ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกหงส์หยก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
<ref>{{IUCN2006|assessors=BirdLife International|year=2004|id=47988|title=Melopsittacus undulatus|downloaded=11 May 2006}} Database entry includes justification for why this species is of least concern</ref>
<ref>{{IUCN2006|assessors=BirdLife International|year=2004|id=47988|title=Melopsittacus undulatus|downloaded=11 May 2006}} Database entry includes justification for why this species is of least concern</ref>
| image = Budgerigar-male-strzelecki-qld.jpg
| image = Budgerigar-male-strzelecki-qld.jpg
| image_caption = นกหงส์หยก[[ตัวผู้]]ในธรรมชาติ ที่ออสเตรเลีย
| image_caption = นกหงส์หยก[[ตัวผู้]]ในธรรมชาติ ([[ไวลด์ไทป์]]) ที่ออสเตรเลีย
| image2 = Melopsittacus undulatus flock.jpg
| image2 = Melopsittacus undulatus flock.jpg
| image2_caption = ฝูงนกหงส์หยกหลากสี
| image2_caption = ฝูงนกหงส์หยกหลากสีในกรงเลี้ยง
| regnum = [[Animal]]ia
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Chordate|Chordata]]
| phylum = [[Chordate|Chordata]]
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
== นิเวศวิทยา ==
== นิเวศวิทยา ==
[[ไฟล์:Melopsittacus undulatus -Alice Springs Desert Park-8.jpg|thumb|left|นกหงส์หยกตัวเมียใน[[Alice Springs Desert Park|อลิซสปริงเดเสิร์ทปาร์ค]]]]
[[ไฟล์:Melopsittacus undulatus -Alice Springs Desert Park-8.jpg|thumb|left|นกหงส์หยกตัวเมียใน[[Alice Springs Desert Park|อลิซสปริงเดเสิร์ทปาร์ค]]]]
นกหงส์หยกเป็นนกเร่ร่อนพบในที่อยู่อาศัยแบบเปิด, ส่วนใหญ่ในทุ่งไม้พุ่ม, บริเวณที่เป็นป่าเปิด และทุ่งหญ้าของออสเตรเลีย นกที่พบตามปกติจะอยู่ในฝูงขนาดเล็ก แต่สามารถอยู่ร่วมกันในฝูงที่ใหญ่มากในกรณีที่ถิ่นที่อยู่ดีมาก เป็นนกที่มีการเร่ร่อนมาก และการเคลื่อนย้ายจะเป็นไปตามความอุดมสมบูรณ์ของ[[อาหาร|แหล่งอาหาร]]และ[[น้ำ]]<ref name=forshaw>{{cite book | first=Joseph Michael| last=Forshaw | authorlink= | coauthors= William T. Cooper| year= 1973 & 1981| title= Parrots of the World| edition= 1st and 2nd| publisher= | location= | isbn=0-87666-959-3}}</ref>
นกหงส์หยกเป็นนกเร่ร่อนพบในที่อยู่อาศัยแบบเปิด ส่วนใหญ่ในทุ่งไม้พุ่ม บริเวณที่เป็นป่าเปิด และทุ่งหญ้าของออสเตรเลีย นกที่พบตามปกติจะอยู่ในฝูงขนาดเล็ก แต่สามารถอยู่ร่วมกันในฝูงที่ใหญ่มากในกรณีที่ถิ่นที่อยู่ดีมาก จำนวนตั้งแต่หลักหมื่นถึงล้านตัว<ref name="หมื่น">''เอเชียและออสเตรเลีย'', "มองโลกอัศจรรย์ผ่านนภากาศ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 7 กันยายน 2556</ref> จึงเป็นนกที่มีการเร่ร่อนมาก และการเคลื่อนย้ายจะเป็นไปตามความอุดมสมบูรณ์ของ[[อาหาร|แหล่งอาหาร]]และ[[น้ำ]]<ref name=forshaw>{{cite book | first=Joseph Michael| last=Forshaw | authorlink= | coauthors= William T. Cooper| year= 1973 & 1981| title= Parrots of the World| edition= 1st and 2nd| publisher= | location= | isbn=0-87666-959-3}}</ref> เป็นนกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเกี้ยวพาราสีและแลกเปลี่ยนกันถึงสถานที่ ๆ มีแหล่งอาหาร<ref name="หมื่น"/>


== สัตว์เลี้ยง ==
== สัตว์เลี้ยง ==
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Melopsittacus undulatus}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Melopsittacus undulatus| ''Melopsittacus undulatus''}}
{{wikispecies-inline|Melopsittacus undulatus}}
{{wikispecies-inline|Melopsittacus undulatus}}
* [http://www.parrots.org/index.php/encyclopedia/profile/budgerigar/ World Parrot Trust] Parrot Encyclopedia&nbsp;— Species Profiles
* [http://www.parrots.org/index.php/encyclopedia/profile/budgerigar/ World Parrot Trust] Parrot Encyclopedia&nbsp;— Species Profiles

