ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟร์ไชลด์รีพับลิค เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
fixed web reference
Denniss (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 73: บรรทัด 73:
ลำตัวของเครื่องบินถูกสร้างขึ้นรอบๆ ปืน<ref>[http://www.plane-crazy.net/links/a10.htm The A-10], Plane-Crazy.net</ref> ตัวอย่างเช่น ล้อส่วนหน้าที่เยื้องไปทางขวาซึ่งทำให้ลำกล้องของปืนที่ยิงในตำแหน่ง 9 นาฬิกาเป็นแนวเดียวกับตัวเครื่องบิน มันสามารถจุกระสุนขนาด 30 ม.ม.ได้ 1,175 นัด<ref name="Jenkins_p64"/> เอ-10 รุ่นแรกบรรทุกกระสุน 1,350 นัดแต่ถูกแทนที่เนื่องจากแบบขดนั้นเสียหายง่ายในตอนบรรจุกระสุน กระสุนแบบกลมที่มีจำนวน 1,174 นัดจึงถูกนำมาใช้แทน การเสียหายจะเกิดขึ้นโดยบางส่วนของกระสุนที่ยิงก่อนกำหนดเนื่องจากการปะทะของกระสุนระเบิดจะสร้างความหายนะ ด้วยเหตุผลนี้เองความเหมาะสมจึงตกมาที่แพ็กกระสุนแบบกลมแทน มีแผ่นมากมายที่แตกต่างกันในความหนาระหว่างส่วนกลมและผิว แผ่นเหล่านี้ถูกเรียกว่าแผ่นจุดชนวนเพราะว่าเมื่อกระสุนระเบิดเข้าชนเป้าหมายมันก็จะเจาะทะลุเกราะก่อนที่จะจุดชนวนระเบิด ตามที่แบบกลมมีชั้นมากมายการจุดระเบิดของกระสุนจึงถูกจุดชนวนก่อนที่มันจะถึงส่วนกลม ชั้นสุดท้ายของเกราะรอบๆ ส่วนกลมก็คือการป้องกันมันจากสะเก็ดระเบิด
ลำตัวของเครื่องบินถูกสร้างขึ้นรอบๆ ปืน<ref>[http://www.plane-crazy.net/links/a10.htm The A-10], Plane-Crazy.net</ref> ตัวอย่างเช่น ล้อส่วนหน้าที่เยื้องไปทางขวาซึ่งทำให้ลำกล้องของปืนที่ยิงในตำแหน่ง 9 นาฬิกาเป็นแนวเดียวกับตัวเครื่องบิน มันสามารถจุกระสุนขนาด 30 ม.ม.ได้ 1,175 นัด<ref name="Jenkins_p64"/> เอ-10 รุ่นแรกบรรทุกกระสุน 1,350 นัดแต่ถูกแทนที่เนื่องจากแบบขดนั้นเสียหายง่ายในตอนบรรจุกระสุน กระสุนแบบกลมที่มีจำนวน 1,174 นัดจึงถูกนำมาใช้แทน การเสียหายจะเกิดขึ้นโดยบางส่วนของกระสุนที่ยิงก่อนกำหนดเนื่องจากการปะทะของกระสุนระเบิดจะสร้างความหายนะ ด้วยเหตุผลนี้เองความเหมาะสมจึงตกมาที่แพ็กกระสุนแบบกลมแทน มีแผ่นมากมายที่แตกต่างกันในความหนาระหว่างส่วนกลมและผิว แผ่นเหล่านี้ถูกเรียกว่าแผ่นจุดชนวนเพราะว่าเมื่อกระสุนระเบิดเข้าชนเป้าหมายมันก็จะเจาะทะลุเกราะก่อนที่จะจุดชนวนระเบิด ตามที่แบบกลมมีชั้นมากมายการจุดระเบิดของกระสุนจึงถูกจุดชนวนก่อนที่มันจะถึงส่วนกลม ชั้นสุดท้ายของเกราะรอบๆ ส่วนกลมก็คือการป้องกันมันจากสะเก็ดระเบิด


[[ไฟล์:Usaf.thunderbolt2.750pix.jpg|thumb|เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 พร้อมอาวุธเต็มที่]]
[[ไฟล์:An A-10 from the 81st Fighter Squadron flies over central Germany.jpg|thumb|เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 พร้อมอาวุธเต็มที่]]


