ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศีลอด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
[[หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม]]
{{โครงศาสนา}}
{{โครงศาสนา}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:15, 6 ตุลาคม 2556

ศีลอด หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และการเสพกาม ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน มุสลิมในภาคใต้ของไทยเรียกการถือศีลอดว่า ปอซอ (ภาษามลายูปัตตานี)

ประเภทของศีลอด

การถือศีลอดมีหลายประเภทเช่น

  1. ศีลอดภาคบังคับ ที่ชายหญิงมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะต้องปฏิบัติในเดือนรอมะฎอนทุกปี
  2. ศีลอดภาคสมัครใจ ที่ชายหญิงมุสลิมถือศีลอดในวันอื่น ๆ นอกเดือนรอมะฎอน

มุสลิมที่ต้องถือศีลอดเดือนรอมะฎอน

  1. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ หรือที่เรียกว่า บรรลุศาสนภาวะ ด้วยเหตุนี้ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (เด็กต้องมีอายุ 15 ปีจันทรคติบริบูรณ์หรือมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่นฝันเปียกหรือมีประจำเดือน)
  2. มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม
  3. ไม่เมาหรือหมดสติ
  4. ไม่เจ็บป่วย เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย
  5. ไม่มีประจำเดือนหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร

สาเหตุทำให้ศีลอดเสีย

หมายถึง ผู้ถือศีลอดคนใดคนหนึ่งได้กระทำในสิ่งดังต่อไปนี้ถือว่า ศีลอดของเขาเสียทันที่ และจะต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลังจากเดือนร่อมะฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่ทำให้ศีลอดเสียมีดังต่อไปนี้

  1. ตั้งใจกิน ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
  2. ตั้งใจดื่ม ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
  3. ร่วมประเวณี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
  4. ตั้งใจให้ฝุ่นละออง หรือควัน หรือไอน้ำที่มีจำนวนมากเข้าไปในลำคอ
  5. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง
  6. การสวนทวารด้วยของเหลวทุกชนิด
  7. การตั้งใจอาเจียน

แหล่งข้อมูลอื่น