ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอยซ์โอเวอร์ไอพี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Voip-typical.gif|thumb|250px|ลักษณะการเชื่อมต่อ ]]
[[ไฟล์:Voip-typical.gif|thumb|250px|ลักษณะการเชื่อมต่อ ]]
[[ไฟล์:1140E.jpg|140px|thumb|right|[[Avaya]] 1140E วอยซ์โอเวอร์ไอพี โทรศัพท์]]
[[ไฟล์:1140E.jpg|140px|thumb|right|[[Avaya]] 1140E วอยซ์โอเวอร์ไอพี โทรศัพท์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:13, 26 ธันวาคม 2556

ลักษณะการเชื่อมต่อ
Avaya 1140E วอยซ์โอเวอร์ไอพี โทรศัพท์

วีโอไอพี (VoIP) ย่อมาจาก วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice over Internet Protocol) (หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เปรียบได้กับการให้รถยนต์วิ่งแทรกกันได้ตามช่องว่างที่มีอยู่ของถนน แทนการให้รถยนต์คันเดียวจองถนนวิ่งแบบผูกขาด ข้อดีของวีโอไอพีก็คือการสามารถใช้โครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถให้บริการได้ในอัตราค่าบริการที่ถูกลงมาก

การใช้งาน

ในการใช้บริการวีโอไอพี ผู้ใช้บริการจะต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก่อน หลังจากนั้น สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ซอฟท์โฟน และไมโครโฟนกับหูฟัง เพื่อพูดคุยกับปลายทางได้ ในปัจจุบัน มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า อะนาล็อกเทเลโฟนอะแด็ปเตอร์ เข้ามาแทนการใช้คอมพิวเตอร์ ต่อกับอินเทอร์เน็ต และใช้เครื่องโทรศัพท์อะนาล็อกที่ใช้งานตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไปในการโทรศัพท์แบบวีโอไอพีได้ ทำให้ได้รับความสะดวก และความรู้สึกไม่แตกต่างจากการใช้โทรศัพท์แบบดั้งเดิม

การใช้งานวีโอไอพี สามารถใช้งานได้ทั้งในการโทรศัพท์ถึงปลายทางที่เป็นวีโอไอพีเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีการเก็บค่าบริการ แต่ทั้งสองข้างจะต้องออนไลน์พร้อมกัน หรือจะโทรไปยังปลายทางที่เป็นหมายเลขโทรศัพท์ปกติ ทั้งโทรศัพท์ประจำที่หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้ ในกรณีนี้ จะต้องมีการสมัครเป็นสมาชิกของบริการและชำระค่าบริการล่วงหน้า แต่ค่าบริการจะถูกกว่าการโทรศัพท์ปกติมาก

จุดด้อยของวีโอไอพี

จุดด้อยของวีโอไอพีก็คือ ในบางกรณีคุณภาพเสียงอาจจะไม่ดีเท่าโทรศัพท์ปกติ และอาจจะมีการดีเลย์หรือการที่สัญญาณเสียงเดินทางมาช้า ทำให้พูดสวนกันไม่ได้ถนัด ต้องรอให้แต่ละฝ่ายพูดให้จบก่อนจึงจะพูดได้ แต่ปัญหานี้ได้รับการปรับปรุงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนแทบจะไม่มีความแตกต่างอีกต่อไป ข้อเสียอีกประการหนึ่งก็คือ โทรศัพท์วีโอไอพี จะใช้งานไม่ได้เมื่อไฟฟ้าดับ หรืออินเทอร์เน็ตเกิดขัดข้อง

อนาคตของวีโอไอพี

วีโอไอพี หรือที่มักจะเรียกกันย่อๆว่าวอยซ์ จะได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากคุณภาพที่ได้รับปรับปรุงและค่าใช้จ่ายที่ถูก จนในที่สุดอาจจะกลายเป็นบริการฟรี เช่น เดียวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่นๆ เช่น การสืบค้นเว็บไซต์ การใช้อีเมล เพราะอันที่จริงก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ผู้ใช้บริการเพียงแต่จ่ายค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น

เนื่องจากในปัจจุบัน วีโอไอพี ไม่มีหมายเลขของตัวเอง ได้มีความพยายามที่จะสร้างเลขหมายโทรศัพท์สำหรับวีโอไอพีที่ใช้งานได้ทั่วโลก เรียกว่า อีนัม (enum) ซึ่งถ้าได้มีการยอมรับแพร่หลาย เราก็จะมีหมายเลขนี้ติดตัวเราไปได้ทุกที่ทั่วโลก เพียงแต่เข้าอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถติดต่อกันได้โดยกดหมายเลขอีนัมคล้ายๆ กับโทรศัพท์ในปัจจุบัน

นอกจากนั้น ถ้าโครงข่ายไว-ไฟ หรือ ไวแม็กซ์ มีการขยายครอบคลุมมากขึ้น ก็เป็นไปได้ว่าจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านไว-ไฟ หรือ ไวแม็กซ์ ที่สามารถใช้วีโอไอพีได้ ซึ่งจะมีความสามารถสูงกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีแบนด์วิดธ์ที่กว้าง การใช้วีดีโอโฟน จะกลายเป็นมาตรฐานทั่วไป ในปัจจุบัน ก็เริ่มมีการวางตลาดเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ใช้เป็นโทรศัพท์ไว-ไฟในตัวบ้างแล้ว

แหล่งข้อมูลอื่น