ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยพรีเมียร์ลีก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kowito (คุย | ส่วนร่วม)
Kowito (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 807: บรรทัด 807:
!ปีที่ชนะเลิศ
!ปีที่ชนะเลิศ
|-
|-
|[[สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ|บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ]] ||<center> 3 || [[ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551|2551]], [[ไทยพรีเมียร์ลีก 2554|2554]],[[ไทยพรีเมียร์ลีก 2556|2556]]
|[[สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ|บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ]] ||<center> 4 || [[ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551|2551]], [[ไทยพรีเมียร์ลีก 2554|2554]],[[ไทยพรีเมียร์ลีก 2556|2556]],[[ไทยพรีเมียร์ลีก 2557|2557]]
|-
|-
|[[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เมืองทองฯ ยูไนเต็ด]] ||<center> 3 || [[ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2552|2552]], [[ไทยพรีเมียร์ลีก 2553|2553]], [[ไทยพรีเมียร์ลีก 2555|2555]]
|[[สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด|เมืองทองฯ ยูไนเต็ด]] ||<center> 3 || [[ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2552|2552]], [[ไทยพรีเมียร์ลีก 2553|2553]], [[ไทยพรีเมียร์ลีก 2555|2555]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:23, 2 พฤศจิกายน 2557

ไทยพรีเมียร์ลีก
ประเทศไทย ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
ก่อตั้ง2539
จำนวนทีม20
ตกชั้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1
ถ้วยภายในประเทศเอฟเอคัพ
ลีกคัพ
ถ้วยพระราชทาน ก
ถ้วยระดับนานาชาติเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
เอเอฟซีคัพ
ทีมชนะเลิศปัจจุบันแม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (2556)
ชนะเลิศมากที่สุดเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (3)
หุ้นส่วนโทรทัศน์ทรูวิชั่นส์, สยามกีฬาทีวี
เว็บไซต์ThaiPremierLeague.co.th
ฤดูกาล 2557

ไทยพรีเมียร์ลีก (อังกฤษ: Thai Premier League; ชื่อเดิม: ไทยลีก, ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก, ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ระดับสูงสุดของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสโมสรฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 18 ทีม ตามปกติจะดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละทีมจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 34 นัดต่อทีมต่อฤดูกาล รวมทั้งหมด 306 นัดต่อฤดูกาล ซึ่งการแข่งขันส่วนมาก จะมีขึ้นในวันเสาร์และวันอาทิตย์ แต่บางนัดอาจแข่งขันในวันอังคารหรือวันพุธ ทั้งนี้ ในฤดูกาลปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) เป็นการแข่งขันครั้งที่ 18 และมีผู้สนับสนุนหลักคือบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงมีชื่อเรียกว่า โตโยต้าไทยพรีเมียร์ลีก

