ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลกลางสหรัฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
==ฝ่ายนิติบัญญัติ==
==ฝ่ายนิติบัญญัติ==
{{main|สภาคองเกรส}}
{{main|สภาคองเกรส}}
[[File:Seal of the Unites States Congress.svg|thumb]]
[[ไฟล์:Seal of the Unites States Congress.svg|thumb]]


[[สภาคองเกรส]] คือชื่อเรียกของสภานิติบัญญัติในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ใช้[[ระบบสองสภา]] ประกอบด้วย[[สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา|สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภาสหรัฐอเมริกา|วุฒิสภา]]
[[สภาคองเกรส]] คือชื่อเรียกของสภานิติบัญญัติในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ใช้[[ระบบสองสภา]] ประกอบด้วย[[สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา|สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภาสหรัฐอเมริกา|วุฒิสภา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:52, 2 ตุลาคม 2556


รัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: the Government of the United States of America) เป็นรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐซึ่งมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญผูกพันต่อมลรัฐทั้ง 50 แห่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงเขตการปกครองพิเศษ วอชิงตัน ดีซี และอาณาเขตอื่นๆอีกหลายแห่ง รัฐบาลกลางประกอบไปด้วยอำนาจ 3 ฝ่าย ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจในแต่ละฝ่ายได้แก่ สภาคองเกรส ประธานาธิบดี และศาลสูงสุดรวมถึงศาลฎีกาตามลำดับ อำนาจและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายนั้นได้ระบุไว้ในกฎหมายคองเกรส

ชื่อเต็มอย่างเป็นทางการของประเทศคือ "สหรัฐอเมริกา" (อังกฤษ: The United States of America) ซึ่งจะใช้ระบุในรัฐธรรมนูญ เอกสารราชการ ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และสนธิสัญญาต่างๆ คำว่า "รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา" (อังกฤษ: Government of the United States of America) หรือ "รัฐบาลสหรัฐอเมริกา" (อังกฤษ: United States Government) จะใช้ในเอกสารราชการที่จะระบุถึงที่มาคือรัฐบาลแห่งสหพันธ์ เพื่อแยกออกจากรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ ในภาษาเขียนหรือภาษาพูดอย่างลำลอง มักจะแทนด้วยคำว่า "รัฐบาลแห่งสหพันธ์" (อังกฤษ: Federal Government) หรือ "รัฐบาลแห่งชาติ" (อังกฤษ: National Government) ก็สามารถพบเห็นได้ โดยหน่วยงานสังกัดรัฐบาลกลางนั้นมักจะระบุคำว่า "Federal" หรือ "National" ขึ้นอยู่หน้าหน่วยงานนั้นๆ อาทิเช่น หน่วยงานสอบสวนกลาง หรือ Federal Bureau of Investigation (FBI) ที่ตั้งของรัฐบาลกลางอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยมักจะเรียกอย่างลำลองว่า "วอชิงตัน" เพื่อกล่าวถึงรัฐบาลกลาง

ฝ่ายนิติบัญญัติ

สภาคองเกรส คือชื่อเรียกของสภานิติบัญญัติในรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

บทบาท

รัฐธรรมนูญได้บัญญัติถึงอำนาจของสภาคองเกรสไว้หลายประการด้วยกัน ในมาตรา 1 ตอนที่ 8 ซึ่งกล่าวถึงอำนาจในการตั้งภาษีและจัดเก็บภาษีต่างๆ, ผลิตธนบัตรและควบคุมมูลค่าเงิน, ระบุอัตราโทษสำหรับการปลอมแปลง, กำกับกิจการไปรษณีย์และคมนาคม, สนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ผ่านทางสิทธิบัตร, ก่อตั้งศาลแห่งสหพันธ์ซึ่งอยู่ภายใต้ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกา, ต่อต้านการคุกคาม, ประกาศสงคราม, ก่อตั้งและช่วยเหลือกองทัพ, กำกับดูแลกิจการรวมทั้งวินัยของกองทัพและผู้บังคับใช้กฎหมาย, ตรากฎหมายเพื่อใช้บริหารประเทศ ซึ่งตั้งแต่สองร้อยปีตั้งแต่มีการก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น ได้มีกรณีพิพาทถึงของเขตของอำนาจของรัฐบาลกลาง ซึ่งข้อพิพาทนั้นจะถูกตัดสินโดยศาลฎีกา