อาวุธอีกอย่างของมันก็คือขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบ[[เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก]]ด้วยแบบที่แตกต่างกันไปทั้งนำวิถีด้วยโทรทัศน์หรืออินฟราเรด มาเวอร์ริกสามารถเข้าปะทะเป้าหมายได้ในระยะที่ไกลกว่าปืนใหญ่ได้มากทำเครื่องบินอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากระบบต่อต้านอากาศยานสมัยใหม่ ใน[[สงครามอ่าว|พายุทะเลทราย]]กล้องอินฟราเรดของมาเวอร์ริกถูกใช้ในภารกิจกลางคืน อาวุธอื่นๆ ก็รวมทั้งคลัสเตอร์บอมบ์และจรวด[[ไฮดรา 70|ไฮดรา]] แม้ว่าเอ-10 จะบรรทุก[[ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์]] พวกมันก็ใช้งานในแบบที่ไม่ปกติ ในระดับความสูงต่ำและความเร็วปกติของเอ-10 ระเบิดแบบธรรมดาก็มีความแม่นยำเพียงพอแล้ว ในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามอาวุธนำวิถีจะเพิ่มข้อได้เปรียบเพียงเล็กน้อย ด้วยการที่บางครั้งก็แทบไม่มีเวลาสำหรับการหาวิถี เอ-10 มักบินพร้อมกับกระเปาะอีซีเอ็มรุ่นเอแอลคิว-131 ที่อยู่ใต้บินข้างใดข้างหนึ่งและ[[ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ]]แบบ[[เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์]]สองลูกที่ใต้ปีกอีกข้างหนึ่งสำหรับป้องกันตัวเอง
อาวุธอีกอย่างของมันก็คือขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบ[[เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก]]ด้วยแบบที่แตกต่างกันไปทั้งนำวิถีด้วยโทรทัศน์หรืออินฟราเรด มาเวอร์ริกสามารถเข้าปะทะเป้าหมายได้ในระยะที่ไกลกว่าปืนใหญ่ได้มากทำเครื่องบินอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากระบบต่อต้านอากาศยานสมัยใหม่ ใน[[สงครามอ่าว|พายุทะเลทราย]]กล้องอินฟราเรดของมาเวอร์ริกถูกใช้ในภารกิจกลางคืน อาวุธอื่นๆ ก็รวมทั้งคลัสเตอร์บอมบ์และจรวด[[ไฮดรา 70|ไฮดรา]] แม้ว่าเอ-10 จะบรรทุก[[ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์]] พวกมันก็ใช้งานในแบบที่ไม่ปกติ ในระดับความสูงต่ำและความเร็วปกติของเอ-10 ระเบิดแบบธรรมดาก็มีความแม่นยำเพียงพอแล้ว ในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามอาวุธนำวิถีจะเพิ่มข้อได้เปรียบเพียงเล็กน้อย ด้วยการที่บางครั้งก็แทบไม่มีเวลาสำหรับการหาวิถี เอ-10 มักบินพร้อมกับกระเปาะอีซีเอ็มรุ่นเอแอลคิว-131 ที่อยู่ใต้บินข้างใดข้างหนึ่งและ[[ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ]]แบบ[[เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์]]สองลูกที่ใต้ปีกอีกข้างหนึ่งสำหรับป้องกันตัวเอง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:13, 31 ตุลาคม 2556

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2
บทบาทเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินและสนับสนุนโดยใกล้ชิด
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตแฟร์ไชลด์ แอร์คราฟท์
บินครั้งแรก10 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
เริ่มใช้พ.ศ. 2520
สถานะอยู่ในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
จำนวนที่ผลิต715 ลำ[1]
มูลค่า11.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [2]

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 (อังกฤษ: A-10 Thunderbolt II) เอ-10 บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 และเริ่มประจำการในกองบินกองทัพอากาศสหรัฐเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1976[ต้องการอ้างอิง]

เอ-10 เป็นเจ๊ตโจมตีแบบแรกของสหรัฐฯ ที่สนับสนุนหน่วยภาคพื้นดิน โดยเฉพาะการปราบรถถัง ด้วยปืนกลขนาดใหญ่ เอ-10 สามารถบรรทุกอาวุธได้มาก สามารถบินลาดตระเวณได้เป็นเวลานาน มีความคล่องตัวสูงสามารถบินเข้าโจมตีด้วยอัตราเร็วต่ำ มีเกราะป้องกันหัองนักบินเครื่องยนต์และระบบบังคับการบิน[3] เดิมทีชื่อของเอ-10 มาจากพี-47 ธันเดอร์โบลท์ที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มันเป็นเครื่องบินรบที่ให้การสนับสนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอ-10 มีชื่อเล่นว่า"วอร์ธอง" (Warthog) หรือเรียกสั้นๆ ว่า"ฮอค" (Hog)[4] ภารกิจรองลงมาคือมันจะทำหน้าที่นำอากาศยานลำอื่นๆ เข้าสู่เป้าหมายบนพื้นดิน เอ-10 ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวเป็นหลักจะถูกเรียกว่าโอเอ-10[5]

การพัฒนา

ภูมิหลัง

การวิจารณ์พบว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ ไม่ได้ใช้การสนับสนุนทางอากาศอย่างฉับไวจริงๆ สมาชิกบางคนเริ่มมองหาอากาศยานจู่โจมดิเศษ[6] ในสงครามเวียดนามอากาศยานโจมตีพื้นดินจำนวนมากถูกยิงตกโดยอาวุธขนาดเล็ก ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ และปืนต่อต้านอากาศยานระดับต่ำ ส่งผลให้เร่งการพัฒนาอากาศยานให้ดีขึ้นจนสามารถรอดจากการยิงของอาวุธดังกล่าวได้ นอกจากนี้เฮลิคอปเตอร์ในสมัยนั้นอย่างยูเอช-1 ไอโรควอยส์และเอเอช-1 คอบราซึ่งผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้กล่าวว่ามันเหมาะกับการสนับสนุนระยะใกล้ แต่มันก็ไม่เหมาะกับการจัดการยานเกราะ ปืนกล และจรวดจึงทำให้มันเป็นเป้าหมายที่บอบบาง เอฟ-4 แฟนทอม 2 ถูกใช้ในการสนับสนุนระยะใกล้แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้นเนื่องจากมันมีการร่อนที่รวดเร็วและใช้น้ำมันไม่คุ้ม ด้วยการที่เอฟ-4 ส่วนมากไม่มีปืน แต่มีเอฟ-4อีที่ติดตั้งปืนเอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.เพื่อจัดการเป้าหมายที่ยาก

A-X

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2518

ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2510 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ร้องขอข้อมูลผู้ทำสัญญาป้องกัน เป้าหมายของพวกเขาคือเพื่อสร้างแบบอากาศยานโจมตีราคาถูกโดยเรียกว่าเอ-เอ็กซ์หรือ"Attack Experimental" เจ้าหน้าที่ที่ดูแลโครงการคือผู้การเอเวอร์รี เคย์[6] ในปีพ.ศ. 2512 รัฐมนตรีของกองทัพอากาศได้ขอปิแอร์ สเปรย์ให้เขียนรายละเอียดเฉพาะสำหรับโครงการเอ-เอ็กซ์ อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมของเขาถูกเก็บเป็นความลับเพราะว่าก่อนหน้านี้สเปรย์มีส่วเกี่ยวข้องในโครงการของเอฟ-15 อีเกิล[6] การหารือของสเปรย์กับนักบินเอ-1 สกายไรเดอร์ในเวียดนามและประเมินความมีประสิทธิภาพของเครื่องบินปัจจุบันและพบว่าต้องการการร่อนที่นานขึ้น ความสามารถในระดับความเร็วต่ำ อำนาจการยิงปืนใหญ่อย่างมาก และความคงทนสูง[6]

