ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลื่อน พงษ์โสภณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37: บรรทัด 37:


=== ศึกษาต่อต่างประเทศและการบิน ===
=== ศึกษาต่อต่างประเทศและการบิน ===
ต่อมา เมื่อปี [[พ.ศ. 2473]] [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท ให้ไปศึกษาวิชาการบินที่วิทยาลัยปาร์กสแอร์ส (Parks Air College) ในเมืองเซนต์หลุยส์ตะวันออก (East St.Louis) [[รัฐอิลลินอยส์]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]] เป็นเวลา 3 ปี โดยระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น น.อ.เลื่อน รับจ้างแสดงการบินอย่างผาดโผนต่างๆ กลางอากาศ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงมีโอกาสเดินทางไปแสดงในรัฐต่างๆ หลายแห่ง สามารถเก็บเงินซื้อเครื่องบินปีกสองชั้นได้ 1 เครื่อง ในราคา 6,000 บาท ให้ชื่อว่าเครื่องบิน''[[นางสาวสยาม]]'' หรือ ''Miss Siam'' เมื่อถึงกำหนดกลับสู่ประเทศไทย น.อ.เลื่อน พยายามจะใช้เป็นพาหนะบินกลับมาด้วยตนเอง ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องขนส่งกลับมาโดยวิธีการอื่น ซ้ำยังต้องว่างงานอยู่เป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากหน่วยบินต่างๆ ยังไม่เชื่อถือ น.อ.เลื่อนจึงมีดำริในการพิสูจน์ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทำการบินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ[[จักรวรรดิจีน]] โดยเริ่มออกเดินทางเมื่อวันที่ [[22 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] ด้วยเครื่องบินนางสาวสยาม
ต่อมา เมื่อปี [[พ.ศ. 2473]] [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท ให้ไปศึกษาวิชาการบินที่วิทยาลัยปาร์กสแอร์ส (Parks Air College) ในเมืองเซนต์หลุยส์ตะวันออก (East St.Louis) [[รัฐอิลลินอยส์]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]] เป็นเวลา 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตร 3 ชนิด คือประกาศนียบัตรช่างกล ประกาศนียบัตรช่างเครื่องบิน และประกาศนียบัตรนักบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประกาศนียบัตรนักบินนั้น น.อ.เลื่อน ได้รับประกาศนียบัตรการบินพาณิชย์ชั้นสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นคนแรกของประเทศไทย
ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น น.อ.เลื่อน รับจ้างแสดงการบินอย่างผาดโผนต่างๆ กลางอากาศ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงมีโอกาสเดินทางไปแสดงในรัฐต่างๆ หลายแห่ง สามารถเก็บเงินซื้อเครื่องบินปีกสองชั้นได้ 1 เครื่อง ในราคา 6,000 บาท ให้ชื่อว่าเครื่องบิน''[[นางสาวสยาม]]'' หรือ ''Miss Siam'' เมื่อถึงกำหนดกลับสู่ประเทศไทย น.อ.เลื่อน พยายามจะใช้เป็นพาหนะบินกลับมาด้วยตนเอง ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องขนส่งกลับมาโดยวิธีการอื่น ซ้ำยังต้องว่างงานอยู่เป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากหน่วยบินต่างๆ ยังไม่เชื่อถือ น.อ.เลื่อนจึงมีดำริในการพิสูจน์ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทำการบินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ[[จักรวรรดิจีน]] โดยเริ่มออกเดินทางเมื่อวันที่ [[22 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] ด้วยเครื่องบินนางสาวสยาม


