ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขนมเบื้อง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tommaesam (คุย | ส่วนร่วม)
Takeaway (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Khanom bueang.jpg|thumb|ขนมเบื้องไทย]]
[[ไฟล์:Khanom bueang 01.jpg|thumb|ขนมเบื้องไทย]]
'''ขนมเบื้อง'''เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานกล่าวถึงใน[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]ว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และ[[กระทะ]]เตา[[ขนมครก]]ขนมเบื้อง"
'''ขนมเบื้อง'''เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานกล่าวถึงใน[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]ว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และ[[กระทะ]]เตา[[ขนมครก]]ขนมเบื้อง"
ขนมเบื้องมีหลายแบบ
ขนมเบื้องมีหลายแบบ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:41, 16 มิถุนายน 2557

ขนมเบื้องไทย

ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแบบ

  • ขนมเบื้องแบบไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้งข้าวเจ้าและกระทิ ปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำแล้ว
  • ขนมเบื้องไทยแบบชาววัง โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้กุ้งแม่น้ำตัวโตสับละเอียดผสมกับพริกไทยและผักชีตำพร้อมมันกุ้ง นำไปผัดใส่น้ำตาล น้ำปลาหรือเกลือให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้ามะพร้าวใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม ฝอยทองและพลับแห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับกระเทียม พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่พริกขี้หนู นำไปรวนพอสุก
  • ขนมเบื้องญวน เป็นขนมที่เข้ามาพร้อมกับเชลยชาวญวนในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งถูกกวาดต้อนมาระหว่างสงครามสยาม-เวียดนาม ขนมนี้ทำจากแป้งละลายกับไข่ให้ข้น ตักแป้งเทลงในกระทะที่ทาน้ำมันไว้ แผ่เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้แล้วพับกลาง[1]

ประวัติ

ในสมัยพุทธกาลน่าจะมีการทำขนมเบื้องแล้ว เพราะในหนังสือ "ธรรมบทเผด็จ" กล่าวถึงเศรษฐีโกสิยะซึ่งเป็นคนตระหนี่อยากกินขนมเบื้อง จึงให้ภรรยาขึ้นไปทำขนมเบื้องบนปราสาทชั้นเจ็ดเพื่อจะได้ไม่ต้องแบ่งให้ใคร พระพุทธเจ้า จึงให้พระโมคคัลลานะไปขอรับบิณฑบาตรขนมเบื้อง เศรษฐีให้ทอดขนมชื้นเล็กๆถวาย แต่ทุกครั้งที่ละเลงแป้ง แป้งจะฟูขึ้นเต็มกระทะ เมื่อเสียดายให้ทำใหม่ก็เป็นแบบเดิมทุกครั้ง สุดท้ายเศรษฐีจึงละความพยายาม ยอมถวายขนมเบื้องไป พระโมคคัลลานะจึงเทศน์เรื่องโทษของความตระหนี่ เศรษบีและภรรขาได้บรรลุธรรมทั้งคู่ และเปลี่ยนมาเป็นคนใจบุญ

ในพระราชนิพนธ์ 12 เดือนของรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงพิธีในเดือนอ้ายว่า

กำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ว่าเมื่อพระอาทิตย์สุดทางใต้ตกนิจ เป็นวันที่หยุดจะกลับขึ้นเหนืออยู่ในองศา 8 องศา 9 ในราศีธนู เป็นถึงกำหนดเลี้ยงขนม กำหนดพระสงฆ์ตั้งแต่เจ้าพระ พระราชาคณะ 80 รูป ฉันในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ขนมเบื้องนั้นเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายใน ท้าวนาง เจ้าจอมมารดา เถ้าแก่ พนักงานคาดปะรำ ตั้งเตาละเลงข้างท้องพระโรง

การละเลงขนมเบื้องให้สวยงามในสมัยโบราณถือเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของกุลสตรี ดังที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนที่นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้าละเลงขนมเบื้อเปรียบเทียบฝีมือกัน และยังมีคำพังเพยกล่าวถึงคนช่างติ คนดีแต่พูดว่า"อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก"[2]



อ้างอิง

  • สุรีย์ ดารา. วัฒนธรรมอาหารการกิน:บทพิสูจน์ฝีมือสตรีไทยสมัยก่อน. ครัว. 3(28), 92-93 ตุลาคม 2539

วิธีทำขนมเบื้องโบราณแบบไทยดั้งเดิม

  1. วันดี ณ สงขลา. อาหารไทยในวรรณคดี. เล่ม 2 กทม. ผลิตภัณฑ์การพิมพ์. 2527
  2. เส้นทางขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2553. หน้า 18