ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาโนรีเทวรูป"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
| ordo = [[Perciformes]]
| ordo = [[Perciformes]]
| subordo = [[Acanthuroidei]]
| subordo = [[Acanthuroidei]]
| familia = '''[[Zanclidae]]'''
| familia = '''Zanclidae'''
| familia_authority =
| familia_authority =
| genus = '''''[[Zanclus]]'''''
| genus = '''''Zanclus'''''
| genus_authority = Cuvier, [[ค.ศ. 1831|1831]]
| genus_authority = Cuvier, [[ค.ศ. 1831|1831]]
| species = '''''Z. cornutus'''''
| species = '''''Z. cornutus'''''
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[วงศ์ปลาผีเสื้อ]]
* [[วงศ์ปลาผีเสื้อ]]
* [[สกุลปลาโนรี]]
* [[ปลาโนรี]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Zanclus cornutus}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Zanclus cornutus|''Zanclus cornutus''}}
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.fishbase.org/Summary/speciesSummary.php?id=5950&lang=thai รูปและข้อมูลจาก Fishbase.org]
* [http://www.fishbase.org/Summary/speciesSummary.php?id=5950&lang=thai รูปและข้อมูลจาก Fishbase.org]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:13, 2 ตุลาคม 2556

ปลาโนรีเทวรูป
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Acanthuroidei
วงศ์: Zanclidae
สกุล: Zanclus
Cuvier, 1831
สปีชีส์: Z.  cornutus
ชื่อทวินาม
Zanclus cornutus
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง
  • Chaetodon canescens Linnaeus, 1758
  • Zanclus canescens (Linnaeus, 1758)

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (อังกฤษ: Moonrish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus[1]

ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะปลาในสกุลปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า[2][3]

มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) และปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) มาก แต่มีลำตัวทางด้านท้ายเป็นสีเหลืองนวล จะงอยปากแหลมยาวกว่า ครีบหางมีสีดำ และสีครีบหางจะคล้ำและมีรอยคล้ายเขม่าที่บริเวณครีบหลัง ลักษณะเกล็ดแลดูเรียบเป็นมันเงา

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามัน ในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกา หากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยกินฟองน้ำเป็นอาหารหลัก และสัตว์น้ำทั่วไปขนาดเล็ก [3]

ปลาวัยอ่อนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ลำตัวโปร่งใส ใช้ชีวิตคล้ายกับแพลงก์ตอนคือ จะถูกกระแสน้ำพัดพาลอยไปไกลจากถิ่นกำเนิด จึงทำให้การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง[2]

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อหรือปลาโนรี และสามารถเลี้ยงรวมกันได้ ซึ่งในวัฒนธรรมร่วมสมัย ปลาโนรีเทวรูปได้ถูกสร้างเป็นตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของวอลต์ ดีสนีย์ ออกฉายในปี ค.ศ. 2003 โดยเป็นหัวหน้าฝูงปลาชื่อ กิลด์ (ให้เสียงพากย์โดย วิลเลม ดาโฟ) ในตู้กระจกภายในคลินิกทันตแพทย์[4]

ปลาโนรีเทวรูป ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ "ปลาผีเสื้อหนัง" หรือ "ปลาโนรีหนัง"

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น