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:21, 28 กันยายน 2556

นกหงส์หยก
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Paleocene–recent พาลีโอซีน–ปัจจุบัน
นกหงส์หยกตัวผู้ในธรรมชาติ (ไวลด์ไทป์) ที่ออสเตรเลีย
ฝูงนกหงส์หยกหลากสีในกรงเลี้ยง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Psittaciformes
วงศ์: Psittacidae
วงศ์ย่อย: Psittacinae
เผ่า: Melopsittacini
สกุล: Melopsittacus
Gould, 1840
สปีชีส์: M.  undulatus
ชื่อทวินาม
Melopsittacus undulatus
(Shaw, 1805)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีแดง)

นกหงส์หยก (อังกฤษ: Budgerigar; ชื่อวิทยาศาสตร์: Melopsittacus undulatus) เป็นนกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของนกหงส์หยกอยู่ตามแถบทุ่งหญ้าในประเทศออสเตรเลีย มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "บั๊ดจี้" (Budgie) หรือ "พาราคีท" (Parakeet) ครั้งหนึ่ง ผู้คนทั่วไปเคยเข้าใจว่านกหงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในจำพวกนกเลิฟเบิร์ด แต่ในปัจจุบันได้ยอมรับกันแล้วว่าเป็นนกคนละจำพวกกัน โดยผู้ที่ทำการอนุกรมวิธาน คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น กูลด์ ที่เข้าไปศึกษาธรรมชาติวิทยาที่ออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว [2] โดยถือเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Melopsittacus[3]

โดยทั่วไปแล้วสีตามธรรมชาติ นกหงส์หยกมักมีขนสีเขียว, ฟ้า, เหลือง และขาว แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายออกไปจากสีดั้งเดิมตามธรรมชาติในฐานะของการเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามลักษณะ อาทิ "โอแพล์ลิน", "อัลบิโนส์" และ"ลูติโนส์"[4]

นิเวศวิทยา

นกหงส์หยกตัวเมียในอลิซสปริงเดเสิร์ทปาร์ค

นกหงส์หยกเป็นนกเร่ร่อนพบในที่อยู่อาศัยแบบเปิด ส่วนใหญ่ในทุ่งไม้พุ่ม บริเวณที่เป็นป่าเปิด และทุ่งหญ้าของออสเตรเลีย นกที่พบตามปกติจะอยู่ในฝูงขนาดเล็ก แต่สามารถอยู่ร่วมกันในฝูงที่ใหญ่มากในกรณีที่ถิ่นที่อยู่ดีมาก จำนวนตั้งแต่หลักหมื่นถึงล้านตัว[5] จึงเป็นนกที่มีการเร่ร่อนมาก และการเคลื่อนย้ายจะเป็นไปตามความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและน้ำ[6] เป็นนกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเกี้ยวพาราสีและแลกเปลี่ยนกันถึงสถานที่ ๆ มีแหล่งอาหาร[5]

สัตว์เลี้ยง

ปัจจุบัน นกหงส์หยกเป็นนกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง จัดเป็นนกที่เลี้ยงง่ายเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย มีราคาถูก ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ จนมีสีสันและลวดลายต่าง ๆ สวยงามกว่าในธรรมชาติ โดยพฤติกรรมตามธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ดังนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ นกจะมีปฏิสัมพันธ์กันเอง แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว ก็ควรมีของเล่นต่าง ๆ ให้ หรือกระจก สำหรับส่องเพื่อที่นกจะเข้าใจว่ามีตัวอื่นอยู่ร่วมด้วย และใช้สำหรับส่องเพื่อไซ้แต่งขน อาหารหลักของนกหงส์หยก คือ ข้าวฟ่าง, ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ และอาจให้แร่ธาตุเสริม คือ แคลเซียม จากลิ่นทะเลหรือกระดองปลาหมึกด้วย

สถานที่เลี้ยงควรเป็นที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ผู้เลี้ยงควรที่จะฉีดสเปรย์น้ำเพื่อที่จะทำความสะอาดนกด้วย การจำแนกเพศของนกหงส์หยก สังเกตได้ที่จมูก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ในฤดูผสมพันธุ์ นกหงส์หยกจะจับคู่เมื่อมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยสังเกตได้จากนกจะอยู่กันเป็นคู่ ไซ้ขนให้กัน และคอยป้อนอาหารให้กัน[2] โดยเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 11 เดือน หรือ 1 ปี วางไข่ครั้งละ 4-8 ฟอง ระยะฟักตัวประมาณ 18-20 วัน ลูกนกจะโผล่พ้นรังเมื่ออายุได้ 4-5 สัปดาห์[7]

อ้างอิง

  1. BirdLife International (2004). Melopsittacus undulatus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is of least concern
  2. 2.0 2.1 นกหงส์หยก จากกระปุกดอตคอม
  3. จาก itis.gov
  4. นกหงส์หยก
  5. 5.0 5.1 เอเชียและออสเตรเลีย, "มองโลกอัศจรรย์ผ่านนภากาศ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 7 กันยายน 2556
  6. Forshaw, Joseph Michael (1973 & 1981). Parrots of the World (1st and 2nd ed.). ISBN 0-87666-959-3. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  7. วิธีเลี้ยงนกหงส์หยก

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Melopsittacus undulatus ที่วิกิสปีชีส์

แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA