ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตโยต้า คราวน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:รถซีดาน ไปยัง หมวดหมู่:รถเก๋ง
บรรทัด 113: บรรทัด 113:
{{โตโยต้า}}
{{โตโยต้า}}
[[หมวดหมู่:รถโตโยต้า|คราวน์]]
[[หมวดหมู่:รถโตโยต้า|คราวน์]]
[[หมวดหมู่:รถซีดาน]]
[[หมวดหมู่:รถเก๋ง]]
{{ออกปี|2498}}
{{ออกปี|2498}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:00, 1 กุมภาพันธ์ 2557

โตโยต้า คราวน์
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2498 – ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลาง (Mid-Size Luxury Car)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
สเตชันวากอน
รถกระบะ
ฮาร์ดท็อป 2 ประตู
ฮาร์ดท็อป 4 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันเชฟโรเลต อิมพาลา
ฟอร์ด คราวน์ วิกตอเรีย
โฮลเด้น คอมโมเดอร์
ไครสเลอร์ 300ซี
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.4-4.6 ลิตร I4, I6, V6, V8
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี
รุ่นต่อไปโตโยต้า คราวน์ มาเจสตา
เล็กซัส จีเอส (โตโยต้า อริสโต)

โตโยต้า คราวน์ (อังกฤษ: Toyota Crown) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลางของโตโยต้า พบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนนในประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นรถแท็กซี่[1] ตลอดช่วงการผลิตของคราวน์นั้น เป็นที่ปรากฏเพียงเล็กน้อยที่มีการใช้คราวน์แบบซีดานเป็นแท็กซี่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 โตโยต้าได้แตกแขนงคราวน์แบบซีดานออกมาสำหรับใช้เป็นรถแท็กซี่โดยเฉพาะ คือ คราวน์ คอมฟอร์ท นอกจากนี้ โตโยต้า คราวน์ยังได้รับการไว้วางใจในกิจการตำรวจทั่วประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย รวมถึงการรับส่งเจ้าหน้าที่รัฐในทุกระดับ

ในประเทศญี่ปุ่น จะสามารถหาซื้อโตโยต้าคราวน์ได้เฉพาะช่องทางของตัวแทนจำหน่ายค้าปลีกของโตโยต้าเท่านั้น คราวน์จัดว่าเป็นรถซีดานที่เก่าแก่ที่สุดของโตโยต้าที่ยังอยู่ในสายการผลิต หากเทียบสถานะและเกียรติภูมิของคราวน์ในบรรดารถญี่ปุ่นแล้ว เป็นรองแต่เพียงคราวน์ มาเจสตา และ เซ็นทูรี เท่านั้น

โตโยต้า คราวน์ถูกใช้เป็นรถรับรองอย่างแพร่หลายในหลากบริษัทของญี่ปุ่น ในบางประเทศ โตโยต้า คราวน์จัดว่าเป็นรถที่มีราคาแพงมาก ดังนั้นเมื่อโตโยต้า เครสสิด้าได้รับการอนุญาตให้ส่งออกในต้นทศวรรษที่ 1980 คราวน์จึงถูกแทนที่ด้วยรถรุ่นดังกล่าว


รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2498-2505)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 1

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า โมเดล RS กับโมเดล S30 เริ่มการผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2498 โดยในช่วงแรก เครื่องยนต์จะเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 1.5 ลิตร แต่ต่อมาก็มีเครื่องยนต์รุ่นพิเศษ ขนาด 1.9 ลิตร แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังใช้เครื่องขนาด 1.5 ลิตร เป็นมาตรฐานไปจนจนยุคของโฉมใน พ.ศ. 2505 โดยจุดเด่นของรุ่นนี้มีทั้งช่วงล่างแบบ ดับเบิ้ลวิชโบน (ในช่วงล่างด้านหน้า ส่วนด้านหลังยังคงเป็นแบบแหนบ) และ ใช้เกียร์กึ่งอัตโนมัติ 2 จังหวะในชื่อ Toyoguild

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2505-2510)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 2