องค์ประกอบ

สภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎร (อังกฤษ: the House of Representatives) ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงจำนวน 435 คน ซึ่งแต่ละคนมาจากการเลือกตั้งซึ่งแบ่งสัดส่วนตามจำนวนประชากรสำรวจล่าสุดก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งแต่ละสมาชิกจะเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้ง (Congressional district) สมาชิกทั้งหมดมีวาระ 2 ปี ซึ่งในแต่ละมลรัฐจะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย 1 คน ซึ่งผู้มีสิทธิสมัครเป็นเป็นส.ส.นั้นจะต้องมีอายุอย่างน้อย 25 ปีบริบูรณ์ และจะต้องถือสัญชาติอเมริกันมาอย่างน้อย 7 ปี โดยหลังจากหมดวาระแล้วสามารถลงสมัครใหม่ได้โดยไม่จำกัดครั้ง นอกเหนือจากสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 435 คนแล้ว ยังมีสมาชิกอีก 6 คนที่ไม่มีสิทธิออกเสียง ประกอบด้วยผู้แทนจำนวน 5 คน (จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี., กวม, หมู่เกาะเวอร์จิน, อเมริกันซามัว และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา) และข้าหลวงใหญ่ (Resident commissioner) จำนวน 1 คน สำหรับเปอร์โตริโก[1]

วุฒิสภา

วุฒิสภา (อังกฤษ: Senate) ประกอบไปด้วยวุฒิสมาชิกจำนวน 2 คนจากแต่ละมลรัฐ โดยไม่นับจากสัดส่วนประชากร ในปัจจุบันประกอบด้วยวุฒิสมาชิกจำนวน 100 คน (จากทั้งหมด 50 มลรัฐ) โดยมีวาระ 6 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาราวๆหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมดทุกๆสองปี

การแบ่งแยกอำนาจ

ทั้งสองสภานั้นจะมีอำนาจแยกจากกัน ตัวอย่างเช่น วุฒิสภาจะต้องอนุมัติเห็นชอบ (ให้คำแนะนำและยินยอม) ต่อการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงโดยประธานาธิบดี เช่น คณะรัฐมนตรี ผู้พิพากษาศาลกลาง (รวมถึงตัวแทนศาลฎีกา) ผู้บัญชาการกองทัพ และเอกอัครข้าราชทูตประจำประเทศต่างๆ ส่วนการร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับรายได้นั้นจะต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร โดยจะต้องได้รับการรับรองจากทั้งสองสภาในการผ่านร่างกฎหมายก่อนที่จะลงนามโดยประธานาธิบดีเพื่อเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ (หรือ ถ้าหากประธานาธิบดีใช้อำนาจไม่รับรองร่างกฎหมายใดๆ ให้กลับไปที่สภาคองเกรสเพื่อลงมติมากกว่าสองในสามของแต่ละสภา ซึ่งในกรณีนี้จะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการลงนามโดยประธานาธิบดี) อำนาจของสภาคองเกรสนั้นถูกจำกัดและแจกแจงไว้ตามรัฐธรรมนูญ อำนาจอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้ให้ตกเป็นของมลรัฐและประชาชน โดยมาตราที่ 1 ของรัฐธรรมนูญได้ระบุถึงกรณีที่จำเป็นและเหมาะสม (Necessary and Proper Clause) ให้สภาคองเกรส "สามารถตรากฎหมายที่จำเป็นต่อการใช้อำนาจที่แจกแจงไว้ให้สำเร็จลงได้" สมาชิกสภาคองเกรสนั้นถูกคัดเลือกโดยการเลือกตั้ง โดยผ่านการเลือกตั้งรอบเดียวโดยผู้ที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด ยกเว้นในรัฐหลุยเซียนา แคลิฟอร์เนีย และวอชิงตัน ที่จัดการเลือกตั้งแบบสองรอบ

การถอดถอนข้าราชการระดับสูง

สภาคองเกรสมีอำนาจถอดถอนประธานาธิบดี ผู้พิพากษากลาง และข้าราชการระดับสูงแห่งสหพันฐ์ได้ โดยทั้งสองสภาได้รับบทบาทที่แตกต่างกันในการยื่นถอดถอน โดยสภาผู้แทนราษฎรจะต้องออกเสียงเพื่อผ่านการถอดถอนนั้นๆก่อน จากนั้นวุฒิสภาจะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อเป็นการตัดสินว่าบุคคลนั้นสมควรจะต้องถูกถอดถอนหรือไม่ ในประวัติศาสตร์อเมริกันนั้นเคยมีประธานาธิบดีถูกลงมติถอดจากตำแหน่งโดยสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 2 คน คือ แอนดรูว์ จอห์นสัน และบิล คลินตัน แต่ทั้งสองคนก็มิได้ถูกตัดสินโดยวุฒิสภาให้ถอดถอนจากตำแหน่ง

ขั้นตอน

ตามมาตราที่ 1 ตอนที่ 2 ย่อหน้าที่ 2 ของรัฐธรรมนูญได้กล่าวถึงอำนาจของแต่ละสภาที่จะ "เลือกกฎเกณฑ์วิธีการในการพิจารณาการทำงาน" จึงทำให้เกิดคณะทำงานเป็นคณะกรรมาธิการขึ้น ซึ่งมีหน้าที่หลักๆคือพิจารณาข้อร่างกฎหมายต่างๆ และกำกับการสอบสวนเรื่องที่มีความสำคัญระดับชาติ ในสภาคองเกรสชุดที่ 108 (ปีค.ศ. 2003-2005) ได้มีคณะกรรมาธิการถึง 19 คณะในสภาผู้แทนฯ และ 17 คณะในวุฒิสภา ยังไม่รวมคณะกรรมาธิการร่วมสามัญซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากสองสภาเพื่อกำกับดูแลหอสมุดรัฐสภา ภาษีอากร และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ แต่ละสภายังสามารถตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาด้านพิเศษได้ถ้าจำเป็น โดยคณะกรรมาธิการยังสามารถจัดตั้งเป็นคณะกรรมาธิการย่อยเพื่อช่วยได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีประมาณ 150 คณะด้วยกัน

ฝ่ายบริหาร

อำนาจบริหารในรัฐบาลแห่งสหพันธ์นั้นอยู่ที่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา[2] แต่อย่างไรก็ดีอำนาจต่างๆนั้นจะถูกแบ่งเบาโดยคณะรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง[3][4] ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีนั้นมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) โดยรัฐต่างๆ รวมทั้งวอชิงตัน ดี.ซี. จะได้รับจำนวนของที่นั่งของคณะผู้เลือกตั้งเท่ากับจำนวนของสมาชิกสภาคองเกรสในเขตนั้นๆ[2][5] ประธานาธิบดีมีวาระครั้งละ 4 ปี ไม่เกินสองสมัยติดต่อกัน หากแต่ประธานาธิบดีผู้นั้นเคยได้รับตำแหน่งมาแล้วสองสมัย แล้วถูกคั่นด้วยคนอื่น เขายังสามารถเข้ารับตำแหน่งได้อีกหนึ่งสมัยมีวาระ 4 ปี[2]


อ้างอิง

  1. US House Official Website House.gov Retrieved on 17 August 2008
  2. 2.0 2.1 2.2 Article II, Constitution of the United States of America
  3. 3 U.S.C. §§ 301303
  4. Barack, Obama (2009-04-27). "Delegation of Certain Authority Under the National Defense Authorization Act for Fiscal Year 2008". United States. สืบค้นเมื่อ 2009-07-01.
  5. Amendment XXIII to the United States Constitution