ประวัติ

โลโกไทยพรีเมียร์ลีกปี 2553

เมื่อปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ จากวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นเลิศ มาเป็นรูปแบบอาชีพ โดยเริ่มก่อตั้งฟุตบอลลีกสูงสุดขึ้น ซึ่งมีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขัน เริ่มแรกที่ 10 ทีม ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 12 ทีมในเวลาต่อมา โดยในปี พ.ศ. 2550 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การยุบโปรวินเชียลลีกโดยให้สโมสร 4 อันดับแรก เข้าแข่งขันในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกแทน รวมจำนวนสโมสรในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็น 16 ทีม พร้อมทั้งเพิ่มเงื่อนไขให้สโมสรซึ่งอยู่ใน 3 อันดับสุดท้ายเมื่อจบฤดูกาล ต้องตกชั้นไปสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 โดยมีทีมชนะเลิศ กับอันดับ 2 และ 3 ของไทยลีกดิวิชัน 1 ขึ้นชั้นมาสู่ไทยพรีเมียร์ลีกเป็นการทดแทน ทั้งนี้ สโมสรฟุตบอลชลบุรี กลายเป็นทีมแรกซึ่งเพิ่งเข้ามาจากโปรวินเชียลลีก แล้วชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ออกระเบียบว่าด้วยความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นผลให้สมาคมฯ ต้องดำเนินการจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ขึ้นเพื่อเป็นผู้จัดการแข่งขัน ฟุตบอลลีกภายในประเทศ อย่างเป็นอาชีพที่แท้จริง โดยมีวิชิต แย้มบุญเรือง เป็นประธานกรรมการ และออกระเบียบให้ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลอาชีพ ต้องจัดตั้งในรูปนิติบุคคล (บริษัท) เพื่อดำเนินการบริหารสโมสร ส่งผลให้มีการแข่งขันเชิงรูปแบบ การบริหารจัดการให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น รวมทั้งแพร่หลายออกไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จากเดิมที่สโมสรฟุตบอลต่างๆ จะกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น จึงกลับมาเป็นที่นิยมของแฟนฟุตบอลไทยอีกครั้ง โดยในฤดูกาล 2554 สมาคมฯ ประกาศเพิ่มจำนวนสโมสรที่ได้สิทธิ เลื่อนชั้นขึ้นจากลีกดิวิชัน 1 เป็นผลให้ไทยพรีเมียร์ลีก มีสโมสรที่เข้าแข่งขันรวมเป็น 18 ทีม

สืบเนื่องจากกรณีที่ สโมสรฟุตบอลอีสานยูไนเต็ด ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้พิจารณาว่า สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ มีสิทธิทำการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2556 หรือไม่ หลังจากแข่งขันผ่านไปได้ 3 นัด ซึ่งระหว่างการพิจารณา ศาลปกครองมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว เป็นผลให้ บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก ต้องลงมติให้พักการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว โดยเมื่อศาลปกครองวินิจฉัยให้สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ มีสิทธิทำการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกได้ต่อไป สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงประชุมร่วมกับ บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ และสโมสรสมาชิกทั้งหมด โดยที่ประชุมลงมติให้การแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก เพิ่มสมาชิกเป็น 20 สโมสรฟุตบอล ตั้งแต่ฤดูกาล 2557 เป็นต้นไป ด้วยการให้สโมสรอันดับที่ 17 ลงไปแข่งขันในไทยลีกดิวิชัน 1 เพียงแห่งเดียว และให้ทีมชนะเลิศ, อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ของไทยลีกดิวิชัน 1 ขึ้นมาแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีกตามเดิม[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อรายการแข่งขัน

  • ครั้งที่ 17-19 (2556-ปัจจุบัน) : โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก[1] (TOYOTA Thai Premier League)
  • ครั้งที่ 14-16 (2553–2555) : สปอนเซอร์ ไทย พรีเมียร์ ลีก (Sponsor Thai Premier League)
  • ครั้งที่ 13 (2552) : ไทย พรีเมียร์ ลีก (Thai Premier League)
  • ครั้งที่ 11-12 (2549–2551) : ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก (Thailand Premier League)
  • ครั้งที่ 9-10 (2547–2548) : ไทยลีก (Thai League)
  • ครั้งที่ 6-8 (2544–2546) : จีเอสเอ็ม ไทย ลีก (GSM Thai League)
  • ครั้งที่ 3-5 (2541–2543) : คาลเท็กซ์ ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก (Caltex Thailand Premier League)
  • ครั้งที่ 1-2 (2539–2540) : จอห์นนี วอล์กเกอร์ ไทยแลนด์ ซอกเกอร์ ลีก (Johnny Walker's Thailand Soccer League)

