ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แบบเก่า)/แก้ไข"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
<div style="float:left; align:left; background-color: #f5faff; padding: .2em .6em; font-size: 130%; border: 1px solid #cee0f2;">'''ทดลองเขียนได้ที่ [[/กระดาษทด/]]'''</div>
<div style="float:left; align:left; background-color: #f5faff; padding: .2em .6em; font-size: 130%; border: 1px solid #cee0f2;">'''ทดลองเขียนได้ที่ [[/กระดาษทด/]]'''</div>


<div style="float:right; margin-top: 0.0em; margin-bottom:3px; background-color: #cee0f2; padding: .2em .6em; font-size: 130%; border: 1px solid #a3b1bf;">'''ต่อด้วย [[วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (จัดรูปแบบ)|จัดรูปแบบ]]''' <span style="font-size: larger; font-weight: bold;">→</span></div>
<div style="float:right; margin-top: 0.0em; margin-bottom:3px; background-color: #cee0f2; padding: .2em .6em; font-size: 130%; border: 1px solid #a3b1bf;">'''ต่อด้วย [[วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน/จัดรูปแบบ|จัดรูปแบบ]]''' <span style="font-size: larger; font-weight: bold;">→</span></div>
</div>
</div>
<div style="clear:both"></div>
<div style="clear:both"></div>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:05, 29 กันยายน 2557

อารัมภบท วิธีการแก้ไข การจัดรูปแบบ ลิงก์ การอ้างอิง
แหล่งที่มา
 หน้าคุย จำไว้ว่า ลงทะเบียน ท้ายสุด  
กดปุ่มนี้เพื่อเปลี่ยนเนื้อหาบทความ

เกือบทุกหน้ามีแถบ "แก้ไข" ยกเว้นหน้าที่ถูกล็อกส่วนน้อย ซึ่งเปิดให้คุณแก้ไขหน้าที่คุณกำลังดูอยู่ได้ การแก้ไขเป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่สุดของวิกิพีเดีย และให้คุณแก้ไขและเพิ่มข้อเท็จจริงในบทความ หากคุณเพิ่มสารสนเทศสู่บทความ โปรดหาแหล่งอ้างอิง เพราะข้อเท็จจริงที่ไม่มีการอ้างอิงสามารถถูกนำออกได้ ฉะนั้น พึงชัดเจนและให้แหล่งอ้างอิง

ในการฝึกแก้ไข ไปกระดาษทดแล้วคลิกแถบ "แก้ไข" เมื่อคุณคลิกแล้ว หน้าต่างแก้ไขจะเปิดซึ่งมีข้อความในหน้านั้นอยู่ ลองพิมพ์ข้อความที่น่าสนุกและน่าสนใจ หรือเพียงแทนที่คำด้วยคำของคุณเอง แล้วคลิกปุ่ม บันทึก และคอยดูผลงานของตัวเอง!

คำอธิบายอย่างย่อ

กล่องคำอธิบายอย่างย่อ
กล่องคำอธิบายอย่างย่อ

การฝึกแก้ไขครั้งแรกของคุณ (ด้านบน) ละสองขั้นตอนที่คุณควรทำหากคุณกำลังแก้ไขบทความหรือหน้าอื่นที่สาธารณะเข้าชมได้ ฉะนั้น คลิกแถบ "แก้ไข" อีกครั้ง พิมพ์ข้อความ จากนั้นทำเพิ่มอีกสองขั้นตอน

ขั้นแรก ทุกครั้งที่คุณแก้ไขหน้า จะเป็นมารยาทอันดีที่จะเพิ่มคำอธิบายการเปลี่ยนแปลงของคุณในกล่องคำอธิบายอย่างย่อ ซึ่งคุณจะพบอยู่ใต้หน้าต่างแก้ไข ไม่เป็นไรที่คำอธิบายของคุณอาจค่อนข้างสั้น ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังแก้ไขเรื่องตัวสะกด คุณอาจพิมพ์เพียงว่า "แก้สะกดผิด" เช่นกัน หากการเปลี่ยนแปลงของคุณเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เช่น แก้ตัวสะกดหรือข้อผิดพลาดไวยากรณ์ให้ถูก จะเป็นประโยชน์หากคุณเช็กกล่อง "เป็นการแก้ไขเล็กน้อย" (กล่องนี้จะมีเฉพาะเมื่อคุณล็อกอิน) สำหรับการแก้ไขในหน้ากระดาษทด คุณอาจลองเขียนคำอธิบายอย่างย่อว่า "ทดสอบ"

ดูตัวอย่าง

ขั้นที่สอง คุณควรใช้ปุ่ม แสดงตัวอย่าง เสมอ หลังคุณเข้าไปแก้ไขในกล่องแก้ไขในหน้ากระดาษทดแล้ว กดปุ่ม แสดงตัวอย่าง แทนปุ่ม บันทึก ซึ่งจะทำให้คุณเห็นว่าหน้าจะออกมาเป็นอย่างไรหลังการแก้ไขของคุณ ก่อนที่คุณจะบันทึกจริง ๆ เราทุกคนล้วนทำผิดพลาด คุณลักษณะนี้ช่วยให้คุณตรวจพบข้อผิดพลาดนั้นก่อนที่คนอื่นจะมาเห็น การใช้ แสดงตัวอย่าง ก่อนบันทึกยังให้คุณลองการแก้ไขรูปแบบและการแก้ไขอื่นโดยไม่เกะกะประวัติหน้า แต่อย่าลืมบันทึกการแก้ไขของคุณหลังดูตัวอย่างด้วย!

บันทึกการแก้ไข

เขียนคำอธิบายอย่างย่อแล้ว ดูตัวอย่างหน้าแล้ว เช่นนั้นคุณก็พร้อมสำหรับขั้นสุดท้าย คลิกปุ่ม บันทึก

ทดลองเขียนได้ที่ กระดาษทด
ต่อด้วย จัดรูปแบบ