ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลกลางสหรัฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


===รองประธานาธิบดี===
===รองประธานาธิบดี===
{{main|รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา}}
[[File:US Vice President Seal.svg|thumb|right]]
[[File:US Vice President Seal.svg|thumb|right]]


'''รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา''' ({{lang-en|Vice President of the United States of America}}) ตามตำแหน่งถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับที่สองของฝ่ายบริหารและรัฐบาล เป็นบุคคลแรกที่จะสืบตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหากประธานาธิบดีในตำแหน่งถึงแก่อสัญกรรม ลาออก หรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์นี้จำนวน 9 ครั้งในประวัติศาสตร์ รองประธานาธิบดียังมีตำแหน่งเป็น'''ประธานวุฒิสภา''' ({{lang-en|President of the Senate}}) ตามรัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นผู้นำในวุฒิสภา กระนั้นก็ตามรองประธานาธิบดีจะสามารถลงมติในวุฒิสภาได้ก็ต่อเมื่อมีการลงมติเท่ากันทั้งสองฝั่ง (เพื่อเป็นเสียงชี้ขาด) ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 ของสหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดีจะต้องเป็นประธานการประชุมสภาคองเกรสเมื่อเกี่ยวข้องกับการนับผลโหวตเลือกประธานาธิดี ตามรัฐธรรมนูญระบุถึงหน้าที่โดยตรงของรองประธานาธิบดีว่านอกเหนือจากจะเป็นผู้สืบตำแหน่งแล้ว ให้มีหน้าที่เป็นประธานวุฒิสภา จึงมักมีข้อถกเถียงของนักวิชาการว่ารองประธานาธิบดีนั้นควรจะอยู่ในฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือทั้งสอง<ref name=Goldstein>{{cite journal|last=Goldstein|first=Joel K.|title=The New Constitutional Vice Presidency|journal=Wake Forest Law Review|volume=30|issue=505|publisher=Wake Forest Law Review Association, Inc.|url=|location=Winston Salem, NC|year=1995}}</ref><ref>{{cite journal|last=Reynolds|first=Glenn Harlan|title=Is Dick Cheney Unconstitutional?|journal=Northwestern University Law Review Colloquy|volume=102|issue=110|publisher=Northwestern University School of Law|url=|location=Chicago|year=2007}}</ref>
'''รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา''' ({{lang-en|Vice President of the United States of America}}) ตามตำแหน่งถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับที่สองของฝ่ายบริหารและรัฐบาล เป็นบุคคลแรกที่จะสืบตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหากประธานาธิบดีในตำแหน่งถึงแก่อสัญกรรม ลาออก หรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์นี้จำนวน 9 ครั้งในประวัติศาสตร์ รองประธานาธิบดียังมีตำแหน่งเป็น'''ประธานวุฒิสภา''' ({{lang-en|President of the Senate}}) ตามรัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นผู้นำในวุฒิสภา กระนั้นก็ตามรองประธานาธิบดีจะสามารถลงมติในวุฒิสภาได้ก็ต่อเมื่อมีการลงมติเท่ากันทั้งสองฝั่ง (เพื่อเป็นเสียงชี้ขาด) ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 ของสหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดีจะต้องเป็นประธานการประชุมสภาคองเกรสเมื่อเกี่ยวข้องกับการนับผลโหวตเลือกประธานาธิดี ตามรัฐธรรมนูญระบุถึงหน้าที่โดยตรงของรองประธานาธิบดีว่านอกเหนือจากจะเป็นผู้สืบตำแหน่งแล้ว ให้มีหน้าที่เป็นประธานวุฒิสภา จึงมักมีข้อถกเถียงของนักวิชาการว่ารองประธานาธิบดีนั้นควรจะอยู่ในฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือทั้งสอง<ref name=Goldstein>{{cite journal|last=Goldstein|first=Joel K.|title=The New Constitutional Vice Presidency|journal=Wake Forest Law Review|volume=30|issue=505|publisher=Wake Forest Law Review Association, Inc.|url=|location=Winston Salem, NC|year=1995}}</ref><ref>{{cite journal|last=Reynolds|first=Glenn Harlan|title=Is Dick Cheney Unconstitutional?|journal=Northwestern University Law Review Colloquy|volume=102|issue=110|publisher=Northwestern University School of Law|url=|location=Chicago|year=2007}}</ref>

