารโดยทั่วไปจะกินน้ำพริกกินผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติเช่น ผักแคบ ผักบุ้ง ผักกาด ผักระ มีเห็ด ในหน้าฝน หน่อไม้จะมีในหน้าฝน ถ้าหาปูหาปลากบเขียดก็ขุดเอา แล้วนำไป แกงแค ทำแจ่ว ขนมของหวาน จะมี ขนมแหนบ ข้าวต้ม ลอดช่อง ขนมมะเกลือ ขนมมะแตงทำมาจากแตง ขนมตาลทำมาจากลูกตาล ขนมกล้วยทำมาจากกล้วยน้ำว้า ขนมแดง ใส่กะทิมะพร้าวน้ำอ้อยเคี่ยวให้แดงแล้วนำข้าวเหนียวนึ่ง ใส่ลงไปแล้วกวนให้แดง

เครื่องมือในการตีเหล็ก มีสูบเป่าลมให้เหล็กแดง ค้อนเหล็ก เอาท่อนไม้มาเจาะหลุม เรียกว่า ทั่ง

สิ่งของ เครื่องใช้ทั่วไปและของใช้ในครัว ซา เปาะ กระด้ง ก๋วย น้ำเต้าใส่น้ำ บังคอกใส่น้ำ หม้อดินใช้ทำกับข้าว หม้อน้ำใสน้ำกิน หามบุง โสง ครก จานช้อนสังกะสี โม่ที่ใช้โม่แป้ง

เครื่องมือจับปลา ล่าสัตว์ แห แน่ง น่าง จำยอ ตุ้ม แห่ว ไซร สุ่ม ข่อง หิง

เครื่องมือในการตีเหล็ก มีสูบเป่าลมให้เหล็กแดง ค้อนเหล็ก เอาท่อนไม้มาเจาะหลุม เรียกว่า ทั่ง

เครื่องใช้ทั่วไป ซา เปาะ กระด้ง ก๋วย น้ำเต้าใส่น้ำ บังคอกใส่น้ำ หม้อดินใช้ทำกับข้าว หม้อน้ำใสน้ำกิน หามบุง โสง ครก

เครื่องมือจับปลา ล่าสัตว์ สุ่ม ข่อง หิง แห แน่ง น่าง จำยอ ตุ้ม แห่ว ไซร

เครื่องดนตรี ปี่ ขลุ่ย ซอ สล้อ ซึง กลอง

เครื่องชั่ง ชั่งค่อนก้อม ชั่งลำหาบ ขนานทำจากไม้ไผ่สานแล้วไปเทียบกับลิตร 1 กระบุงมี 35 ลิตร 2 บุง เรียก หาบ มี 70 ลิตร 1 หาบ มี 70 ขนาน 2 หาบ มี 70 ถัง 140 ลิตร

อาวุธ หน้าไม้ คล้ายธนูแต่ใช้ลูกดินยิง หอก ดาบ ปืน ลูกปืนทำมาจากลูกตะกั่ว

เครื่องมือทอผ้า มี กี่ พัดลอด หลา ธงมะล่อ กำฟั่น คอฟึม

เครื่องมือสร้างบ้าน ค้อน ลูกดิ่ง สิ่ว เลื่อย ระเมาะ มรู เวลาเทียบระดับมีหลอดน้ำมีแก้วอยู่ตรงกลาง เวลาดูว่าเท่ากันดุจากน้ำอยู่ในแก้ว

เครื่องทุนแรง มีเกวียน สแลง กะโค่

การทำตุ้มน้ำ ขุดดินโคลนใต้น้ำ นำมาปั้นแต่งให้เป็นรูปโอ่ง เอาอิฐมอญมาก่อตามรูปโอ่งที่ปั้นไว้ เอาสตายฉาบให้ได้ความหนาประมาณ 2 นิ้ว ใช้สีฝุ่นลงเป็นสีแดง สีฝุ่นทำมาจากก้อนอิฐที่เผาไฟให้แดงมาบดให้ละเอียด เอาดินออกเอาอิฐมอญออก ทำขอบปากทีหลัง

การทำสุ่มไก่ นำไม้ไผ่มาลบเสี้ยนออก สานให้เป็นรูปโดยคนสานจะต้องอยู่ตรงกลางด้านใน สุ่มไก่จะต้องหงายขึ้น โดยมีเส้นหลักแล้วใช้เส้นเล็กสานสลับไปมา มีไม้สลักกันหลุดออกจากกัน

อาหารการกิน อาหารการกิน กินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ กินผักตามรั้วบ้านนิยมกินผักนึ่งมากกว่าผักต้ม ผักที่ปลูกตามบ้านตามไร่ตามนา อาหารประเภท ปู ปลาออกไปหาตามไร่ ตามนา เอาไปแกงแค คั่ว แจ่ว ปลาเต้นที่ทำมาจากปลาซิวและน้ำพริกมะเด่นทำจากมะเขือเทศเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากของคนไทยพวน อาหาร ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ปลาเต้น ทำมาจากปลาซิวสด ๆ น้ำพริกมะเด่น ทำมาจากมะเขือเทศ อาหารทั่วไปจะมีแกงแค คั่ว แจ่ว ส่วนประกอบของอาหารที่ใส่อาหารเกือบทุกประเภทจะมี น้ำปู ทำมาจากปู ปลาร้า ทำมาจากปลาโดยนำไปหมัก ออกไปหาปูหาปลาในนา ตามแม่น้ำยม หนองน้ำ

ปลาเต้น มีเครื่องปรุงดังนี้ - ปลาซิวสด - หัวปลี - หน่อไม้ส้ม - พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม - น้ำปลาร้า

มีวิธีการทำเริ่มจากตำ พริก ข่า ตะไคร้ หัวหอม ต้มน้ำปลาร้าให้หอม หั่นหัวปลีใส่ หน่อไม้ส้มใส่ เคล้าเครื่องปรุงทั้งหมดกับปลาซิวสด ลักษณะของปลาเต้นตอนกินปลาซิวยังไม่ตายดิ้นได้เขาจึงเรียกว่า ปลาเต้น เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงมาก ในสมัยก่อนนิยมกินอาหารดิบมาก ลาบปลาก็ดิบ ลาบเลือด แต่พอการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทจึงมีการให้เลิก กินอาหารดิบ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคพยาธิใบ้ไม้ดับ มีคนเสียชีวิตกับโรคนี้จำนวนมาก

