ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมาหริ่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KuroiSchwert (คุย | ส่วนร่วม)
(เพิ่ม) แม่แบบ:วงศ์เพียงพอน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| name =
| name =
| image = Melogale moschata (male) Praha zoo 02.2011 02.jpg
| image = Melogale moschata (male) Praha zoo 02.2011 02.jpg
| image_caption = [[หมาหริ่งจีน]] (''Melogale moschata'')
| image_caption = [[หมาหริ่งจีน]] (''M. moschata'')
| regnum = [[Animal]]ia
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Chordata]]
| phylum = [[Chordata]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:02, 29 พฤศจิกายน 2557

หมาหริ่ง
หมาหริ่งจีน (M. moschata)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Mustelidae
วงศ์ย่อย: Melinae
สกุล: Melogale
I. Saint-Hilaire, 1831
ชนิด
ดูในเนื้อหา

ระวังสับสนกับ: หมูหริ่ง

หมาหริ่ง หรือ หมาหรึ่ง (อังกฤษ: Badger, Ferret-badger; จีน: 鼬獾屬) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในสกุล Melogale ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae)

เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก จัดเป็นแบดเจอร์สกุลหนึ่ง มีลำตัวยาวประมาณ 33-39 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 15-21 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม มีช่วงขาที่สั้น เล็บนิ้วกางแยกออกจากกันและมีกรงเล็บที่แหลมคม สีขนเป็นสีน้ำตาลแกมเทาจนถึงสีดำ ส่วนหัวมีสีเข้มกว่าลำตัว มีลายแถบสีขาวระหว่างตาแถบหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดเจน และมีแถบสีขาวข้างแก้มและเหนือตาจากผ่านตามแนวสันคอจรดถึงหัวไหล่

เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวรุนแรง เนื่องจากมีต่อมผลิตกลิ่นอยู่ที่อยู่ที่บริเวณใกล้ก้น ซึ่งจะผลิตกลิ่นเหม็นออกจากเมื่อถูกคุกคามหรือตกใจ จัดเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่ป่าดิบ, ทุ่งหญ้า, นาข้าว จนถึงพื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงดินหรือโพรงไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งกินได้ทั้งพืชและสัตว์ต่าง ๆ อาทิ ผลไม้, ลูกไม้, สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก, แมลง, หนู, หอยทาก เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจปีนต้นไม้ขึ้นไปหากินได้

ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยจะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ตั้งท้องนานประมาณ 3 เดือน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว ในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งในบางครั้งอาจพบอยู่ด้วยกันในโพรงเดียวประมาณ 4-5 ตัว[1]

พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว ในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Melogale ที่วิกิสปีชีส์