เครื่องบินที่มีส่วนองค์ประกอบชั้นยอดจากอิลยูชิน อิล-2 เฮนส์เชล เอชเอส 129 และเอ-1 สกายไรเดอร์ ข้อจำกัดยังรวมทั้งความต้องการให้เครื่องบินมีราคาต่ำกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] ในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2513 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ทำการดัดแปลงและมีการเสนอรายละเอียดเพิ่มเมื่อภัยคุกคามของกองกำลังติดอาวุธโซเวียตและปฏิบัติการโจมตีทุกสภาพอากาศกลายมาเป็นเรื่องสำคัญ บริษัททั้งหกยื่นข้อเสนอให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ด้วยนอร์ทธรอปและแฟร์ไชลด์ รีพับลิกได้เลือกที่จะสร้างต้นแบบ คือ วายเอ-9เอและวายเอ-10เอตามลำดับ

วายเอ-10เอทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 หลังจากทดสอบกองทัพอากาศก็เลือกวายเอ-10เอของแฟร์ไชลด์ รีพับลิกในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2516 เพื่อทำการผลิต นอกจากนั้นยังมีการแข่งขันกับเอ-7ดี คอร์แซร์ 2 ซึ่งเป็นเครื่องบินจู่โจมของกองทัพอากาศในตอนนั้นเพื่อที่จะพิสูจน์ความต้องการในการซื้อเครื่องบินแบบใหม่ เอ-10 ที่ผลิตลำแรกทำการบินในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2518 และส่งให้กับกองทัพอากาศในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2519 ให้กับฐานบินเดวิส มอนแธนในรัฐแอริโซนา ฝูงบินแรกที่ใช้เอ-10 เข้าประจำการในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2520 โดยรวมแล้วมีเครื่องบินทั้งหมด 715 ลำที่ถูกผลิตและลำสุดท้ายในพ.ศ. 2527[7]

เอ-10 รุ่นทอลองที่มีสองที่นั่งถูกสร้างโดยดัดแปลงมาจากเอ-10เอ[8] รุ่นนี้เรียกว่าเอ็น/เอดับบลิว (Night Adverse Weather) ถูกพัฒนาโดยแฟร์ไชลด์จากการทดลองเอ-10 ใหเกองทัพอากาศสหรัฐฯ พิจารณา มันรวมทั้งที่นั่งที่สองสำหรับผู้ควบคุมอาวุธ แบบอื่นๆ นั้นถูกยกเลิกและมีเพียงแบบสองที่นั่งเท่านั้นที่ยังอยู่ในฐานบินและรอเข้าพิพิธภัณฑ์[9] ข้อเสรอของเอ-10 สองที่นั่งสำหรับฝึกไม่ถูกนำเข้าสายผลิต ด้วยการที่เอ-10 นั้นบินง่ายพอจนไม่จำเป็นต้องใช้แบบสำหรับการฝึก

การพัฒนา

เอ-10 ได้รับการพัฒนามากมายตลอดหลายปี เครื่องบินถูกพัฒนาด้วยระบบนำร่องภายในและเซ็นเซอร์เลเซอร์แบบเพฟเพนนี (สำหรับชี้เป้า) เพฟเพนนีเป็นตัวหาเป้าแบบไร้ปฏิกิริยาและไม่สามารถกำหนดเป้าหมายได้เองให้กับระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ต่อมาระบบความปลอดภัยเมื่อบินต่ำและระบบหาเป้าที่พัฒนาได้นำมาซึ่งอาวุธที่เล็งเป้าด้วยคอมพิวเตอร์ และนักบินอัตโนมัติ และระบบเตือนเมื่อบินใกล้พื้นมากเกินไป เอ-10 มีกล้องมองกลางคืนสำหรับปฏิบัติการในตอนกลางคืน ในปีพ.ศ. 2542 เครื่องบินเริ่มได้รับระบบนำร่องแบบจีพีเอสและในพ.ศ. 2548 ก็เริ่มมีการติดตั้งระบบจับเป้าที่พัฒนาด้วยระบบไอเอฟเอฟซีซี ( Integrated Flight & Fire Control Computers)

เอ-10 ถูกกำหนดว่าจะเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ จนถึงปีพ.ศ. 2571[10] ในพ.ศ. 2548 กองบินเอ-10 ทั้งกองเริ่มได้รับการพัฒนาซึ่งทำให้มันมีชื่อใหม่ว่าแบบ"ซี"ซึ่งรวมทั้งระบบควบคุมการยิงที่พัฒนาและความสามารถในการใช้สมาร์ทบอมบ์ เอ-10 จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยดอายุการใช้งานด้วยการเปลี่ยนปีกใหม่[10] สัญญาที่สั่งสร้างปีกเอ-10 ใหม่เพิ่มอีก 242 ปีกถูกมอบให้กับโบอิงในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550[11] การดัดแปลงเพื่อพัฒนาอาวุธกำลังอยู่ในการดำเนินการ แบบซีนั้นจะพัฒนาเสร็นสิ้นในปีพ.ศ. 2554[12]


การออกแบบ

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2

เอ-10 มีความเหนือการในระดับความสูงต่ำซึ่งต้องขอบคุณปีกที่ตรงและกว้างของมัน สิ่งเหล่านี้ทำให้มันใช้พื้นที่ในการบินขึ้นและลงจอดน้อยเหมาะกับการใช้งานในสนามบินของแนวหน้า เครื่องบินสามารถร่อนได้นานและทำงานในระดับต่ำกว่า 1,000 ฟุตได้โดยมีเพดานบินที่ 2.4 กิโลเมตร โดยทั่วไปมันจะบินเดียวความเร็วต่ำประมาณ 555 ก.ม./ช.ม.ซึ่งทำให้มันเหมาะกับการทำหน้าที่โจมตีภาคพื้นดินมากกว่าเครื่องบินรบทิ้งระเบิดที่รวดเร็วซึ่งมักยากที่จะทำการจับเป้าขนาดเล็กและเป้าหมายที่เคลื่อนที่ช้า

ท่อไอเสียของเครื่องยนต์อยู่บนปีกแนวนอนส่วนหลังและระหว่างปีกคู่ที่ส่วนท้าย มันลดสัญญาณอินฟราเรดของเอ-10 และลดความเป็นไปได้ที่เครื่องบินจะถูกล็อกเป้าโดยขีปนาวุธหาความร้อน การวางเครื่องยนต์ไว้ที่ด้านหลังทำให้บางส่วนของปีกป้องกันมันจากการยิงได้ ส่วนลำตัวหลักมีลักษณะคล้ายรวงผึ้งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักน้อย

เอ-10 มีเครื่องจักรที่ควบคุมอย่างครบถ้วน เพราะว่าปีกเสริมของมันเป็นแบบที่ไม่มีรอยเชื่อมหรือเป็นเนื้อเดียวกันหมด แผงเหล่านี้เป็นวัสดุผสมที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรเพื่อลดเวลาและราคาในการผลิต ในการรบได้แสดงให้เห็นว่าแผงแบบนี้ทนทานมากกว่า นอกจากนี้หากได้รับความเสียหายมันยังเปลี่ยนได้ง่ายด้วยวัสดุชั่วคราวหากจำเป็น[13]

ธันเดอร์โบลท์ 2 สามารถเข้าประจำการและปฏิบัติการได้จากฐานที่ขาดการอำนวยความสะดวก จุดเด่นที่ไม่ธรรมดาคือมันหลายส่วนของเครื่องบินสามารถสับเปลี่ยนกันได้ระหว่างซ้ายกับขวา ซึ่งรวมทั้งเครื่องยนต์ อุปกรณ์ลงจอด และปีกแนวตั้งที่ด้านหลัง อุปกรณ์ลงจอดที่แข็งแรงและปีกที่กว้างตรงทำให้มันสามารถขึ้นเครื่องได้ในระยะสั้นพร้อมกับอาวุธขนาดหนัก ทันทำให้เครื่องบินสามารถทำงานในสนามบินที่รับความเสียหายได้ เครื่องบินถูกออกแบบให้เติมเชื้อเพลิง เติมกระสุน และเข้าประจำการได้โดยใช้อุปกรณ์น้อยมาก

เนื่องจากว่าล้อลงจอดด้านหน้าที่ใกล้กับปืนใหญ่หลักของเอ-10 ทำให้ล้อเยื้องไปทางขวาและปืนเยื้องไปทางขวา มันทำให้เอ-10 มีรัศมีการเลี้ยวที่ไม่เหมือนใคร การเลี้ยวขวาบนพื้นจะใช้เนื้อที่น้อยกว่าการเลี้ยวซ้าย

ความทนทาน

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 ลำนี้ได้รับความเสียหายอย่างมากจากการยิงในตอนที่มันอยู่เหนือแบกแดแในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักเมื่อต้นปีพ.ศ. 2546 แต่มันก็ยังสามารถบินกลับฐานได้

เอ-10 มีความคงทนเป็นเยี่ยม มันมีโครงสร้างที่แข็งแรงจนสามารถรอดจากกระสุนเจาะเกราะและระเบิดแรงสูงขนาด 23 ม.ม.ที่ยิงเข้ามาตรงๆ ได้ เครื่องบินมีความซับซ้อนถึงสามชั้นในระบบการบินของมัน ด้วยระบบกลไลที่คอยช่วยเหลือระบบไฮดรอลิกทั้งสอง สิ่งนี้ทำให้นักบินทำการบินและลงจอดได้เมื่อกำลังของไฮดรอลิกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของปีกหายไป ในการบินโดยปราศจากกำลังของไฮดรอลิกจะใช้ระบบควบคุมด้วยมือ ในโหมดนี้เอ-10 จะสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาพที่เหมาะสมเพื่อบินกลับฐานและลงจอดถึงแม้ว่าพลังในการควบคุมจะต้องใช้มากกว่าปกติก็ตาม เครื่องบินถูกออกแบบให้บินได้ด้วยเครื่องยนต์เดียว หางเดียว และปีกที่เหลือครึ่งเดียวได้[14] ถังเชื้อเพลิงที่ผนึกตัวถูกป้องกันโดยโฟมที่ลดการจุดติดไฟ นอกจากนี้ล้อลงจอดหลักยังถูกออกแบบให้ลงจอดได้ถึงแม้ว่ามันจะกางออกมาได้เพียงครึ่งเดียวซึ่งทำให้มันต้องลงจอดด้วยท้องหรือแบบที่ไม่กางล้อนั่นเอง แต่ระบบของมันทำให้การลงจอดแบบดังกล่าวทำความเสียหายต่อส่วนท้องเครื่องบินให้น้อยที่สุด พวกมันยังมีบานพับที่ด้านหลังของเครื่องบินเผื่อหากว่ากำลังของไฮดรอลิกเสียหายนักบินจะได้ปล่อยล้อออกและผสมผสานแรงดึงดูดเข้ากับแรงต้านลมเพื่อเปิดล้อและล็อกมันให้เข้าตำแหน่ง

ห้องนักบินและส่วนของระบบควบคุมการบินถูกป้องกันโดยเกราะไทเทเนียมน้ำหนัก 408 กิโลกรัม มันถูกเรียกว่า"ถังไทเทเนียม[15] ถังแบบนี้ถูกทดสอบให้ทนทานต่อการโจมตีจากปืนใหญ่ขนาด 23 ม.ม.และกระสุนขนาด 57 ม.ม.ได้[15] มันทำมาจากแผ่นไทเทเนียมที่มีความหนาตั้งแต่ครึ่งนิ้วจนถึงหนึ่งนิ้วครึ่ง การป้องกันนี้ต้องแลกด้วยบางอย่าง ตัวเกราะเองนั้นมีน้ำหนักถึง 6% ของเครื่องบินทั้งลำ เพื่อป้องกันนักบินจากสะเก็ดระเบิดจากการปะทะของกระสุนที่กระทบเข้ากับส่วนเกราะ นักบินจึงถูกล้อมด้วยเกราะเคฟลาร์ กระจกครอบประกอบด้วยอาร์คริลิกแบบกันกระสุนที่สามารถทนทานต่ออาวุธขนาดเบาและป้องกันสะเก็ดระเบิด

การพิสูจน์ล่าสุดถึงความทนทานของเอ-10 นั้นเกิดขึ้นเมื่อร้อยเอกคิม แคมพ์เบลล์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ ทำการบินสนับสนุนภาคพื้นดินเหนือแบกแดดในช่วงบุกอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546 เครื่องบินของเธอได้รับความเสียหายจากปืนต่อต้านอากาศยาน การยิงของข้าศึกสร้างความเสียหายให้กับเครื่องยนต์เครื่องหนึ่งและทำให้ระบบไฮดรอลิกหยุดทำงาน บังคับให้ระบบกลไกสำรองทำหน้าที่ควบคุมความเสถียรของเครื่องบินและควบคุมการบิน ถึงกระนั้นแคมพ์เบลล์ก็สามารถบินได้อยู่หนึ่งชั่วโมงและลงจอดอย่างปลอดภัย

ขุมกำลัง

มีเหตุผลมากมายสำหรับตำแหน่งที่ไม่ปกติของเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนรุ่นทีเอฟ34-จีอี-100 ของเอ-10 ในตอนแรกนั้นเอ-10 ถูกคาดว่าจะบินออกจากฐานบินในแนวหน้าซึ่งมักจะเป็นทางวิ่งที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการที่มีสิ่งของเข้าไปทำลายเครื่องยนต์ ตำแหน่งที่สูงของเครื่องยนต์ลดโอกาสการที่ทรายหรือหินเข้าไปในเครื่องยนต์ มันยังทำให้เครื่องยนต์ทำงานตลอดทำให้ใช้เวลาในการซ่อมแซมหรือเติมกระสุนรวดเร็วขึ้น การบำรุงรักษาและการเติมกระสุนง่ายขึ้นด้วยปีกที่ต่ำซึ่งเป็นเพราะไม่มีเครื่องยนต์อยู่บนปีก ตำแหน่งดังกล่าวยังลดสัญญาณอินฟราเรด เพราะตำแหน่งที่สูงเครื่องยนต์จึงทำมุมได้ 90 องศาสร้างความสมดุลกับศูนย์กลางของอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบิน เครื่องยนต์ขนาดหนักต้องการยึดที่มากดังนั้นพวกมันจึงมีสลักสี่ตัวยึดเอาไว้กับโครงส้ราง[16]

ถังเชื้อเพลิงทั้งสี่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของเครื่องบินเพื่อลดความเป็นไปได้ที่มันจะถูกยิงหรือแยกออกจากเครื่องยนต์ ถังถูกป้องกันโดยเครื่องมือมากมาย ถังแยกออกจากลำตัวเครื่องบิน ดังนั้นกระสุนจะต้องเจาะทะลุผิวก่อนที่จะเข้าถึงถัง ระบบเติมเชื้อเพลิงถูกกำจัดหลังจากไม่มีเชื้อเพลิงส่วนใดที่ไม่ได้รับการปกป้อง ส่วนประกอบของระบบเชื้อเพลิงถังหมดอยู่ในถังดังนั้นหากน้ำมันรั่วมันก็จะไม่ไปไหน หากถังได้รับความเสียหายระบบวาล์วก็จะทำให้มั่นใจว่าเชื้อเพลิงจะไม่ไหลเข้าไปในส่วนบอบบาง ที่สำคัญไปกว่านั้นจะมีตาข่ายโฟมพิเศษอยู่ถังด้านในและด้านนอกของถังเพื่อกันเศษซากหล่นหากได้รับความเสียหาย ส่วนเครื่องยนต์ที่อาจติดไฟได้นั้นถูกป้องกันโดยระบบเชื้อเพลิงและส่วนที่เหลือก็จะติดตั้งด้วยอุปกรณ์ดับไฟและกันไฟ

ระบบอาวุธ

ปืนจีเอยู-8 อเวนเจอร์ของเอ-10

ถึงแม้ว่าเอ-10 จะสามารถบรรทุกอาวุธแบบใช้แล้วทิ้งไป แต่อาวุธหลักของมันก็คือปืนแกทลิ่งจีเอยู-8 อเวนเจอร์ขนาด 30 ม.ม. หนึ่งในปืนใหญ่อากาศยานที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา มันกระสุนเจาะเกราะแบบไร้ยูเรเนียม ในการออกแบบเบื้องต้นนักบินสามารถสับเปลี่ยนอัตราการยิงระหว่าง 2,100 หรือ 4,200 นัดต่อนาที[17] ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนเป็นอัตราการยิงตายตัวที่ 3,900 นัดต่อนาที[18] ปืนใหญ่ยังเร็วขึ้นดังนั้น 50 นัดแรกจึงยิงออกไปในวินาที นัดที่ 65 หรือ 70 จะเร็วขึ้นหลังจากนั้น ปืนมีความแม่นยำที่ลอดคล้องกัน มันสามารถยิงได้แม่นยำถึง 80% ภายในระยะ 12.4 เมตรขณะบิน[19] จีเอยู-8 ถูกใช้ในแนวเอียงในระยะ 1,220 เมตรโดยทำมุม 90 องศา[20]