แจ่วมะเด่น มีเครื่องปรุง มะเขือเทศ พริกสด ปลาร้า กระเทียม

มีวิธีการทำเริ่มจากนำกระเทียมใส่เกลือแลัวตำ พริกสดปิ้งไฟหลังจากนั้นนำไปตำ มะเขือเทศก็นำไปปิ้งไฟ นำมาปลาร้ามาสับห่อด้วยใบตองแล้วนำไปหมกไฟ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกัน กินกับมะเขือ แตง ถั่ว ฝอเขียด มีส่วนผสมดังนี้คือ เขียด มะแว้งเขือ พริกสด เกลือ หอม ปลาร้า มะเขือแจ้ ขมิ้น ข่า ตะไคร้ กระเทียม มีวิธีทำดังนี้คือ นำกระเทียมใส่เกลือ ข่า ตระไคร้ หั่น ขมิ้น ตำให้ละเอียด พริกแห้งนำไปเผาไปนิหน่อย นำไปตำรวมกับเครื่องที่ตำไว้ ใส่ปลาร้า เขียดเอาขี้ออกมาสับให้ละเอียด นำไปคั่ว นำส่วนผสมทั้งหมดไปผัดรวมกันให้หอม ใส่มะแว้งเขือ มะเขือแจ้ ใส่น้ำนิดหน่อยคนให้เข้ากัน

ตามจาง มีส่วนผสมดังนี้คือ หน่อไม้ดอง กระเทียม แคบหมู พริกยาว ใบกำก็ มีวิธีทำดังนี้คือ นำหน่อไม้ไปลวก โครกพริกสด กระเทียม แคบหมู ให้เข้ากันใส่หน่อไม้ ใบกำก็คลุกเคล้าให้เข้ากัน

แกงยอดขี้เหล็ก ส่วนผสมดังนี้คือ ยอดขี้เหล็ก พริก หอม ปลาร้า ปลาทูเค็ม มีวิธีทำดังนี้คือ นำยอดขี้เหล็กอ่อนไปล้างน้ำ นำไปต้ม โครกพริกหอมส่วนต่าง ๆให้เข้ากัน ใส่ลงไปใส่น้ำปลาร้า กินกับปลาทูเค็มปิ้ง

อาชีพตีเหล็ก

         แต่ดั้งเดิมจริง ๆ ก็ตีเหล็ก ตีพร้า ตีมีด และก็ทำผ้าหม้อห้อม สมัยก่อนไม่ได้เรียกทุ่งโฮ้ง แต่เป็น “ บ้านทั่ง” หรือเรียกว่า “ ทั่งโฮ่ง” เกิดจากทั่งที่มันโฮ้ง คือ มันยุบลงไปเหมือนกับหนองน้ำ คำว่า โฮ่ง เหมือนกับน้ำขัง เป็นหลุมลงไป ต่อมาเพี้ยนมาก็เป็น ทุ่งโฮ้ง

ทุ่งโฮ้งก็จะมีอยู่ 7 หมู่กับ 2 ชุมชน รวมแล้วเป็น 9 ชุมชน วิธีตีเหล็กสมัยก่อนก็เหมือนบ้านร่องฟอง โดยเอาถ่านไฟสูบให้ไฟมันแรงแล้วก็เอาเหล็กใส่ เหล็กที่เอามาทำก็ไม่รู้ว่ามาจากไหน แต่คิดว่าอาจจะซื้อมาแล้วมาตัดแค่ศอก แล้วก็เอามาเผาไฟ จากนั้นก็เอาค้อนทุบให้มันแบน ลักษณะค้อนที่เอามาทุบเหล็ก หัวค้อนจะเป็นเหล็กแต่ด้ามเป็นไม้ แล้วใช้ตะไบมาฝนกับหินมาถูกกับเหล็กให้คมเป็นพร้า แล้วจะสลักชื่อคนทำที่พร้า ปัจจุบันจะไม่ใช้สูบแล้วแต่จะใช้พัดลมเป่าไฟให้แรง สมัยก่อนสูบจะเป็นไม้รูปทรงกระบอก มี 2 อัน และก็จะมีไม้อีก 2 อันเสียบทำเป็นที่จับสูบเป็นแกนจนถึงข้างล่างที่ปลายไม้จะมีผ้าพันเวลาสูบก็จะดึงไม้อันนี้จะเกิดแรงดันลมเป่าไฟให้แรง สูบ ตรงนี้จะเป็น ผี คนเขานับถือ เขาเรียกกันว่า “ ผีตาเหล็ก” ตอนนี้ไม่ค่อยมีแล้วเขาจะสร้างเป็นศาลเพียงตาไว้ เดือนหก ขึ้นหกค่ำเหนือ เดือนสี่ใต้จะทำพิธีเลี้ยงผีตาเหล็กเป็นเหล้าไหไก่คู่ ประกอบด้วย เหล้าขาว 1 ไห และไก่ 2 ตัว คนจะกราบไว้จะบนไว้ขอให้บ้านเราอยู่แบบสุขสบาย

การตีเหล็ก มีอุปกรณ์ เตา สูบ คีม ทั่ง ตะไบ ผ้ากาด คือ เหล็กสำหรับทำให้เหล็กเรียบ คล้าย ๆ กบไสไม้

ประกอบด้วย คน 4 คน ในการทำ สูบ จำนวน 1 คน ทุบ จำนวน 3 คน คีบ จำนวน 1 คน รวมคนที่ทำ จำนวน 5 คน

วิธีการทำ เอาเหล็กเผาไฟให้แดงก่อน เอามาตีให้เป็นรูปเป็นร่าง ต้องทำ จำนวน 3 แดง จึงจะได้เป็นรูปเป็นร่าง แล้วเอาผ้ากาดมากาด เอาตะไบมาแต่ง เอาไปเผาไฟอีกทีหนึ่งแล้วเอาชุบน้ำ เป็นอันเสร็จแล้วเอามาเข้าด้าม

อาชีพทำผ้าหม้อห้อม หม้อห้อม ประกอบด้วย ต้นครามหรือต้นฮ้อมและน้ำขี้เถ่า เขาเรียกว่า น้ำด่าง วิธีทำน้ำด่างคือเอาขี้เถ้าใส่ปิ๊บแล้วเจาะรูที่ก้มปิ๊บแล้วให้มันหยดจะได้น้ำด่าง ตอนนี้แถวนี้ก็ยังทำกันอยู่แต่จะใช้ครามสำเร็จรูปแต่ก็ยังเอามาผสมกับน้ำด่างอยู่ ลักษณะของครามสำเร็จรูปจะเป็นก้อนเหลว ๆ คล้ายดินน้ำมัน ผ้าหม้อห้อมแท้ ๆ เกิดจากผ้าดิบ วิธีการทำผ้าหม้อห้อมเกิดจากปลูกฝ้ายก่อนแล้วก็เอามาปั่นด้วย เข็น คือ เครื่องปั่นฝ้าย ปั่นจนมันฟูเป็นเส้นด้าย ก็เอาไปชุบน้ำข้าวแล้วเอามาพัดหลอดให้มันเป็นหลอดด้ายเล็ก ๆ แล้วก็เอาไปขึงโยงสายเป็นเส้น ๆ เป็นสายยาว ๆ แล้วก็เอาไปทอ มันจะได้ผ้าขาว เอาไปย้อมในหม้อโอ่งจะมีใบครามแช่จนเปลื่อยผสมกับปูนแดงหรือปูนขาวก็ได้ และผสมกับน้ำด่างจากขึ้เถ้า จะได้สีครามเข้มออกคล้าย ๆ กับสีดำ แล้วเอาลงย้อมประมาณ 4- 5 ครั้ง สีจะติดทนนาน บางครั้งใส่จนเสื้อขาดแล้วก็ยังสีเข้มอยู่ เวลาเอามาตัดเย็บก็นิยมตัดเป็น ซ้ง กับ เสื้อ การทำผ้าหม้อห้อมสมัยก่อนยังไม่มีถุงมือ ต้องทำด้วยมือ ต้องปลูกฝ้ายเอง ปลูกต้นคราม ก็เอาฝ้ายมาปั่นเป็นเส้น ๆ เครื่องปั่นเรียกว่า หลา หรือ เถื่อน เอามาอีด เครื่องอีดมีลักษณะเป็นไม้ มี 2 ลำ เป็นวงกลม มีตอ มีหลัก 2 หลัก เวลาอีดจะหมุน ก็จะได้เป็นกำ แล้วเอามาใส่ เขาเรียก ก่องก้วง แล้วพอทำใด้ 10 กว่าหลอด แล้วก็เอาไปใส่โครง ทุกอย่างเป็นไม้ไม่ได้ลงทุนอะไร จนกว่าได้10 กว่าเส้นก็เอามามัดตามหลัก นับดูจนครบจำนวนเขาก็เอาออกมามัดมันจะมีความยาวมาก แล้วก็เอามากี่ ลายที่ทำขึ้นอยู่กับความคิดของคนทำ ลายดั้งเดิมคือลายสอง คือลายผ้าห่ม ผ้านวม แต่สมัยนี้เป็นสายน้ำไหล ลายน้ำฝน

อุปกรณ์ทำผ้าหม้อห้อม 1. โอ่งน้ำขนาดใหญ่ ใช้แช่ผ้าดิบและใส่น้ำห้อม 2. ถุงมือ ใช้สวมการจกผ้า เพื่อป้องกันสีติดมือ 3. ต้นคราม 4. ต้นห้อม 5. ผ้าดิบ ใช้สำหรับตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าแล้วนำมาย้อม 6. เตารีดถ่าน ใช้สำหรับรีดผ้าที่ลงแป้งและย้อมเสร็จแล้ว 7. หม้อน้ำด่าง สำหรับแช่ขี้เถ้าทำเป็นน้ำด่างเพื่อใช้ผสมห้อม 8. ตะกร้าห่าง ครอบปากหม้อ สำหรับใส่ผ้าที่ย้อม 9. ราวตากผ้า สำหรับตากผ้าที่ย้อมและลงแป้งแล้ว

ขั้นตอนการทำน้ำด่าง นำขี้เถ้าผสมน้ำครึ่งถึง โดยสังเกตจากสีที่ได้ต้องเข้ม

วิธีการรีดผ้า นำผ้าที่แห้งจากการลงแป้งแล้วมาพรมน้ำให้ทั่ว ทิ้งไว้ 30 นาที จากนั้นก็รีดกับเตาถ่าน (ก่อนรีดผ้านั้นควรจะมีการนำเตารีด รีดกับใบตองก่อน เพื่อปรับอุณหภูมิเพื่อช่วยให้รีดได้รื่นขึ้น)

ขั้นตอนการหมักน้ำห้อม (ใช้ต้นห้อม หรือ ต้นคราม) อุปกรณ์

   น้ำเปล่า 200 ลิตร
   ต้นครามหรือต้นห้อม 10 กิโลกรัม
   ปูนขาว 5 กิโลกรัม
   เกลือ 5 กิโลกรัม

นำน้ำเปล่า ต้นคราม หรือ ต้นห้อม ปูนขาวและเกลือ ที่เตรียมไว้มาผสมลงในโอ่งขนาดใหญ่ หมักทิ้งไว้ 1 เดือน จากนั้นก็นำมาย้อมผ้า

ขั้นตอนการทำผ้าดิบ 1. นำปุยฝ้ายจากต้นฝ้ายมาตากแดดให้แห้ง 2. เมื่อปุยฝ้ายแห้งดีแล้ว นำมารีดแยกเอาเมล็ดออก ให้เหลือเฉพาะปุยฝ้าย โดยการใช้ “ อีด” 3. นำปุยฝ้ายมาตีให้เกิดการฟูเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปปั่นให้เป็นเส้นโดยใช้ก๋งยิงฝ้าย 4. นำฝ้ายไปปั่นโดยหลาปั่นฝ้าย ก็จะได้เส้นฝ้าย 5. นำฝ้ายทอเป็นผ้า โดยใช้หุก (กี่) ซึ่งจะได้เป็นผ้าดิบ 6. นำผ้าที่ได้มาตัดเย็บเป็นเสื้อตามที่ต้องการ

