ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
ในเดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2543]] สภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ เป็น '''"สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร"''' โดยให้มีสถานะเทียบเท่าคณะและอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานอธิการบดี เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร โดยมีแนวความคิดว่าจะให้มีศูนย์วิจัยทางการแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ในอนาคต ซึ่งสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการสุขภาพชั้นสูง และผลิตงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนตลอดมา
ในเดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2543]] สภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ เป็น '''"สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร"''' โดยให้มีสถานะเทียบเท่าคณะและอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานอธิการบดี เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร โดยมีแนวความคิดว่าจะให้มีศูนย์วิจัยทางการแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ในอนาคต ซึ่งสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการสุขภาพชั้นสูง และผลิตงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนตลอดมา
เมื่อวันที่ [[20 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2546]] [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] เพื่อประดิษฐานหน้าอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ
เมื่อวันที่ [[20 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2546]] [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] เพื่อประดิษฐานหน้าอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ<ref>[http://www.med.nu.ac.th/fom/th/nuh2015/nuhMain.php?mod=history ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>


วันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2546]] [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จเป็นองค์ประธานในการเปิดอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และพระราชานุสาวรีย์ โดยพระองค์ได้พระราชทานนาม '''"อาคารสิรินธร"''' แก่สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย '''"ส.ธ."''' ประดิษฐานเหนืออาคาร
วันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2546]] [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จเป็นองค์ประธานในการเปิดอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และพระราชานุสาวรีย์ โดยพระองค์ได้พระราชทานนาม '''"อาคารสิรินธร"''' แก่สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย '''"ส.ธ."''' ประดิษฐานเหนืออาคาร<ref>ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร</ref>


[[ไฟล์:NUhosp.jpg|300px|thumb|พระราชานุสาวรีย์[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ประดิษฐานหน้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร]]
[[ไฟล์:NUhosp.jpg|300px|thumb|พระราชานุสาวรีย์[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ประดิษฐานหน้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร]]
บรรทัด 33: บรรทัด 33:


== ทำเนียบผู้อำนวยการ ==
== ทำเนียบผู้อำนวยการ ==
ตั้งแต่การก่อตั้งจากศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร จนถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีรายนามผู้อำนวยการดังนี้<ref>[http://www.med.nu.ac.th/fom/th/nuh2015/nuhMain.php?mod=history ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
ตั้งแต่การก่อตั้งจากศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร จนถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีรายนามผู้อำนวยการดังนี้<ref>ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร</ref>




{| class="toccolours" width=100%
{| class="toccolours" width=100%

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:09, 9 ธันวาคม 2557

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
Naresuan University Hospital
ไฟล์:NUhoslogo.jpg
ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง26 มีนาคม พ.ศ. 2548
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้อำนวยการผศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์
จำนวนเตียง286
เว็บไซต์http://www.med.nu.ac.th/fom/th/nuh2015/

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) ในเขตภาคเหนือตอนล่าง สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร เลขที่ 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก - นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000

ประวัติ

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติให้มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้น และในคราวเดียวกันก็ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ปัจจุบันคืออาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์) เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 2-3) รวมทั้งโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานศึกษาสำหรับการเรียนการสอนในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวรในส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกภาคปฏิบัติการ และเป็นสถานที่พักอาศัยของนิสิตแพทย์ และนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ที่เรียนภาคปฏิบัติด้วย นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เป็นศูนย์วิจัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศในเขตภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงได้มากยื่งขึ้น

อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

การก่อสร้างศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2539 จนแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ เป็น "สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยให้มีสถานะเทียบเท่าคณะและอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานอธิการบดี เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร โดยมีแนวความคิดว่าจะให้มีศูนย์วิจัยทางการแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ในอนาคต ซึ่งสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการสุขภาพชั้นสูง และผลิตงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนตลอดมา

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อประดิษฐานหน้าอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ[1]

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในการเปิดอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และพระราชานุสาวรีย์ โดยพระองค์ได้พระราชทานนาม "อาคารสิรินธร" แก่สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย "ส.ธ." ประดิษฐานเหนืออาคาร[2]

ไฟล์:NUhosp.jpg
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดิษฐานหน้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ปี พ.ศ. 2548 สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 118 (2/2548) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยมีมติให้ใช้ชื่อ "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร" และต่อมาในการประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 119 (3/2548) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 มีมติให้รวมสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548[3] เพื่อดำเนินการเป็นโรงพยาบาลหลักสำหรับการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

ปัจจุบันโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นโรงพยาบาลขนาด 286 เตียง โดยเป็นแหล่งปฏิบัติงานรวมทั้งเป็นแหล่งทำการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ระดับชั้นคลินิก และนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรมีโครงการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลโดยเพิ่มจำนวนเตียงผู้ป่วยเป็น 400 เตียง หลังได้รับอนุมัติวงเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555[4]

ทำเนียบผู้อำนวยการ

ตั้งแต่การก่อตั้งจากศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร จนถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีรายนามผู้อำนวยการดังนี้[5]

ศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 25394 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
2. ศาสตราจารย์(พิเศษ) นายแพทย์สุจินต์ อึ้งถาวร 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 254221 ธันวาคม พ.ศ. 2542
3. นายแพทย์ ดร.ภูดิท เตชาติวัฒน์ 22 ธันวาคม พ.ศ. 254218 สิงหาคม พ.ศ. 2543
สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์ ดร.ภูดิท เตชาติวัฒน์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 254315 มกราคม พ.ศ. 2547
2. นายแพทย์องอาจ เลิศขจรสิน 16 มกราคม พ.ศ. 254725 มีนาคม พ.ศ. 2548
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์องอาจ เลิศขจรสิน 26 มีนาคม พ.ศ. 254815 มีนาคม พ.ศ. 2550
2. ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย 16 มีนาคม พ.ศ. 255031 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิริยา นฤขัตรพิชัย 1 สิงหาคม พ.ศ. 255031 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน

หน่วยงาน

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีการแบ่งหน่วยงานต่างๆ ดังต่อไปนี้[6]

อ้างอิง

  1. ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  2. ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  3. รายงานประจำปี 2548 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  4. โครงการพัฒนาระบบบริการระดับตติยภูมิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  5. ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  6. โครงสร้างองค์กรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น