ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Admissions Staff (คุย | ส่วนร่วม)
Admissions Staff (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 80: บรรทัด 80:
Currently, there are 2 research centers and 7 research units affiliated with SIIT
Currently, there are 2 research centers and 7 research units affiliated with SIIT
;Research Centers
;Research Centers
*[[ไฟล์:Contec.jpg|150px]]Construction and Maintenance Technology Research Center (CONTEC)
*[[ไฟล์:Contec.jpg|150px]];Construction and Maintenance Technology Research Center (CONTEC)
The Construction and Maintenance Technology Research Center (CONTEC) is established mainly to carry out research and development projects on technologies required for solving problems and creating innovation in construction materials technologies and infrastructures.
The Construction and Maintenance Technology Research Center (CONTEC) is established mainly to carry out research and development projects on technologies required for solving problems and creating innovation in construction materials technologies and infrastructures.
*[[ไฟล์:Trec.jpg|400px]]Transportation Research Center (TREC)
*[[ไฟล์:Trec.jpg|400px]]Transportation Research Center (TREC)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:09, 13 มกราคม 2557

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ
สิรินธร
ชื่อย่อสธ.มธ. / SIIT TU
ประเภทสถาบันกึ่งอิสระ ในม.ธรรมศาสตร์
สถาปนาพ.ศ. 2535*
นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นหลักสูตรหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ.
ที่ตั้ง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
เว็บไซต์www.siit.tu.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (เอสไอไอที) เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 สาขาวิชา การเรียนการสอนทั้งหมดเป็นหลักสูตรนานาชาติใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ผู้จบการศึกษารับปริญญาจากสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอสไอไอทีมักเป็นที่รู้จักเรียกขานทั่วไปว่า "วิศวะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์" เนื่องจากเดิมเป็นโครงการหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ก่อนจะตั้งเป็นสถาบัน แต่ขณะนี้คำเรียกนี้อาจทำให้สับสนได้ เนื่องจากในปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีโครงการภาคภาษาอังกฤษอีกโครงการหนึ่ง (รู้จักกันในชื่อ "วิศวะสองสถาบัน") ชาวธรรมศาสตร์นิยมเรียกเอสไอไอทีสั้น ๆ ว่า "เอสไอ"

เอสไอไอทีเปิดสอนทั้งในระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษาโดยเน้นการศึกษาแบบใช้การวิจัยเป็นตัวนำ[2] อาจารย์ประจำทั้งหมดมีวุฒิอย่างน้อยระดับปริญญาเอก[3][4] ในการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อปี 2550 เอสไอไอทีเป็นคณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียงแห่งเดียวของประเทศที่ได้รับการจัดระดับสูงสุด "ดีมาก" จากทั้ง 3 ตัวชี้วัด สถาบันฯ เป็น 1 ในสถาบันอุดมศึกษา 4 แห่งของประเทศ ที่ได้รับมอบทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสนับสนุนนักเรียนที่สนใจศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา โดยทุนนี้จะมอบให้แก่นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์ (โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย) เพื่อศึกษาต่อและทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยของสวทช.[5] สถาบันเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม[6]

ระบบการบริหารและการเงินของเอสไอไอทีเป็นอิสระจากระบบส่วนกลางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งยังอยู่ในระบบราชการ เพื่อประสิทธิภาพและความคล่องตัว โดยมีคณะกรรมการอำนวยการสถาบันซึ่งคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, และสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจญี่ปุ่น ให้คำปรึกษาด้านนโยบายและการดำเนินงาน และมีคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในสาขาต่าง ๆ ให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการวิจัย การบริหารสถาบันนำโดยผู้อำนวยการ

ประวัติ

เอสไอไอทีก่อตั้งในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก ความต้องการวิศวกรที่สามารถสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ศ. เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม อธิการบดีมธ.ในขณะนั้น กับ นายอานันท์ ปันยารชุน นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ ผู้นำของวงการอุตสาหกรรมในยุคนั้น จึงได้หารือและประสานงานจนได้ก่อตั้ง โครงการวิศวกรรมศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ (Engineering English Program - EEP) ขึ้นในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2535

เนื่องจากติดขัดด้านโครงสร้างซึ่งยังอยู่ในระบบราชการ และงบประมาณที่จำกัด เมื่อโครงการดังกล่าวดำเนินงานไปได้ระยะหนึ่งจึงได้เปลี่ยนสถานะ ก่อตั้งเป็นสถาบันกึ่งอิสระนอกระบบราชการ ไม่พึ่งงบประมาณแผ่นดิน และไม่หวังผลกำไร[1] โดยได้รับความร่วมมือจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจญี่ปุ่น (ไคดันเรน ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ นิปปอน ไคดันเรน) ใช้ชื่อว่า สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (International Institute of Technology - IIT) เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2537 และต่อมาได้รับพระราชทานชื่อสถาบันจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เป็น สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ตามพระนามสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังเช่นทุกวันนี้

วิทยาเขต

ปัจจุบันเอสไอไอทีขยายการศึกษาเป็นสองวิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตธรรมศาสตร์รังสิต และวิทยาเขตบางกะดี ทั้งสองวิทยาเขตอยู่ในพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบนตามแผนยุทธศาสตร์ของสวทช.[7][8] ซึ่งในพื้นที่ประกอบไปด้วยสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญจำนวนมาก[9] เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (รวมถึงศูนย์วิจัยแห่งชาติในสังกัดอีก 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), เทคโนธานี, เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค), องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย รวมถึงเขตอุตสาหกรรมไฮเทค และสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง. โดยเอสไอไอทีได้ร่วมมือและแลกเปลี่ยน ทั้งด้านการสอน วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยี กับหน่วยงานเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ

ธรรมศาสตร์รังสิต

ไฟล์:SIIT Building.jpg
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตั้งอยู่ใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ติดกับ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย, สวทช., และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

บางกะดี

ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี ใกล้กับซอฟต์แวร์พาร์ค โดยสาขาวิชาด้านการสื่อสาร, เทคโนโลยีสารสนเทศ, คอมพิวเตอร์, อิเล็กทรอนิกส์, และเมคคาทรอนิกส์ จะอยู่ที่วิทยาเขตนี้เป็นหลัก รวมถึงสาขาเทคโนโลยีการจัดการ การจัดการวิศวกรรม และการจัดการการดำเนินงาน

ภาควิชา

ปัจจุบัน มีทั้งหมด 6 ภาควิชา เปิดสอนสาขาวิชาต่าง ๆ (ในวงเล็บคือสาขาย่อย) ดังนี้

ภาควิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีเคมีชีวภาพ
ภาควิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีโยธา
ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร
ภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการ
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบการผลิต
ภาควิชาการศึกษาร่วมและบัณฑิตศึกษา

จัดการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานด้าน วิศวกรรม เทคโนโลยี และการจัดการ (การแบ่งฝั่งจะขึ้นอยู่กับสาขาที่เลือกไว้ตอนสมัครเข้า) เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาในภาควิชาต่างๆเมื่อชึ้นชั้นปีที่ 2 และรับผิดชอบวิชาภาษาอังกฤษและวิชาพื้นฐานจำนวนหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รหัสขึ้นต้นด้วย TU)

ผู้อำนวยการสถาบันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

บุคคลสำคัญสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

ผลงานวิจัย

Research Centers and Units

Currently, there are 2 research centers and 7 research units affiliated with SIIT

Research Centers
  • ;Construction and Maintenance Technology Research Center (CONTEC)

The Construction and Maintenance Technology Research Center (CONTEC) is established mainly to carry out research and development projects on technologies required for solving problems and creating innovation in construction materials technologies and infrastructures.

The Transportation Research Center (TREC) is a research and development center established on 18 December 2007 to conduct collaborative research among SIIT and related government organizations in the area of transportation and transportation, supporting technology.

Research units

Biomedical Engineering unit (BioMed SIIT) integrates fundamentals from engineering, computer science, medical science and mathematics to solve applied problems in medicine and biology. Our expertise related to BioInformatics and Biomedical Engineering, Optimization and Numerical Analysis ranges from medical image analysis to producing medical implants and CNC programming.

Nowadays, the advancement of computational theories and computing technologies allows complex physical problems that are inaccessible to analytical and experimental approaches to be solved by computers. The research unit for computational engineering and science (CES) conducts research related to this relatively new interdisciplinary field.

The IISI-U integrates fundamentals for solving advanced problems in engineering, science and social issues, and then provides those solutions as services. The IISI research unit contributes to advancement of intelligent informatics fields, such as artificial intelligence, data mining, and soft computing which leads to breakthrough solutions for issues that human factors are significantly involved. These innovations can be used as services to various societies and industries.

Throughout history infrastructures such as transportation systems, water supplies, electrical grids, telecommunication systems, etc. have had large scale impact on society and economy. Nowadays, challenges are how to apply advanced technologies in the digital age to planning, design, operation, and management of infrastructures in smart ways. This could provide in long term the economical, efficient, convenient, comfortable, and environmental friendly way of living.

Logistics and Supply Chain Systems Engineering (LogEn) Research Unit address cutting-edge supply-chain problems and advanced research in the area of logistics, and supply chain system with the emphasis on optimization, production planning, scheduling simulation, inventory management, forecasting, quality management, lean management and operations management.

The Materials and Plasma Technology (MaP Tech) research unit aims to carry out wide areas of research in materials with emphasis on development, designs, computational analysis, manufacturing, testing, and applications of plastics, rubbers, and nanomaterials. The applications of plasma for use in various fields, especially agricultural and biomedical applications are also a main focus.

Challenges of global climate change, energy insecurity and economic growth can only be solved with rapid development of low carbon technologies and management. There are a wide range of technologies at various stages of development that could contribute to energy and environmental goals. However, they are not being developed at the rate required due to a combination of technological, skill, financial, commercial and regulatory barriers.

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Nishino, Fumio and Taweep Chaisomphob, 1997, A New Challenge for the Establishment of Sirindhorn International Institute of Technology at Thammasat University, Thailand, Inauguration of the Institute's New Name 'Sirindhorn International Institute of Technology', Commemorative publication, pp.18-24.
  2. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ในระดับ “ดีมาก”
  3. 10th Anniversary Sirindhorn International Institute of Technology เอกสารเผยแพร่เนื่องในโอกาสเปิดตึกสิรินธราลัย
  4. http://www.siit.tu.ac.th/faculty_member.php
  5. http://radioeducation.prd.go.th/center/index.php?option=com_content&task=view&id=1225&Itemid=0
  6. LAOTSE, LAOTSE Networking Universities
  7. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล. 2546. NECTEC Technology Roadmap in Software Technology 23 ธ.ค. 2546
  8. ตฤณ ตัณฑเศรษฐี. IT Cluster: A Springboard of Thai Software Opportunities
  9. ประเวศ วะสี. 2544. ยุทธศาสตร์ทางปัญญา และการปฏิรูปการศึกษา 26 ก.พ. 2544 - พูดถึงการบริหารจัดการร่วมที่จะทํให้ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, อุทยานวิทยาศาสตร์, และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เชื่อมโยงกันทำหน้าที่

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น