ระหว่างการเดินทางก็ประสบกับอุปสรรคอย่างมาก อาทิ เครื่องบินเสียต้องร่อนลงซ่อมเครื่องเองแวะลงที่ไหนก็ถูกทหารเมืองนั้นจับกุมมีความลำบากในเรื่องอาหารการกินและที่พักหลับนอน บางแห่งไม่มีสนามบินต้องร่อนลงที่โล่งกว้างอย่าง[[สนามฟุตบอล]]แทน ในช่วงที่บินผ่าน[[มณฑลกวางตุ้ง]]ถูกเรือรบใช้ปืนยิงเครื่องบินทะลุ เพราะเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังทำสงครามแย่งอำนาจกันอยู่ในขณะนั้น จึงต้องร่อนลงที่ชายหาดและใช้ปฏิภาณตลอดจนความรู้เรื่องช่างเครื่องยนต์มาแก้ปัญหา เอาตัวรอดมาได้อย่าหวุดหวัดจนบินไปถึง[[ซัวเถา]] แวะพัก 2 คืน ไม่สามารถบินต่อไปจนถึง[[เซี่ยงไฮ้]]ได้ เนื่องจากมีการสู้รบระหว่างจีนกับ[[ญี่ปุ่น]]ที่เซี่ยงไฮ้ จึงต้องบินเดินทางกลับ เมื่อถึงประเทศไทยแล้ว น.อ.เลื่อน นำเครื่องบินนางสาวสยาม จาก[[สนามบินดอนเมือง]] กลับไปไว้ที่บ้านพักย่านบางขุนพรหม เพราะไม่มีสตางค์เสียค่าจอดในโรงเก็บเดือนละ 50 บาท และจะบินไปไหนตามใจชอบก็ไม่ได้ หากจะทำการบิน ต้องขออนุญาตทุกครั้งไป ทั้งไม่สามารถบินให้ไกลกว่า 50 ไมล์ได้ เนื่องจากทางราชการอนุญาตให้ทำการบินได้เพียงโดยรอบสนามบินเท่านั้น เมื่อมีเรื่องยุ่งยากดังนี้ น.อ.เลื่อน จึงไม่คิดทำการบินอีกต่อไป
ระหว่างการเดินทางก็ประสบกับอุปสรรคอย่างมาก อาทิ เครื่องบินเสียต้องร่อนลงซ่อมเครื่องเองแวะลงที่ไหนก็ถูกทหารเมืองนั้นจับกุมมีความลำบากในเรื่องอาหารการกินและที่พักหลับนอน บางแห่งไม่มีสนามบินต้องร่อนลงที่โล่งกว้างอย่าง[[สนามฟุตบอล]]แทน ในช่วงที่บินผ่าน[[มณฑลกวางตุ้ง]]ถูกเรือรบใช้ปืนยิงเครื่องบินทะลุ เพราะเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังทำสงครามแย่งอำนาจกันอยู่ในขณะนั้น จึงต้องร่อนลงที่ชายหาดและใช้ปฏิภาณตลอดจนความรู้เรื่องช่างเครื่องยนต์มาแก้ปัญหา เอาตัวรอดมาได้อย่าหวุดหวัดจนบินไปถึง[[ซัวเถา]] แวะพัก 2 คืน ไม่สามารถบินต่อไปจนถึง[[เซี่ยงไฮ้]]ได้ เนื่องจากมีการสู้รบระหว่างจีนกับ[[ญี่ปุ่น]]ที่เซี่ยงไฮ้ จึงต้องบินเดินทางกลับ เมื่อถึงประเทศไทยแล้ว น.อ.เลื่อน นำเครื่องบินนางสาวสยาม จาก[[สนามบินดอนเมือง]] กลับไปไว้ที่บ้านพักย่านบางขุนพรหม เพราะไม่มีสตางค์เสียค่าจอดในโรงเก็บเดือนละ 50 บาท และจะบินไปไหนตามใจชอบก็ไม่ได้ หากจะทำการบิน ต้องขออนุญาตทุกครั้งไป ทั้งไม่สามารถบินให้ไกลกว่า 50 ไมล์ได้ เนื่องจากทางราชการอนุญาตให้ทำการบินได้เพียงโดยรอบสนามบินเท่านั้น เมื่อมีเรื่องยุ่งยากดังนี้ น.อ.เลื่อน จึงไม่คิดทำการบินอีกต่อไป

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:25, 28 กุมภาพันธ์ 2557

นาวาอากาศเอก
เลื่อน พงษ์โสภณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปชื่น ระวิวรรณ
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (80 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสสุเนตร บุญญสิทธิ์
บุตรทิพยาภรณ์ (ญ),
ผาณิต (ญ),
เลิศชาย (ช)

นาวาอากาศเอก เลื่อน พงษ์โสภณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลแห่งแรกในประเทศไทย ปรมาจารย์มอเตอร์ไซค์ไต่ถัง นักบิน ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนแรกของประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์หลายสมัย

ประวัติ

นาวาอากาศเอก เลื่อน เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับแรม 4 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ที่ตำบลสามยอด จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของขุนเชี่ยวหัสดิน (เถา) และนางแฉ่ง ซึ่งประกอบกิจการโรงเลื่อย และค้าขายเครื่องเรือน โดยใช้ชื่อว่า ร้านจำหน่ายของสยาม น.อ.เลื่อน เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนอรพินทร (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดบวรนิเวศ) เมื่ออายุได้ 6 ปี จากนั้นมารดาฝากไว้กับพระสงฆ์ เพื่อให้ศึกษาต่อทางศีลธรรมที่วัดรังษี ต่อมานางแฉ่งตั้งใจให้ศึกษาทางกฎหมาย แต่ฝ่าย น.อ.เลื่อนอยากเป็นทหาร จึงสมัครเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก

เมื่อใกล้สำเร็จการศึกษา เป็นระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง น.อ.เลื่อนตัดสินใจลาออกจากเส้นทางการเป็นนายร้อย เข้าสมัครเป็นทหารอาสาไปทำการรบที่ประเทศฝรั่งเศส ตามที่ทางราชการประกาศรับ ด้วยความกระตือรือร้น สมความปรารถนา ที่ต้องการไปแสวงหาความรู้ในต่างประเทศ จึงได้โอกาสจากรัฐบาลให้เรียนวิชาช่างยนต์และช่างเครื่องบินที่ประเทศฝรั่งเศสต่อไป น.อ.เลื่อน จึงเข้าสมัครและสอบได้อันดับที่ 1 ได้ใช้เวลาเรียนเพียง 3 ปีก็เรียนจบหลักสูตร แล้วเดินทางกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งสิบโทแห่งกองทัพอากาศเป็นครูสอนวิชาจักรยนต์แก่นายทหาร

ก่อตั้งโรงเรียนช่างกล

น.อ.เลื่อน รับราชการจนครบ 2 ปีตามสัญญาที่ผูกมัดอยู่กับรัฐบาลแล้ว ก็ลาออกมาตั้งโรงงานรับซ่อมเครื่องยนต์อยู่ที่แพร่งสรรพศาสตร์ ขณะที่ตั้งโรงงานซ่อมรถอยู่นี่เองความคิดอันหนึ่งก็วูบขึ้นมาในสมอง คือความคิดที่จะฝึกคนไทยให้มีความรู้ในเรื่องเครื่องจักรตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุควิทยาศาสตร์ น.อ.เลื่อนจึงได้เปิด โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณ ที่บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร นับว่าเป็นโรงเรียนช่างกลแห่งแรกที่มีในเมืองไทย เมื่อเปิดโรงเรียนช่างกลใหม่ ๆ ปรากฏว่า ไม่มีคนเรียนเพราะขณะนั้น คนไทยส่วนมากยังเชื่อถือกันอยู่ว่า อาชีพช่างกลเป็นอาชีพชั้นต่ำ ไม่ควรแก่การเรียน ความนิยมในการเป็นเสมียนยังฝังอยู่ในจิตใจของคนไทย โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณจึงประสบอุปสรรคสำคัญคือไม่มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนเลย แต่ น.อ.เลื่อนก็ไม่ละความพยายาม เขาได้ดำเนินกิจการของโรงเรียนไปโดยไม่ยอมท้อถอย คือการขอแรงคนให้เข้ามาเรียน และสอนให้ฟรี จนในภายหลังความนิยมในอาชีพช่างกลมีมากขึ้น นักเรียนช่างกลของเขาก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มาคิดเก็บเงินค่าเล่าเรียน จากนั้นโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณก็ดำเนินกิจการก้าวหน้าต่อมา กลายเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงดีมาเป็นเวลาถึง 30 ปีเศษ แม้ในบัดนี้ โรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณจะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตามแต่ชื่อเสียงของโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของประชาชนคนไทยอยู่

ปรมาจารย์มอเตอร์ไซค์ไต่ถัง

ภายหลังจาก น.อ.เลื่อน เปิดโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณได้ไม่นานเท่าไรนัก ก็มีพวกรถไต่ถังคณะหนึ่งจากประเทศฟิลิปปินส์ เดินทางเข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ มีการแสดงท่าหวาดเสียวด้วยการขี่รถมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง อันเป็นที่ตื่นเต้นของชาวกรุงเทพฯ อยู่เป็นอันมาก ทางคณะ ได้ประกาศท้าให้รางวัล 200 ดอลลาร์แก่ผู้ใดก็ตาม ที่สามารถขี่รถไต่ถังได้ น.อ.เลื่อน ไปดูรถไต่ถังกับเขาด้วยเหมือนกันฟังคำประกาศท้าแล้ว ก็นึกอยากจะลองดู ด้วยเห็นว่า ไม่ใช่เป็นของยากเกินไปเลย สำคัญอยู่ที่กำลังใจดีและกล้าหาญ เมื่อกลับมาถึงบ้าน จึงรีบสร้างถังของตนเองขึ้น แล้วหัดซ้อมขี่รถไต่ถังวันแล้ววันเล่าจนสามารถขี่ได้คล่อง จึงไปอาสาขี่รถตามคำที่ประกาศท้า แต่ มิสเตอร์คิง หัวหน้าคณะรถไต่ถังฟิลิปปินส์เป็นนกรู้ และมีเหลี่ยมโกงจึงใช้กโลบายไม่ยอมให้ น.อ.เลื่อน ทดลอง และไม่จ่ายเงินให้ตามประกาศ อย่างไรก็ดีการขี่มอเตอร์ไซค์ไต่ถังนั้น นับว่า น.อ.เลื่อน เป็นคนไทยคนแรกที่สามารถทำได้ จากนั้น น.อ.เลื่อน ก็ได้สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาออกไปประกอบอาชีพในทางขี่รถไต่ถังเก็บสตางค์คนดูมากมาย แม้ในทุกวันนี้ การแสดงประเภทนี้ก็ยังเป็นที่สนใจของประชาชนอยู่มาก

ศึกษาต่อต่างประเทศและการบิน

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท ให้ไปศึกษาวิชาการบินที่วิทยาลัยปาร์กสแอร์ส (Parks Air College) ในเมืองเซนต์หลุยส์ตะวันออก (East St.Louis) รัฐอิลลินอยส์ของสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตร 3 ชนิด คือประกาศนียบัตรช่างกล ประกาศนียบัตรช่างเครื่องบิน และประกาศนียบัตรนักบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประกาศนียบัตรนักบินนั้น น.อ.เลื่อน ได้รับประกาศนียบัตรการบินพาณิชย์ชั้นสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นคนแรกของประเทศไทย

ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น น.อ.เลื่อน รับจ้างแสดงการบินอย่างผาดโผนต่างๆ กลางอากาศ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงมีโอกาสเดินทางไปแสดงในรัฐต่างๆ หลายแห่ง สามารถเก็บเงินซื้อเครื่องบินปีกสองชั้นได้ 1 เครื่อง ในราคา 6,000 บาท ให้ชื่อว่าเครื่องบินนางสาวสยาม หรือ Miss Siam เมื่อถึงกำหนดกลับสู่ประเทศไทย น.อ.เลื่อน พยายามจะใช้เป็นพาหนะบินกลับมาด้วยตนเอง ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องขนส่งกลับมาโดยวิธีการอื่น ซ้ำยังต้องว่างงานอยู่เป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากหน่วยบินต่างๆ ยังไม่เชื่อถือ น.อ.เลื่อนจึงมีดำริในการพิสูจน์ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทำการบินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจักรวรรดิจีน โดยเริ่มออกเดินทางเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ด้วยเครื่องบินนางสาวสยาม

ระหว่างการเดินทางก็ประสบกับอุปสรรคอย่างมาก อาทิ เครื่องบินเสียต้องร่อนลงซ่อมเครื่องเองแวะลงที่ไหนก็ถูกทหารเมืองนั้นจับกุมมีความลำบากในเรื่องอาหารการกินและที่พักหลับนอน บางแห่งไม่มีสนามบินต้องร่อนลงที่โล่งกว้างอย่างสนามฟุตบอลแทน ในช่วงที่บินผ่านมณฑลกวางตุ้งถูกเรือรบใช้ปืนยิงเครื่องบินทะลุ เพราะเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังทำสงครามแย่งอำนาจกันอยู่ในขณะนั้น จึงต้องร่อนลงที่ชายหาดและใช้ปฏิภาณตลอดจนความรู้เรื่องช่างเครื่องยนต์มาแก้ปัญหา เอาตัวรอดมาได้อย่าหวุดหวัดจนบินไปถึงซัวเถา แวะพัก 2 คืน ไม่สามารถบินต่อไปจนถึงเซี่ยงไฮ้ได้ เนื่องจากมีการสู้รบระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่เซี่ยงไฮ้ จึงต้องบินเดินทางกลับ เมื่อถึงประเทศไทยแล้ว น.อ.เลื่อน นำเครื่องบินนางสาวสยาม จากสนามบินดอนเมือง กลับไปไว้ที่บ้านพักย่านบางขุนพรหม เพราะไม่มีสตางค์เสียค่าจอดในโรงเก็บเดือนละ 50 บาท และจะบินไปไหนตามใจชอบก็ไม่ได้ หากจะทำการบิน ต้องขออนุญาตทุกครั้งไป ทั้งไม่สามารถบินให้ไกลกว่า 50 ไมล์ได้ เนื่องจากทางราชการอนุญาตให้ทำการบินได้เพียงโดยรอบสนามบินเท่านั้น เมื่อมีเรื่องยุ่งยากดังนี้ น.อ.เลื่อน จึงไม่คิดทำการบินอีกต่อไป

ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อ

การเมือง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นานนัก น.อ.เลื่อนเข้าทำงานกับบริษัท ขนส่ง จำกัด[1] (Aerial Transport Company Limited) ที่จังหวัดนครราชสีมา และมีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานหลายคน จึงเกิดความสนใจในเรื่องการเมือง เนื่องจากมีความปรารถนาจะช่วยเหลือประเทศชาติ น.อ.เลื่อนจึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดนครราชสีมา ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ด้วยมีทุนรอนน้อยจึงมิได้ตั้งความหวังไว้มากนัก ทว่าบังเอิญได้รับเลือกตั้ง จึงเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเล่นการเมือง และลาออกจากงานตั้งแต่บัดนั้น ทั้งนี้ น.อ.เลื่อนได้รับเลือกตั้งถึง 6 สมัย เป็นเวลาประมาณ 25 ปี โดย น.อ.เลื่อน ยังร่วมกับคณะนายทหาร เข้ากระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การน้ำตาลไทย เป็นระยะเวลา 10 ปี และได้รับพระราชทานยศเป็น นาวาอากาศเอก เมื่อปี พ.ศ. 2500

บั้นปลายชีวิต

หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว น.อ.เลื่อน ใช้เวลาว่างเดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศเป็นครั้งคราว รวมทั้งเข้าศึกษาวิชาการพิมพ์ลายผ้า ที่สหรัฐอเมริกาจนจบหลักสูตร มีดำริจะทำโรงพิมพ์ผ้าลายไทยในประเทศไทย แต่สุขภาพไม่เอื้ออำนวยจึงยุติไป น.อ.เลื่อน ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมลูกหมาก เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 80 ปี น.อ.เลื่อน สมรสกับคุณหญิงสุเนตร (นามสกุลเดิม: บุญญสิทธิ์) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 มีธิดา 2 คนคือ ทิพยาภรณ์ กับผาณิต (สมรสกับวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ประธานกรรมการบริษัท หนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด) และบุตร 1 คนคือ เลิศชาย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ต่อมาแยกกิจการบินไปขึ้นกับ บริษัท เดินอากาศ จำกัด หรือบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด และรวมกิจการกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในที่สุด

แหล่งข้อมูลอื่น