ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันสิทธิมนุษยชน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PP2014 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ต้องการอ้างอิง}} เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 สมัชชาใหญ่แห่...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:52, 10 ธันวาคม 2557

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: Human Rights Day) และนับตั้งแต่นั้นมา โครงสร้างทั้งมวลของกลไกและเครื่องมือด้านสิทธิมนุษยชนก็ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อประกันการมีสิทธิขั้นพื้นฐานและป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ในวันสิทธิมนุษยชน ประชาคมต่างๆ ทั่วโลกจึงร่วมเฉลิมฉลองภายใต้แนวคิดหลักว่า “มนุษย์เกิดขึ้นมามีอิสระ มีเสรีภาพ และเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ

ความเป็นมาของวันสิทธิมนุษยชน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง ในปี พ.ศ. 2489 ประเทศต่างๆ ได้ตระหนักว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพและความเจริญก้าวหน้าขึ้นในโลก ดังนั้นจึงได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การโลกที่จะทำหน้าที่คุ้มครอง สร้างความเคารพ และทำให้สัมฤทธิ์ผล ของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของมวลมนุษยชนชาติเกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2489 ได้ขอให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นพิจารณาร่างปฏิญญาเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เรียกว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติรับรองปฏิญญาดังกล่าวในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยวรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ 30 มาตรา ที่กำหนดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่พึงได้รับโดยต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อาทิ สิทธิในการมีชีวิตอยู่รอด เสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัยของบุคคล สิทธิที่จะได้รับมาตรฐานในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ สิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น สิทธิในการศึกษา สิทธิที่จะไม่ถูกทรมานรวมไปถึงการกระทำย่ำยีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ เป็นต้น

วัตถุประสงค์การจัดทำปฏิญญาดังกล่าวเพื่อกำหนดหลักการและมาตรฐานความเข้าใจร่วมกันในบทบัญญัติของกฎบัตรสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยหลังจากปี พ.ศ. 2491 ปฏิญญาสากลก่อให้เกิดพัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยมีคณะกรรมการเพื่อยกร่างสาระสำคัญเกี่ยวกับปฏิญญาสากลดังกล่าวเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง เป็นปฏิญญาเพื่อกำหนดหลักการหรือมาตรฐานทั่วไปด้านสิทธิมนุษยชน และส่วนที่สอง เป็นตราสารทางกฎหมายที่สร้างพันธกรณีแก่รัฐที่เป็นภาคี ที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามที่ระบุและจำกัดสิทธิที่จะกระทำได้

โดยในปัจจุบัน สหประชาชาติได้รับรองเอกสารในส่วนที่สอง ซึ่งเป็นตราสารทางกฎหมายที่ผูกพันกับรัฐภาคีที่จะต้องคุ้มครอง สร้างความเคารพ และทำให้สัมฤทธิ์ผล ของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีดังกล่าว จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่

  • 1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
  • 2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง
  • 3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  • 4. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
  • 5. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการทารุณกรรรม ตลอดจนการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่ลดทอนคุณค่าความเป็นเป็นมนุษย์
  • 6. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
  • 7. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติ และสมาชิกในครอบครัวของแรงงานข้ามชาติ
  • 8. อนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องบุคคลจากการถูกกระทำให้สูญหาย (ยังไม่มีผลบังคับใช้)
  • 9. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของบุคคลผู้พิการ (ยังไม่มีผลบังคับใช้)

โดยรัฐภาคีแห่งพันธกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องจัดทำ กระบวนการ และหามาตรการที่เหมาะสมโดยหลักนิติธรรมต่อบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจรัฐ และไม่เลือกปฏิบัติโดยเหตุแห่งความแตกต่างทั้งมวล อีกทั้งยังต้องเพิ่มมาตรการเสริม ที่จะประกันหรือส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิต่างๆ สำหรับกลุ่มคนที่มีความอ่อนด้อย มีข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิดังกล่าว หรืออยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิได้ง่าย

ดูเพิ่ม