ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นคร ไชยมงคล (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| bridge_name = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
| bridge_name = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
| native_name = Somdet Phra Pinklao Bridge
| native_name = Somdet Phra Pinklao Bridge
| image =Pinklao bridge.jpg
| image = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า.jpg
| image_size = 720
| image_size = 250
| bridge_name = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
| bridge_name = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
| caption = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
| caption = ภาพ[[สะพาน]]สมเด็จพระปิ่นเกล้ามุมไกล ด้านหลังเป็นสะพานพระราม 8
| official_name = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
| official_name = สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
| carries = [[ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]
| carries = [[ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:20, 31 มีนาคม 2557

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
Somdet Phra Pinklao Bridge
ภาพสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ามุมไกล ด้านหลังเป็นสะพานพระราม 8
เส้นทางถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งเขตพระนคร, เขตบางพลัด, เขตบางกอกน้อย
ชื่อทางการสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
เหนือน้ำสะพานพระราม 8
ท้ายน้ำสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานชนิดต่อเนื่อง
วัสดุคอนกรีตอัดแรง
ความยาว280.00 เมตร
ความกว้าง26.60 เมตร
ความสูง11.50 เมตร
ช่วงยาวที่สุด110.00 เมตร
จำนวนช่วง3
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง4 สิงหาคม พ.ศ. 2514
วันเปิด24 กันยายน พ.ศ. 2516
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (อังกฤษ: Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางพลัดและเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล

ข้อมูลทั่วไป

  • วันที่ทำการก่อสร้าง : พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973)
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท โอบายาชิ-กูมิ จำกัด และ บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
  • ราคาค่าก่อสร้าง : 117,631,024.98 บาท
  • แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
  • โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
  • สูงจากระดับน้ำ : 11.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
  • จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (83.00+110.00+83.00)
  • ความยาวของสะพาน : 280.00 เมตร
  • เชิงลาดสะพานฝั่งพระนคร : 176 เมตร
  • เชิงลาดสะพานฝั่งธนบุรี : 206 เมตร
  • รวมความยาวทั้งหมด : 662 เมตร
  • ความกว้างสะพาน : 26.60 เมตร
  • จำนวนช่องทางวิ่ง : 6 ช่องทางจราจร
  • ความกว้างทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร
  • ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 21.00 เมตร
  • ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
  • ความกว้างผิวจราจรบนสะพาน : 21.00 เมตร

ดูเพิ่ม

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′43″N 100°29′28″E / 13.76194°N 100.49111°E / 13.76194; 100.49111

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานพระราม 8
สะพานพระปิ่นเกล้า
ท้ายน้ำ
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
(สะพานพระพุทธยอดฟ้า)