เครือข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์

รูปแบบการแข่งขัน

ไทยพรีเมียร์ลีก มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 18 ทีม ตามปกติจะดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละทีมจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 34 นัดต่อทีมต่อฤดูกาล ซึ่งในแต่ละนัด ทีมชนะจะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้คะแนน ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สโมสรที่ได้คะแนนรวมสูงสุด จะได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้สิทธิไปแข่งขันรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ (กรณีสโมสรที่ชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก และไทยเอฟเอคัพฤดูกาลเดียวกัน เป็นสโมสรเดียวกัน สิทธิแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบเพลย์ออฟ ซึ่งปกติเป็นของสโมสรชนะเลิศไทยเอฟเอคัพ จะตกเป็นของสโมสรที่ได้คะแนนอันดับที่ 2 ของไทยพรีเมียร์ลีกแทน) ส่วนทีมที่ได้คะแนนรองลงมา จะเรียงอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้ โดยสามอันดับสุดท้าย จะตกชั้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 และสามอันดับแรก จากไทยดิวิชัน 1 จะขึ้นชั้นมาแทน

ในกรณีที่มีทีมมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับดังนี้

  1. พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากันที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาลที่เพิ่งจบการแข่งขัน (Head To Head)
  2. พิจารณาจากจำนวนครั้งที่ชนะ (Number of Wins) ของแต่ละทีมที่คะแนนเท่ากัน
  3. พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)
  4. พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals For)
  5. แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษ
  6. ในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้วและได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป

ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขัน เพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด
  2. ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ ประตูเสีย
  3. ถ้ายังเท่ากันอีกให้ดูเฉพาะประตูได้
  4. ถ้ายังเท่ากันอีกให้ทำการจับฉลาก

เงินรางวัล

การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล สำหรับสโมสรฟุตบอลซึ่งได้คะแนนรวม เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับต่างๆ ดังต่อไปนี้

อันดับที่ รางวัล
อันดับที่ 1 10,000,000 บาท
อันดับที่ 2 3,000,000 บาท
อันดับที่ 3 1,500,000 บาท
อันดับที่ 4 800,000 บาท
อันดับที่ 5 700,000 บาท
อันดับที่ 6 600,000 บาท
อันดับที่ 7 500,000 บาท
อันดับที่ 8 400,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีเงินบำรุงสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน สโมสรละ 1,000,000 บาท[ต้องการอ้างอิง] โล่พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท สำหรับผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม และผู้ทำประตูสูงสุด, โล่พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับสโมสรที่มีมารยาทยอดเยี่ยม, นักฟุตบอลเยาวชนผู้มีผลงานโดดเด่น และผู้เล่นยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ คือผู้รักษาประตู, กองหลัง, กองกลาง, กองหน้า[2]

ทีมชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก

ครั้งที่ ฤดูกาล จำนวนทีม ทีมชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3 อันดับ 4 อันดับ 5
18 2557 20 ทีม แม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชลบุรี เอฟซี แม่แบบ:บีอีซี ชัยนาท ฮอร์นบิล เอฟซี สุพรรณบุรี เอฟซี
17 2556 18 ทีม แม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ชลบุรี เอฟซี สุพรรณบุรี เอฟซี บางกอกกล๊าส
16 2555 18 ทีม เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ชลบุรี เอฟซี แม่แบบ:บีอีซี แม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไฟล์:Osotsapa fc.png โอสถสภา เอ็ม–150 สระบุรี
15 2554 18 ทีม แม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชลบุรี เอฟซี เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด พัทยา ยูไนเต็ด บางกอกกล๊าส
14 2553 16 ทีม แม่แบบ:เมืองทอง ยูไนเต็ด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชลบุรี การท่าเรือไทย บางกอกกล๊าส
13 2552 16 ทีม แม่แบบ:เมืองทอง ยูไนเต็ด ชลบุรี บางกอกกล๊าส บีอีซี เทโรศาสน โอสถสภา
12 2551 16 ทีม การไฟฟ้า ชลบุรี บีอีซี เทโรศาสน โอสถสภา ทีโอที
11 2550 16 ทีม แม่แบบ:ชลบุรี ธ.กรุงไทย บีอีซี เทโรศาสน ม.กรุงเทพ ทหารบก
10 2549 12 ทีม แม่แบบ:ม.กรุงเทพ โอสถสภา บีอีซี เทโรศาสน พนักงานยาสูบ ธนาคารกรุงเทพ
9 2547/48 10 ทีม แม่แบบ:ยาสูบ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โอสถสภา การท่าเรือ ธนาคารกรุงไทย
8 2546/47 10 ทีม แม่แบบ:กรุงไทย บีอีซี เทโรศาสน โอสถสภา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ การท่าเรือไทย
7 2545/46 10 ทีม แม่แบบ:กรุงไทย บีอีซี เทโรศาสน การท่าเรือ ธ.กรุงเทพ ทหารอากาศ
6 2544/45 12 ทีม แม่แบบ:บีอีซี โอสถสภา ธ.กรุงเทพ ทหารอากาศ สินธนา
5 2543 12 ทีม แม่แบบ:บีอีซี ทหารอากาศ ธ.กสิกรไทย กรุงเทพมหานคร การท่าเรือไทย
4 2542 12 ทีม แม่แบบ:ทหารอากาศ การท่าเรือ บีอีซี เทโรศาสน โอสถสภา องค์การโทรศัพท์ฯ
3 2541 12 ทีม แม่แบบ:สินธนา ทหารอากาศ บีอีซี เทโรศาสน การท่าเรือ ธ.กรุงเทพ
2 2540 12 ทีม แม่แบบ:ทหารอากาศ สินธนา ธ.กรุงเทพ การท่าเรือ บีอีซี เทโรศาสน
1 2539 18 ทีม ธ.กรุงเทพ หลักทรัพย์ องค์การโทรศัพท์ ธ.กสิกรไทย ยูคอมราชประชา

ผู้ทำประตูสูงสุด

ปี ผู้เล่น สโมสร ประตู
2556 สเปน คาร์เมโล กอนซาเลซ แม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
23
2555 บราซิล คลีตัน โอลิเวียรา ซิลวา
ไทย ธีรศิลป์ แดงดา
แม่แบบ:บีอีซี
แม่แบบ:เมืองทอง ยูไนเต็ด
24
2554 แคเมอรูน แฟรงค์ โอฮานด์ซา แม่แบบ:บุรีรัมย์ พีอีเอ
19
2553 แคเมอรูน ลูโดวิค ทาคาม พัทยา ยูไนเต็ด
17
2552 ไทย อานนท์ สังข์สระน้อย แม่แบบ:บีอีซี
18
2551 ไทย อานนท์ สังข์สระน้อย แม่แบบ:บีอีซี
20
2550 บราซิล เนย์ ฟาเบียโน แม่แบบ:ยาสูบ
18
2549 ไทย พิพัฒน์ ต้นกันยา แม่แบบ:บีอีซี
12
2547/48 ไทย ศุภกิจ จินะใจ
ไทย ศรายุทธ ชัยคำดี
การไฟฟ้า
แม่แบบ:การท่าเรือ
10
2546/47 ไทย วิมล จันทร์คำ โอสถสภา
15
2545/46 ไทย ศรายุทธ ชัยคำดี แม่แบบ:การท่าเรือ
12
2544/45 ไทย วรวุฒิ ศรีมะฆะ
ไทย ปิติพงษ์ กุลดิลก
แม่แบบ:บีอีซี
แม่แบบ:การท่าเรือ
12
2543 ไทย สุธี สุขสมกิจ แม่แบบ:Icon ธ.กสิกรไทย ธ.กสิกรไทย
16
2542 ไทย สุธี สุขสมกิจ แม่แบบ:Icon ธ.กสิกรไทย ธ.กสิกรไทย
13
2541 ไทย รณชัย สยมชัย แม่แบบ:การท่าเรือ
23
2540 ไทย วรวุฒิ ศรีมะฆะ แม่แบบ:บีอีซี
17
2539 ไทย อัมพร อำพันสุวรรณ แม่แบบ:Icon ทีโอที องค์การโทรศัพท์
21

