ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท"

พิกัด: 13°45′00″N 100°29′29″E / 13.750041°N 100.491343°E / 13.750041; 100.491343
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไก่ต้ม
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นการผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นการผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย


ไก่ต้ม
== ประวัติ ==

[[ไฟล์:Seal Phra Nakhon.png|thumb|สมัยเมื่อ[[กรุงเทพฯ]] ยังเป็น[[จังหวัดพระนคร]]อยู่นั้น [[กรมศิลปากร]]ได้กำหนดให้ใช้รูปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็น[[ตราประจำจังหวัดของไทย|ตราประจำจังหวัด]]]]
[[ไฟล์:Seal Phra Nakhon.png|thumb|สมัยเมื่อ[[กรุงเทพฯ]] ยังเป็น[[จังหวัดพระนคร]]อยู่นั้น [[กรมศิลปากร]]ได้กำหนดให้ใช้รูปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็น[[ตราประจำจังหวัดของไทย|ตราประจำจังหวัด]]]]


บรรทัด 21: บรรทัด 22:


พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทยังเป็นสถานที่แห่งแรกใน[[ประเทศไทย]]ที่มีการใช้[[ไฟฟ้า]]เป็นครั้งแรกอีกด้วย ด้วยเหตุที่ว่า[[กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ]] ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงไฟฟ้านั้นที่ประเทศทางตะวันตก และมีพระราชประสงค์ที่จะมาใช้ในประเทศไทย
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทยังเป็นสถานที่แห่งแรกใน[[ประเทศไทย]]ที่มีการใช้[[ไฟฟ้า]]เป็นครั้งแรกอีกด้วย ด้วยเหตุที่ว่า[[กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ]] ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงไฟฟ้านั้นที่ประเทศทางตะวันตก และมีพระราชประสงค์ที่จะมาใช้ในประเทศไทย

== หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ==
== หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ==
*[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]]
*[[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:27, 17 พฤษภาคม 2557

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 ตั้งอยู่ระหว่างพระมหามณเฑียร และ พระมหาปราสาท ประกอบด้วย ปราสาท 3 องค์ ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แต่ละองค์เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสันโดยตลอด

สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นการผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย

ไก่ต้ม

สมัยเมื่อกรุงเทพฯ ยังเป็นจังหวัดพระนครอยู่นั้น กรมศิลปากรได้กำหนดให้ใช้รูปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นตราประจำจังหวัด

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นท้องพระโรง ใน พ.ศ. 2419 ภายหลังเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา โปรดเกล้าฯ ให้จ้างนายยอน คลูนิช ชาวอังกฤษ สถาปนิกจากสิงคโปร์ เป็นนายช่างหลวงออกแบบพระที่นั่ง นายเฮนรี คลูนิช โรส เป็นนายช่างผู้ช่วย โดยมีเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นแม่กอง พระยาเวียงในนฤบาลเป็นผู้กำกับดูแลการทุกอย่าง และพระประดิษฐการภักดีเป็นผู้ตรวจกำกับบัญชีและของทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2419

เดิมมีพระที่นั่งต่างๆ เรียงต่อเนื่องกันรวม 11 องค์ ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 องค์ คือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ กับ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ซึ่งพระที่นั่งทั้ง 2 องค์ที่กล่าวถึงนั้นได้รื้อลงแล้วสร้างใหม่ในรัชกาลปัจจุบัน ทั้งนี้ ในพ.ศ. 2542 ได้มีโครงการสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทส่วนต่อเติมในพื้นด้านหลัง เพื่อใช้ในการพระราชทานเลี้ยงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2549

เริ่มแรกนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่เป็นแบบตะวันตก แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบบังคมทูลขอให้ทำเป็นปราสาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนทรงหลังคาเป็นหลังคายอดปราสาท 3 ยอดเรียงกันตามสถาปัตยกรรมไทย และเสด็จยกยอดปราสาทใน พ.ศ. 2421 มีการเฉลิมพระราชมนเฑียรใน พ.ศ. 2425 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ไฟล์:พระที่นั่งจักรีฯ 5 ธ.ค.54.JPG
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระที่นั่งองค์นี้ชั้นบนสุด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์และพระมเหสีตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา เป็นที่เสด็จฯออกให้คณะทูตานุทูต ข้าราชการชั้นสูงเข้าเฝ้า หรือรับรองแขกผู้มีเกียรติ ภายในพระที่นั่งเป็นที่ประดิษฐาน พระที่นั่งพุดตานถม ซึ่งเป็นพระราชอาสน์ราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท องค์พระที่นั่งทำด้วยไม้หุ้มเงินถมลงยาทาทองซึ่งเรียกว่า ถมตะทอง นับได้ว่าเป็นเครื่องถมทองชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

โคมไฟแชนเดอเลียร์ขนาดใหญ่ภายในพระที่นั่งนั้น ที่จริงแล้วมิใช่สั่งมาโดยตรง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สั่งมาที่บ้านของตนเอง แต่ปรากฏว่าโคมนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป ท่านจึงนำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทยังเป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นครั้งแรกอีกด้วย ด้วยเหตุที่ว่ากรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงไฟฟ้านั้นที่ประเทศทางตะวันตก และมีพระราชประสงค์ที่จะมาใช้ในประเทศไทย

หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

และเพิ่มมาอีก1องค์คือ

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′00″N 100°29′29″E / 13.750041°N 100.491343°E / 13.750041; 100.491343