ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 82: บรรทัด 82:
'''1. ฝ่ายการพยาบาล'''
'''1. ฝ่ายการพยาบาล'''
* งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
* งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
** หน่วยผู้ป่วยนอก
** หน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
* งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
* งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
** หอผู้ป่วยวิกฤต 1
** หอผู้ป่วยวิกฤต 2
** หอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด
* งานการพยาบาลพิเศษ
* งานการพยาบาลพิเศษ
** หน่วยปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด
** หน่วยไตเทียม
* งานการพยาบาลผ่าตัด
* งานการพยาบาลผ่าตัด
** หน่วยผ่าตัด
** หน่วยเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อกลาง
* งานการพยาบาลศัลยศาสตร์
* งานการพยาบาลศัลยศาสตร์
** หอผู้ป่วย 4A
** หอผู้ป่วย 4B
* งานการพยาบาลอายุรศาสตร์
* งานการพยาบาลอายุรศาสตร์
** หอผู้ป่วย 5A
** หอผู้ป่วย 5B
* งานการพยาบาลสูติ-นรีเวชศาสตร์
* งานการพยาบาลสูติ-นรีเวชศาสตร์
** หอผู้ป่วย 7A
** หน่วยห้องคลอด
* งานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
* งานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
** หอผู้ป่วย 7B
** หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดและวิกฤต
{{กลาง}}
{{กลาง}}
'''2. งานสำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาล'''
* งานสนับสนุนบริการสุขภาพ
** หน่วยเวชระเบียน
** หน่วยหลักประกันสุขภาพ
** หน่วยสังคมสงเคราะห์
* งานโภชนาการ
** หน่วยโภชนบำบัด
** หน่วยโภชนบริการ
* งานบริการสุขภาพปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ
** หน่วยสุขภาพนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
** หน่วยสุขภาพสัมพันธ์
** หน่วยบริการปฐมภูมิสุขภาพชุมชน
** หน่วยอาชีวอนามัย
* งานเภสัชกรรม
** หน่วยบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
** หน่วยบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยในและผลิตยา
** หน่วยวิชาการและบริบาลเภสัชกรรม
** หน่วยคลังยา
* งานพยาธิวิทยาคลินิก
** หน่วยพยาธิคลินิก
** หน่วยธนาคารเลือด


'''3. งานสนับสนุนบริการสุขภาพ'''
'''2. ศูนย์ความเป็นเลิศฯ'''
* ศูนย์โรคหัวใจ
* ศูนย์โลหิตวิทยา


'''4. งานโภชนาการ'''
'''3. สำนักงานอำนวยการโรงพยาบาล'''

* งานเลขานุการโรงพยาบาล
'''5. งานบริการสุขภาพปฐมภูมิและสร้างเสริมสุขภาพ'''
* งานบริหาร

'''6. งานเภสัชกรรม'''

'''7. งานพยาธิวิทยาคลินิก'''

'''8. งานคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ'''

'''9. ศูนย์โรคหัวใจ'''

'''10. ศูนย์โลหิตวิทยา'''
{{ล่าง}}
{{ล่าง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:40, 25 สิงหาคม 2557

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
Naresuan University Hospital
ไฟล์:NUhoslogo.jpg
ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง26 มีนาคม พ.ศ. 2548
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้อำนวยการผศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์
จำนวนเตียง200
เว็บไซต์www.med.nu.ac.th/2008/nuh

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) ในเขตภาคเหนือตอนล่าง สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร เลขที่ 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก - นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000


ประวัติ

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติให้มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้น และในคราวเดียวกันก็ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ปัจจุบันคืออาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์) เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 2-3) รวมทั้งโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานศึกษาสำหรับการเรียนการสอนในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวรในส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกภาคปฏิบัติการ และเป็นสถานที่พักอาศัยของนิสิตแพทย์ และนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ที่เรียนภาคปฏิบัติด้วย นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เป็นศูนย์วิจัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศในเขตภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงได้มากยื่งขึ้น

อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

การก่อสร้างศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2539 จนแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ เป็น "สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยให้มีสถานะเทียบเท่าคณะและอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานอธิการบดี เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร โดยมีแนวความคิดว่าจะให้มีศูนย์วิจัยทางการแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ในอนาคต ซึ่งสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการสุขภาพชั้นสูง และผลิตงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนตลอดมา

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อประดิษฐานหน้าอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในการเปิดอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และพระราชานุสาวรีย์ โดยพระองค์ได้พระราชทานนาม "อาคารสิรินธร" แก่สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย "ส.ธ." ประดิษฐานเหนืออาคาร

ไฟล์:NUhosp.jpg
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดิษฐานหน้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ปี พ.ศ. 2548 สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 118 (2/2548) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยมีมติให้ใช้ชื่อ "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร" และต่อมาในการประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 119 (3/2548) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 มีมติให้รวมสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548[1] เพื่อดำเนินการเป็นโรงพยาบาลหลักสำหรับการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

ปัจจุบันโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง โดยเป็นแหล่งปฏิบัติงานรวมทั้งเป็นแหล่งทำการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ระดับชั้นคลินิก และนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรมีโครงการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลโดยเพิ่มจำนวนเตียงผู้ป่วยเป็น 400 เตียงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 หลังได้รับอนุมัติวงเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555[2]

ทำเนียบผู้อำนวยการ

ตั้งแต่การก่อตั้งจากศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร จนถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีรายนามผู้อำนวยการดังนี้

ศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ พ.ศ. 2539 - กรกฎาคม พ.ศ. 2543
สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์ ดร.ภูดิท เตชาติวัฒน์ กรกฎาคม พ.ศ. 2543 - 15 มกราคม พ.ศ. 2547
2. นายแพทย์องอาจ เลิศขจรสิน 16 มกราคม พ.ศ. 2547 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2548
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์องอาจ เลิศขจรสิน 26 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2550
2. ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย 16 มีนาคม พ.ศ. 2550 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (รักษาการ)
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิริยา นฤขัตรพิชัย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน (รักษาการ)

หน่วยงาน

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีการแบ่งหน่วยงานต่างๆ ดังต่อไปนี้[3]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น