ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AlphamaBot (คุย | ส่วนร่วม)
Oilcon (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมหลักการทำงานของโทรศัทน์
บรรทัด 91: บรรทัด 91:
* [[จอภาพ]]
* [[จอภาพ]]
* [[โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย]]
* [[โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย]]

== '''โทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ''' ==
''1. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Open-Circuit Television หรือ Broadcasting Television)'' ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ 1.1 ระบบ VHF (Very High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า 1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่เพื่อการค้าและสถานีที่ส่งตามสายเคเบิลนั่นเอง
''2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television: CCTV)'' เป็นการแพร่ภาพและเสียงไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่น โทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้ในมหาวิทยาลัย
ประเภทของโทรทัศน์ มี 2 ประเภท คือ
1) โทรทัศน์อนาล็อก (Analog Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบ A.M. และ F.M. โดยมีการส่งเป็นสัญญาณแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband (VSB) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป

2) โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีการพัฒนามาจากโทรทัศน์อนาล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อก เป็นการผสมคลื่นแบบ COFDM โดยในหนึ่งช่องสัญญาณสามารถนำมาส่งได้หลายๆรายการโทรทัศน์ (Program) การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย

== '''หลักการแพร่ภาพของโทรทัศน์''' ==
การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่ตามนุษย์เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนๆเรียงๆกันตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป จึงจะทำให้สายตาของคนจับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทัน จึงเกิดลักษณะการมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์ เนื่องจากการแพร่ภาพคือการส่งภาพและเสียงออกไปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและเคลื่อนไหว

''หลักในการแพร่ภาพคือ'' การส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม.(AM) ผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband และผสมสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม.(FM)โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า (Video Signal-สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณที่แพร่ออกไปถึงเครื่องรับโทรทัศน์จะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุ และสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ โดยการที่เครื่องรับและเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้นเกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ที่ได้ทำการผสมสัญญาณเข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
[[File:Manita.png|thumb|Manita]]
ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า จุดภาพ(Dot) หรือพิกเซล (Pixel) ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง (ความสว่างของภาพ) ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง(R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B) ที่เกิดเป็นภาพ โดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้น จากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมานั้น

== '''การส่งสัญญาณโทรทัศน์''' ==
1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
เป็นการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณไปในอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHz จะเป็นช่วงของ Very high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของ Ultra high Frequency (UHF)
2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ
เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน
2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว
3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ
4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต
เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www สามารถเปิดใช้งานและรับชมได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านระบบเครือข่ายเนตเวิร์ก (Network) แต่อาจจะมีการล่าช้าหรือติดขัดขณะส่งสัญญาณเนื่องจากเครือข่ายไม่เสถียรก็เป็นได้

== '''หลักการทํางานของโทรทัศน์''' ==
[[File:หลักการทํางานของโทรทัศน์.gif|thumb|หลักการทํางานของโทรทัศน์]]
หลักการทำงานของโทรทัศน์ ก็อยากอธิบายแบบง่ายๆ ว่า โทรทัศน์จะมีการส่งสัญญาณ ภาพและเสียงมาด้วยกัน (แต่แยกความถี่ของการส่งที่ต่างกัน) โดยเมื่อมาถึงเครื่องรับ สัญญาณดังกล่าวจะถูกแยกไป โดยสัญญาณของเสียงก็จะไปเข้าที่ภาครับเสียง เพื่อทำการปรับแต่ง ลด และขยายสัญญาณให้มีความเหมาะสม ส่วนสัญญาณภาพจะถูกนำไป ทำการปรับแต่งด้วยเช่นกัน เช่นสัญญาณสี และส่งต่อไปยังภาคขยายโดยการควบคุม ขนาดของภาพให้มีความเหมาะสม โดยการส่งเข้าหน้าจอภาพนั้นจะใช้หลักการของการ ควบคุมภาพตามแนวตั้งและแนวนอน เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงอิเล็กตรอน เพื่อให้เกิดภาพที่หน้าจอ โดยในแต่ละขั้นตอนและกระบวนการจะถูกควบคุมด้วยแหล่ง จ่ายไฟเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้



== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:43, 19 ตุลาคม 2557

เครื่องรับโทรทัศน์ Braun HF 1 จากเยอรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี)

เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์[1]

ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

  • VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
  • UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง

ทั้งนี้ บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศโดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

ประเภทอื่น

ประเภทของเครื่องรับโทรทัศน์

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัดให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่งอาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของเครื่องรับโทรทัศน์

ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ
โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p)
โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p)
โทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน (ภาพกว้าง) 1024 × 576 9 : 16 EDTV (576p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูง (ภาพกว้าง) 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก (ภาพกว้าง) 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่ง (4k) (ภาพกว้าง) 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p)
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่งยวด (8k) (ภาพกว้าง) 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p)
  • โทรทัศน์ความละเอียดต่ำ จะใช้ส่งเฉพาะในโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงมาก จะไม่มีการใช้ โดยในอนาคตจะข้ามไปใช้โทรทัศน์ 4k แทนและมักเป็นความละเอียดสำหรับสื่อบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
  • โทรทัศน์ 4k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2012 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล
  • โทรทัศน์ 8k เริ่มทดลองออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2016 และเริ่มแพร่ภาพครั้งแรกที่ มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

การจัดเวลาออกอากาศ

ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของรายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขตหลัก กับอีก 4 เขตย่อยและจะนับทางซ้ายสุดของประเทศเป็นเขตที่ 1 ตามมาด้วยจนถึงด้านขวาสุดเป็นเขตที่ 4 โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่ 2 เขตตรงกลาง คือ เขตที่ 2 และ 3 ของประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ชมจะต้องบวกลบเวลากันเอาเอง ซึ่งรายการได้ฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะแจ้งเวลาดังนี้

8/7 Central หมายถึง 16:00 (4 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 1 ของประเทศ (Hawaii Time)
8/7 Central หมายถึง 17:00 (5 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 2 ของประเทศ (Alaska Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 18:00 (6 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 1 ของประเทศ (Pacific Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 19:00 (7 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 2 ของประเทศ (Mountain Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 20:00 (8 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 3 ของประเทศ (Central Time)
  • 8/7 Central หมายถึง 21:00 (9 pm) นาฬิกาตรงเขตหลักที่ 4 ของประเทศ (Eastern Time)
8/7 Central หมายถึง 22:00 (10 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 3 ของประเทศ (Atlantic Time)
8/7 Central หมายถึง 22:30 (10:30 pm) นาฬิกาตรงเขตย่อยที่ 4 ของประเทศ (Newfoundland Time)

เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 8/7 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 18:00 (6 pm) นาฬิกา (เขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่ซึ่งผนวกเวลาในส่วนของ Atlantic Time กับ Newfoundland Time เข้าไปไว้กับ Eastern Time และไม่นับรวม Hawaii Time กับ Alaska Time ที่จะห่างออกไปอีก 1-2 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้บางเขตไม่เหมาะสมและตรงกับในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นอีกครึ่งประเทศทางด้านซ้าย 2 ส่วนโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทางด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการตารางโดย Affiliate หรือสถานีย่อยเพื่อความเหมาะสม

ดูเพิ่ม

โทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ

1. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Open-Circuit Television หรือ Broadcasting Television) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ 1.1 ระบบ VHF (Very High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า 1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่เพื่อการค้าและสถานีที่ส่งตามสายเคเบิลนั่นเอง 2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television: CCTV) เป็นการแพร่ภาพและเสียงไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่น โทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้ในมหาวิทยาลัย ประเภทของโทรทัศน์ มี 2 ประเภท คือ 1) โทรทัศน์อนาล็อก (Analog Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบ A.M. และ F.M. โดยมีการส่งเป็นสัญญาณแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband (VSB) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป

2) โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีการพัฒนามาจากโทรทัศน์อนาล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อก เป็นการผสมคลื่นแบบ COFDM โดยในหนึ่งช่องสัญญาณสามารถนำมาส่งได้หลายๆรายการโทรทัศน์ (Program) การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย

หลักการแพร่ภาพของโทรทัศน์

การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่ตามนุษย์เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนๆเรียงๆกันตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป จึงจะทำให้สายตาของคนจับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทัน จึงเกิดลักษณะการมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์ เนื่องจากการแพร่ภาพคือการส่งภาพและเสียงออกไปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและเคลื่อนไหว

