ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คองคอร์ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ถูกตัวกรองขัดขวาง
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: ลิงก์บทความคัดสรร hu:Concorde; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


{{คอมมอนส์|Concorde}}
{{คอมมอนส์|Concorde}}
{{โครงคมนาคม}}


[[หมวดหมู่:เครื่องบิน]]
[[หมวดหมู่:เครื่องบิน]]
[[หมวดหมู่:อากาศยานเชิงพาณิชย์]]
[[หมวดหมู่:อากาศยานเชิงพาณิชย์]]

{{โครงคมนาคม}}
{{Link FA|af}}
{{Link FA|af}}
{{Link FA|hr}}
{{Link FA|hr}}
{{Link FA|hu}}
{{Link FA|scn}}
{{Link FA|scn}}
{{Link FA|zh}}
{{Link FA|zh}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:32, 6 สิงหาคม 2557

เครื่องบินคองคอร์ด

เครื่องบินคองคอร์ด (อังกฤษ: Concorde) เป็นเครื่องบินขนส่งชนิดมีความเร็วเหนือเสียง เป็นหนึ่งในสองแบบของเครื่องบินเร็วเหนือเสียงที่ใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี เครื่องคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1969 ทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี โดยคองคอร์ดเครื่องแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนนำมาผลิตใช้เวลากว่า 13 ปีเต็มใช้เงินในการพัฒนากว่า 1,000 ล้านปอนด์ [1]

เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติ 2,158กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18.288กิโลเมตร) มีปีกสามเหลี่ยม

การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3 วัน

เครื่องบินคองคอร์ด มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์ ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5°

เครื่องบินคองคอร์ด มีทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ตก 1 ลำ

การเกิดอุบัติเหตุ

คองคอร์ดมีสถิติเกิดอุบัติเหตุตกเพียงครั้งเดียว คือ เที่ยวบิน 4590 ของแอร์ฟรานซ์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 หลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานใกล้กรุงปารีส มีผู้เสียชีวิต 113 คน

ผลการสอบสวนสรุปว่าสาเหตุการตก เนื่องจากมีชิ้นส่วนโลหะที่หลุดออกมาจากเครื่องบินดีซี-10 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ ซึ่งบินขึ้นก่อนหน้านั้น 4 นาที กระแทกกับยางล้อด้านซ้ายของเครื่องเที่ยวบิน 4590 ขณะกำลังเร่งเครื่องเพื่อบินขึ้น ยางล้อเกิดระเบิดและมีชิ้นส่วนของยางกระเด็นไปกระแทกถังน้ำมัน และสายไฟ และเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ในขณะนั้นเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินได้แจ้งนักบิน นักบินได้ตัดการทำงานของเครื่องยนต์ และพยายามยกเลิกการบินขึ้น แต่เครื่องบินเสียการทรงตัวและกระแทกพื้น เกิดการระเบิด ผู้โดยสาร 100 คน เจ้าหน้าที่บนเครื่อง 9 คน และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน 4 คน เสียชีวิต

มีการระงับการบินของคองคอร์ดทุกเที่ยวบินเพื่อสอบสวนหาสาเหตุและแก้ไข คองคอร์ดเที่ยวบินแรกหลังอุบัติเหตุ ทำการบินทดสอบเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 และทำการบินพร้อมผู้โดยสารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 วันเดียวกับการเกิดวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

ความตกต่ำของอุตสาหกรรมการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้แอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์ ตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนสูง

รายละเอียด คองคอร์ด

คองคอร์ตขณะกำลังบินขึ้น (สังเกต ส่วนหัวของเครื่องบินที่ปรับทำมุมลง เพื่อให้นักบินมองเห็นสภาพสนามบิน)
  • ผู้สร้าง: บริษัท บีเอซี/แอโรสปาติออง (อังกฤษ/ฝรั่งเศส)
  • ประเภท: เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง ทำการบินด้วยนักบิน 3 คน จำนวณที่นั่งผู้โดยสาร 128 ที่นั่ง
  • เครื่องยนต์: เทอร์โบเจ๊ต รอลส์-รอยซ์/สเนคมา โอลิมปัส 593 หมายเลข 610 ให้แรงขับเครื่องละ 17,260 กิโลกรัม และเพิ่มแรงขับอีก 17% เมื่อใช้สันดาปท้าย จำนวน 4 เครื่อง พร้อมเครื่องเก็บเสียง และ อุปกรณ์กลับแรงขับ
  • กางปีก: 25.60 เมตร
  • ยาว: 62.17 เมตร
  • สูง: 12.19 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 358.25 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 78,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกปกติ: 11,340 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด: 12,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 185,065 กิโลกรัม
  • น้ำหนักร่อนลงสูงสุด: 111,130 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง: 2,179 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราไต่ที่ระดับน้ำทะเล: 1,525 เมตร
  • เพดานบินใช้งาน: 60,000 ฟุต
  • อัตราเร็ววิ่งขึ้น: 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วร่อนลง: 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • ระยะทางวิ่งขึ้นพ้น 10.7 เมตร: 3,600 เมตร
  • ระยะทางร่อนลงจาก 10.7 เมตร: 2,220 เมตร
  • พิสัยบิน: 4,900 กิโลเมตร เมื่อมีภารกรรมบรรทุกสูงสุด
    • 7,215 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงสูงสุด

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ คองคอร์ด