ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DanMTaylor (คุย | ส่วนร่วม)
แก้การเรียกสลับนิกาย (ความเข้าใจผิดของ "พุทธามาตย์")
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Eucharist.jpg|thumb|พิธีมหาสนิทเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และเหล้าองุ่น (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต)]]
[[ไฟล์:Eucharist.jpg|thumb|พิธีมหาสนิทเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และเหล้าองุ่น (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต)]]
'''พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248</ref> ({{lang-en|Eucharist; Holy Communion}}) [[คริสต์ศาสนิกชน]][[โรมันคาทอลิก]]เรียกว่า '''ศีลมหาสนิท''' เป็น[[พิธีศักดิ์สิทธิ์]]ใน[[ศาสนาคริสต์]] เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับ[[พระเยซู]] โดยการรับประทาน[[ขนมปัง]] (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และ[[ไวน์]] (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต)
'''พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์'''<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248</ref> ({{lang-en|Eucharist; Holy Communion}}) [[คริสต์ศาสนิกชน]][[โปรเตสแตนต์]]เรียกว่า '''ศีลมหาสนิท''' เป็น[[พิธีศักดิ์สิทธิ์]]ใน[[ศาสนาคริสต์]] เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับ[[พระเยซู]] โดยการรับประทาน[[ขนมปัง]] (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และ[[ไวน์]] (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต)


การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของ[[พระเป็นเจ้า]] เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน
การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของ[[พระเป็นเจ้า]] เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:50, 18 กุมภาพันธ์ 2557

ไฟล์:Eucharist.jpg
พิธีมหาสนิทเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และเหล้าองุ่น (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต)

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์[1] (อังกฤษ: Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโปรเตสแตนต์เรียกว่า ศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต)

การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน

ที่มา

พิธีมหาสนิทมีที่มาจากเหตุการณ์ในคืนวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ก่อนการตรึงพระเยซูที่กางเขน ขณะนั้นพระเยซูรับประทานอาหารร่วมกับอัครทูตอันเป็นอาหารค่ำมื้อสุดท้าย ในการรับประทานอาหารครั้งนั้นอยู่ในช่วงปัสคา มีเพียงขนมปังและเหล้าองุ่น ซึ่งพระองค์ใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งพันธสัญญาใหม่ ในการไถ่บาปด้วยเนื้อและเลือดของพระองค์ดังที่ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว

ในพระวรสารนักบุญมัทธิว

"ระหว่างอาหารมื้อนั้น พระเยซูทรงหยิบขนมปังมา และเมื่อถวายสาธุการแล้ว ทรงหักส่งให้กับเหล่าสาวก ตรัสว่า 'จงรับกินเถิด นี่เป็นกายของเรา' แล้วพระองค์จึงทรงหยิบถ้วยโมทนาพระคุณและส่งให้เขา ตรัสว่า 'จงรับไปดื่มทุกคนเถิด ด้วยว่านี่เป็นโลหิตของเรา อันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญา ซึ่งต้องหลั่งออกเพื่อยกบาปโทษคนเป็นอันมาก เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มน้ำผลแห่งเถาองุ่นต่อไปอีกจนวันนั้นมาถึง คือวันที่เราจะดื่มกันใหม่กับพวกท่านในแผ่นดินแห่งพระบิดาของเรา'" [2]

ในพระวรสารนักบุญลูกา

"พระองค์ตรัสกับเขาว่า 'เรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะกินปัสกานี้กับพวกท่าน ก่อนเราจะต้องทนทุกข์ทรมาน ด้วยเราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่กินปัสกานี้อีก จนกว่าจะสำเร็จความหมายของปัสกานั้น ในแผ่นดินของพระเจ้า' พระองค์ทรงหยิบถ้วยโมทนาพระคุณ แล้วตรัสว่า 'จงรับถ้วยนี้แบ่งกันดื่ม เพราะบอกบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มผลแห่งเถาองุ่นต่อไปอีก จนกว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะมา' พระองค์ทรงหยิบขนมปังโมทนาพระคุณ แล้วหักส่งให้แก่เขาทั้งหลาย ตรัสว่า 'นี่เป็นกายของเรา ซึ่งได้ให้ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา' เมื่อรับประทานแล้ว จึงทรงหยิบถ้วย กระทำเหมือนกัน ตรัสว่า 'ถ้วยนี้ซึ่งเทออกเพื่อท่านทั้งหลาย เป็นคำสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา ...'" [3]

ในบทจดหมายของนักบุญเปาโล

" ... เพราะว่าเรื่องซึ่งข้าพเจ้าได้มอบไว้กับท่านแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้รับจากองค์พระผู้เป็นเจ้า คือในคืนที่เขาอายัดพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ครั้งขอบพระคุณแล้ว จึงตรัสทรงหักแล้วตรัสว่า 'นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา' เมื่อรับประทานแล้ว พระองค์จึงทรงงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า 'ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา' เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนถึงพระองค์เสด็จมา เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดกินขนมปังหรือดื่มจากถ้วยขององค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่สมควร ผู้นั้นก็ทำผิดต่อพระกายและพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอให้ทุกคนพิจารณาตนเอง แล้วจึงกินขนมปังและดื่มจากถ้วยนี้ เพราะว่าคนที่กินและดื่มโดยมิได้เล็งเห็นพระกายขององค์พระผู้เป็นเจ้า ก็กินและดื่มเป็นเหตุให้ตนเองถูกพิพากษาโทษ ด้วยเหตุนี้พวกท่านหลายคนจึงอ่อนกำลังและป่วยไข้ และบ้างก็ล่วงหลับไป แต่ถ้าพวกเราพิจารณาตัวเราเอง เราคงไม่ต้องถูกทำโทษ เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำโทษเรานั้น พระองค์ทรงตีสอนเรา เพื่อมิให้เราถูกทรงพิพากษาลงโทษด้วยกันกับโลก ดูก่อนพี่น้องของข้าพเจ้า ด้วยเหตุนี้เมื่อท่านมาร่วมประชุมรับประทานอาหารนั้น จงคอยซึ่งกันและกัน ถ้ามีใครหิว ก็ให้เขากินที่บ้านเสียก่อน เพื่อเมื่อมาประชุมกัน ท่านจะได้ไม่ถูกทรงพิพากษาลงโทษ ... " [4][5]

พระองค์ทรงประกาศว่าขนมปังเล็งถึงพระกายของพระองค์ซึ่งจะต้องแตกหัก – ไม่มีกระดูกที่แตกหัก แต่พระกายของพระองค์ต้องแตกหักเสียหายมากมายเสียจนแทบจะจำไม่ได้ [6] [7] น้ำองุ่นเล็งถึงพระโลหิตของพระองค์ มันบ่งชี้ถึงการสิ้นพระชนม์ที่โหดร้ายที่พระองค์จะได้รับในไม่ช้า พระองค์ - พระบุตรผู้ไร้ตำหนิของพระเจ้า - ทรงทำให้คำพยากรณ์ที่มีปรากฏอยู่ในพันธสัญญาเดิมหลายครั้งจนนับไม่ถ้วนเกี่ยวกับพระผู้ไถ่ [8][9][10] สำเร็จลง เมื่อพระองค์ตรัสว่า “จงทำเช่นนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรา” มันเป็นการแสดงให้เห็นว่านี่คือพิธีที่จะต้องดำเนินต่อไปในอนาคต นอกจากนั้นมันยังแสดงให้เห็นด้วยว่าพิธีปัสกา - ซึ่งต้องใช้แกะที่ตายแล้วและเล็งไปข้างหน้า ถึงพระเมษโปดกของพระเจ้าผู้ที่จะเสด็จมาเอาความบาปออกไปจากโลก - เก่าพ้นสมัยไปแล้ว พันธสัญญาใหม่ได้เข้ามาแทนที่เมื่อพระคริสต์ – แกะปัสกา - [11] ได้ถูกนำมาเป็นเครื่องถวายบูชา[12] ระบบการถวาบบูชาจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป[13]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248
  2. มัทธิว 26:26 -30
  3. ลูกา 22:15 -20
  4. โครินธ์ 1 โครินธ์ 11:23 -24
  5. มาระโก 14:23 -26
  6. สดุดี 22:12-17
  7. 53:4-7
  8. 3:15 ปฐมกาล 3:15 {{{3}}}:{{{4}}}
  9. 22 {{{3}}}:{{{4}}}
  10. 53 {{{3}}}:{{{4}}}
  11. 1 โครินธ์ 5:7
  12. ฮีบรู 8:8-13
  13. ฮีบรู 9:25-28


แม่แบบ:Link FA