ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภราดาฆราวาส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ภราดาฆราวาส มีต้นกำเนิดมาจากคณะนักบวชที่ใช้[[ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์|ชีวิตอารามวาสี]] <ref>[http://laybrother.com/history/ History of the Vocation of lay brotherhood], เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555</ref> ในคณะนักบวชเหล่านี้จะมีฆราวาสอุทิสตนทำงานช่วยเหลืองานต่าง ๆ ใน[[อาราม]] โดยเฉพาะงานที่ใช้แรงซึ่งไม่สะดวกสำหรับนักบวชที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับ[[การทำวัตร]] [[การรำพึงธรรม]] และ[[การอธิษฐาน]] [[นักพรต]]เหล่านี้อาจรับ[[ศีลอนุกรม]]เป็น[[บาทหลวง]]ด้วย ทำให้สามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ และได้เป็นบิดาฝ่ายจิตวิญญาณแก่[[คริสต์ศาสนิกชน]] ต่างจากฆราวาสที่ทำงานรับใช้ในอาราม ไม่ได้มุ่งจะบวชเป็นบาทหลวง จึงถูกเรียกว่า “ภราดา” ซึ่งแปลว่า พี่น้อง (เพื่อให้ต่างจากบาทหลวงที่ถูกเรียกว่า '''คุณพ่อ''') ภราดาเหล่านี้ไม่มีพันธะต้องเข้าร่วมการทำวัตร แต่เน้นทำงานที่ใช้แรง<ref>[http://oxforddictionaries.com/definition/english/lay%2Bbrother Definition of lay brother]. Oxford Dictionary. เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555</ref> เช่น เกษตรกรรม ช่างฝีมือ ทำอาหาร ศิลปะ รวมทั้งช่วยสอนหนังสือในโรงเรียนและโบสถ์ โดยภราดาฆราวาสจะสวมเครื่องแบบ[[แฮบิต]]แตกต่างจาก[[นักพรต]]และ[[ไฟรอาร์]]ที่จะรับศีลอนุกรม เพื่อให้สามารถแยกแยะสถานะได้อย่างชัดเจน<ref>[http://www.newadvent.org/cathen/09093a.htm Catholic Encyclopedia: Lay Brothers]. เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555</ref>
ภราดาฆราวาส มีต้นกำเนิดมาจากคณะนักบวชที่ใช้[[ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์|ชีวิตอารามวาสี]] <ref>[http://laybrother.com/history/ History of the Vocation of lay brotherhood], เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555</ref> ในคณะนักบวชเหล่านี้จะมีฆราวาสอุทิสตนทำงานช่วยเหลืองานต่าง ๆ ใน[[อาราม]] โดยเฉพาะงานที่ใช้แรงซึ่งไม่สะดวกสำหรับนักบวชที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับ[[การทำวัตร]] [[การรำพึงธรรม]] และ[[การอธิษฐาน]] [[นักพรต]]เหล่านี้อาจรับ[[ศีลอนุกรม]]เป็น[[บาทหลวง]]ด้วย ทำให้สามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ และได้เป็นบิดาฝ่ายจิตวิญญาณแก่[[คริสต์ศาสนิกชน]] ต่างจากฆราวาสที่ทำงานรับใช้ในอาราม ไม่ได้มุ่งจะบวชเป็นบาทหลวง จึงเรียกว่า “ภราดา” ซึ่งแปลว่า พี่น้อง (เพื่อให้ต่างจากบาทหลวงที่เรียกว่า '''คุณพ่อ''') ภราดาเหล่านี้ไม่มีพันธะต้องเข้าร่วมการทำวัตร แต่เน้นทำงานที่ใช้แรง<ref>[http://oxforddictionaries.com/definition/english/lay%2Bbrother Definition of lay brother]. Oxford Dictionary. เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555</ref> เช่น เกษตรกรรม ช่างฝีมือ ทำอาหาร ศิลปะ รวมทั้งช่วยสอนหนังสือในโรงเรียนและโบสถ์ โดยภราดาฆราวาสจะสวมเครื่องแบบ[[แฮบิต]]แตกต่างจาก[[นักพรต]]และ[[ไฟรอาร์]]ที่จะรับศีลอนุกรม เพื่อให้สามารถแยกแยะสถานะได้อย่างชัดเจน<ref>[http://www.newadvent.org/cathen/09093a.htm Catholic Encyclopedia: Lay Brothers]. เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555</ref>


แม้ภราดาฆราวาสจะมีสถานะต่ำกว่าบาทหลวง แต่มีวิถีชีวิตที่ทำงานได้คล่องตัวกว่า และภราดาหลายคนก็มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับในสังคม ทำให้จำนวนภราดาในคณะนักบวชต่าง ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนบางคณะได้แยกภราดาออกเป็นคณะนักบวชอีกคณะหนึ่งต่างหาก มีการบริหารการปกครองเป็นของตนเองโดยไม่ขึ้นกับคณะนักบวชที่เป็นบาทหลวง เช่น [[คณะธรรมทูตพระแม่มารีย์]]ที่เดิมมีทั้งบาทหลวงและภราดา ต่อมาบาทหลวง[[กาเบรียล เดแอ]] ได้แยกกลุ่มภราดาออกมาตั้งเป็นคณะนักบวชอีกคณะหนึ่งที่บริหารปกครองตนเองชื่อว่าคณะพระจิต ต่อมาเรียกว่า[[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะภราดาโดยเฉพาะ เช่น [[คณะภราดาลาซาล]] ซึ่งนักบุญ[[ฌ็อง-บาติสต์ เดอ ลา ซาล]] ตั้งขึ้นเพื่อฝึกบุรุษที่อุทิสตนทำงานด้านการศึกษา
แม้ภราดาฆราวาสจะมีสถานะต่ำกว่าบาทหลวง แต่มีวิถีชีวิตที่ทำงานได้คล่องตัวกว่า และภราดาหลายคนก็มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับในสังคม ทำให้จำนวนภราดาในคณะนักบวชต่าง ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนบางคณะได้แยกภราดาออกเป็นคณะนักบวชอีกคณะหนึ่งต่างหาก มีการบริหารการปกครองเป็นของตนเองโดยไม่ขึ้นกับคณะนักบวชที่เป็นบาทหลวง เช่น [[คณะธรรมทูตพระแม่มารีย์]]ที่เดิมมีทั้งบาทหลวงและภราดา ต่อมาบาทหลวง[[กาเบรียล เดแอ]] ได้แยกกลุ่มภราดาออกมาตั้งเป็นคณะนักบวชอีกคณะหนึ่งที่บริหารปกครองตนเองชื่อว่าคณะพระจิต ต่อมาเรียกว่า[[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะภราดาโดยเฉพาะ เช่น [[คณะภราดาลาซาล]] ซึ่งนักบุญ[[ฌ็อง-บาติสต์ เดอ ลา ซาล]] ตั้งขึ้นเพื่อฝึกบุรุษที่อุทิสตนทำงานด้านการศึกษา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:50, 28 พฤศจิกายน 2556

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ภราดาฆราวาส เรียกโดยย่อว่า ภราดา[1] หมายถึงบุรุษที่เป็นสมาชิกคณะนักบวชคาทอลิก แต่ไม่ได้รับศีลอนุกรมขั้นใด ๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ การเรียกว่า "ภราดาฆราวาส" เพื่อให้ต่างจากผู้ได้รับศีลบวชแล้วหรือเตรียมจะรับศีลบวชต่อไป แม้จะมีชื่อว่า “ฆราวาส” แต่ภราดาฆราวาสก็มีสถานะเป็นนักบวชคาทอลิก เพราะได้ถือคำปฏิญาณของนักบวชเพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่คณะนักบวชที่ตนสังกัดได้กำหนดไว้ คณะนักบวชชายแต่ละคณะอาจกำหนดบทบาทหน้าที่ของภราดาฆราวาสแตกต่างกันไป

ประวัติ

ภราดาฆราวาส มีต้นกำเนิดมาจากคณะนักบวชที่ใช้ชีวิตอารามวาสี [2] ในคณะนักบวชเหล่านี้จะมีฆราวาสอุทิสตนทำงานช่วยเหลืองานต่าง ๆ ในอาราม โดยเฉพาะงานที่ใช้แรงซึ่งไม่สะดวกสำหรับนักบวชที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำวัตร การรำพึงธรรม และการอธิษฐาน นักพรตเหล่านี้อาจรับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงด้วย ทำให้สามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ และได้เป็นบิดาฝ่ายจิตวิญญาณแก่คริสต์ศาสนิกชน ต่างจากฆราวาสที่ทำงานรับใช้ในอาราม ไม่ได้มุ่งจะบวชเป็นบาทหลวง จึงเรียกว่า “ภราดา” ซึ่งแปลว่า พี่น้อง (เพื่อให้ต่างจากบาทหลวงที่เรียกว่า คุณพ่อ) ภราดาเหล่านี้ไม่มีพันธะต้องเข้าร่วมการทำวัตร แต่เน้นทำงานที่ใช้แรง[3] เช่น เกษตรกรรม ช่างฝีมือ ทำอาหาร ศิลปะ รวมทั้งช่วยสอนหนังสือในโรงเรียนและโบสถ์ โดยภราดาฆราวาสจะสวมเครื่องแบบแฮบิตแตกต่างจากนักพรตและไฟรอาร์ที่จะรับศีลอนุกรม เพื่อให้สามารถแยกแยะสถานะได้อย่างชัดเจน[4]

แม้ภราดาฆราวาสจะมีสถานะต่ำกว่าบาทหลวง แต่มีวิถีชีวิตที่ทำงานได้คล่องตัวกว่า และภราดาหลายคนก็มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับในสังคม ทำให้จำนวนภราดาในคณะนักบวชต่าง ๆ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนบางคณะได้แยกภราดาออกเป็นคณะนักบวชอีกคณะหนึ่งต่างหาก มีการบริหารการปกครองเป็นของตนเองโดยไม่ขึ้นกับคณะนักบวชที่เป็นบาทหลวง เช่น คณะธรรมทูตพระแม่มารีย์ที่เดิมมีทั้งบาทหลวงและภราดา ต่อมาบาทหลวงกาเบรียล เดแอ ได้แยกกลุ่มภราดาออกมาตั้งเป็นคณะนักบวชอีกคณะหนึ่งที่บริหารปกครองตนเองชื่อว่าคณะพระจิต ต่อมาเรียกว่าคณะภราดาเซนต์คาเบรียล นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะภราดาโดยเฉพาะ เช่น คณะภราดาลาซาล ซึ่งนักบุญฌ็อง-บาติสต์ เดอ ลา ซาล ตั้งขึ้นเพื่อฝึกบุรุษที่อุทิสตนทำงานด้านการศึกษา

อ้างอิง

  1. Dictionary : LAY BROTHER – Catholic culture. เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
  2. History of the Vocation of lay brotherhood, เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
  3. Definition of lay brother. Oxford Dictionary. เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
  4. Catholic Encyclopedia: Lay Brothers. เรียกข้อมูลวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555