อายุผู้เล่น

ผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุด

ผู้เล่นที่อายุมากที่สุด

ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม

ปี รายชื่อผู้ฝึกสอน สโมสร
2556 ไทย อรรถพล บุษปาคม แม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด,

แม่แบบ:บางกอกกล๊าส

2555 เซอร์เบีย สลาวีชา วอคานอวิช แม่แบบ:เมืองทอง ยูไนเต็ด
2554 ไทย อรรถพล บุษปาคม แม่แบบ:บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2553 เบลเยียม เรอเน เดอซาแยร์ แม่แบบ:เมืองทอง ยูไนเต็ด
2552 ไทย อรรถพล บุษปาคม แม่แบบ:เมืองทอง ยูไนเต็ด
2551 ไทย ประพล พงษ์พานิช การไฟฟ้าฯ
2550 ไทย จเด็จ มีลาภ แม่แบบ:ชลบุรี
2549 ไทย สมชาย ทรัพย์เพิ่ม แม่แบบ:ม.กรุงเทพ
2547/48 บราซิล โชเซ่ อัลเวส เบอร์วิส แม่แบบ:ยาสูบ
2546/47 ไทย วรวุฒิ แดงเสมอ ธ.กรุงไทย
2545/46 ไทย ณรงค์ สุวรรณโชติ ธ.กรุงไทย
2544/45 ไทย อรรถพล บุษปาคม แม่แบบ:บีอีซี
2543 ไทย พิชัย ปิตุวงษ์ แม่แบบ:บีอีซี
2542 ไทย ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน แม่แบบ:ทหารอากาศ
2541 ไทย การุณ นาคสวัสดิ์ แม่แบบ:สินธนา
2540 ไทย ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน แม่แบบ:ทหารอากาศ
2539 ไทย วิทยา เลาหกุล ธ.กรุงเทพ

สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน

สโมสร สถานที่สนามเหย้า ฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก อันดับที่ดีที่สุด (ฤดูกาล) อันดับที่แย่ที่สุด (ฤดูกาล)
ชัยนาท ฮอร์นบิล ชัยนาท 2555 - ปัจจุบัน อันดับ 10 (2556) อันดับ 14 (2555)
ชลบุรี เอฟซี ชลบุรี 2549-2555 ชนะเลิศ (2550) อันดับ 8 (2549)
เชียงราย ยูไนเต็ด เชียงราย 2554-2555 อันดับ 9 (2555) อันดับ 10 (2554)
การท่าเรือ คลองเตย 2539-2555 อันดับ 2 (2542) อันดับ 13 (2551)
ทีทีเอ็ม เชียงใหม่ แม่ริม เชียงใหม่ 2539, 2544-51 (พนักงานยาสูบ), 2552 (ทีทีเอ็ม-สมุทรสาคร),
2553-2554 (ทีทีเอ็ม เอฟซี พิจิตร), 2555 (ทีทีเอ็ม เอฟซี เชียงใหม่)
ชนะเลิศ (2547/48) อันดับ 13 (2539)
ทีโอที เอสซี หลักสี่ 2539-46 (องค์การโทรศัพท์), 2547-48 (ทศท), 2550-52 (ทีโอที), 2553-2555 (ทีโอที แคท) อันดับ 3 (2539) อันดับ 14 (2554)
พัทยา ยูไนเต็ด เมืองพัทยา (บางละมุง) 2551 (โค้ก-บางพระ ยุไนเต็ด), 2552-2555 (พัทยา ยูไนเต็ด) อันดับ 4 (2554) อันดับ 15 (2555)
บางกอกกล๊าส ธัญบุรี ปทุมธานี 2539, 2541-51 (ธ.กรุงไทย), 2552-2555 (บางกอกกล๊าส) ชนะเลิศ (2545/46, 2546/47) อันดับ 17 (2539)
บีบีซียู บางกะปิ 2539-2546/47 (สินธนา), 2551-2552 (จุฬา ยูไนเต็ด),2555 ชนะเลิศ (2541) อันดับ 15 (2552)
บีอีซี เทโรศาสน มีนบุรี 2539-2555 ชนะเลิศ (2543, 2544/45) อันดับ 12 (2539)
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุรีรัมย์ 2547-2555 ชนะเลิศ (2551,2554,2556) อันดับ 10 (2549)
เมืองทอง ยูไนเต็ด ปากเกร็ด 2552-2555 ชนะเลิศ (2552, 2553, 2555) อันดับ 3 (2554)
สงขลา ยูไนเต็ด สงขลา 2555 - -
ศรีสะเกษ เอฟซี ศรีสะเกษ 2553-2555 อันดับ 12 (2554) อันดับ 14 (2553)
อินทรีเพื่อนตำรวจ คลองหลวง 2550, 2553-2555 อันดับ 9 (2554) อันดับ 16 (2550)
สมุทรสงคราม สมุทรสงคราม 2551-2555 อันดับ 7 (2551, 2552) อันดับ 15 (2554)
อาร์มี่ ยูไนเต็ด พญาไท 2539-2542, 2549-2551, 2553-2555 อันดับ 5 (2550) อันดับ 16 (2553)
โอสถสภา เอ็ม-150 สระบุรี 2539, 2541-2555 อันดับ 2 (2544/45, 2549) อันดับ 10 (2541)