อีกมุมมองหนึ่งของจีเอยู-8 ที่ติดตั้งบนเอ-10

ลำตัวของเครื่องบินถูกสร้างขึ้นรอบๆ ปืน[21] ตัวอย่างเช่น ล้อส่วนหน้าที่เยื้องไปทางขวาซึ่งทำให้ลำกล้องของปืนที่ยิงในตำแหน่ง 9 นาฬิกาเป็นแนวเดียวกับตัวเครื่องบิน มันสามารถจุกระสุนขนาด 30 ม.ม.ได้ 1,175 นัด[20] เอ-10 รุ่นแรกบรรทุกกระสุน 1,350 นัดแต่ถูกแทนที่เนื่องจากแบบขดนั้นเสียหายง่ายในตอนบรรจุกระสุน กระสุนแบบกลมที่มีจำนวน 1,174 นัดจึงถูกนำมาใช้แทน การเสียหายจะเกิดขึ้นโดยบางส่วนของกระสุนที่ยิงก่อนกำหนดเนื่องจากการปะทะของกระสุนระเบิดจะสร้างความหายนะ ด้วยเหตุผลนี้เองความเหมาะสมจึงตกมาที่แพ็กกระสุนแบบกลมแทน มีแผ่นมากมายที่แตกต่างกันในความหนาระหว่างส่วนกลมและผิว แผ่นเหล่านี้ถูกเรียกว่าแผ่นจุดชนวนเพราะว่าเมื่อกระสุนระเบิดเข้าชนเป้าหมายมันก็จะเจาะทะลุเกราะก่อนที่จะจุดชนวนระเบิด ตามที่แบบกลมมีชั้นมากมายการจุดระเบิดของกระสุนจึงถูกจุดชนวนก่อนที่มันจะถึงส่วนกลม ชั้นสุดท้ายของเกราะรอบๆ ส่วนกลมก็คือการป้องกันมันจากสะเก็ดระเบิด

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 พร้อมอาวุธเต็มที่

อาวุธอีกอย่างของมันก็คือขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกด้วยแบบที่แตกต่างกันไปทั้งนำวิถีด้วยโทรทัศน์หรืออินฟราเรด มาเวอร์ริกสามารถเข้าปะทะเป้าหมายได้ในระยะที่ไกลกว่าปืนใหญ่ได้มากทำเครื่องบินอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากระบบต่อต้านอากาศยานสมัยใหม่ ในพายุทะเลทรายกล้องอินฟราเรดของมาเวอร์ริกถูกใช้ในภารกิจกลางคืน อาวุธอื่นๆ ก็รวมทั้งคลัสเตอร์บอมบ์และจรวดไฮดรา แม้ว่าเอ-10 จะบรรทุกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ พวกมันก็ใช้งานในแบบที่ไม่ปกติ ในระดับความสูงต่ำและความเร็วปกติของเอ-10 ระเบิดแบบธรรมดาก็มีความแม่นยำเพียงพอแล้ว ในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามอาวุธนำวิถีจะเพิ่มข้อได้เปรียบเพียงเล็กน้อย ด้วยการที่บางครั้งก็แทบไม่มีเวลาสำหรับการหาวิถี เอ-10 มักบินพร้อมกับกระเปาะอีซีเอ็มรุ่นเอแอลคิว-131 ที่อยู่ใต้บินข้างใดข้างหนึ่งและขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์สองลูกที่ใต้ปีกอีกข้างหนึ่งสำหรับป้องกันตัวเอง

การพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น

โครงการปรับแต่งของเอ-10 มีมูลค่า 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเอ-10 จำนวน 356 ลำจะได้รับคอมพิวเตอร์การบินแบบใหม่ ฝาครอบแบบใหม่ จอสีแสดงผลขนาด 5.5 นิ้วแบบใหม่พร้อมแผนที่เคลื่อนที่[22]

ทุนอื่นๆ เข้าการพัฒนากองบินเอ-10 ที่รวมทั้งการเชื่อมข้อมูลแบบใหม่ ความสามารถในการใช้อาวุธอัฉริยะอย่างเจแดมและความสามารถในการบรรทุกกระเปาะล็อกเป้าอย่างไลท์เทนนิ่งของนอร์ทธรอป กรัมแมนหรือเอทีพีของล็อกฮีด มาร์ติน นอกจากนั้นยังมีระบบสำหรับส่งข้อมูลเซ็นเซอร์ให้กับคนที่อยู่บนพื่นอีกด้วย[12]

การพัฒนาด้านโครงสร้างจะเป็นการเปลี่ยนปีกใหม่ทั้งหมดให้กับเอ-10 จำนวน 242 ลำซึ่งเดิมทีเป็นปีกแบบบาง[12] มีการให้ทุนระยะยาวเพื่อพัฒนาแรงขับของเครื่องยนต์ให้มากขึ้น

ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.ทางสำนักงานบัญชีของรัฐบาลได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการพัฒนา บำรุงรักษา และแผนในการยืดอายุการใช้งานของเอ-10 สูงขึ้นถึง 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ [23]

ประวัติการใช้งาน

หน่วยแรกที่ได้รับเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 คือฝูงบินที่ 355 ที่ประจำการอยู่ที่ฐานทัพอากาศเดวิส-มอนแธนในแอริโซนาเมื่อเดือนมีนาคมพ.ศ. 2519 หน่วยแรกที่ใช้มันเข้าทำการต่อสู้คือฝูงบินที่ 354 ที่ฐานทัพอากาศไมเทิล บีชในเซาท์แคลิฟอร์เนียเมื่อพ.ศ. 2521

