ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บึงละหาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natthaphum (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
Natthaphum (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18: บรรทัด 18:


==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*{{geolinks-bldg|15.615822|101.888477}}
[[หมวดหมู่:จังหวัดชัยภูมิ]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดชัยภูมิ]]
[[หมวดหมู่:ทะเลสาบในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:ทะเลสาบในประเทศไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:26, 20 พฤศจิกายน 2556

บึงละหาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีเนื้อที่ขนาดใหญ่เป็น เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศไทย ประมาณ 18,181 ไร่ บึงละหานเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดี ปัจจุบันบึงละหานได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีของอนุสัญญาแรมซาร์ หรือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ

ที่ตั้งและพื้นที่

บึงละหาน ครอบคลุมพื่นที่ 4 ตำบลในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ตำบลละหาน ตำบลหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวบาน ตำบลลุ่มลำชี โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

เนื้อที่ 29.09 ตารางกิโลเมตร ( 18,181 ไร่ )

ตำแหน่งทางภูมิศาตร์ 15ํ 35'-40' N และ 101ํ 50'-56' E

สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 190 เมตร

สภาพทางกายภาพ

สภาพเดิม เป็นหนองน้ำหลายแห่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในฤดูน้ำหลาก น้ำจะให้เข้ามาจากลำห้วยต่างๆเช่น ลำคันฉู ห้วยหลัว ห้วยยาง ห้วยตาแก้ว เป็นต้น ทำให้ปริมาณน้ำในหนองเออเข้าหากันรวมเป็นบึงขนาดใหญ่ เรียกว่า บึงละหาน ภายในบริเวณบึงมีเกาะที่เกิดจากน้ำท่วมไม่ถึง ชาวบ้านเรียกว่าโนน เช่น โนนจาน โนนงิ้ว และในน้ำในบึงจะใหลลงแม่น้ำชีในที่สุด เนื่องจากบึงละหานเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่มีระบบกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งน้ำในบึงจึงลดลงมาก จนมีสภาพตื้นเขินสามารถนำปศุสัตว์ลงหากินและทำเกษตรได้ในบางพื้นที่

สภาพปัจจุบัน บึงละหาน ได้รับการพัฒนาให้มีคันดินล้อมรอบบริเวณบึงมีและฝายน้ำล้นกักเก็บน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงลำน้ำชีเร็วเกินไปเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคหล่อเลี้ยงชาวจังหวัดชัยภูมิ เพื่อการเกษตร การประมง และเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่บึงละหาน บึงละหานจึงกลายเป็นบึงขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดทั้งปี ลึกที่สุดประมาณ 1.5 – 4 เมตร และยังคงมีแกาะกลางน้ำที่น้ำท่วมไม่ถึงอยู่เช่นเดิม เกาะที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 0.3 ตารางกิโลเมตร (187.5 ไร่) มีป่าละเมาะขึ้นที่โดยรอบจะมีลักษณะเกาะจะค่อนข้างเรียบลักษณะดินโดยรอบเป็นดินที่ที่มีการทับถมของตะกอน จากสภาพเดิมของบึงละหานที่เป็นบึงน้ำตามธรรมชาติในฤดูน้ำหลากน้ำจะเออเข้าท่วมหมู่บ้านรอบบร

แหล่งข้อมูลอื่น