ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปุ๋ย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating interwiki links, now provided by Wikidata on d:q83323
บรรทัด 63: บรรทัด 63:


ปุ๋ยละลายช้าช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไปลดความเสี่ยงจากภาวะที่เรียกว่า "จุกหรืออด" (feast or famine) ที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรกแล้วหลังจากสารอาหารถูกชะล้างไปหมด ก็จะขาดสารอาหารได้
ปุ๋ยละลายช้าช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไปลดความเสี่ยงจากภาวะที่เรียกว่า "จุกหรืออด" (feast or famine) ที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรกแล้วหลังจากสารอาหารถูกชะล้างไปหมด ก็จะขาดสารอาหารได้
นอกจากนั้น ปุ๋ยละลายช้า ยังมีข้อดีในแง่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะมันยังช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ถูกชะล้างจากแหล่งเพาะปลูกลงไปสู่แหล่ง น้ำธรรมชาติได้ด้วย
นอกจากนั้น ปุ๋ยละลายช้า ยังมีข้อดีในแง่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะมันยังช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ถูกชะล้างจากแหล่งเพาะปลูกลงไปสู่แหล่ง ที่มีน้ำธรรมชาติอีกด้วย


ปุ๋ยที่พวกชาวบ้านชาวสวนชอบใช้กัน คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอก
แต่ปุ๋ยที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ คือ ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง และมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย


== บทความที่เกี่ยวข้อง ==
== บทความที่เกี่ยวข้อง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:31, 22 สิงหาคม 2556

Tennessee Valley Authority: "Results of Fertilizer" demonstration 1942
A large, modern fertilizer spreader

ปุ๋ย เป็น วัสดุที่ให้สารอาหารกับพืช หรือ ช่วยปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก

พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิดได้แก่ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานิส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ในจำนวนนี้ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ส่วน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม พืชต้องการในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ (ซึ่งถูกจัดเป็นธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย) และในดินมักมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมธาตุเหล่านี้โดยการให้ปุ๋ย[1]

ความหมายของปุ๋ย ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย

พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘[2]ได้ให้คำนิยามของปุ๋ยต่างๆดังนี้

  • “ปุ๋ย” หมายความว่า สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
  • “ปุ๋ยเคมี” หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสมและปุ๋ยเชิงประกอบ และหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิปซั่ม
  • “ปุ๋ยอินทรีย์” หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์วัตถุซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่นแต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี
  • “ปุ๋ยเชิงเดี่ยว” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว ได้แก่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต หรือปุ๋ย โปแตช
  • “ปุ๋ยเชิงผสม” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดหรือประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ
  • “ปุ๋ยเชิงประกอบ” หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป
  • “ธาตุอาหาร” หมายความว่า ธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยและสามารถเป็นอาหารแก่พืชได้
  • “ธาตุอาหารหลัก” หมายความว่า ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม
  • “ธาตุอาหารรอง” หมายความว่า ธาตุอาหารมักเนเซียม คัลเซียม และกำมะถัน
  • “ธาตุอาหารเสริม” หมายความว่า ธาตุอาหารเหล็ก มังกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน หรือธาตุอาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • “ปริมาณธาตุอาหารรับรอง” หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำของธาตุอาหารหลักที่ผู้ผลิตหรือผู้นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งปุ๋ยเคมีรับรองในฉลากว่ามีอยู่ในปุ๋ยเคมีที่ตนผลิต นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี โดยคิดเป็นจำนวนร้อยละของน้ำหนักสุทธิของปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุโดยจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน (Aerobic Microorganisms) จนมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ขึ้ค้างคาว กระดูกป่น และเลือดแห้ง

ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น จากหิน เหมือนแร่ต่างๆ หรือ จากการสังเคราะห์ขึ้นทางวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟตบด ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ

ปุ๋ยเคมีจะมีส่วนผสมของธาตุอาหารหลักของพืช (ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือ โปแตสเซียม) ในปริมาณที่เข้มข้นมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์[1] จึงทำให้ปุ๋ยเคมีได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์

ถึงแม้ว่าปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชเข้มข้นกว่าปุ๋ยอินทรีย์ แต่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่งและร่วนซุยได้[1] นอกจากนั้นปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่มักจะไม่มีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ที่มีในปุ๋ยอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตามในตลาดปุ๋ยเคมีปัจจุบัน มีปุ๋ยเคมีหลายประเภทที่มีการผสมธาตุอาหารรองเข้าไป เพื่อลดปัญหานี้ลง

สูตรปุ๋ย

สูตรปุ๋ย คือ ตัวเลข 3 ตัวโดยมีขีดคั่นกลาง เป็นตัวเลขที่ใช้บอกสัดส่วนปริมาณธาตุอาหารหลัก 3 ชนิดของปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม ตามลำดับ เช่น ปุ๋ยกระสอบละ 100 กิโลกรัม สูตร 46-0-0 จะมีส่วนผสมเนื้อธาตุไนโตรเจน 46 กิโลกรัม, ปุ๋ย 16-20-0 จะมีส่วนผสมของเนื้อธาตุไนโตรเจน 16 กิโลกรัมและเนื้อธาตุฟอสฟอรัส 20 กิโลกรัม, หรือ ปุ๋ย 15-15-15 จะมีส่วนผสมของเนื้อธาตุไนโตรเจน 15 กิโลกรัม เนื้อธาตุฟอสฟอรัส 15 กิโลกรัม และ เนื้อธาตุโปแตสเซียม 15 กิโลกรัม