     	หลักในการแพร่ภาพคือ การส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม.(AM) ผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband และผสมสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม.(FM)โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า (Video Signal-สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณที่แพร่ออกไปถึงเครื่องรับโทรทัศน์จะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุ และสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ โดยการที่เครื่องรับและเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้นเกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ที่ได้ทำการผสมสัญญาณเข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
Manita

ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า จุดภาพ(Dot) หรือพิกเซล (Pixel) ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง (ความสว่างของภาพ) ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง(R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B) ที่เกิดเป็นภาพ โดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้น จากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมานั้น

การส่งสัญญาณโทรทัศน์

1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน

      เป็นการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณไปในอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHz จะเป็นช่วงของ Very high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของ Ultra high Frequency (UHF)

2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ

     เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
     2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน 
     2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
     2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว

3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

     เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ

4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต

     เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www สามารถเปิดใช้งานและรับชมได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านระบบเครือข่ายเนตเวิร์ก (Network) แต่อาจจะมีการล่าช้าหรือติดขัดขณะส่งสัญญาณเนื่องจากเครือข่ายไม่เสถียรก็เป็นได้

หลักการทํางานของโทรทัศน์

หลักการทํางานของโทรทัศน์

หลักการทำงานของโทรทัศน์ ก็อยากอธิบายแบบง่ายๆ ว่า โทรทัศน์จะมีการส่งสัญญาณ ภาพและเสียงมาด้วยกัน (แต่แยกความถี่ของการส่งที่ต่างกัน) โดยเมื่อมาถึงเครื่องรับ สัญญาณดังกล่าวจะถูกแยกไป โดยสัญญาณของเสียงก็จะไปเข้าที่ภาครับเสียง เพื่อทำการปรับแต่ง ลด และขยายสัญญาณให้มีความเหมาะสม ส่วนสัญญาณภาพจะถูกนำไป ทำการปรับแต่งด้วยเช่นกัน เช่นสัญญาณสี และส่งต่อไปยังภาคขยายโดยการควบคุม ขนาดของภาพให้มีความเหมาะสม โดยการส่งเข้าหน้าจอภาพนั้นจะใช้หลักการของการ ควบคุมภาพตามแนวตั้งและแนวนอน เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงอิเล็กตรอน เพื่อให้เกิดภาพที่หน้าจอ โดยในแต่ละขั้นตอนและกระบวนการจะถูกควบคุมด้วยแหล่ง จ่ายไฟเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้


อ้างอิง

  1. "World Analogue Television Standards and Waveforms - section - Timeline". Histrorical television data 2011. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Albert Abramson, The History of Television, 1942 to 2000, Jefferson, NC, and London, McFarland, 2003, ISBN 0-7864-1220-8.
  • Pierre Bourdieu, On Television, The New Press, 2001.
  • Tim Brooks and Earle March, The Complete Guide to Prime Time Network and Cable TV Shows, 8th ed., Ballantine, 2002.
  • Jacques Derrida and Bernard Stiegler, Echographies of Television, Polity Press, 2002.
  • David E. Fisher and Marshall J. Fisher, Tube: the Invention of Television, Counterpoint, Washington, DC, 1996, ISBN 1-887178-17-1.
  • Steven Johnson, Everything Bad is Good for You: How Today's Popular Culture Is Actually Making Us Smarter, New York, Riverhead (Penguin), 2005, 2006, ISBN 1-59448-194-6.
  • Jerry Mander, Four Arguments for the Elimination of Television, Perennial, 1978.
  • Jerry Mander, In the Absence of the Sacred, Sierra Club Books, 1992, ISBN 0-87156-509-9.
  • Neil Postman, Amusing Ourselves to Death: Public Discourse in the Age of Show Business, New York, Penguin US, 1985, ISBN 0-670-80454-1.
  • Evan I. Schwartz, The Last Lone Inventor: A Tale of Genius, Deceit, and the Birth of Television, New York, Harper Paperbacks, 2003, ISBN 0-06-093559-6.
  • Beretta E. Smith-Shomade, Shaded Lives: African-American Women and Television, Rutgers University Press, 2002.
  • Alan Taylor, We, the Media: Pedagogic Intrusions into US Mainstream Film and Television News Broadcasting Rhetoric, Peter Lang, 2005, ISBN 3-631-51852-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA