ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
อ้างอิงเป็นลิงก์ [1] หมดเลย
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการเก็บกวาด}}
{{Expand language| langcode = en | otherarticle = 2014 Thai coup d'état | lang = ภาษาอังกฤษ }}
{{Expand language| langcode = en | otherarticle = 2014 Thai coup d'état | lang = ภาษาอังกฤษ }}
[[ไฟล์:Prayuth-Chan-ocha-in-Thai coup d'état-2014-05-22.png|300px|thumbnail|พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]
[[ไฟล์:Prayuth-Chan-ocha-in-Thai coup d'état-2014-05-22.png|300px|thumbnail|พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:29, 22 พฤษภาคม 2557

ไฟล์:Prayuth-Chan-ocha-in-Thai coup d'état-2014-05-22.png
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.(อังกฤษ: National Peace and Order Maintaining Council) โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้านี้ เกิดรัฐประหารใน พ.ศ. 2549

สองวันก่อนหน้านั้น พลเอก ประยุทธ์ ประกาศกฎอัยการศึก ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ต่อมากองทัพบกได้ออกประกาศยุติการดำเนินการของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ขึ้นแทนโดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) และออกประกาศคำสั่ง และขอความร่วมมือในหลายเรื่อง เช่น ขอให้ระงับการแพร่ภาพออกอากาศ โทรทัศน์ดาวเทียมและวิทยุชุมชน ขอความร่วมมือในการเผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต และเชิญประชุมข้าราชการระดับสูง ผู้นำกลุ่มการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นต้น

เบื้องหลัง

ลำดับเหตุการณ์

20 พฤษภาคม

  • 04:00 น. - สื่อสังคมออนไลน์ เผยแพร่คำสั่ง ประกาศกฎอัยการศึก และประกาศจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.)[1]
  • 08:25 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รับสัญญาณถ่ายทอด แถลงการณ์จากกองทัพบก ทุกครั้งที่ได้รับการประสาน[1]
  • 09:48 น. - กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 3 ห้ามสื่อข่าวที่กระทบต่อการรักษาความสงบ[2]
  • 10:36 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 6 สั่งให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ระงับการออกอากาศจำนวน 10 ช่อง รวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต[3]
  • 11:06 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 5 แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รส.
  • 12:40 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 4 เชิญบุคคลสำคัญร่วมประชุม แก้ปัญหาความไม่สงบ[4]
  • 14:00 น. กอ.รส. เริ่มประชุมตามคำสั่งฉบับที่ 4 ที่สโมสรทหารบก สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิเสธไม่เข้าร่วมประชุม[5]
  • 19:34 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 8 ขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ ระงับส่งข้อความปลุกระดม สร้างความรุนแรง ไม่เคารพกฎหมาย[6]
  • 19:45 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 7 สั่งให้โทรทัศน์ดาวเทียม ระงับการออกอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ช่อง[7]
  • 20:09 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 9 สั่งห้ามสื่อทุกแขนง เชิญผู้ไม่มีตำแหน่งราชการ แสดงความเห็นก่อความขัดแย้ง พร้อมสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด เข้าระงับการชุมนุมต่อต้าน การปฏิบัติงานของ กอ.รส.[8]
  • 20:49 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 10 สั่งห้ามข้าราชการ-เจ้าหน้าที่พลเรือน-ประชาชน พกพา-ใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิด เว้นทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยตามคำสั่ง[9]
  • 21:04 น. พันเอกวินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะ โฆษก กอ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการประกาศกฎอัยการศึก ว่าเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[10] และ กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 12 ให้ตำรวจ, เจ้าหน้าที่พลเรือน, หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ[11][12]

21 พฤษภาคม

วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กอ.รส. ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายงานต่อ กอ.รส. เพื่อควบคุมเนื้อหาออนไลน์[13]

รัฐบาลรักษาการแถลงว่า ไม่ได้รับการปรึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของกองทัพ ทว่า กองทัพแถลงว่าท่าทีดังกล่าวมิใช่รัฐประหาร[14]

22 พฤษภาคม

  • 14.00 น. - ประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 โดยมี ผบ.ทบ. เป็นประธานในที่ประชุม
    • ระหว่างการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ โดยได้สอบถาม นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ว่าตกลงรัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช้หรือไม่ ซึ่งนายชัยเกษมระบุว่านาทีนี้ไม่ลาออก พล.อ.ประยุทธ์ จึงตอบว่าจะยึดอำนาจการปกครอง[15]
  • 16.30 น. - ผบ.ทบ.ประกาศตั้ง"คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ยึดอำนาจ กรณี แกนนำทุกฝ่ายที่เข้าร่วมประชุมกับกอ.รส. ถูกควบคุมตัวออกไปจากสโมสรกองทัพบก ยังไม่รู้จุดหมาย และปลายทาง ต่อมา เวลาประมาณ 17:00 น.กอ.รส.ออกทีวีแถลงชี้แจงกรณี ผบ.ทบ.และผบ.เหล่าทัพ ได้ประกาศของ "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ"
  • 18.00 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรอีกครั้ง
  • 18.20 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 3 ห้ามมิให้ประชาชนออกจากเคหะสถานตั้งแต่เวลา 22.00 น. - 5.00 น. ทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ จากกรณีนี้สถานที่หลายแห่งทั่วประเทศประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป และระบบขนส่งมวลชนต่างๆ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. โดยจะเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีหมอชิตและสถานีแบริ่ง รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 20.00 น. โดยเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีหัวลำโพง และสถานีบางซื่อ และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น. โดยเป็นรถเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีพญาไท
  • 18.30 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 4 บังคับให้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และโทรทัศน์ดาวเทียมทุกสถานี งดออกรายการตามปกติ และให้ใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง
  • 19.00 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมกลับสู่ภูมิลำเนาของตนตามเดิม โดยทางกองทัพบกได้จัดขบวนรถจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเพื่ออำนวยความสะดวก และได้ออกคำสั่งให้ทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่ช่วยจัดการบริหารให้ประชาชนสามารถเดินทางกลับได้อย่างปลอดภัย
  • 19.10 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 5 โดยมีเนื้อความดังนี้
    • ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดอำนาจลงชั่วคราวทุกหัวข้อ ยกเว้นหมวดที่สอง (พระมหากษัตริย์) หมวดหน้าที่วุฒิสภา และองค์กรอิสระให้มีอำนาจอยู่เช่นเดิม
    • ให้ สมาชิกวุฒิสภา ยังคงดำรงตำแหน่งตามปกติแต่นับจำนวนสมาชิกใหม่ตามสมาชิกที่เหลืออยู่ในวุฒิสภาในขณะที่ออกคำสั่งฉบับนี้
    • ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการที่ดำรงตำแหน่งอยู่ทุกตำแหน่งหมดอำนาจตั้งแต่ประกาศฉบับนี้
    • ยกเลิกการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นช่วงนี้ทั้งหมด
    • ให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ ที่ถูกจัดตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดำเนินงานตามปกติ
  • 19.19 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 6 โดยให้แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.ร.อ. ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง เป็นรองหัวหน้า คสช. พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรองหัวหน้า คสช. และ พล.ต. อุดมเดช สีตบุตร เป็นเลขาธิการ
  • 19.42 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 7 สั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน
  • 20.55 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 8 โดยให้ยกเว้นข้อห้ามการออกจากเคหสถานยามค่ำคืนตามประกาศที่ 3/2557 เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยให้ยกเว้นกับกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้
    • กลุ่มบุคคลที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ
    • กลุ่มบุคคลที่ต้องประกอบอาชีพแบบผลัดเวลา (เข้ากะ) เช่น โรงงาน โรงพยาบาล ธุรกิจการบิน
    • กลุ่มบุคคลที่ต้องเดินทางเพื่อขนส่งสินค้าที่มีอายุจำกัด หรือสินค้าเย็น
    • กลุ่มบุคคลที่มีกิจธุระจำเป็น เช่น ผู้ป่วยที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติการที่เกี่ยวกับมนุษยธรรม
    • สำหรับกลุ่มบุคคลที่มีกิจธุระนอกเหนือจากข้างต้น ให้ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ก่อนออกเดินทาง
  • 21.03 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 9 โดยให้สถานศึกษาทั่วประเทศทั้งของราชการและเอกชน หยุดทำการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 23 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย

กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) (อังกฤษ: Peace and Order Maintaining Command (POMC)) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งตามประกาศกองทัพบก ฉบับที่ 2/2557 หลังจากการประกาศกฎอัยการศึก ตั้งกองบัญชาการที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

การระงับการออกอากาศ ช่องโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชน

ตามคำสั่งที่ 6/2557 เรื่อง ขอความร่วมมือ ระงับการถ่ายทอดออกอากาศ ของช่องโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชน

  1. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอเชียอัปเดต
  2. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ดีเอ็นเอ็น
  3. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ยูดีดี
  4. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีแอนด์พี
  5. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม โฟร์แชนแนล
  6. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอ็มวี 5
  7. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม บลูสกาย
  8. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอเอสทีวี
  9. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ทีนิวส์
  10. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอฟเอ็มทีวี
  11. วิทยุชุมชน ที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้จัดตั้งตามกฎหมาย

และตามคำสั่งที่ 7/2557 เรื่อง ขอความร่วมมือ ระงับการถ่ายทอดออกอากาศ ของช่องโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชนเพิ่มเติม

  1. สถานีโทรทัศน์ วอยซ์ทีวี
  2. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ฮอตทีวี
  3. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม One Rescue
  4. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)

การควบคุมสื่อช่วงรัฐประหาร

ตามคำสั่งที่ 4/2557 ได้มีการขอความร่วมมือสถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่องในทุกระบบให้งดออกอากาศรายการปกติ แต่ให้ออกอากาศเฉพาะรายการของสถานีวิทยุกองทัพบกแทน

ปฏิกิริยา

ภายในประเทศ

กลุ่มสื่อมวลชน และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ต่อต้านการคุกคามสื่อ โดยเรียกร้องให้กองทัพบก ยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก และยกเลิกประกาศ กอ.รส.ฉบับที่ 3, 7, 8 และ 9 ซึ่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ในการแสดงออกของสื่อมวลชน[16]

ต่างประเทศ

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แถลงว่ารับทราบการประกาศกฎอัยการศึกในไทยแล้ว พร้อมทั้งกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ยังมีความกังวลอย่างยิ่ง ต่อวิกฤตการเมืองไทยซึ่งถลำลึกยิ่งขึ้น และเรียกร้องทุกฝ่าย เคารพหลักการประชาธิปไตย รวมถึงเคารพเสรีภาพในการสื่อสาร สหรัฐอเมริกามีความเข้าใจว่า กองทัพบกประกาศว่าไม่ใช่รัฐประหาร และตั้งความหวังว่ากองทัพบกจะยึดมั่นว่าเป็นเรื่องชั่วคราว เพื่อป้องกันเหตุรุนแรง และไม่บ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย โดยทุกฝ่ายต้องร่วมกัน แก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจา เพื่อแสวงหนทางเดินหน้าต่อไป และตอกย้ำให้เห็นความจำเป็นของการเลือกตั้ง ซึ่งจะชี้วัดความปรารถนาของประชาชนไทย[17]

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่น แสดงความวิตกกังวลอย่างมาก และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรง เช่นเดียวกับนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย ที่แสดงความวิตกกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทผลิตรถยนต์ ทั้งฮอนดา, โตโยตา และนิสสัน[18] สหภาพยุโรปเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งในประเทศไทย เพื่อให้มีรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน เพื่อผลประโยชน์ของไทยเอง รวมทั้งขอให้กองทัพ เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพสื่อมวลชน[19]

หลังจากการประกาศรัฐประหารในเวลา 16:30 น. ไม่กี่ชั่วโมง หลายๆ ประเทศได้เตรียมประกาศเตือนเหตุการณ์ในประเทศไทยเป็นระดับสูงสุด โดยห้ามมิให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยโดยมิจำเป็น และจากเหตุนี้ทำให้เที่ยวบินขาเข้าประเทศไทยต้องถูกยกเลิกในบางเที่ยวบินไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากกองทัพบก

สังคมออนไลน์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ลำดับเหตุการณ์ ประมวลสถานการณ์ นาทีต่อนาทีก่อนประกาศกฎอัยการศึก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 20 พ.ค. 2557
  2. [1]
  3. [2]
  4. [3]
  5. [4]
  6. [5]
  7. [6]
  8. [7]
  9. [8]
  10. [9]
  11. [10]
  12. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=712041315520996&set=a.440635312661599.102230.100001454030105&type=1&theater
  13. "กอ.รส. ตั้งคณะทำงานคุมสื่อออนไลน์" (ภาษาThai). Manager. 2014-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  14. "Thailand army declares martial law". BBC. 2014-05-20. สืบค้นเมื่อ 2014-05-20.
  15. “ประยุทธ์ ” ถาม “ ชัยเกษม ” รบ.ยอมลาออกหรือไม่ ก่อนประกาศ ยึดอำนาจ
  16. แถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการคุกคามสื่อ 21 พ.ค. 2557
  17. รัฐบาลสหรัฐฯ แถลงเรียกร้องทุกฝ่ายเคารพ "ประชาธิปไตย" เชื่อกองทัพไทย ยึดแนวทางป้องกันความรุนแรง, มติชนออนไลน์, 21 พฤษภาคม 2557.
  18. รัฐบาล-บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น‘กังวล’สถานการณ์ในไทย ไทยรัฐ 21 พ.ค. 2557
  19. สหรัฐเชื่อมั่นทหารไทยไม่รัฐประหาร วอนเคารพเสรีภาพสื่อตามคำมั่น "อียู" จี้เร่งจัดเลือกตั้ง, มติชนออนไลน์, 21 พฤษภาคม 2557.

แหล่งข้อมูลอื่น