===คณะรัฐมนตรี กระทรวง และหน่วยงานของรัฐ===


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:23, 2 ตุลาคม 2556


รัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: the Government of the United States of America) เป็นรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐซึ่งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญผูกพันต่อมลรัฐทั้ง 50 แห่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงเขตการปกครองพิเศษ วอชิงตัน ดีซี และอาณาเขตอื่นๆอีกหลายแห่ง รัฐบาลกลางประกอบไปด้วยอำนาจ 3 ฝ่าย ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจในแต่ละฝ่ายได้แก่ สภาคองเกรส ประธานาธิบดี และศาลสูงสุดรวมถึงศาลฎีกาตามลำดับ อำนาจและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายนั้นได้ระบุไว้ในกฎหมายคองเกรส

ชื่อเต็มอย่างเป็นทางการของประเทศคือ "สหรัฐอเมริกา" (อังกฤษ: The United States of America) ซึ่งจะใช้ระบุในรัฐธรรมนูญ เอกสารราชการ ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และสนธิสัญญาต่างๆ คำว่า "รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา" (อังกฤษ: Government of the United States of America) หรือ "รัฐบาลสหรัฐอเมริกา" (อังกฤษ: United States Government) จะใช้ในเอกสารราชการที่จะระบุถึงที่มาคือรัฐบาลแห่งสหพันธ์ เพื่อแยกออกจากรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ ในภาษาเขียนหรือภาษาพูดอย่างลำลอง มักจะแทนด้วยคำว่า "รัฐบาลแห่งสหพันธ์" (อังกฤษ: Federal Government) หรือ "รัฐบาลแห่งชาติ" (อังกฤษ: National Government) ก็สามารถพบเห็นได้ โดยหน่วยงานสังกัดรัฐบาลกลางนั้นมักจะระบุคำว่า "Federal" หรือ "National" ขึ้นอยู่หน้าหน่วยงานนั้นๆ อาทิเช่น หน่วยงานสอบสวนกลาง หรือ Federal Bureau of Investigation (FBI) ที่ตั้งของรัฐบาลกลางอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยมักจะเรียกอย่างลำลองว่า "วอชิงตัน" เพื่อกล่าวถึงรัฐบาลกลาง

ฝ่ายนิติบัญญัติ

สภาคองเกรส คือชื่อเรียกของสภานิติบัญญัติในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

บทบาท

รัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงอำนาจของสภาคองเกรสไว้หลายประการด้วยกัน ในมาตรา 1 ตอนที่ 8 ซึ่งกล่าวถึงอำนาจในการตั้งภาษีและจัดเก็บภาษีต่างๆ, ผลิตธนบัตรและควบคุมมูลค่าเงิน, ระบุอัตราโทษสำหรับการปลอมแปลง, กำกับกิจการไปรษณีย์และคมนาคม, สนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ผ่านทางสิทธิบัตร, ก่อตั้งศาลแห่งสหพันธ์ซึ่งอยู่ภายใต้ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกา, ต่อต้านการคุกคาม, ประกาศสงคราม, ก่อตั้งและช่วยเหลือกองทัพ, กำกับดูแลกิจการรวมทั้งวินัยของกองทัพและผู้บังคับใช้กฎหมาย, ตรากฎหมายเพื่อใช้บริหารประเทศ ซึ่งตั้งแต่สองร้อยปีตั้งแต่มีการก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น ได้มีกรณีพิพาทถึงของเขตของอำนาจของรัฐบาลกลาง ซึ่งข้อพิพาทนั้นจะถูกตัดสินโดยศาลฎีกา

องค์ประกอบ

สภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎร (อังกฤษ: the House of Representatives) ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงจำนวน 435 คน ซึ่งแต่ละคนมาจากการเลือกตั้งซึ่งแบ่งสัดส่วนตามจำนวนประชากรสำรวจล่าสุดก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งแต่ละสมาชิกจะเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้ง (Congressional district) สมาชิกทั้งหมดมีวาระ 2 ปี ซึ่งในแต่ละมลรัฐจะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย 1 คน ซึ่งผู้มีสิทธิสมัครเป็นเป็นส.ส.นั้นจะต้องมีอายุอย่างน้อย 25 ปีบริบูรณ์ และจะต้องถือสัญชาติอเมริกันมาอย่างน้อย 7 ปี โดยหลังจากหมดวาระแล้วสามารถลงสมัครใหม่ได้โดยไม่จำกัดครั้ง นอกเหนือจากสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 435 คนแล้ว ยังมีสมาชิกอีก 6 คนที่ไม่มีสิทธิออกเสียง ประกอบด้วยผู้แทนจำนวน 5 คน (จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี., กวม, หมู่เกาะเวอร์จิน, อเมริกันซามัว และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) และข้าหลวงใหญ่ (Resident commissioner) จำนวน 1 คน สำหรับเปอร์โตริโก[1]

วุฒิสภา

วุฒิสภา (อังกฤษ: Senate) ประกอบไปด้วยวุฒิสมาชิกจำนวน 2 คนจากแต่ละมลรัฐ โดยไม่นับจากสัดส่วนประชากร ในปัจจุบันประกอบด้วยวุฒิสมาชิกจำนวน 100 คน (จากทั้งหมด 50 มลรัฐ) โดยมีวาระ 6 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาราวๆหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมดทุกๆสองปี

การแบ่งแยกอำนาจ

ทั้งสองสภานั้นจะมีอำนาจแยกจากกัน ตัวอย่างเช่น วุฒิสภาจะต้องอนุมัติเห็นชอบ (ให้คำแนะนำและยินยอม) ต่อการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงโดยประธานาธิบดี เช่น คณะรัฐมนตรี ผู้พิพากษาศาลกลาง (รวมถึงตัวแทนศาลฎีกา) ผู้บัญชาการกองทัพ และเอกอัครข้าราชทูตประจำประเทศต่างๆ ส่วนการร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับรายได้นั้นจะต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร โดยจะต้องได้รับการรับรองจากทั้งสองสภาในการผ่านร่างกฎหมายก่อนที่จะลงนามโดยประธานาธิบดีเพื่อเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ (หรือ ถ้าหากประธานาธิบดีใช้อำนาจไม่รับรองร่างกฎหมายใดๆ ให้กลับไปที่สภาคองเกรสเพื่อลงมติมากกว่าสองในสามของแต่ละสภา ซึ่งในกรณีนี้จะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการลงนามโดยประธานาธิบดี) อำนาจของสภาคองเกรสนั้นถูกจำกัดและแจกแจงไว้ตามรัฐธรรมนูญ อำนาจอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้ให้ตกเป็นของมลรัฐและประชาชน โดยมาตราที่ 1 ของรัฐธรรมนูญได้ระบุถึงกรณีที่จำเป็นและเหมาะสม (Necessary and Proper Clause) ให้สภาคองเกรส "สามารถตรากฎหมายที่จำเป็นต่อการใช้อำนาจที่แจกแจงไว้ให้สำเร็จลงได้" สมาชิกสภาคองเกรสนั้นถูกคัดเลือกโดยการเลือกตั้ง โดยผ่านการเลือกตั้งรอบเดียวโดยผู้ที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด ยกเว้นในรัฐหลุยเซียนา แคลิฟอร์เนีย และวอชิงตัน ที่จัดการเลือกตั้งแบบสองรอบ

การถอดถอนข้าราชการระดับสูง

สภาคองเกรสมีอำนาจถอดถอนประธานาธิบดี ผู้พิพากษากลาง และข้าราชการระดับสูงแห่งสหพันฐ์ได้ โดยทั้งสองสภาได้รับบทบาทที่แตกต่างกันในการยื่นถอดถอน โดยสภาผู้แทนราษฎรจะต้องออกเสียงเพื่อผ่านการถอดถอนนั้นๆก่อน จากนั้นวุฒิสภาจะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อเป็นการตัดสินว่าบุคคลนั้นสมควรจะต้องถูกถอดถอนหรือไม่ ในประวัติศาสตร์อเมริกันนั้นเคยมีประธานาธิบดีถูกลงมติถอดจากตำแหน่งโดยสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 2 คน คือ แอนดรูว์ จอห์นสัน และบิล คลินตัน แต่ทั้งสองคนก็มิได้ถูกตัดสินโดยวุฒิสภาให้ถอดถอนจากตำแหน่ง

ขั้นตอน

ตามมาตราที่ 1 ตอนที่ 2 ย่อหน้าที่ 2 ของรัฐธรรมนูญได้กล่าวถึงอำนาจของแต่ละสภาที่จะ "เลือกกฎเกณฑ์วิธีการในการพิจารณาการทำงาน" จึงทำให้เกิดคณะทำงานเป็นคณะกรรมาธิการขึ้น ซึ่งมีหน้าที่หลักๆคือพิจารณาข้อร่างกฎหมายต่างๆ และกำกับการสอบสวนเรื่องที่มีความสำคัญระดับชาติ ในสภาคองเกรสชุดที่ 108 (ปีค.ศ. 2003-2005) ได้มีคณะกรรมาธิการถึง 19 คณะในสภาผู้แทนฯ และ 17 คณะในวุฒิสภา ยังไม่รวมคณะกรรมาธิการร่วมสามัญซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากสองสภาเพื่อกำกับดูแลหอสมุดรัฐสภา ภาษีอากร และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ แต่ละสภายังสามารถตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาด้านพิเศษได้ถ้าจำเป็น โดยคณะกรรมาธิการยังสามารถจัดตั้งเป็นคณะกรรมาธิการย่อยเพื่อช่วยได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีประมาณ 150 คณะด้วยกัน

ฝ่ายบริหาร

อำนาจบริหารในรัฐบาลแห่งสหพันธ์นั้นอยู่ที่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา[2] แต่อย่างไรก็ดีอำนาจต่างๆนั้นจะถูกแบ่งเบาโดยคณะรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง[3] ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีนั้นมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) โดยรัฐต่างๆ รวมทั้งวอชิงตัน ดี.ซี. จะได้รับจำนวนของที่นั่งของคณะผู้เลือกตั้งเท่ากับจำนวนของสมาชิกสภาคองเกรสในเขตนั้นๆ[2][4] ประธานาธิบดีมีวาระครั้งละ 4 ปี ไม่เกินสองสมัยติดต่อกัน หากแต่ประธานาธิบดีผู้นั้นเคยได้รับตำแหน่งมาแล้วสองสมัย แล้วถูกคั่นด้วยคนอื่น เขายังสามารถเข้ารับตำแหน่งได้อีกหนึ่งสมัยมีวาระ 4 ปี[2]


ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: President of the United States of America) นั้นเป็นทั้งหัวหน้าคณะรัฐบาลกลาง และประมุขแห่งรัฐ รวมทั้งจอมทัพด้วย โดยอำนาจตามรัฐธรรมนูญระบุให้ประธานาธิบดีนั้นต้อง "ดูแลให้กฎหมายนั้นบังคับใช้อย่างจริงใจ" และ "รักษา พิทักษ์ และปกป้องรัฐธรรมนูญ" ประธานาธิบดีอันเป็นหัวหน้าคณะบริหารของรัฐบาลกลาง กำกับดูแลพนักงานกว่า 5 ล้านคน รวมทั้งทหารกว่า 1 ล้านนายที่ยังประจำการอยู่ กับพนักงานไปรษณีย์อีกกว่า 600,000 นาย ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือคนที่ 44 คือ นายบารัก โอบามา

ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่ลงนามกฎหมายที่ผ่านโดยสภาคองเกรส หรือสามารถใช้สิทธิในการยับยั้งมิให้บังคับใช้เป็นกฎหมายได้ ยกเว้นถ้าสภาคองเกรสจะสามารถลงมติได้กว่าสองในสามของแต่ละสภาเพื่อยืนยันการออกกฎหมายนั้น ประธานาธิบดียังมีหน้าที่ลงนามในสนธิสัญญากับต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญากับต่างประเทศนั้นจะต้องผ่านการลงมติอย่างน้อยสองในสามของวุฒิสภาก่อน ประธานาธิบดีสามารถถูกถอดถอนได้โดยการลงมติเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และลงมติอย่างน้อยสองในสามในวุฒิสภาโดยข้อหา "เป็นกบฎต่อแผ่นดิน ฉ้อราษฎร์บังหลวง คดีร้ายแรงและอาชญากรรม" ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภาคองเกรส หรือจัดการเลือกตั้งได้ แต่มีอำนาจที่จะให้อภัยโทษผู้มีความผิดในคดีที่เกี่ยวกับรัฐบาลกลางได้ (ยกเว้นคดีความถอดถอนจากตำแหน่ง) มีอำนาจผ่านกฎบริหาร (Executive orders) เพื่อใช้ในการปกครอง และแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาศาลกลาง (ด้วยความเห็นชอบของวุฒิสภา)

รองประธานาธิบดี

รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: Vice President of the United States of America) ตามตำแหน่งถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดเป็นอันดับที่สองของฝ่ายบริหารและรัฐบาล เป็นบุคคลแรกที่จะสืบตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหากประธานาธิบดีในตำแหน่งถึงแก่อสัญกรรม ลาออก หรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์นี้จำนวน 9 ครั้งในประวัติศาสตร์ รองประธานาธิบดียังมีตำแหน่งเป็นประธานวุฒิสภา (อังกฤษ: President of the Senate) ตามรัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นผู้นำในวุฒิสภา กระนั้นก็ตามรองประธานาธิบดีจะสามารถลงมติในวุฒิสภาได้ก็ต่อเมื่อมีการลงมติเท่ากันทั้งสองฝั่ง (เพื่อเป็นเสียงชี้ขาด) ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 ของสหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดีจะต้องเป็นประธานการประชุมสภาคองเกรสเมื่อเกี่ยวข้องกับการนับผลโหวตเลือกประธานาธิดี ตามรัฐธรรมนูญระบุถึงหน้าที่โดยตรงของรองประธานาธิบดีว่านอกเหนือจากจะเป็นผู้สืบตำแหน่งแล้ว ให้มีหน้าที่เป็นประธานวุฒิสภา จึงมักมีข้อถกเถียงของนักวิชาการว่ารองประธานาธิบดีนั้นควรจะอยู่ในฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือทั้งสอง[5][6]

คณะรัฐมนตรี กระทรวง และหน่วยงานของรัฐ

อ้างอิง

  1. US House Official Website House.gov Retrieved on 17 August 2008
  2. 2.0 2.1 2.2 Article II, Constitution of the United States of America
  3. Barack, Obama (2009-04-27). "Delegation of Certain Authority Under the National Defense Authorization Act for Fiscal Year 2008". United States. สืบค้นเมื่อ 2009-07-01.
  4. Amendment XXIII to the United States Constitution
  5. Goldstein, Joel K. (1995). "The New Constitutional Vice Presidency". Wake Forest Law Review. Winston Salem, NC: Wake Forest Law Review Association, Inc. 30 (505).
  6. Reynolds, Glenn Harlan (2007). "Is Dick Cheney Unconstitutional?". Northwestern University Law Review Colloquy. Chicago: Northwestern University School of Law. 102 (110).