ปุ๋ยบางชนิดจะมีธาตุอาหารรอง (หรือบางครั้งเรียก จุลธาตุ) อยู่ด้วยและมักจะเติมท้ายสูตรปุ๋ยด้วย "TE" ซึ่ง TE ย่อจาก Trace Element ที่หมายถึงจุลธาตุ ในภาษาอังกฤษ

ปุ๋ยเชิงเดี่ยว

ปุ๋ยเชิงเดี่ยว หรือ แม่ปุ๋ย คือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุปุ๋ยอยู่เพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย มีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว หรือโปรตัสเซียมคลอไรด์ มีโปรตัสเซียมอยู่เพียงธาตุเดียว เป็นต้น[1]

ปุ๋ยเชิงผสม

ปุ๋ยเชิงผสม, ปุ๋ยผสม, หรือ ปุ๋ยเบ๊าค์ (ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ Bulk Blending Fertilizer) จะเป็นการผสมของปุ๋ยเชิงเดี่ยว เพื่อให้ได้อัตราส่วนของธาตุอาหารตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นการผสมทางกายภาพ เช่น คลุกส่วนผสมของปุ๋ยเชิงเดี่ยวแต่ละชนิดตามน้ำหนัก

ปุ๋ยเชิงประกอบ

ปุ๋ยเชิงประกอบ คือ ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป ซึ่งการทำด้วยวิธีทางเคมีจะทำให้ธาตุอาหารในเนื้อปุ๋ยมีความสม่ำเสมอมากกว่าปุ๋ยเชิงผสม แต่โดยทั่วไปปุ๋ยเชิงประกอบก็จะมีราคาที่สูงกว่าด้วย จึงเหมาะกับพืชที่มีความอ่อนไหวต่อสารอาหาร

ปุ๋ยชนิดอื่นๆ

นอกจากนั้นยังมีปุ๋ยชนิดอื่นๆอีกเช่น ปุ๋ยละลายช้า หรือ ปุ๋ยควบคุมการละลาย

ปุ๋ยละลายช้า หรือ ปุ๋ยควบคุมการละลาย

ปุ๋ยละลายช้า หรือ ปุ๋ยควบคุมการละลาย คือ ปุ๋ยที่จะค่อยๆปล่อยสารอาหารออกมา

ปุ๋ยละลายช้ามีอยู่หลายชนิดด้วยกันรวมถึง ชนิดเคลือบพลาสติก (Plastic coated), ชนิดเคลือบสารละลายช้า (Slowly soluble coating), ชนิดยูเรียอัลดีไฮด์ (Urea aldehydes), ชนิดเคลือบกำมะถัน (Sulfur coated) เป็นต้น แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแต่ต่างกัน เช่น ชนิดเคลือบพลาสติกอัตราการปล่อยสารอาหารจะขึ้นกับความหนาของพลาสติกที่เคลือบ ชนิดยูเรียอัลดีไฮด์อัตราการปล่อยสารอาหารจะสูงในตอนแรกๆและจะช้าลงตลอดจนหมดในเวลา 3 ปี ชนิดเคลือบกำมะถันจะมีระยะเวลาในการใช้อยู่ราวๆ 3-4 เดือน[3] [4] [5]

ปุ๋ยละลายช้าช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไปลดความเสี่ยงจากภาวะที่เรียกว่า "จุกหรืออด" (feast or famine) ที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรกแล้วหลังจากสารอาหารถูกชะล้างไปหมด ก็จะขาดสารอาหารได้ นอกจากนั้น ปุ๋ยละลายช้า ยังมีข้อดีในแง่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะมันยังช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ถูกชะล้างจากแหล่งเพาะปลูกลงไปสู่แหล่ง ที่มีน้ำธรรมชาติอีกด้วย


ปุ๋ยที่พวกชาวบ้านชาวสวนชอบใช้กัน คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอก แต่ปุ๋ยที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ คือ ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง และมีผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ความรู้เรื่องปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร
  2. พระราชบัญญัติปุ๋ย คลังปัญญาไทย
  3. Controlled-Release Fertilizers by Warren Davenport; url=http://www.garden.org/subchannels/flowers/roses?q=show&id=698 (retrieved 22 June 2011)
  4. C. Neal, Slow-Release Fertilizers for Home Gardens and Landscapes, University of New Hampshire Cooperative Extension, url=http://extension.unh.edu/resources/representation/Resource000494_Rep516.pdf (retrieved 22 June 2011)
  5. T. M. Blessington, D. L. Clement, and K. G. Williams, SLOW RELEASE FERTILIZERS, Fact Sheet 870, Maryland Cooperative Extension, University of Maryland, College Park-Eastern Shore; url=http://extension.umd.edu/publications/pdfs/fs870.pdf (retrieved 22 June 2011)


แหล่งข้อมูลอื่น