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 กำลังยิงเอจีเอ็ม-65

ในตอนแรกนั้นเอ-10 ถูกต้อนรับไม่ค่อยดีนักจากมุมมองของคนใหญ่คนโตในกองทัพอากาศ เมื่อผู้นำอาวุโสของกองทัพอากาศส่วนมากเพิ่มขึ้นมาจากสังคมของนักบินขับไล่ กองทัพอากาศชอบเครื่องเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนมากกว่าและดื้อดึงที่จะทิ้งงานสกปรกในการเข้าสนับสนุนระยะใกล้ให้กับเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก (การสร้างขีปนาวุธต่อต้านยานเกราะเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบเอเอช-64 อาพาชี่ทำให้กองทัพอากาศมีอากาศยานต่อต้านรถถัง) การพยายามย้ายเอ-10 เข้ากองทัพบกและนาวิกโยธินถูกห้ามในตอนแรกและจากนั้นมันก็ถูกยอมรับด้วยความน่าประทับใจของมันในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534

เอ-10 ได้แสดงการรบครั้งแรกในสงครามอ่าวเมื่อพ.ศ. 2534 มันได้ทำลายรถถังอิรักมากกว่า 900 คัน พาหนะทางทหาร 2,000 คัน และปืนใหญ่ 1,200 แห่ง เอ-10 ได้ยิงเฮลิคอปเตอร์ของอิรักสองลำตกด้วยปืนจีเอยู-8 อเวนเจอร์[7] หนึ่งในนั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่อร้อยเอกโรเบิร์ต สเวนยิงเฮลิคอปเตอร์หนึ่งลำของอิรักตกเหนือคูเวต[24] เอ-10 สี่ลำถูกยิงตกในสงครามซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเพราะขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ[25] เอ-10 มีภารกิจ 95.7% บินอีก 8,100 เที่ยว และยิงขีปนาวุธเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกไป 90%[26] ไม่นานหลังจากสงครามอ่าวกองทัพอากาศได้ล้มเลิกความคิดที่จะแทนที่เอ-10 ด้วยเอฟ-16 รุ่นใหม่[27]

ในปีพ.ศ. 2533 เอ-10 หลายลำถูกเปลี่ยนให้ทำหน้าที่ควบคุมแนวหน้าทางอากาศและได้รับชื่อใหม่ว่าโอเอ-10 ในบทบาทนี้เอ-10 มักจะติดตั้งจรวดไฮดราขนาด 70 ม.ม. 6 ตำแหน่งซึ่งมักเป็นหัวรบควันหรือฟอสฟอรัสขาวเพื่อทำตำแหน่งของเป้าหมาย โอเอ-10 ยังคงอยู่ในประจำการถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อไปก็ตาม

เอ-10เอของกองทัพอากาศในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

เอ-10 ได้เข้าประจำการอีกครั้งในพ.ศ. 2542 ในสงครามโคโซโว ในสงครามอัฟกานิสถาน ในปฏิบัติการอานาคอนดาในอัฟกานิสถานเมื่อเดือนมีนาคมพ.ศ. 2545 และในสงครามอิรักปีพ.ศ. 2546 ในอัฟกานิสถานเอ-10 ตั้งฐานอบู่ที่บาแกรม


ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2546 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่วนกลางได้ประกาศอย่างเปิดเผยถึงภารกิจทางอากาศในสงคราม มีเอ-10 จำนวนหกสิบลำถูกใช้ในอิรัก มีหนึ่งลำถูกยิงตกใกล้กับสนามบินนานาชาติของแบกแดด ในเอ-10 ทั้งหมดที่ถูกวางพลมี 47 ลำเป็นเครื่องบินของกองกำลังป้องกันชาติและ 12 ลำมาจากกองกำลังสำรองของกองทัพอากาศ เอ-10 ทำภารกิจ 80% ของสงครามและยิงกระสุนขนาด 30 ม.ม.ไป 311,597 นัด เอ-10 ยังได้ทำภารกิจอีก 32 ภารกิจซึ่งได้ทิ้งใบปลิวประชาสัมพันธ์เหนืออิรัก[28]

เอ-10 ลำใหม่มาถึงที่ฐานทัพอากาศเดวิส-มอนแธนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

เอ-10 ถูกวางกำลังครั้งแรกในอิรักในไตรมาสที่สามของปีพ.ศ. 2550 พร้อมกับฝูงบินที่ 104 จากกองกำลังรักษาดินแดนของแมรี่แลนด์ เครื่องเจ็ทยังรวมทั้งการพัฒนาแบบใหม่มาด้วย[29] ระบบดิจิตอลและการสื่อสารของเอ-10 ได้ลดเวลาในการเข้าโจมตีเป้าหมายลงไปมาก[30]

เอ-10 ถูกกำหนดให้อยู่ในประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ จนกระทั่งปี 2571 และอาจต่อจากนั้น[31] เมื่อมันอาจถูกแทนที่โดยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 1[10] เอ-10 ทั้งกองบินในปัจจุบันยังคงอยู่ภายใต้การพัฒนา เอ-10 อาจอยู่ในกระจำการนานขึ้นเนื่องมาจากมันมีราคาถูกและความสามารถที่ไม่เหมือนใคร อย่างปืนใหญ่ของมัน ความทนทาน และความสามารถในการบินเป็นเวลานาน