สนามที่ใช้แข่งขัน (ฤดูกาลปัจจุบัน 2557)

แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล อาร์มี่ ยูไนเต็ด บางกอกกล๊าส แบงค็อกยูไนเต็ด บีอีซี เทโรศาสน
สนามกีฬากองทัพอากาศ สนามกีฬากองทัพบก ลีโอ สเตเดียม สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
ความจุของสนาม: 25,000 ความจุของสนาม: 20,000 ความจุของสนาม: 13,000 ความจุของสนาม: 10,320 ความจุของสนาม: 10,000
ไฟล์:LEO Stadium new.jpg
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชัยนาท ฮอร์นบิล เชียงราย ยูไนเต็ด ชลบุรี เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
นิว ไอ-โมบาย สเตเดียม เขาพลอง สเตเดียม ยูไนเต็ด สเตเดียม ชลบุรีสเตเดียม เอสซีจี สเตเดียม
ความจุของสนาม: 33,000 ความจุของสนาม: 12,000 ความจุของสนาม: 15,000 ความจุของสนาม: 8,500 ความจุของสนาม: 15,000
ไฟล์:Thunder Castle Stadium.jpg ไฟล์:United Stadium of Chiangrai.jpg ไฟล์:Thunder Dome Stadium (Thailand).jpg
โอสถสภา เอ็ม–150 สระบุรี อินทรีเพื่อนตำรวจ ปตท. ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม
สนามกีฬากลางจังหวัดสระบุรี สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต พีทีทีสเตเดียม ดรากอน อารีนา สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสงคราม
ความจุของสนาม: 6,000 ความจุของสนาม: 25,000 ความจุของสนาม: 17,000 ความจุของสนาม: 10,000 ความจุของสนาม: 6,000
ศรีสะเกษ สิงห์ท่าเรือ สงขลา ยูไนเต็ด สุพรรณบุรี ทีโอที เอสซี
สนามศรีนครลำดวน แพตสเตเดียม สนามกีฬาติณสูลานนท์ สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี สนามฟุตบอลทีโอที
ความจุของสนาม: 10,000 ความจุของสนาม: 12,308 ความจุของสนาม: 35,000 ความจุของสนาม: 18,000 ความจุของสนาม: 5,000
ไฟล์:Tinsulanonda Stadium.jpg ไฟล์:Suphanburi stadium 1.jpg