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า โมเดล S40 เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2505 โดยในช่วงแรกจะเป็นเครื่องยนต์มาตรฐาน 4 สูบ แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 ก็เริ่มมีการผลิตเครื่องยนต์คราวน์รุ่น M ซึ่งมี 6 สูบ แต่ในโฉมนี้ คราวน์เริ่มมีการผลิตรถแบบ Wagon ซึ่งก็จะผลิตคู่กับคราวน์แบบซีดานต่อไป

โฉมนี้ คราวน์มีความกว้าง ยาว และความดึงดูดใจลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะใน พ.ศ. 2507 ก็เริ่มมีการผลิตรุ่น Crown Eight ใช้พลังจากเครื่องยนต์ V8 2.6 ลิตร ระบบเกียร์อัตโนมัติในรุ่นนี้ได้รับการพัฒนาต่อมา เป็นแบบอัตโนมัติทั้งระบบ โดยยังคงใช้ชื่อเรียกจากรุ่นที่แล้ว

รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2510-2514)

ไฟล์:Toyota Crown 1977.jpg
โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 3

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า S50 โดยโฉมนี้เป็นโฉมที่คราวน์เริ่มมีการผลิตตัวถังแบบ Pick-up (ซึ่งมีใช้กับโฉมที่ 3 เพียงโฉมเดียว) กับ Hardtop Coupe 2 ประตู ซึ่งเป็นโฉมที่คราวน์เปลี่ยนไปไม่มากนักจากโฉมก่อน แต่เพิ่มรายละเอียดเข้าไปในรถบ้าง ซึ่งรถที่คราวน์ผลิตส่งออก จะใช้รถรุ่น 2M ขนาด 2.3 ลิตร โดยจุดเด่นที่เพิ่มมาในรุ่นนี้มีอาทิเช่น พวงมาลัยพาวเวอร์,กระจกอัดซ้อนนิรภัย,กระจกไฟฟ้าและดิสก์เบรกล้อหน้า

รุ่นที่ 4 (พ.ศ. 2514-2517)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 4

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า S60 กับ S70 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2514 เริ่มมีการผลิตรถทริมแบบ Super Saloon ซึ่งเป็นโฉมสุดท้ายของคราวน์ ที่มีขายในสหรัฐอเมริกา แต่ก็เป็นโฉมแรกที่คราวน์ ผลิตในยี่ห้อรถชื่อ "โตโยต้า" เพราะก่อนหน้านี้ โตโยต้าไม่ได้ใช้ชื่อนี้ แต่ใช้ชื่อยี่ห้อผลิตภัณฑ์รถว่า "โตโยเพ็ท" (Toyopet) (กล่าวอีกอย่างว่า โฉม 1-3 มีชื่อว่า โตโยเพ็ท คราวน์ พอถึงโฉมที่ 4 เป็นต้นมา จึงจะมีชื่อว่า โตโยต้า คราวน์) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ไฟหน้าจะเป็นวงกลม 2 ดวงต่อข้าง ยกเว้นรถ Hardtop ที่ขายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จะมีไฟหน้าเป็นสี่เหลี่ยม โดยจุดเด่นในรุ่นนี้ที่เพิ่มเข้ามาได้แก่ ระบบเกียร์แบบ 3 สปีดควบคุมด้วยไฟฟ้า (EAT) , เป็นรถญี่ปุ่นรุ่นแรกๆที่มีระบบควมคุมเสถียรภาพการทรงตัวในล้อหลัง (rear wheel ESC) และยังถือเป็นรุ่นแรกหัวฉีดน้ำมันแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EFI)

รุ่นที่ 5 (พ.ศ. 2517-2522)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 5

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า S80 กับ S100 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2517 และเริ่มส่งออกต่างประเทศใน พ.ศ. 2518 โฉมนี้ เริ่มมีการผลิตรถตัวถังแบบ Hardtop 4 ประตู มีการผลิตรถรุ่นทริมแบบ Royal Saloon ขึ้น โฉมนี้มีทริม 4 ระดับ คือ Standard , Deluxe , Super Saloon และ Royal Saloon

เครื่องยนต์ มีแบบเบนซิน 2.0 , 2.6 ลิตร และเป็นครั้งแรกที่มีเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร มาให้เลือกอีกด้วยและยังมีจุดเด่นที่เพิ่มมาเช่น ระบบเกียร์แบบ 4 สปีด โอเวอร์ไดร์ฟ , ดิสก์เบรก 4 ล้อ , เบรกมือแบบเหยียบ และเบาะปรับไฟฟ้าด้านหลัง

