ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พณิชยการพระนคร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thummajuk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thummajuk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18: บรรทัด 18:


==ประวัติความเป็นมา==
==ประวัติความเป็นมา==

{{โครง-ส่วน}}
'''จากวันนั้น ถึงวันนี้ 100 ปี พณิชยการพระนคร '''
วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ถือกำเนิดมาจาก "โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษ วัดสัมพันธวงศ์" ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2443 ซึ่งแผนการศึกษาฉบับนี้ได้กล่าวถึงอาชีวศึกษา ในสมัยนั้นเรียกอาชีวศึกษาว่า "การเรียนวิชาเฉพาะ" และ "วิชาการค้า" เป็นต้น โรงเรียนอาชีพที่เปิดสอนอยู่บ้างแล้วในปี พ.ศ. 2441 นั้น คือ "โรงเรียนฝึกหัดครู" ที่โรงเลี้ยงเด็ก เชิงสะพานยศเสภายหลังเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ" "โรงเรียนแพทย์" "โรงเรียนกฎหมาย" และ "โรงเรียนรังวัดทำแผนที่" ส่วนโรงเรียนประถมศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษวัดสัมพันธวงศ์ นั้น จัดหลักสูตรสอนเน้นหนักไปในทาง "ภาษาอังกฤษ" เท่านั้น ต่อมาได้เพิ่ม "วิชาเสมียนพนักงาน, วิชาค้าขาย และการบัญชี" ตามแผนการศึกษาใหม่ พ.ศ.2452 ของกระทรวงธรรมการ ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภทคือ "โรงเรียนสามัญศึกษา"
'''โรงเรียนพณิชยการที่แท้จริงแห่งแรก '''
กระทรวงธรรมการได้ตั้งให้พระโอวาทวรกิจเป็นผู้อำนวยการหัตถกรรมและพณิชยการ เพื่อดำเนินการสอนการศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษวัดสัมพันธวงศ์จึงแปรสภาพเป็น "โรงเรียนพณิชยการที่แท้จริงแห่งแรก" เมื่อ พ.ศ. 2445 เรียกว่า "โรงเรียนพณิชการวัดมหาพฤฒาราม" ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 ก็ได้เปิดโรงเรียนพณิชยการขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ "โรงเรียนพณิชยการวัดราชบูรณะ"
'''ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้นจากประชาชน'''
โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จนถึง พ.ศ. 2472 ตึกแพพิทโยทิศคับแคบ จึงให้นักเรียนเข้าใหม่ได้ไปเรียนที่โรงเรียนวัดมหาพฤฒารามอีก แต่ในปีต่อมาเกิดขัดข้องบางประการกับเจ้าของสถานที่ จึงย้ายนักเรียนมาเรียนที่ "โรงเรียนวัดหัวลำโพง" ส่วนการเรียนชั้นสูงยังคงเรียนอยู่ที่โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างและในปีเดียวกันนี้ได้เปิด "โรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยา" ที่บางลำพูขึ้น การเรียนการสอนของโรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างกับโรงเรียนวัดหัวลำโพง ก็ยังคงแยกกันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2478 จึงได้รวมกันตามเดิมที่โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง
'''โรงเรียนพณิชยการ "หญิง" แห่งแรก'''
เมื่อปี พ.ศ. 2475 กระทรวงธรรมการได้ประกาศแผนการศึกษาชาติฉบับใหม่เพื่อจัดการศึกษาวิชาชีพให้เหมาะสมกับภูมิประเทศตามท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดตั้ง "โรงเรียนพณิชยการแผนกหญิงแห่งแรก" ขึ้นที่ "โรงเรียนพณิชยการเสาวภา"
'''เร่ร่อนไร้หลักแหล่งแน่นอน'''
เนื่องจากโรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยามีสถานที่คับแคบ และอาจารย์ใหญ่สมัยนั้นไม่ค่อยจะลงรอยกับเจ้าอาวาสวัดสามพระยา จึงได้ย้ายไปอยู่ที่วัดเทวราชกุญชร เมื่อปี พ.ศ. 2481 เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนพณิชยการวัดเทวราชกุญชร" ต่อมาอีก 3 ปี "โรงเรียนนี้ได้ย้ายไปรวมกับโรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างเมื่อปี พ.ศ. 2483 เป็นอันว่ายังคงเหลือโรงเรียนพณิชยการอยู่เพียงแห่งเดียว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนพณิชยการพระนคร" สู่... "วังสน" กรมอาชีวศึกษาเจ้าสังกัดได้ซื้อที่ดินบริเวณ "วังของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" ถนนพิษณุโลก จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในราคา 7 แสนบาท เป็นเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา เพื่อก่อสร้าง "โรงเรียนพณิชยการพระนครและได้วางศิลาฤกษ์โดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2491
'''เริ่มขยับขยายวัง'''
ในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2498 ทางโรงเรียนได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 6 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา และได้ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 ทางโรงเรียนก็ได้ซื้อที่ดินอีก 2 ไร่ 72 ตารางวา ซึ่งที่ดินส่วนใหญ่ของแปลงนี้ได้มอบให้แก่ "โรงเรียนช่างตัดเสื้อพระนคร" (ปัจจุบัน คือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 โรงเรียนพณิชยการพระนคร ได้รับมอบที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างมีเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา จาก สำนักงานสลากกินแบ่งของรัฐบาลเพื่อปรับปรุงขยายให้เป็น "วิทยาลัย" จนปัจจุบันวิทยาเขตพณิชยการพระนครมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 17 ไร่
'''ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัย"''' ในปีการศึกษา 2511 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้ขยายการศึกษาถึง "ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง" (ปวส.) ต่อจาก ม.ศ. 6 (ปัจจุบันคือ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพ" หรือ "ปวช." นั่นเอง) อีก 2 ปี และประกาศตั้งเป็น "วิทยาลัยพณิชยการพระนคร" (The Commercial Collage) ขึ้น และการดำเนินการบางประการจำเป็นต้องอาศัยโรงเรียนพณิชยการพระนครอยู่ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงสั่งรวมโรงเรียนพณิชยการพระนคร กับวิทยาลัยพณิชยการ เข้าเป็นสถาบันเดียวกัน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า "วิทยาลัย พณิชยการพระนคร" (The Bangkok Commercial Collage) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา
'''อนุสรณ์สถาน 90 ปี'''
เป็นที่น่าภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาคาร 90 ปี ที่เป็นอนุสรณ์แห่งความสามัคคี และในโอกาสที่ พ.พ. มีอายุครบ 90 ปี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งอาคาร 90 ปีนี้ใช้สำหรับการเรียนการสอน รวมทั้งเป็นห้องพักปฏิบัติงานของคณาจารย์ ภายใต้อาคารเปิดเป็นโรงอาหารให้แก่นักศึกษา เพื่อให้เพียงพอกับศิษย์ พ.พ. ทุกคน
'''พณิชยการพระนครในยุค 96 ปี'''
จนกระทั่งมาถึงวันนี้ ในปีที่ พณิชยการพระนครย่างเข้าสู่ปีที่ 96 กับการก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง สำเภาทองลำนี้ก็มุ่งฝ่าเกลียวคลื่นต่อไป ต่อมาได้มีการสร้างห้องพยาบาลที่ทันสมัย ห้องสโมสรอาจารย์ และปรับปรุงเรือนหมอพร เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป การเปิดสาขาวิชาการโรงแรมโดยมีอาคารเรียน พร้อมทั้งห้องฝึกปฏิบัติงานอันสวยงามและทันสมัย การเปิดสอนระดับปริญญาตรีภาคสมทบเพื่อเปิดโอกาสให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการมากขึ้น



==คณะที่เปิดสอน==
==คณะที่เปิดสอน==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:47, 12 พฤษภาคม 2550

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
ไฟล์:ตรามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.gif
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ

ประวัติความเป็นมา

จากวันนั้น ถึงวันนี้ 100 ปี พณิชยการพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ถือกำเนิดมาจาก "โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษ วัดสัมพันธวงศ์" ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2443 ซึ่งแผนการศึกษาฉบับนี้ได้กล่าวถึงอาชีวศึกษา ในสมัยนั้นเรียกอาชีวศึกษาว่า "การเรียนวิชาเฉพาะ" และ "วิชาการค้า" เป็นต้น โรงเรียนอาชีพที่เปิดสอนอยู่บ้างแล้วในปี พ.ศ. 2441 นั้น คือ "โรงเรียนฝึกหัดครู" ที่โรงเลี้ยงเด็ก เชิงสะพานยศเสภายหลังเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ" "โรงเรียนแพทย์" "โรงเรียนกฎหมาย" และ "โรงเรียนรังวัดทำแผนที่" ส่วนโรงเรียนประถมศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษวัดสัมพันธวงศ์ นั้น จัดหลักสูตรสอนเน้นหนักไปในทาง "ภาษาอังกฤษ" เท่านั้น ต่อมาได้เพิ่ม "วิชาเสมียนพนักงาน, วิชาค้าขาย และการบัญชี" ตามแผนการศึกษาใหม่ พ.ศ.2452 ของกระทรวงธรรมการ ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภทคือ "โรงเรียนสามัญศึกษา"

โรงเรียนพณิชยการที่แท้จริงแห่งแรก กระทรวงธรรมการได้ตั้งให้พระโอวาทวรกิจเป็นผู้อำนวยการหัตถกรรมและพณิชยการ เพื่อดำเนินการสอนการศึกษาพิเศษภาษาอังกฤษวัดสัมพันธวงศ์จึงแปรสภาพเป็น "โรงเรียนพณิชยการที่แท้จริงแห่งแรก" เมื่อ พ.ศ. 2445 เรียกว่า "โรงเรียนพณิชการวัดมหาพฤฒาราม" ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 ก็ได้เปิดโรงเรียนพณิชยการขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ "โรงเรียนพณิชยการวัดราชบูรณะ"

ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้นจากประชาชน โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จนถึง พ.ศ. 2472 ตึกแพพิทโยทิศคับแคบ จึงให้นักเรียนเข้าใหม่ได้ไปเรียนที่โรงเรียนวัดมหาพฤฒารามอีก แต่ในปีต่อมาเกิดขัดข้องบางประการกับเจ้าของสถานที่ จึงย้ายนักเรียนมาเรียนที่ "โรงเรียนวัดหัวลำโพง" ส่วนการเรียนชั้นสูงยังคงเรียนอยู่ที่โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างและในปีเดียวกันนี้ได้เปิด "โรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยา" ที่บางลำพูขึ้น การเรียนการสอนของโรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างกับโรงเรียนวัดหัวลำโพง ก็ยังคงแยกกันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2478 จึงได้รวมกันตามเดิมที่โรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง

โรงเรียนพณิชยการ "หญิง" แห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2475 กระทรวงธรรมการได้ประกาศแผนการศึกษาชาติฉบับใหม่เพื่อจัดการศึกษาวิชาชีพให้เหมาะสมกับภูมิประเทศตามท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดตั้ง "โรงเรียนพณิชยการแผนกหญิงแห่งแรก" ขึ้นที่ "โรงเรียนพณิชยการเสาวภา"

เร่ร่อนไร้หลักแหล่งแน่นอน เนื่องจากโรงเรียนพณิชยการวัดสามพระยามีสถานที่คับแคบ และอาจารย์ใหญ่สมัยนั้นไม่ค่อยจะลงรอยกับเจ้าอาวาสวัดสามพระยา จึงได้ย้ายไปอยู่ที่วัดเทวราชกุญชร เมื่อปี พ.ศ. 2481 เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนพณิชยการวัดเทวราชกุญชร" ต่อมาอีก 3 ปี "โรงเรียนนี้ได้ย้ายไปรวมกับโรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่างเมื่อปี พ.ศ. 2483 เป็นอันว่ายังคงเหลือโรงเรียนพณิชยการอยู่เพียงแห่งเดียว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนพณิชยการพระนคร" สู่... "วังสน" กรมอาชีวศึกษาเจ้าสังกัดได้ซื้อที่ดินบริเวณ "วังของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" ถนนพิษณุโลก จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในราคา 7 แสนบาท เป็นเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา เพื่อก่อสร้าง "โรงเรียนพณิชยการพระนครและได้วางศิลาฤกษ์โดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2491

เริ่มขยับขยายวัง ในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2498 ทางโรงเรียนได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 6 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา และได้ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 ทางโรงเรียนก็ได้ซื้อที่ดินอีก 2 ไร่ 72 ตารางวา ซึ่งที่ดินส่วนใหญ่ของแปลงนี้ได้มอบให้แก่ "โรงเรียนช่างตัดเสื้อพระนคร" (ปัจจุบัน คือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 โรงเรียนพณิชยการพระนคร ได้รับมอบที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างมีเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา จาก สำนักงานสลากกินแบ่งของรัฐบาลเพื่อปรับปรุงขยายให้เป็น "วิทยาลัย" จนปัจจุบันวิทยาเขตพณิชยการพระนครมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 17 ไร่

ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัย" ในปีการศึกษา 2511 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้ขยายการศึกษาถึง "ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง" (ปวส.) ต่อจาก ม.ศ. 6 (ปัจจุบันคือ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพ" หรือ "ปวช." นั่นเอง) อีก 2 ปี และประกาศตั้งเป็น "วิทยาลัยพณิชยการพระนคร" (The Commercial Collage) ขึ้น และการดำเนินการบางประการจำเป็นต้องอาศัยโรงเรียนพณิชยการพระนครอยู่ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงสั่งรวมโรงเรียนพณิชยการพระนคร กับวิทยาลัยพณิชยการ เข้าเป็นสถาบันเดียวกัน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า "วิทยาลัย พณิชยการพระนคร" (The Bangkok Commercial Collage) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา

อนุสรณ์สถาน 90 ปี เป็นที่น่าภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาคาร 90 ปี ที่เป็นอนุสรณ์แห่งความสามัคคี และในโอกาสที่ พ.พ. มีอายุครบ 90 ปี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งอาคาร 90 ปีนี้ใช้สำหรับการเรียนการสอน รวมทั้งเป็นห้องพักปฏิบัติงานของคณาจารย์ ภายใต้อาคารเปิดเป็นโรงอาหารให้แก่นักศึกษา เพื่อให้เพียงพอกับศิษย์ พ.พ. ทุกคน

พณิชยการพระนครในยุค 96 ปี จนกระทั่งมาถึงวันนี้ ในปีที่ พณิชยการพระนครย่างเข้าสู่ปีที่ 96 กับการก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง สำเภาทองลำนี้ก็มุ่งฝ่าเกลียวคลื่นต่อไป ต่อมาได้มีการสร้างห้องพยาบาลที่ทันสมัย ห้องสโมสรอาจารย์ และปรับปรุงเรือนหมอพร เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป การเปิดสาขาวิชาการโรงแรมโดยมีอาคารเรียน พร้อมทั้งห้องฝึกปฏิบัติงานอันสวยงามและทันสมัย การเปิดสอนระดับปริญญาตรีภาคสมทบเพื่อเปิดโอกาสให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการมากขึ้น


คณะที่เปิดสอน

  • คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์
    • สาขาวิชาการท่องเที่ยว
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล

พระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ไฟล์:กรมหลวงชุมพร.jpg
พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขคอุดมศักดิ์
ไฟล์:พระอนุสาวรีย์.jpg
พระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพณิชยการพระนครตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และยังถือเป็นประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของชาวพณิชยการพระนครและเป็นสิริมงคลยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณา เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ไฟล์:เสด็จเปิดพระอนุสาวรีย์.jpg
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณา เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์

วันอาภากร

ไฟล์:งานวันอาภากร.jpg
งานวันอาภากร

วันอาภากร ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม ของทุกปี ชาวพณิชยการพระนครถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นวันคล้ายวันประสูติของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์แล้ว ยังเป็นวันที่คณาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ รวมไปถึงศิษย์เก่าร่วมใจกันประกอบ พิธีทางศาสนา พิธีบวงสรวง เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้ให้สถานที่พักพิงและอาศัยวังนางเลิ้งก่อตั้งเป็น “พณิชยการพระนคร” จนถึงปัจจุบัน

เรือนหมอพร

ไฟล์:เรือนหมอพร.jpg
เรือนหมอพร

เรือนหมอพร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับบพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ภายในจัดแสดงเครื่องใช้ประจำพระองค์และเครื่องมือแพทย์ และยังเป็นศูนย์วัฒนธรรมของวิทยาเขตพณิชยการพระนคร โดยที่ดินบริเวณนี้ใน อดีตเคยเป็นวังที่ประทับของ กรมหลวงชุมพรฯ เหตุที่ให้ชื่อเรือนหลังนี้ว่า “เรือนหมอพร” เพราะทางวิทยาเขตฯ เคยใช้เรือนหลังนี้เป็นเรือน พยาบาลมาก่อน ส่วนชื่อ “หมอพร” เป็นพระนาม กรมหลวงชุมพรฯ ในบทบาทที่เป็นหมอรักษาคนไข้

แหล่งข้อมูลอื่น