อันดับในแต่ละฤดูกาล ของสโมสรที่เข้าแข่งขัน

ครั้งที่ 2539 2540 2541 2542 2543 2544/45 2545/46 2546/47 2547/48 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557
ชัยนาท ฮอร์นบิล 14 10
กรุงเทพคริสเตียน 10
ชลบุรี 8 C 2 2 3 2 2 3
บีอีซี เทโรศาสน 12 5 3 3 C C 2 2 6 3 3 3 4 9 8 3 7
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2 10 8 C 9 2 C 4 C C
โอสถสภา สระบุรี 14 10 4 8 2 6 3 3 2 9 4 5 7 6 5 8
ศรีสะเกษ 14 12 6
สมุทรสงคราม 7 10 8 15 7 16
บางกอกกล๊าส 17 9 10 10 7 C C 5 9 2 6 3 5 5 8 5
เชียงราย ยูไนเต็ด 10 9 11
ทหารบก 8 9 7 11 6 5 15 16 13 10 6
ทีโอที 3 (2) 8 6 5 12 9 9 9 10 5 7 12 14 11 14
อินทรีเพื่อนตำรวจ 10 11 7 11 16 11 9 12 9
วัวชน ยูไนเต็ด 13 12
พัทยา ยูไนเต็ด 11 12 6 4 15 17
การท่าเรือไทย 11 4 4 2 5 6 3 5 4 7 12 13 6 4 7 16
บีบีซียู 6 2 C 7 11 5 7 10 8 15 17
ทีทีเอ็ม เชียงใหม่ 13 8 8 8 C 4 6 12 8 13 11 18
ราชบุรี 15
แบงค็อก ยูไนเต็ด 4 7 C 4 10 13 15 13
สุพรรณบุรี 12 13 4
ปตท.ระยอง
ราชนาวี-ระยอง 9 12 6 10 7 10 15 11 10 16
ศรีราชา 14 17
นครปฐม 11 9 16
ไทยฮอนด้า 11 14
ทหารอากาศ 7 C 2 C 2 4 5 9
ศุลกากร 16
อาร์แบค-บีอีซี 2 (4) 7 11 9 4 12
ราชประชา 5 10 12
ราชวิถี 16
ธ.กสิกรไทย 3 (1) 6 8 6 3
ธ.กรุงเทพ C (3) 3 5 8 9 3 4 6 8 5 7 14
เมืองทอง ยูไนเต็ด C C 3 C 2
ไดสตาร์กรุงเทพ 15 12
ธำรงไทยสโมสร 18
ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
5 อันดับแรก
ตกชั้น
ไม่ได้เข้าร่วม

สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขันมากที่สุด

สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน-แยกตามรายชื่อสโมสร

สโมสร จำนวนครั้ง ปีที่ชนะเลิศ
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
4
2551, 2554,2556,2557
เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
3
2552, 2553, 2555
บีอีซี เทโรศาสน
2
2543, 2544/45
ธ.กรุงไทย
2
2545/46, 2546/47
ทหารอากาศ
2
2540, 2542
ธ.กรุงเทพ
1
2539
ม.กรุงเทพ
1
2549
ชลบุรี
1
2550
สินธนา
1
2541
พนักงานยาสูบ
1
2547/48

สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน-แยกตามจังหวัด

จังหวัด ครั้ง สโมสร
กรุงเทพ
10
บีอีซี เทโรศาสน (2), ธ.กรุงไทย (2), ทหารอากาศ (2), ธ.กรุงเทพ (1), ม.กรุงเทพ (1), พนักงานยาสูบ(1), สินธนา* (1)
นนทบุรี
3
เมืองทองฯ ยูไนเต็ด (3)
บุรีรัมย์
2
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด** (2)
อยุธยา
1
การไฟฟ้า** (1)
ชลบุรี
1
ชลบุรี (1)

