ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัญจนา ศิลปอาชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KLL Joe (คุย | ส่วนร่วม)
เอาหมวดหมู่ ซาวไทยเชื้อสายจีนออก เพราะไม่มีความจำเป็น
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคชาติไทยพัฒนา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:47, 19 ธันวาคม 2556

นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 (64 ปี)
จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย

นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี หลายสมัย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 เป็นบุตรีของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา

การศึกษา

น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สถิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา

อีกด้านหนึ่งกัญจนา ศิลปอาชา ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทินายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายประจวบ ไชยสาส์น นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ

การทำงาน

กัญจนา ศิลปอาชา เข้าสู่งานการเมืองตามบิดาซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย โดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2538, 2539, 2544 ,2548 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต ในปี พ.ศ. 2545 เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และปี พ.ศ. 2546 เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ต่อมาเมื่อพรรคชาติไทย ถูกตัดสินยุบพรรค ในปี พ.ศ. 2551 กัญจนา ศิลปอาชา ในฐานะคณะกรรมการบริหารพรรคจึงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[1]

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น