แบบต่างๆ

วายเอ-10เอ
รุ่นต้นแบบสองลำแรก
เอ-10เอ
แบบที่นั่งเดียวสำหรับการสนับสนุนทางอากาศและโจมตีภาคพื้นดิน
เอ-10เอ+ (พลัส)
แบบที่นั่งเดียวสำหรับการสนับสนุนทางอากาศและโจมตีภาคพื้นดิน รวมทั้งการพัฒนาทั้งหมด
โอเอ-10เอ
แบบที่นั่งเดียวสำหรับการควบคุมทางอากาศในแนวหน้า
วายเอ-10บี ไนท์/แอดเวิร์ส เวทเธอร์
แบบสองที่นั่งที่เป็นรุ่นทดลองสำหรับการทำงานตอนกลางคืนและสภาพอากาศที่เลวร้าย ต่อมามันมีชื่อใหม่ว่าวายเอ-10บี มีแบบนี้เพียงหนึ่งลำเท่านั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาซึ่งปัจจุบันถูกนำไปแสดงเพียงอย่างเดียว
เอ-10ซี
เอ-10 ที่ได้เข้าโครงการพัฒนาด้านอาวุธโดยมีฝาครอบแบบใหม่ การเชื่อมข้อมูล และอาวุธหลากสภาพอากาศและความสามารถในการใช้เลเซอร์ล็อกเป้า[23]


รายละเอียด เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2

ปืนใหญ่อากาศ จีเอยู่-8/เอ ขนาด 30 มม.ที่บริเวณส่วนหัว
  • ผู้สร้าง:บริษัทแฟร์ไชลด์ รีพับลิก (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท:เจ๊ตโจมตีสนับสนุนหน่วยทหารภาคพื้นดิน
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบแฟน เยเนอรัล อีเล็คตริค ทีเอฟ-34 ยีอี-100 ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 4,112 กิโลกรัม 2 เครื่อง
  • กางปีก:17.53 เมตร
  • ยาว:16.25 เมตร
  • สูง:4.47 เมตร
  • พื้นที่ปีก:47.01 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 9,176 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 21,148 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง: ไม่เกิน 834 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วในการรบ 721 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 3,050 เมตร และ 697 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับน้ำทะเล
  • อัตราเร็วเดินทาง 555 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราไต่สูงสุด 1,826 เมตร/นาที
  • รัศมีทำการรบ: 463 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกลูกระเบิดหนัก 4,327 กิโลกรัม
  • พิสัยบินไกลสุด: 4,647 กิโลเมตร
  • อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เยเนลรัล อีเล็กตริค จีเอยู-8 อเวนเจอร์ ขนาด 30 มม ชนิดลำกล้องหมุนได้ 7 ลำกล้อง อัตรายิงเร็ว 4,200 นัด/นาที 1 กระบอก ที่ใต้ลำตัวส่วนหัว พร้อมกระสุน 1,350 นัด
    • สามารถติดตั้งอาวุธใต้ลำตัว 3 ตำแหน่งและ ใต้ปีกข้างละ 4 ตำแหน่ง รวม 11 ตำแหน่ง
    • รวมคิดเป็นน้ำหนักกว่า 7,257 กิโลกร้ม

[3]

อ้างอิง

  1. A-10 history, GlobalSecurity.org
  2. Operation Desert Storm: Evaluation of the Air Campaign, GAO/NSIAD-97-134 Appendix IV, U.S. General Accounting Office, 12 June 1997.
  3. 3.0 3.1 อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
  4. Jenkins 1998, pp. 4, backcover.
  5. Jenkins 1998.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Coram 2004.
  7. 7.0 7.1 A-10/OA-10 Thunderbolt II History
  8. Republic Night/Adverse Weather A-10, USAF National Museum
  9. Photos an information on N/AW A-10B
  10. 10.0 10.1 10.2 Making the Best of the Fighter Force, Air Force magazine, March 2007.
  11. "Boeing Awarded $2 Billion A-10 Wing Contract", Boeing, 29 June 2007.
  12. 12.0 12.1 12.2 Schanz, Marc V. "Not Fade Away". Air Force Magazine, June 2008.
  13. Drendel 1981, p. 12.
  14. Henderson, Breck W. "เอ-10 'วอร์ธอง' เสียหายอย่างหนักในสงครามอ่าวแต่ก็รอดอีกครั้งหนึ่ง" Aviation Week and Space Technology, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2534
  15. 15.0 15.1 Jenkins 1998, pp. 47, 49.
  16. Bell, Dana (1986). A-10 Warthog in Detail & Scale. Blue Ridge Summit, Pennsylvania: TAB Books. p. 64. ISBN 0816850305.
  17. Stephens, Rick (1995). A-10 Thunderbolt II. World Air Power Journal. p. 18. ISBN 1874023549.
  18. TCTO 1A-10-1089, Flight manual TO 1A-10A-1 (20 February 2003, Change 8), page vi, 1-150A.
  19. Sweetman, Bill (1987). The Great Book of Modern Warplanes. New York City: Portland House. p. 46. ISBN 0517633671.
  20. 20.0 20.1 Jenkins 1998, pp. 64–73.
  21. The A-10, Plane-Crazy.net
  22. GAO-07-415 Tactical Aircraft, DOD Needs a Joint and Integrated Investment Strategy, US Government Accountability Office, April 2007. text version
  23. 23.0 23.1 A Higher-Tech Hog: The A-10C PE Program, Defense Industry Daily, 30 มิถุนายน 2551
  24. "Total Storm", Air Force magazine, June 1992.
  25. Fixed-wing Combat Aircraft attrition in Desert Storm
  26. A-10/OA-10 fact sheet, USAF
  27. A-16 Close Air Support
  28. Iraq, GlobalSecurity.org
  29. "Upgraded A-10s prove worth in Iraq", U.S. Air Force, 7 November 2007.
  30. Doscher, Staff Sgt. Thomas J. "A-10C revolutionizes close air support", กองทัพอากาศสหรัฐฯ, 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  31. "กองทัพอากาศสหรัฐฯ อาจยืดอายุการใช้งานเอ-10 ของแฟร์ไชลด์นานถึงปีพ.ศ. 2571", Flight International, 29 สิงหาคม 2550

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA