ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 155: บรรทัด 155:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
* [http://www.qc.ac.th/2013/index.php/component/k2/item/489-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A-12-%E0%B8%9B%E0%B8%B5.html] จาก[[บทสรุปของการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในรอบ 12 ปี]]
* [http://www.qc.ac.th/2013/index.php/component/k2/item/489-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A-12-%E0%B8%9B%E0%B8%B5.html] จาก[[บทสรุปของการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในรอบ 12 ปี]]
* [http://www.life.com/image/first/in-gallery/41642/prince-william-and-his-kate Prince William and His Kate] – จาก ''[[นิตยสารไลฟ์]]''
* [http://www.wargs.com/other/middleton.html บรรพบุรุษของเคท มิดเดิลตัน]





รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:41, 16 สิงหาคม 2556

โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
Queen College
ไฟล์:เฉลิมพระชนมพรรษา5รอบ.png
ที่ตั้ง
170 หมู่ 2 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140
พิกัด13°26′04″N 99°37′56″E / 13.434334°N 99.632347°E / 13.434334; 99.632347พิกัดภูมิศาสตร์: 13°26′04″N 99°37′56″E / 13.434334°N 99.632347°E / 13.434334; 99.632347
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ร.ร.
ประเภทมัธยมศึกษา
คำขวัญความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญู กตเวทิตา
(ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี)
สถาปนา5 สิงหาคม พ.ศ. 2535
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัสรหัสโรงเรียน 10 หลัก : 1070480381
รหัส Smis 8 หลัก : 70012009
รหัส Obec 6 หลัก : 480381
ผู้อำนวยการนายประทีป จำปาศรี
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี   สีฟ้า - เทา
เพลงราชวิทยาลัยในฝัน
ต้นไม้ราชพฤกษ์
เว็บไซต์http://www.qc.ac.th
อาคารเฉลิมพระเกียรติโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย

โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เดิมชื่อ "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ราชบุรี" กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2535 ในสมัยที่ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนสหศึกษาแบบประจำรับนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมีเนื้อที่ 75 ไร่ 1 งาน 72 ตารางวา ได้รับบริจาคจากนายวัลลภ เจียรวนนนท์ และนายเชิดชัย เรียรวนนท์ ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทมัลติอโกร ราชบุรี โดยประสงค์จะมอบให้กรมสามัญศึกษาสร้างโรงเรียนเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วาระที่มีพระชนมายุ 60 พรรษา กรมสามัญศึกษาจึงจัดให้เป็นสาขาของ "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา" และให้ผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขณะนั้น คือ คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต เป็นผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ราชบุรี อีกตำแหน่งหนึ่ง

วันที่ 5 สิงหาคม 2535 โรงเรียนได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย" และมีพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราสัญลักษณ์ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซุ้มประตูโรงเรียน และใช้เป็นตราประจำโรงเรียน

ห้องพยาบาลของโรงเรียน

ประวัติ

  • พ.ศ. 2535 ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 75 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา จาก ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ และคุณเชิดชัย เจียรวนนท์ นำเข้าโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลสมัยที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
  • พ.ศ. 2536 โรงเรียนเปิดรับนักเรียนครั้งแรก จำนวน 3 ห้องเรียน รับนักเรียน 120 คน แยกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน 80 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ 40 คน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทมัลติอโกร ราชบุรี จำกัด ให้ใช้สถานที่ของสนามกอฟล์ดรากอนฮิลล์เป็นอาคารเรียนชั่วคราวและอาคารหอพักนักเรียน
  • พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้ย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบัน และรับนักเรียนเพิ่มขึ้น เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 240 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 3 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน และแผนการเรียนศิลป์- คำนวณ 1 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 341 คน
  • พ.ศ. 2540 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ และทรงวางศิลาฤกษ์อาคารหอประชุมของโรงเรียน ในครั้งนี้ นางอมรา เจียรวนนท์ และ นางปิติพร พิชัยวัฒนพงษ์ พร้อมด้วยครอบครัว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ที่ดินเพิ่มเติม จำนวน 40 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 115 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา
  • พ.ศ. 2556 ในปีการศึกษา1/2556 ทางโรงเรียนได้เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เพื่อเป็นการขยายฐานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จำนวน 1 ห้องเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ทำเนียบผู้บริหาร

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย

  1. คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง พ.ศ. 2535 - 2540
  2. นางสาวสุมาลี เถียรทอง พฤษภาคม 2540 – พฤศจิกายน 2543
  3. นางสาวอารีวรรณ เอมโกษา พฤศจิกายน 2543 – พฤศจิกายน 2546
  4. นายจุฬา จี้เพชร พฤศจิกายน 2546 – มีนาคม 2548
  5. นายนเรศ สายหล้า มีนาคม 2548 – เมษายน 2551
  6. นางอุไร เอี่ยมสอาด เมษายน 2551- 30 กันยายน 2554
  7. นายประทีป จำปาศรี 1 ตุลาคม 2554 - ปัจจุบัน

อัตลักษณ์ของโรงเรียนโรงเรียน

ยึดมั่นกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

เอกลักษณ์ประจำโรงเรียน

บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้

ตราประจำโรงเรียน

ตราประจำโรงเรียน : ตรามหามงคลเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ต้นไม้ประจำโรงเรียน

ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ราชพฤกษ์

การประเมินคุณภาพการศึกษา

บทสรุปของการประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากการจัดการศึกษา ถือเป็นการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ดังนั้นสถานศึกษาทุกแห่งจำเป็นต้องได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา ที่ถูกกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าจะต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่ง ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ใช้บังคับและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 81กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา ในหมวด 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 49 ได้กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 99ก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2543 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2543 โดยให้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งใน ทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน นับตั้งแต่มีการประเมินคุณภาพการศึกษารอบแรกในปี พ.ศ.2544-2548 รอบสอง พ.ศ.2549-2553 และรอบสาม พ.ศ.2554-2558 ซึ่งทางโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัยได้รับการประเมินคุณภาพครบทั้ง 3 รอบ

การประเมินรอบที่1 พ.ศ.2544-2548

ได้รับการประเมินคุณภาพเมื่อวันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2548 เปิดสอนในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่6 จำนวนบุคลากร 36 คน จำนวนนักเรียน 708 คน โดยได้พิจารณาตามมาตรฐาน 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน มีผลการประเมินดังนี้

  • 1. ผลการประเมินด้านผู้บริหาร ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการบริหารโรงเรียนประจำ ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย สนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ จัดระบบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเป็นข้อมูลของสถานศึกษาช่วยในการตัดสินใจ จัดองค์กรโครงสร้างเหมาะสมกับบริบท มีการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการติดตามที่จกระตุ้น ให้มีการประเมินพัฒนาการเรียนที่หลากหลายรวมทั้งจัดให้มีการประเมินผล-ปรับปรุงหลักสูตร ให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับบริบท ยังขาดความต่อเนื่องและเป็นระบบ

สรุปตามมาตรฐาน

   มาตรฐานที่13 สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ  ครบวงจร  ให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา  อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่14 สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา  อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่18 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอน  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่20 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ  อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่25 สถานศึกษามีหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น  มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้  อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
  • 2.ผลการประเมินด้านครู ครูรู้เป้าหมายของการจัดการศึกษา เป้าหมายของหลักสูตร ครูมีวุฒิความรู้ได้รับการมอบหมายให้สอนตามความรู้และความถนัด อีกทั้งได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถในวิชาที่สอนครูจัดทำวิเคราะห์หลักสูตร อีกทั้งได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาการวัดประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง อิงพัฒนาการของผู้เรียนพัฒนาได้ มีการประเมินเพื่อวินิจฉัยจุดเด่น จุดด้อย และการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวมถึงการนำผลการประเมินมาพัฒนาการเรียนของผู้เรียนปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครู

สรุปตามมาตรฐาน

   มาตรฐานที่22 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
   มาตรฐานที่24 ครูมีวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอ  อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
  • 3. ผลการประเมินด้านนักเรียน ผู้เรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี ในระดับชั้น ม.3 และ ม.6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้ และเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล สามารถทำงานเป็นทีมได้ มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการมีความชื่นชมและชอบกิจกรรมด้านดนตรี ผู้เรียนควรได้รับการปลูกฝังเรื่องความประหยัด พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญษญ และคิดไตร่ตรอง ให้เกิดกับผู้เรียนส่วนใหญ่รวมทั้งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีในระดับชั้น ม.3 และ ม.6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ให้สูงขึ้นกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รักการทำงาน รู้จักดูและสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้มีความชื่นชมและชอบกิจกรรมด้านกีฬา / นันทนาการ มากขึ้น

สรุปตามมาตรฐาน

   มาตรฐานที่1 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์  อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์  มีวิจารณญาญ มีความคิดสร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
   มาตรฐานที่6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่9 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่10 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในระดับคุณภาพดี
   มาตรฐานที่12 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา อยู่ในระดับคุณภาพดี 

การประเมินรอบที่2 พ.ศ.2549-2553

ได้รับการประเมินคุณภาพเมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ.2550 มีจำนวนบุคคลากร 42 คน นักเรียน 625 คน ได้รับข้อเสนอแนะดังนี้

           *1.สถานศึกษาควรพัฒนาผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาต่างประเทศ ด้วยการจัดกระบวนการเรียนการสอนหลากหลายอิงพัฒนาการผู้เรียน  เช่น การทำโครงงาน  การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
           *2. ครูควรติดตามผลพัฒนาผู้เรียนและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
           *3. สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครุทำวิจัยในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยการวิจัยร่วมกันทั้งระบบ  เพื่อค้นหาปัจจัย  ปัญหา  สาเหตุและแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต

           *1.สถานศึกษาควรกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  มีวินัย  มีคุณธรรม  มั่นใจตนเอง  มีทักษะในการดำรงชีวิตแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้  มีความคิดริเริ่ม  สร้างสรรค์
           *2. สถานศึกษาควรมุ่งพัฒนาครูและบุคคลากรให้มีประสิทธิภาพ  โดยกำหนดให้เป็นแบบอย่างการพัฒนา  และเสริมสร้างคุณธรรม  จริยธรรม  พัฒนาครุผู้สอนให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาอยู่เสมอ
           *3. สถานศึกษาควรมุ่งพัฒนาด้านบริหาร  ปีแห่งการรักษาความสะอาดและการบริหารการเงินและพัสดุให้มีประสิทธิภาพ  มีเป้าหมายของผู้บริหาร เป็นปีแห่งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและนโยบายต่างๆ

ด้านผู้เรียน

     มาตรฐานที่1 ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์  อยู่ในระดับคุณภาพดี
     มาตรฐานที่2 ผู้เรียนมีสุขนิสัย  สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี  อยู่ในระดับคุณภาพดี
     มาตรฐานที่3 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะดนตรี  และกีฬา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
     มาตรฐานที่4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  มีวิจารณญาญ  มีความคิดสร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับคุณภาพดี
     มาตรฐานที่5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้
     มาตรฐานที่6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้  และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
     มาตรฐานที่7 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน  รักการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต อยู่ในระดับคุณภาพดี
  ด้านครู
      มาตรฐานที่8 ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้  ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพีงพอ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
      มาตรฐานที่9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
  ด้านผู้บริหาร
     มาตรฐานที่10 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
     มาตรฐานที่11 สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารอย่างเป็นระบบ  ครบวงจร  ให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
     มาตรบานที่12 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรม  และการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
     มาตรฐานที่13  สถานศึกษามีหลัดสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น  มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
     มาตรฐานที่14 สถานศึกาาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

การประเมินรอบที่3 พ.ศ.2554-2558

ได้รับการประเมินคุณภาพเมื่อวันที่ 14,17-18 ธันวาคม 2555 โดยได้รับการประเมินคุณภาพแบ่งออกตามกลุ่มการประเมินดังนี้

     กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
           ตัวบ่งชี้ที่1  ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
           ตัวบ่งชี้ที่2 ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
           ตัวบ่งชี้ที่3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้  และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
           ตัวบ่งชี้ที่4 ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
           ตัวบ่งชี้ที่5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน อยู่ในระดับคุณภาพดี
    กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
           ตัวบ่งชี้ที่9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา  ปณิทาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
           ตังบ่งชี้ที่10 การพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษาอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
    กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
          ตัวบ่งชี้ที่11 ผลการดำเนินโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
          ตัวบ่งชี้ที่12 การส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน  รักษามาตรฐานเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวปฏิรูปการศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
    กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
          ตัวบ่งชี้ที่7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
          ตัวบ่งชี้ที่6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป้นสำคัญ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
          ตัวบ่งชี้ที่8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภาย  โดยสถานศึกษาและต้นสังกัด อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

อ้างอิง