รุ่นที่ 6 (พ.ศ. 2522-2526)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 6

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า S110 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2522 เป็นโฉมสุดท้ายของคราวน์ที่มีการผลิตตัวถังแบบ Hardtop Coupe 2 ประตู , โฉมนี้มีเครื่องยนต์ให้เลือก 3 ขนาด คือ 2.0 , 2.2 ดีเซล , 2.6 และ 2.8 DOHC ลิตร และเป็นโฉมแรกที่มีรถรุ่น "Crown Turbo" ในขนาดเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร (M-TEU) แต่ในโฉมนี้ คราวน์ เทอร์โบ มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น และจุดเด่นที่เพิ่มมาในรุ่นนี้ได้แก่ ระบบควบคุมการทำงานของเกียร์ด้วยคอมพิวเตอร์ ( ECT ) , เบาะปรับไฟฟ้าทั้งคัน , มาตรวัตดิจิตอล

โฉมนี้ รถแบบ Royal Saloon ที่ขายในประเทศญี่ปุ่น กับรถรุ่นแรกๆ ของโฉม จะมีไฟหน้าเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนเกรด standard จะมีไฟหน้าเป็นดวงกลม

รุ่นที่ 7 (พ.ศ. 2526-2530)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 7

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า S120 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2526 มีเครื่องยนต์ที่หลากหลาย เครื่องเบนซินก็จะมี 1G-E 2.0 ลิตร , M-E 2.0 ลิตร SOHC (SOHC = Single Overhead Cam) , M-TEU 2.0 ลิตร SOHC TURBO , 1G-GE 2.0 ลิตร DOHC (DOHC = Double Overhead Cam) , 1G-GZE DOHC supercharger ไปจนถึง 5M-GE 2.8 ลิตร DOHC ส่วนเครื่องดีเซล ก็มี 2L 2.4 ลิตร SOHC , 2L-TE 2.4 ลิตร SOHC และ 2L-THE 2.4 ลิตร SOHC Diesel Turbo ceramic Hi Power และในโฉมนี้ ยังมีการเปิดตัวทริมใหม่ คือ Royal Saloon G มาเป็นรุ่นท็อป แทนทริม Royal Saloon

รุ่นที่ 8 (พ.ศ. 2530-2534)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 8

โฉมนี้ ใช้รหัสโมเดลว่า S130 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2530 ในรถยนต์รุ่นท็อป (Royal Saloon G) ช่วงแรกๆจะใช้เครื่องบล็อก 7M-GE ต่อมามีการปรับปรุงโฉมโดยเล็กน้อยโดยจะใช้เครื่อง 1UZ-FE 4.0 ลิตร (เครื่องแบบเดียวกับรถรุ่น Lexus LS400 , Toyota Celsior) ส่วนรองๆ ลงมาก็จะมีเครื่องแบบ 7M-GE 3.0 ลิตร DOHC , 1G-GZE 2.0 ลิตร DOHC Superchager , 1G-GE 2.0 ลิตร DOHC และเครื่องดีเซล อีกคือ 2L-THE 2.4 ลิตร OHC Turbo Diesel Hi Power , 2L-TE 2.4 ลิตร OHC Turbo Diesel และ 2L 2.4 ลิตร OHC

รุ่นที่ 9 (พ.ศ. 2534-2538)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 9

โฉมนี้ ใช้รหัส S130 Facelift กับ S140 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2534 และในโฉมนี้ คราวน์เริ่มมีการผลิตรถรุ่น Majesta คล้ายคลึงควบคู่กับทริมแบบ Royal Saloon G

เครื่องยนต์เบนซินมี 3 ขนาด คือ 2.0 , 2.5 และ 3.0 ลิตร ส่วนดีเซล จะมี 2.4 ลิตร

ส่วนรุ่นท็อป Royal Saloon G จะเป็นเครื่องขนาด 4.0 ลิตร

รุ่นที่ 10 (พ.ศ. 2538-2542)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 10

โฉมนี้ ใช้รหัส S150 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2538 เป็นโฉมสุดท้ายที่มีการผลิตแบบ Hardtop 4 ประตู และนอกจากนี้ ยังมีการเริ่มผลิตรถคราวน์ในสไตล์สปอร์ตในชื่อทริม Royal Touring และ Royal Extra ซึ่ง Royal Saloon กับ Royal Extra จะมีเครื่องแบบขับเคลื่อน 4 ล้อให้เป็นตัวเลือกคู่กับแบบขับเคลื่อน 2 ล้อทั่วไป

เครื่องยนต์มี 4 ขนาด คือ 2.0 , 2.5 และ 3.0 ลิตร ในแบบ 6-Cylinder กับเครื่อง 4.0 ลิตร แบบ V8 เป็นการเริ่มยุคแรกของระบบ VVT-i

รุ่นที่ 11 (พ.ศ. 2542-2546)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 11

โฉมนี้ ใช้รหัส S170 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2542 โฉมนี้ สเกิร์ตหน้าจะหดสั้นลง และพื้นที่ในห้องโดยสารและสเกริ์ตหลังที่ใช้บรรจุของจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้น และมีการเปิดตัวทริมใหม่ คือ Athlete ซึ่ง Athlete จะเป็นรถสไตล์ Wagon

ขนาดเครื่องยนต์ มีดังเดิม คือ 2.0 , 2.5 , 3.0 และ 4.0 ลิตร

รุ่นที่ 12 (พ.ศ. 2546-2551)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 12

โฉมนี้ ใช้รหัส S180 เริ่มผลิตใน พ.ศ. 2546 มีคอนเซปต์การผลิตว่า Zero Crown มีเครื่อง 4 ขนาด คือ 2.5 , 3.0 , 3.5 และ 4.3 ลิตร และเป็นโฉมสุดท้ายที่คราวน์ผลิตรถแบบ Wagon โฉมนี้ความยาวฐานล้อได้เพิ่มขึ้น 70 มม.และความยาวตัวถังเพิ่มขึ้น 15 มม.

รุ่นที่ 13 (พ.ศ. 2551-2555)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่ 13

โฉมนี้ ใช้รหัส S200 เริ่มผลิตเมื่อไม่นานมานี้ใน พ.ศ. 2551 และถูกนำมาจัดแสดงในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ ซึ่งคราวน์โฉมนี้ มีตัวถังแบบเดียวคือแบบซีดาน มีทริมให้เลือก 5แบบ คือ รุ่นพื้นฐาน,royal saloon,Athlete,Majestaและไฮบริด มีเครื่องยนต์ คือ 2.5,3.0,3.5 V6,4.0 V8,5.0 ไฮบริด

รุ่นที่ 14(พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน)

โตโยต้า คราวน์ รุ่นที่14

โฉมนี้ใช้รหัส S210 มีตัวถังให้เลือกแค่ตัวถังซีดาน โดยเครื่องยนต์มีให้เลือกคือ 2.5 เบนซิน V6,2.5 ไฮบริด,3.5 V6และ4.6 V8 รุ่นนี้มีความยาวตัวถัง 4,895 มม.และกว้าง 1,860 มม. ในรุ่นAthlete นั้นมีรูปลักษณ์ที่ปราดเปรียวโฉบเฉี่ยวมากกว่า Royal เพราะได้รับการตกแต่งพิเศษอย่างกระจังหน้าแบบสปอร์ต กันชนหน้า-หลังดีไซน์ใหม่และชุดแอโรพาร์ทรอบคัน ในห้องโดยสารตกแต่งเน้นความทันสมัยและใช้เบาะที่นั่งกึ่งบั๊กเก็ตซีทและมีเทคโนโลยีไฮเทคอย่าง Toyota Multi-Operation Touch ซึ่งผสมผสานการควบคุมฟังก์ชันตัวรถอยู่ที่สวิทช์ชิ้นเดียวซึ่งติดตั้งบริเวณคอนโซลกลาง


อ้างอิง

  1. "Toyopet Crown - the car which laid the foundation of today's prosperity". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-04. สืบค้นเมื่อ 2007-09-17.

http://auto-news-4u.blogspot.com/2013/01/toyota-crown-2013-14.html