ขั้นตอนการลงแป้ง 1. นำฝ้ายที่ย้อมแล้ว แช่น้ำธรรมดา 1 – 2 ชั่วโมง ให้ทั่วตัวผ้าแล้วเปลี่ยนน้ำ (แช่ 2 ครั้ง) แล้วผึ่งให้น้ำเสด็จ 2. การเตรียมแป้ง นำแป้งมันสัมปะหลังมาผสมกันกับน้ำเย็นในอัตราส่วน 480 กรัม : 1 ลิตร นำแป้งที่ผสมแล้วเทลงในน้ำเดือดครึ่งปิ๊บ แล้วใช้ไม้คนเพื่อไม่แป้งติดกัน 3. เอาแป้งที่ต้มแล้วใส่กะละมังผสมกับน้ำเย็น (ถ้าอยากให้ผ้าแข็งใช้น้ำแข็งข้น , ถ้าอยากให้ผ้าอ่อนใช้น้ำแข็งเจือจาง) 4. นำผ้าที่ผึ่งแล้วลงแช่น้ำแป้งที่เตรียมไว้ โดยต้องมีการขย้ำผ้าประมาณ 5 นาที เมื่อนำผ้าลงแป้งเสร็จแล้วก็นำผ้ามาบิด แล้วตากจากนั้นจึงนำผ้ามารีดกับเตารีดถ่าน

ขั้นตอนการทำผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิม 1.ตัดเย็บผ้าทอหรือผ้าดิบให้เป็นเสื้อตามขนาดที่ต้องการ 2.น้ำผ้าดิบที่ได้ไปแช่น้ำธรรดา 1 – 2 คืน แล้วนำขึ้นมาผึ่งให้หมาด 3.เตรียมผ้าที่ผึ่งให้หมาด โดยตระกร้าตาห่าง แช่ในโอ่งที่มีน้ำห้อม พอท่วมแล้วสวมถุงมือขย้ำ (จก) ให้สีย้อมติดทั่วทั้งตัวเสื้อ 4.นำผ้าที่ย้อมแล้วไปผึ่งให้แห้ง แล้วย้อมซ้ำอีก 5 ครั้ง เพื่อให้สีห้อมติดทั่วทั้งผืนและทนทานแล้วจึงนำไปผึ่งจนแห้ง 5. หลังจากย้อมครั้งสุดท้ายแล้ว นำมาซักแห้งลงแป้งและรีดให้เรียบร้อย 6. นำผ้าหม้อห้อมสำเร็จรูปที่ได้มาแขวนไว้ เพื่อรอการเก็บบรรจุภัณณ์

ประเพณีของชาวไทยพวน ชาวพวนนอกจากจะนับถือและยึดมั่นในศาสนาพุทธแล้ว ชาวพวนยังมีขนบธรรมเนียมและประเพณีเป้นเอกลักษณ์ของตนมาแต่โบราณ ชาวพวกนั้นเคร่งครัดต่อขนบธรรมเนียมและประเพรีของตนมากซึ่งได้ถือปฏิบัติมาตามแบบอย่าง บรรพบุรุษ ในรอบปีหนึ่งประเพรีของชาวพวนยังยึดถือและปฏิบัติกันมีดังนี้คือ

เดือนอ้ายบุญข้าวจี่ เดือนยี่บุญข้าวหลาม เดือนสามบุญกำฟ้า เดือนห้าบุญสงกรานต์ เดือนหกบุญหมู่บ้าน เดือนแปดบุญเข้าพรรษา เดือนเก้าบุญห่อข้าว เดือนสิบเอ็ดบุญตักบาตรเทโว เดือนสิบสองใส่กระจาดเทศก์มหาชาติ สนุกแลฯ

นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติอีกหลายอย่างเช่น การแห่บั้งไฟ การเซิ้งนางแมว การลากกระดาน(กองข้าว) การสู่ขวัญข้าว ประเพณีกำเกียง ฯลฯ ในปัจจุบันประเพณีต่าง ๆ ของชาวพวนส่วนมากยังคงยึดถือปฏิบัติกันอยู่ บางประเพณีก็ได้เลิกไปแล้ว บางประเพณีก็ได้ทำแบบไม่ต่อเนื่องกันกระทำเป็นบางครั้งบางคราวบางประเพณีก้มีปฏิบัติกันในเพียงบางจังหวัดเท่านั้น

ประเพณีที่สำคัญของชาวพวนได้แก่ ประเพณีกำฟ้า คำว่า "กำ" เป็นคำพวน หมายถึงการสักการะ คำว่า "ฟ้า" หมายถึงเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน หรือผู้ที่อยู่สูงเทียมฟ้า คือพวกเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจเห็นได้ คำว่า "กำฟ้า " หมายถึง การนับถือการสักการะบูชาฟ้า ซึ่งจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เป็นวันกำฟ้า ก่อนวันกำฟ้า 1 วัน คือวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้น หรือ ขนมจีน พร้อมทั้งน้ำยา และน้ำพริกไว้เลี้ยงดูกัน มีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอกข้าวหลามอ่อน มีการทำข้าวจี่ ข้าวจี่ทำโดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ อาจจะใส่ใส้หวานหรือใส้เค็มหรือไม่ใส่ใส้เลยก็ได้ เสียบเข้าไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกหอม ข้าวจี่จะนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัดมีการใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอนบ่ายจะมีการละเล่นไปจนถึงกลางคืน การละเล่นที่นิยมได้แก่ ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า นางด้ง ฯลฯ

งานบุญกำฟ้าในปัจจุบัน เศรษฐกิจได้สูงขึ้น การทำบุญต่าง ๆ ได้รวบรัดลงไป เหลือเพียงหลักใหญ่ ๆ และต่อมาในปัจจุบันในบางแห่ง ได้กลายเป็นวันทำบุญกุศลและงานรื่นเริงประจำปี จึงได้จัดงานนี้เพื่อนำประโยชน์ที่ได้เข้าไปทำสาธารณกุสล เป็นต้น

ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีใส่กระจาดหรือประเพณีเส่อกระจาด เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทพวน โดยจะตรงกับฤดูเทศกาลออกพรรษา คือระยะเดือน 11 ข้างแรม การใส่กระจาดเริ่มต้นเมื่อมีการประกวดกำหนดงานบุญมหาชาติแต่ละหมู่บ้าน จะกำหนดทำบุญไม่ตรงกัน หากหมู่บ้านใดมีการกำหนดทำบุญก่อน แต่ละบ้านก็จะทำขนมจีนและข้าวต้มมัด นอกจากนี้ยังมีผลไม้ต่าง ๆ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม ฯลฯ ไปให้กับหมู่บ้านที่มีงาน การทำบุญร่วมกันนี้อาจใช้เงินหรือผลไม้ที่นำมาร่วมกันสมทบทำบุญ และการทำบุญนี้เองเรียกว่า "การใส่กระจาด"

ก่อนจะถึงวันใส่กระจาดหนึ่งวันเรียกว่า "วันต้อนสาว" คำว่า "ต้อนสาว" เป็นภาษาพวน คือ เจ้าบ้านจะไปวานลูกสาวของหมู่บ้านที่รู้จักคุ้นเคยมาช่วยที่บ้านของตนเพื่อทำขนม ห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น(ขนมจีน) และช่วยต้อนรับแขกที่จะมาใส่กระจาด ในคืนนี้จะมีหนุ่มๆ ไปเที่ยวตามบ้านสาว ๆ ที่ตนชอบอยู่ และจะช่วยกันทำขนมไปคุยกันไปตลอดคืนและเตรียมจัดของไว้เลี้ยงแขกจนสว่าง พอรุ่งขึ้นก็เก็บกวาดจัดบ้านไว้รับแขกในวันใส่กระจาดในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเทศน์ ชาวบ้านก็จะนำของที่แขกมาใส่กระจาดทำเป็นกัณฑ์ไปถวายพระที่วัดโดยถือกันว่าการทำบุญมหาชาตินี้เป็นการทำบุญครั้งที่ยิ่งใหญ่ประจำปี

ประเพณีลงช่วง "ช่วยส่งง" เป็นประเพณีของไทยพวนอย่างหนึ่ง "ช่วง" คงหมายถึงบริเวณที่โล่งแจ้งซึ่งกว้างพอสมควร พอที่จะเป็นบริเวณรวมคนได้ประมาณ 20 - 30 คน เพื่อจพะทำงานบางอย่างได้โดยทั่วไป "การลงบ่วง" หมายถึงการนัดหมายเพื่อนบ้านออกมาทำงานพร้อมกันและเป็นการนัดพบของคนหนุ่มใกล้เคียงกัน เช่น ล้องบ้านด้าน ล้องบ้านชั่ว เป็นต้น ประเพณีลงช่วงมีจุดมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่การได้พบปะพูดคุยกันของคนหนุ่มสาวเพราะประเพณีสมัยโบราณหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันมาก งานที่นำมาทำขณะลงบ่วงนั้นส่วนใหญ่เป็นประเภทเบ็ดเตล็ด เช่น การทอผ้า ปั่นด้าย กระเทาะเปลือกถั่วลิสง(เตรียมไว้ปลูก) การซ้อมข้าว ฯลฯ และส่วนมากเป็นงานพื้นบ้าน ก่อนการลงบ่วงจะมีการเก็บหลัว (เศษไม้ไผ่) เพื่อนำมาก่อเพื่อให้เกิดแสงสว่างในตอนเย็นสาวจะเดินเก็บหลัว (เพื่อบอกให้หนุ่มทราบว่าวันนี้จะมีการลงบ่วง) มากองรวมกันไว้บริเวณที่จะมีการลงบ่วง แล้วขึ้นบ้านประกอบอาหารก่อนแล้วจึงลงบ่วงหลังจากรับประทานอาหารและอาบน้ำแต่งตัวเสร็จประมาณ 2 ทุ่ม ก็จะช่วยกันก่อกองไฟ ทำงานที่จะทำลงมาจากบ้านและทำกันไปคุยกันไปเป็นที่สนุกสนาน จากนั้นหนุ่ม ๆ ในละแวกบ้านก็จะมาเดินเที่ยวกันเป็นกลุ่ม ๆ การมาของหนุ่ม ๆ อาจจะเป่าแคน เป่าปาก ร้องเพลง เป็นการให้เสียงล่วงหน้าเพื่อสาว ๆ จะได้เตรียมตัวต้อนรับ โดยการนำน้ำดื่มมาวางไว้บริเวณงานหรืออาจจะมีขนมหวานไว้ด้วย หนุ่มที่สนใจสาวอาจจะแยกเป็นคู่ ๆ จะมีบางกลุ่มร้องเพลงและคุยตลกขบขันเป็นที่น่าสนุกสนานตามประสาหนุ่มสาวจนประมาณ 5-6 ทุ่ม หนุ่มจะไปส่งสาวกลับบ้านแต่ในบางท้องที่การลงข่วงจะกระทำขึ้นที่บ้านของสาวนั่นเอง

