ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มโหสถชาดก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{{พุทธศาสนา}}}
{{พุทธศาสนา}}

''' มโหสถชาดก ''' เป็นชาดกเรื่องที่ 5 ใน 10 เรื่องจาก [[ทศชาติชาดก]] โดยกล่าวถึง [[พระโพธิสัตว์]] ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่
''' มโหสถชาดก ''' เป็นชาดกเรื่องที่ 5 ใน 10 เรื่องจาก [[ทศชาติชาดก]] โดยกล่าวถึง [[พระโพธิสัตว์]] ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่
นำไปสู่การตรัสรู้เป็น [[สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]]
นำไปสู่การตรัสรู้เป็น [[สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:42, 12 กุมภาพันธ์ 2557

 มโหสถชาดก  เป็นชาดกเรื่องที่ 5 ใน 10 เรื่องจาก ทศชาติชาดก โดยกล่าวถึง พระโพธิสัตว์ ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่

นำไปสู่การตรัสรู้เป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เรื่อง

ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหราช ซึ่งปกครองกรุงมิถิลาทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ 4 คนคือ เสณกะ,ปุกกุสะ,กามินทะ และ เทวินทะ ในคืนหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินประหลาดจึงโปรดให้ เสณกะ หัวหน้าบัณฑิตทำนายพระสุบินก็ทรงทราบว่าจะมี บัณฑิตคนที่ 5 ที่มีสติปัญญาล่วงเลยบัณฑิตทั้ง 4 ถือกำเนิดในมิถิลา

ขณะเดียวกันใน หมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของ นางสุมนา ภรรยาของ สิริวัฒกเศรษฐี เมื่อผ่านไป 10 เดือนนางสุมนา ก็ให้กำเนิดบุตรชายที่ได้ถือแท่งยาออกมาทันทีที่คลอด เสร็จสิริวัฒกเศรษฐีก็ได้นำแท่งยาไปฝนกับหินบดยาแล้ว นำมาทาที่หน้าผากปรากฏว่าอาการปวดหัวของท่านเศรษฐี ก็หายเป็นปลิดทิ้งท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาอันมีอานุภาพมาก

7 ปีผ่านไปพระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกได้ว่าเมื่อ 7 ปีก่อนทรงพระสุบินว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 มาเกิดในยุคของ พระองค์จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ออกไปสังเกตการณ์ในทิศทั้ง 4 ของมิถิลาซึ่งในที่สุดก็มีมหาอำมาตย์ท่านหนึ่งมาถึง หมู่บ้านที่มโหสถกุมารอาศัยอยู่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และชื่อ เสียงของมโหสถจึงกลับไปทูลรายงานว่าพบบัณฑิตคนที่ 5 แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามา เป็นบัณฑิตในราชสำนักแต่ทรงถูกเสณกะบัณฑิตยับยั้งไว้ โดยอ้างว่าต้องการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมาร

ในการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารว่าเหมาะสมจะเป็น บัณฑิตคนที่ 5 หรือไม่นั้นมีปัญหาทดสอบเชาวน์ปัญญา ของมโหสถกุมารถึง 19 ข้อแต่มโหสถกุมารก็สามารถ วิสัชนาปัญหาได้หมดพระเจ้าวิเทหราชจึงรับมโหสถเป็น พระราชโอรสบุญธรรมพร้อมทั้งสถาปนาให้เป็นมหาบัณฑิต ซึ่งชื่อเสียงของมโหสถบัณฑิตก็ไปเข้าพระกรรณของ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีที่หมายจะตี กรุงมิถิลาแต่ก็ถูกมโหสถบัณฑิตยับยั้งไว้ได้สำเร็จจน พระเจ้าจุลนีพรหมทัตต้องขอร้องให้มโหสถมารับราชการ ที่ราชสำนักของพระองค์แต่มโหสถบัณฑิตได้ปฏิเสธไปแต่ ได้ให้สัญญากับพระเจ้าจุลนีพรหมทัตว่าถ้าพระเจ้าวิเทห ราชสวรรคตเมื่อไหร่จะไปรับใช้ทันที

หลังจากพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตมโหสถได้ไปรับใช้พระ เจ้าจุลนีพรหมทัตตามสัญญาตราบจนสิ้นอายุขัย

บุคคลที่กลับมาเกิดในสมัยพุทธกาล