* สินธนา แต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บีบีซียู ** บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้แชมป์ 1 ครั้งในชื่อ การไฟฟ้า ในขณะนั้นใช้สนามเหย้าที่อยุธยา และได้แชมป์อีก 2 ครั้งในชื่อ บุรีรัมย์ พีอีเอ

สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน-แยกตามภาค

ภาค จำนวน สโมสร
กรุงเทพและปริมณฑล
13
บีอีซี เทโรศาสน (2), ธ.กรุงไทย (2), เมืองทองฯ ยูไนเต็ด (3), ทหารอากาศ (2), ธ.กรุงเทพ (1), ม.กรุงเทพ (1), สินธนา** (1), พนักงานยาสูบ*** (1)***
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด** (3)
ภาคตะวันออก
1
ชลบุรี (1)
ภาคเหนือ
-
ภาคใต้
-
ภาคกลาง
ภาคตะวันตก
-

* สินธนา แต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บีบีซียู ** บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้แชมป์ 1 ครั้งในชื่อ การไฟฟ้า ในขณะนั้นใช้สนามเหย้าที่อยุธยา และได้แชมป์อีก 2 ครั้งที่ บุรีรัมย์ *** พนักงานยาสูบ ได้แชมป์ในขณะที่ยังอยู่ในกรุงเทพ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ทีทีเอ็ม เชียงใหม่ และย้ายสนามเหย้าไปที่จังหวัดเชียงใหม่

สโมสรไทยจับมือเป็นพันธมิตรกับสโมสรญี่ปุ่น

เมื่อปี พ.ศ. 2555 บจก.ไทยพรีเมียร์ลีก ลงนามข้อตกลงเป็นพันธมิตรกับเจลีกของญี่ปุ่น โดยมีเนื้อหาครอบคลุมดังต่อไปนี้

  1. มีการแลกเปลียนข้อมูลที่จะนำไปพัฒนาการจัดการแข่งขันฟุตบอลในลีกของตัวเอง
  2. มีการแลกเปลียนองค์ความรู้ เป็นเจ้าภาพในการจัดฟุตบอลคลินิก ตลอดจนการอบรมสัมมนาให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารจัดการของสโมสรในประเทศ
  3. มีการแลกเปลี่ยนการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน นักกีฬา และบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงการจัดแข่งขันและสถาบันฝึกอบรม (Academy)
  4. มีการจัดแมตช์กระชับมิตรระหว่างสโมสรไทยและญี่ปุ่น
  5. เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน แมตช์อุ่นเครื่องกระชับมิตร และการเข้าแคมป์เพื่อฝึกซ้อมของนักกีฬาในแต่ละระดับชั้น
  6. ส่งเสริมให้นักกีฬาไทยมีโอกาสเข้าร่วมสโมสรในเจลีก
  7. ให้การสนับสนุนในด้านการตลาด
  8. ให้การสนับสนุนในการถ่ายทอดแมตช์การแข่งขันของแต่ละประเทศ
  9. ส่งเสริมความร่วมมือกับสโมสรในลีกอื่นๆ
  10. ร่วมกันจัดกิจกรรมช่วยเหลือสังคมภายในประเทศ

และส่งผลให้สโมสรไทยลีกและสโมสรเจลีก เริ่มจับมือเป็นพันธมิตรกัน ดังนี้

  • ชัยนาท ฮอร์นบิล กับ คาชิวา เรย์โซล
  • เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด กับ จูบิโล่ อิวาตะ
  • บางกอกกล๊าส เอฟซี กับ เซเรโซ่ โอซาก้า
  • ชลบุรี เอฟซี กับ วิสเซิ่ล โกเบ
  • บีอีซี เทโรศาสน กับ ชิมิสุ เอสพัลส์
  • ขอนแก่น เอฟซี กับ คอนซาโดเล่ ซัปโปโร
  • สุพรรณบุรี เอฟซี กับ โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น