ประเพณีกำเกียง ประเพณีกำเกียงเป็นประเพณีที่กระทำกันในวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุลให้กับผีที่อดอยาก เพื่อจะได้ไม่มารบกวนคนในหมู่บ้านลักษณะเชิงปฎิบัติของประเพณีกำเกียงจะนิยมทำกัน 2 อย่าง คือ อิงศาสนา และ ไม่อิงศาสนา แบบไม่อิงศาสนา เรียกว่า “ กำเกียง” แบบอิงศาสนา เรียกว่า “ ห่อข้าวยามดิน” ทั้งสองกิจกรรมนี้ เป็นประเพณีที่ทำกันทั้งหมู่บ้าน กำเกียง ขาวบ้านจะพากันทำกระทงจากใบตอง แล้วปั้นดินเป็นรูปวัว รูปควาย รูปคนในบ้าน ใส่ลงไปในกระทง พร้อมกับอาหารที่จะเซ่นผี เตรียมไว้ในคืนวัน 11 ค่ำ เดือน 9 พอถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านจะพากันนำกระทงไปที่ท่าแม่น้ำ เพื่อทำพิธีขับไล่ผีหรือสิ่งที่เบียดเบียนร่างกายที่ทำให้เกิดไข้เจ็บ ให้สิ่งเหล่านี้ออกไปจากหมู่บ้าน ตอนที่เอากระทงไปลอยน้ำ ก็จะผูกกระทงติดไว้กับใบหนาด ซึ่งเป็นใบไม้สำหรับใช้ไล่ผี ผู้นำกระทงไปลอยน้ำจะต้องถือมีด และมีผ้าขาวม้าเคียนหัว แล้วก็ทำพิธีไล่ผีตายอดตายอยาก โดยกล่าวคำขับไล่ดังนี้ “ ผีกินได้ใส้ฮี่ ผีกินดีทองควะ ผีตายอึดตายอยาก ไปเฮ้อหมอ เฮ้อเสี้ยงเน้อ” ห่อข้าวยามดิน เป็นการทำทานให้กับผีเปรต ผีตายอดตายอยาก ประเพณีห่อข้าวยามดิน ขาวบ้านจะปฏิบัติกันโดยเอาของกิน เช่น ฟักแฟง แตง ข้าวโพด มาแลกกันตามบ้านเพื่อประกอบอาหาร แล้วนำมานึ่งรวมกันกลางลานบ้าน ของที่นึ่งได้ด้วยกันจะมีพืชผลดังกล่าวรวมทั้งข้าว และเนื้อ เมื่อนึ่งเข้ากันดีแล้ว ก็จะนำของที่นึ่งมาปั้นเป็นก้อน แล้วนำมาห่อด้วยใบตอกล้วย และนำไปทิ้งไว้ที่ตีนโบสถ์ที่วัด เพื่อว่าผีจะได้มากินอาหารที่วางทิ้งไว้นั้น บางครั้งนิยมการทำบุญตักบาตรด้วย

ประเพณีห่อข้าวยามดิน ในปัจจุบันไม่นิยมทำกัน เหตุผลก็คือบริเวณที่จะประกอบพิธี ไม่มีอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งเห็นว่าเป็นการทำให้วัดรุงรัง

ประเพณีทานข้าวสะ ประเพณีเดือน 10 เรียกว่า “ การทานข้าวสะ” ปัจจุบันนี้เป็นประเพณีที่ไม่นิยมปฏิบัติกันแล้ว การทานข้าวสะนั้นเดิมใช้ปฏิบัติกัน เนื่องมาจากความเชื่อว่า เป็นการอ้อนวอนขอความอุดมสมบูรณ์ในการเกษตรกรรม เมื่อถึงเดือนสิบ ชาวบ้านจะเอาใบตองมาให้พระสงฆ์เขียนคำจารึกเป็นภาษาบาลี ขอความสวัสดี แล้วเอาไปใส่ไว้ในนา พร้อมทั้งขอข้าวพระมาปั้นเป็นเต่า แล้วตากแดดให้แห้งเสร็จแล้วก็นำไปไว้ในโอ่งข้าวสาร นอกจากนี้ยังได้นำทรายไปให้พระปลุกเสก เพื่อนำไปวางไว้ในนา และวางไว้รอบบ้าน การปฏิบัติดังนี้ก็เนื่องจากวามเชื่อว่า จะได้มีข้าวปลากินอุดมสมบูรณ์ การทำไร่ทำนาจะได้ผลดี ข้าวออกรวงอย่างเต็มที่ปราศจากตัวแมลงเพลี้ยมารบกวนนอกจากนี้ยังเป็นความเชื่อว่า จะทำให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายอัตรธานไปจากทุ่งนาและบ้านเรือนของตนอีกด้วย

การปลูกเฮือนพวน ( ปลูกบ้าน) ตามคติความเชื่อของไทพวนจะปลูก ( ปลูกสร้าง) บ้านปลูกเฮือน จะต้องเลือกที่ให้ได้ลักษณะที่ดีที่เป็นมงคล การเลือกที่ต้องมีผู้รู้ ผู้เฒ่าผู้แก่ไปดูที่ดูทางให้การเลือกที่จะเสี่ยงทายหาที่ด้วยการ 1. ขุดหลุมให้ลึกพอประมาณ แล้วเอาใบไม้ปกหลุมไว้ 1 คืน รุ่งเช้าเปิดหลุมเอาดินขึ้นมาดมดูกลิ่นอย่างไร ถ้าดินมีกลิ่นเหม็น กลิ่นเน่าผิดกลิ่นธรรมชาติของดิน เป็นอัปมงคล ปลูกเฮือนไม่ได้จะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย 2. นอกจากดูดิน ดมกลิ่นดิน ดูน้ำในหลุมด้วยว่า น้ำเป็นอย่างไร สีอะไรน้ำใสหรือสีเน่ามีมัน น้ำมีกลิ่นเหม็น ปลูกเฮือนไม่ได้จะเจ็บป่วย น้ำจะท่วมบ้าน 3. ปลูกเฮือน ต้องไม่ปลูกใกล้หอบ้าน เป็นขะลำ 4. ปลูกเฮือนที่รื้อลงจะสร้างใหม่ต้องทิ้งไว้ 1 ปี ก่อนจึงปลูกใหม่ได้

เมื่อเลือกที่ปลูกได้แล้ว ก็จะต้องเชิญแม่ธรณีออกจากพื้นที่ที่จะปลูกเฮือนไปไว้ที่อื่นก่อน เพราะจะขุดหลุมฝังเสา จอบเสียมจะไปถูกแม่ธรณีให้เดือนร้อน และเชิญเทวดาลงมาเสี่ยงหาพื้นที่มงคลอีกครั้งเมื่อเชิญแม่ธรณีออกไปแล้วก็เชิญเทวดาลงมา เจ้าของที่จะกวาดพื้นตรงที่ปลูกเฮือนให้สะอาดเตียน เอาตะปูตอกลงไปที่พื้นให้เป็นรู เอาเมล็ดข้าวสาร 7 เมล็ดใส่ลงในรูตะปู เอาดอกไม้ ธูปเทียนวางบนรูตะปูแล้วใช้ขันครอบรูตะปูเอาไว้ 1 คืน รุ่งเช้าเปิดที่ครอบดูถ้าเมล็ดข้าวทั้ง 7 เมล็ดยังอยู่เหมือนเดิมไม่กระจัดกระจายเสียหายถือว่าที่ตรงนั้นดีเป็นมงคลปลูกเฮือนแล้วจะอยู่ดีกินดี แต่ถ้าเมล็ดข้าวกระจัดกระจายแสดงว่าที่ตรงนั้นเป็นอัปมงคลจะอยู่ไม่เป็นสุข

การปลูกเฮือนต้องปลูกให้เสร็จในวันเดียว คือ ขึงศุกร์ ปลูกเสาร์ เมื่อขุดหลุมเสร็จจะใช้ของมาปิดปากหลุมกันไม่ให้สัตว์ลงไป หลุมเสาแต่ละหลุมจะมีชื่อเรียกคล้องจองกันเช่น คำสี คำดี คำมี ฯลฯ

การตัดไม้ทำเสาเฮือน จะต้องหาวันไปตัดให้ได้มงคล และไม้ที่เอามาทำเสาจะต้อง 1. ลำต้นตรง ไม่คดงอ 2. ไม้ไม่แตก ไม่กลวง เมื่อล้มไม้ลงแล้วจึงพบว่าใจไม้แตกกลวง ก็จะเอามาใช้ปลูกเฮือนไม่ได้ 3. ไม้ที่จะทำเสาต้องเป็นไม้โม่แยงเงา คือ เงาของไม้ไม่ทอดลงน้ำ 4. ไม่มีกิ่งตาย มีใบดก มีมดอยู่มากๆ ถือว่าจะทำให้อยู่ดีกินดี มีความสามัคคีกลมเกลียว 5. ขณะตัดไม้ทำเสา ถ้ามีเสียงนกเค้าแม้วร้อง ตุ๊กแกร้อง แลนร้อง ( ตะกวด) ฟานร้อง ( เนื้อทราย) แม้ไม้จะล้มแล้วก็เอามาทำเสาไม่ได้ ถือเป็นอัปมงคล

การลงเสาเอกหรือเสาแฮกเสาขวัญ ต้องหาวันลงเสาจะต้องไม่ให้ถูกวันเก้ากอง ถือเป็นอัปมงคลก่อนยกเสาลงหลุมต้องว่าคาถานกคุ่มตีใส่หน้าเสา หัวเสาติดแผ่นทอง มัดด้วยไซ ยอดกล้วย ต้นอ้อย ภายในไซจะใส่ เงิน ทอง ข้าวสาร ดอกไม้ มีการแห่รอบบริเวณเฮือน 3 รอบ พราหมณ์ หรือผู้รู้จะกระทำพิธีเดินด้วยการถือไหเกลือไหปลาร้า ชาวบ้านจะถือกบ ฆ้อเฒ่า ( หลาว มีด สิ่ว ลูกแห งา)

พิธีงานบวช พ่อแม่จะเอาลูกหลานไปฝากไว้ที่วัด ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้หัดท่องสวดคำบวชให้ได้ ก่อนจะถึงวัดบวช 2 วัน จะต้องเตียมงาน วันดา คือ วันก่อนวันบวช 1 วัน จะมีการแห่นาคไปตามถนนเวียนไปตามบ้านปอย บ้านผู้เฒ่าผู้แก่ ผีเสื้อบ้าน สมัยก่อนจะจัดงานที่บ้าน เรียกว่า ปอยลูกแก้ว พอตอนเย็นก็จะทำขวัญนาค มีอาจารย์เป็นคนทำขวัญ พิธีทำขวัญอาจารย์จะพูดลำดับตั้งแต่นาคเกิดจนโตให้รู้จักบุญคุณพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา

วันบวช จะมีการตักบาตรทำบุญที่วัดในตอนเช้า ตอนบ่าย ๆ ก็จะเริ่มพิธิบวช พิธีบวชก็จะกระทำโดยพระสงฆ์ พอบวชเสร็จก็จะอยู่กรรมอีก 7 วัน ต้องฉันอาหารมื้อเดียว ทำสมาธิ บริกรรม

วันขึ้นบ้านใหม่ นิยมขึ้นบ้านใหม่ในเดือนคู่ คือเดือน 4 เดือน 6 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12 เจ้าของบ้านจะต้องหาเอาวันดีเป็นวันขึ้นบ้านใหม่ วันดี คือวันที่เป็นสิริมงคล ได้แก่ วันขึ้น 1 ค่ำ 3 ค่ำ 6 ค่ำ 11 ค่ำ 13 ค่ำ วันเสีย คือวันที่ห้ามทำการมงคล เป็นวันอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากวันดี เวลาที่ใช้ขึ้นบ้านใหม่ คือ เวลาเปิดหน้าพระเจ้า ประมาณตอนตีห้า เหตุที่ใช้เวลาตอนตีห้าถือว่าเป็นเวลาเปิดหน้าพระเจ้าเพราะสมัยก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ตอนตีห้า จึงถือเวลานี้เป็นเวลามงคล ก่อนจะขึ้นบ้านใหม่ต้องเตรียมงานหลายเดือน สมมุติถ้าจะขึ้นบ้านใหม่ในเดือน 6 ต้องเตรียมงานตั้งแต่เดือน 4 ต้องเตรียมนิมนต์พระ เตรียมของ คืนก่อนวันงานขึ้นบ้านใหม่จะต้องมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสวดเบิก เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่บ้าน

วันขึ้นบ้านใหม่ จะนิมนต์พระมา 9 รูป มาตักบาตรทำบุญกันที่บ้าน แล้วก็จะมีพิธีสืบชะตา การทำพิธีสืบชะตา 1. ต้องใช้ไม้ง่าม เอามากระโจมกัน 109 อัน โดยมีไม้ยาว ๆ 3 อัน มัดกระโจมกันไว้ แล้วที่เหลือเป็นไม้สั้น ๆ แบ่งเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนก็จะไปกระโจมไว้ที่ไม้ยาว ๆ 3 อันนั้น เขาเรียกกันว่า ไม้ค้ำศรี ค้ำโพธิ 2. ต้องมีต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าวทลาย หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อหมาก ขันหมาก น้ำต้น เสื่อแดง หมอน มีการทำกระทงสี่เหลี่ยน ข้างวางไว้ใต้ไม้ค้ำศรี ค้ำโพธิ ภายในกระทงประกอบด้วย ขนม ข้าวเหนียว เอา 109 ก้อน อ้อย 109 อัน บุหรี่ 109 อัน ทุกอย่างต้อง 109 ทั้งหมด หมายถึง ความก้าวหน้า พระสงฆ์จะเป็นคนสวดทำพิธีสืบชะตา

การเลือกวันขึ้นบ้านใหม่ให้ดูจากตำรา วันอาทิตย์ กินข้าวแล้วขึ้น เอานายแก้วก็ดี นายดำก็ดีขึ้นก่อน วันจันทร์ เอาขันดอกไม้ นำขึ้นก่อน วันอังคาร เอาแก้วใส่น้ำขึ้นก่อน วันพุธ เอาข้าวเชื้อขึ้นก่อน วันพฤหัสบดี เอาไม้กับหนังสือขึ้นก่อน วันศุกร์ เอาข้าวสารขึ้นก่อน วันเสาร์ เอาบ่าหินและขวานขึ้นก่อน พอตอนจะขึ้นบ้านก็มีการพิธีโดยมีอาขาจย์ 2 คน จะอยู่บนบ้านคนหนึ่ง อยู่ข้างล่างคนหนึ่ง แล้วจะมีการถาม-ตอบกัน หลังจากขึ้นบ้านแล้ว ก็จัดข้างของที่หาบขึ้นมาเข้าที่ แล้วก็ทำพิธีตอกเสาเอก เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีที่อยู่ในเสาออกไป คนที่ตอกก็คือช่างที่สร้างบ้าน หลังจากนั้นก็เข้าไปทำพิธีเอาขวัญเตาไฟในครัว ก็จะมีอาจารย์เป็นคนทำพิธีให้ เครื่องไหว้ก็จะมี ไก่1 ตัว ข้าวปั้น1 ปั้น แล้วอาจารย็ก็จะมีคำพูดก้อนเซ้า เตาจะมี3 ก้อน และว้จำลองไว้ว่เป็นก้อนเซ้าอีก1 ก้อนว่า “ ก้อนที่ 1 ก้อนอะไรทำไมเหลืองสวยจัง ก็จะมีคนตอบมาว่าก้อนทอง ก้อนที่ 2 ก้อนอะไรทำไมงาม ใส สวย ตอบว่าก้อนเงิน อีกก้อนนี้จำไม่ได้ แต่พอถึงก้อนเว้า ก็ว่าทำไมมันดาไม่สวยเลย มีคนบอกให้โยนทิ้งออกหน้าต่างไปเลย ก็เสร็จพิธี

ถิ่นอาศัยในประเทศไทย

  1. สุโขทัย ( อำเภอศรีสัชนาลัย )
  2. สระบุรี ( อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด อำเภอวิหารแดง)
  3. นครนายก( อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา)
  4. ปราจีนบุรี (อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมโหสถ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอกบินทร์บุรี )
  5. ฉะเชิงเทรา ( อำเภอพนมสารคาม)
  6. ลพบุรี ( อำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง)
  7. ราชบุรี
  8. เพชรบุรี ( อำเภอเขาย้อย อำเภอท่ายาง )
  9. น่าน (บ้านฝ่ายมูล อ.ท่าวังผา,บ้านหลับมืนพรวน อ.เวียงสา)
  10. แพร่ (ต.ทุ่งโฮ่ง อ.เมืองแพร่)
  11. สิงห์บุรี (หมู่ที่ 3 ต.บางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี)
  12. พิจิตร (อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาค บ้านป่าแดง อ.ตะพานหิน)
  13. สุพรรณบุรี (บ้านดอนหนามแดง , บ้านไผ่เดี่ยว , รางบัว ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี)
  14. อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ)
  15. อุตรดิตถ์ (บ้านปากฝาง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์)
  16. หนองคาย (บ้านดงบัง บ้านกุดบง อ. โพนพิสัย บ้านกวดโคกสว่าง ต.นาข่า อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย)
  17. พะเยา (บ้านห้วยกั้น อำเภอจุน)
  18. เชียงราย( บ้านป่าก๋อย อำเภอแม่สาย บ้านศรีดอนมูล บ้านป่าสักน้อย อำเภอเชียงแสน ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง)
  19. ชลบุรี (อำเภอพนัสนิคม)
  20. นครสวรรค์ ( อำเภอช่องแค อำเภอชุมแสง อำเภอไพศาลี อำเภอตากฟ้า)
  21. อุทัยธานี (อำเภอทัพทัน)
  22. กาญจนบุรี (บางหมู่บ้านในอำเภอพนมทวน)
  23. เพชรบูรณ์ (บ้านดงขุย อำเภอชนแดน อำเภอหนองไผ่ , ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ)

อ้างอิง

สิงห์บุรี อ.พรหมบุรี ต.บางน้ำเชี่ยว หมู่ 5 โภคาภิวัฒน์

http://www.stou.ac.th/Offices/rdec/nakornnayok/Main/OnlineExhibitions/Thaiphun/tradition.html

http://library.tru.ac.th/inlop/lpcul/310-lpcul11.html

http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-phuan-history.html

http://www.kasetsomboon.org/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%99/

http://gi.bru.ac.th/gis/dr/files/16/14.pdf

  1. :: ประเพณี-วิถีชีวิต :: ไทยพวน
  2. ชนชาติไทยพวน
  3. วัฒนธรรมไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว
  4. ชาวพวนในภาคกลางและประเทศไทย